GAMEINDY กระดานสนทนา
www.gameindy.com

↓.~ สงคราม ประวัติศาสตร์ ~.↓

_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99



[เรื่องของ : "ตำรววจเกณฑ์" ที่เคยกระทำมาในอดีตครับผม ]

ในสมัยก่อนประกาศใช้ พ.ร.บ.ลักษณะเกณฑ์ทหาร ร.ศ. ๑๒๔ (พ.ศ. ๒๔๔๘) นั้น การเกณฑ์นั้นจะใช้วิธีเกณฑ์เลกไพร่เข้ารับราชการ เมื่อตรา พ.ร.บ.ลักษณเกณฑ์ทหารแล้ว จึงเริ่มเกณฑ์คนเข้ารับราชการทหาร แต่ในบางท้องที่ที่ยังไม่มีการจัดตั้งกรมกองทหาร หริอเป็นเขตที่มีข้อตกลงกับมหาอำนาจที่จะไม่ให้มีกองทหารก็ใช้วิธีเกณฑ์คนเข้ารับราชการเป็นตำรวจภูธรแทนการเป็นทหาร เช่นในท้องที่หัวเมืองมณฑลปักษ์ใต้และหัวเมืองระยะ ๕๐ กม. ตลอดฝั่งขวาแม่น้ำโขงก็ใช้วิธีเกณฑ์ชายฉกรรจ์เป็นตำรวจภูธรมาจนยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๖๕ ได้มีพระบรมราชโองการให้รวมกระทรวงนครบาลเข้ากับกระทรวงมหาดไทย และโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) รับผิดชอบเป็น "เสาบดีกระทรงมหาดไทย ... งานสำคัญงานแรกของท่าน คือการกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตจัดตั้งกรมตำรวจ โดยให้รวมกรมพลตระเวนนครบาล สังกัดกระทรวงนครบาลเข้ากับกรมพลตระเวนภูธร อยู่ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย โดยจัดตั้งกรมใหม่ให้ชื่อว่า "กรมตำรวจ" ในปี ๒๔๖๕

ทั้งนี้ แต่เดิมนั้นกรมพลตระเวนนครบาลเป็นกรมที่เกณฑ์เด็กหนุ่มอายุ ๑๘ ปี มาทำหน้าที่พลตระเวนในกรุงเทพฯ คือทำหน้าที่เป็นตำรวจเกณฑ์คนละ ๒ ปี คล้ายการเกณฑ์ทหาร แต่พลตระเวนไม่ได้รับการฝึกใดๆ ทั้งสิ้น พอถูกเกณฑ์เข้ามาก็ปฏิบัติหน้าที่รักษาคามสงบและและปาบโจรผู้ร้ายในมณฑลกรุงเทพฯ

ส่วน "กรมตระเวนหัวเมือง" ก็ใช้วิธีการเกณฑ์เด็กอายุ ๑๘ ปี มาทำงานคล้ายกับ "กรมพลตระเนนครบาล" นั่นเอง แต่รับผิดชอบพื้นที่ต่างจังหวัดทั่วราชอาณาจักร กรมนี้สังกัดกระทรวมหาดไทย

ในที่สุด การจัดกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจใหม่ในอดีตนั้น เจ้าพระยายมราช ได้ทรงยกเลิกการเณฑ์เด็กหนุ่มอายุ ๑๘ ปี มาทำหน้าที่เป็นตำรวจ ปฏิบัติหน้าที่เป็นพลตระเวนนครบาล และพลตระเวนหัวเมือง คือ ให้ยกเลิกเกณฑ์ตำรวจเกณฑ์นั่นเอง แต่ให้เริ่มจ้างชายที่อายุเกินกว่า ๒๐ ปี มาเป็นตำรวจอาชีพ โดยให้เงินเดือนเริ่มต้นเดือนละ ๒๐ บาท โดยผู้ที่ได้รับการคัดเลือกนั้นก็มักจะเป็นผู้ทีมีประสบการณ์ เคยเป็นพลตระเวนที่ถูกเกณฑ์ และมีประวัติที่ดีมาด้วย และจากนั้นกิจการตำรวจก็ได้ขยายตัวไปอย่างกว้างขวางทั่วทุกหัวมุมของอาณาจักร เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยภายใน ที่ช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ของทหาร และให้เหล่าทหารนั้น มีหน้าที่ในการปกป้องอธิปไตย อริราชศัตรูภายนอกเป็นหลัก และด้วยสถานการณ์บ้านเมือง พ.ร.บ.ลักษณะการเกณฑ์ทหาร จึงได้ถูกใช้มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แม้จะยกเลิก "ตำรวจเกณฑ์" ที่ครั้งหนึ่งเคยถูกก่อตั้งขึ้นมา เพื่อเกณฑ์ผู้คนมาทำหน้าที่พิทักษ์สันติราษฎร์ แต่บัดนี้เปลี่ยนแปลงไป หันมารับเอากำลังพลจากการสอบบรรจุเข้าไปเพื่อทำงาน เพื่อคัดสรรบุคคลที่มีใจรัก และมีความต้องการที่จะเป็นตำรวจจริงๆ เท่านั้น จึงเป็นอันยุติการเกณณฑ์ตำรวจไป ดังเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นครับผม..

แต่มองในมุมกลับกัน ถ้ามีบางคนถามว่า ทำไมเมื่อยกเลิกการเกณฑ์ตำรวจแล้ว จึงไม่ยกเลิกการเกณฑ์ทหารเสีย?? คำตอบ คือ ยกเลิกได้ แต่ต้องใช้กระบวนการหรือวิธีการทางกฏหมายเท่านั้น คือ การยกเลิกกฎหมาย หรือ พ.ร.บ.การเกณฑ์ทหารฯ ที่เคยมีมาแต่อดีต ซึ่งผลที่ตามมาจากการยกเลิกนี้ ก็จะเป็นผลที่เคยมีเมื่อครั้งการยกเลิกตำรวจเกณฑ์ แต่ผลกระทบนั้นอาจมีขอบเขตที่กว้างกว่า เพราะกำลังทหารที่ถือเป็นมดงานตัวจริง ก็คือ เหล่าพลทหาร ที่ถูกเกณฑ์หรือระดมไปฝึกวิชาการทหารนั่นเอง ช่วงการฝึกคือ 2 ปี ซึ่งผลดีที่ประเทศชาติได้รับจาก พ.ร.บ. ฉบับนี้ คือ ความมั่นคงในภายภาคหน้าหากมีเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เป็นความขัดแย้งถึงขั้นการใช้กำลังทหาร ซึ่งในปัจจุบันก็ไม่เป้นที่ไว้วางใจแต่อย่างใด คือ ระบบกำลังกองหนุนที่มาจากผู้ที่ปลดประจำการไปแล้ว อีกอย่างหนึ่งก็คือ ระบบกำลังสำรอง หรือ ร.ด. ของกรมรักษาดินแดน ที่ผลิตทั้งนายทหารประทวนและสัญญาบัตรกองหนุน ซึ่งมีรูปแบบที่คล้ายกับการณ์เกณฑ์ทหาร แต่แตกต่างกันตรงที่ ความสมัครใจนั่นเอง ดังนั้น จะเห็นได้ว่า สิ่งเหล่านี้ที่เปลี่ยนแปลงไปก็อยากให้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น และที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงก็ยังคงต้องเป็นหน้าที่ของเราทุกคนต่อไปที่ตะต้องปฏิบัติตาม จนเมื่อประเทศเราพร้อมในทุกๆ ด้านกว่านี้ ค่อยว่ากันอีกที


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99



ภาพในอดีตของสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อปี พ.ศ.2415 ครับ

***บรรยากาศเก่าของบ้านเมืองเราที่แทบไม่มีให้เห็นในปัจจุบันได้ถูกบันทึกไว้ด้วยภาพถ่าย นานวันคุณค่าของภาพเหล่านี้ก็ย่อมมีมากขึ้นเป็นเท่าตัว***


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99



ในภาพนั้นคือ เมื่อครั้งการสู้รบในยุทธการยึดเขาน้ำค้าง (จคม.กรม ๘) อ.นาทวี จ.สงขลา ภาพแรกเป็นภาพขณะการวิทยุควบคุมสั่งการฯ และนำกำลังพลเคลื่อนย้ายทางอากาศลงมาสมทบ หลังนำทีมหัวหอกลงที่หมาย ค่าย จคม.กรม ๘ (เขาน้ำค้าง) โดยปฏิบัติการได้เริ่มด้วยขั้นเตรียมการวางแผนและนำกำลังเข้าปฏิบัติการยึดค่าย จคม.กรม ๘ ( เขาน้ำค้าง) นี้ หลังการโจมตีทางอากาศ และต่อจากนั้นจึงนำกำลังคุ้มกันชุดสุนัขทหารเข้าร่วมปฏิบัติการเข้ายึดค่าย ซึ่งมีกำลังพลบาดเจ็บจากการปะทะและโดนกับระเบิดได้รับบาดเจ็บระหว่างเข้าปฏิบัติการหลายนาย และสามารถยึดค่ายแห่งนี้ได้สำเร็จ จากนั้น ผบ.พัน ก็เข้ามาเยี่ยมชมอาวุธยุทโธปกรณ์ จคม. ที่ยึดได้หลังปฏิบัติการสำเร็จ ภาพต่อมาเป็นภาพขณะคณะ พ.ท.วีระ วรรณะสุข ผบ.ร.๕ พัน ๕ เข้าสำรวจยุทโธปกรณ์ จคม. ในอุโมงชั้น ๓ เขาน้ำค้าง ของ ค่าย จคม.กรม ๘ ที่ยึดได้หลังจากปฏิบัติการเสร็จสิ้นลง จากนั้นกำลังพลในส่วนที่เหลือก็เตรียมการวางแผนเคลียร์พื้นที่ให้ปลอดภัยหลังยึดค่ายฯ แล้ว ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับชุดเก็บกู้ระเบิด ช.พัน ๕ ส่วนภาพที่เหลือด้านล่างเป็นสถาพค่าย จคม. กรม ๘ เขาน้ำค้าง อ.นาทวี จ.สงชลา ซึ่งปัจจุบันพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวให้ผู้คนเข้าไปเยี่ยมชม เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของ จ.สงขลา ครับผม


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99



น่าเสียดายเนอะ ถ้าจำไม่ผิดภาพนี้เป็นภาพระหว่างภารกิจอพยพช่วงตอนท้ายของสงครามเวียดนามครับ เพื่อเหตุผลในการเพิ่มพื้นที่บนเรือ รองรับผู้อพยพจำนวนมากที่กำลังถูกลำเลียงมาเรื่อยๆ จึงจำเป็นต้องทิ้งเฮลิคอปเตอร์เหล่านี้ลงทะเลไปเป็นจำนวนมาก..เราน่าจะไปงมมาใช้งานต่ออ่ะครับ


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99




[ภาพในอดีตของชนเผ่า "ซาไก" ในจังหวัดยะลา เมื่อปี 2465]

"...สำหรับชนเผ่า "ซาไก" เป็นชนกลุ่มน้อยเผ่าพันธุ์หนึ่ง อาศัยอยู่ถิ่นทางภาคใต้ของประเทศไทยแถบจังหวัดพัทลุง สตูล ยะลา นราธิวาส และในเกาะสุมาตรา มาเลเซียแถบรัฐปาหังและเคดาห์ บางถิ่นก็เรียกว่า ”เงาะ” มีชีวิตความเป็นอยู่ง่ายๆแบบชนดั้งเดิมอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ นอกจากจะกระจัดกระจายอยู่ตามพื้นที่ป่าเขาในภาคใต้ของประเทศไทยแล้ว ยังรวมไปจนถึงประเทศมาเลเซีย "ซาไก" มีชื่อเรียกหลากชื่อ อาทิ ชาวพัทลุงเรียก เงาะ เงาะป่า เนื่องจากเส้นผมของซาไกหยิกหยองคล้ายเงาะที่เป็นผลไม้ ชาวสตูลเรียก ชาวป่า เพราะพวกเขาอาศัยอยู่ตามป่าเขา ไม่อยู่ในที่ราบโล่งเหมือนชาวบ้านทั่วไป ชาวไทยมุสลิมแถบ ปัตตานี ยะลา นราธิวาสเรียก ซาแก ซึ่งแปลว่า แข็งแรง หรือป่าเถื่อน เพราะพวกนี้ชอบอยู่ตามป่าและมีความทรหดอดทนบึกบึน แต่ชาวไทย พุทธเรียกเพี้ยนไปเป็น ซาไก ชาวมาเลเซียเรียกว่า โอรังอัสลี (Orang Asli) ซึ่งแปลว่า คนพื้นเมือง หรือคนดั้งเดิม ซึ่งชาวซาไกโดยทั่วไป มีความรู้สึกที่ดีและพอใจให้คนอื่นเรียกพวกเขาว่าเป็นพวกโอรังอัสลีเพราะ มีความหมายไปในทำนองยกย่องให้เกียรติว่าพวกเขาเป็นคน ดั้งเดิม เป็นเจ้าของถิ่นเดิม ไม่ใช่พวกป่าเถื่อนอย่างคำว่า ซาไก แต่ซาไกเรียกตัวเองว่า มันนิ ซึ่งแปลว่า มนุษย์ นั่นเอง..."
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

[ประวัติความเป็นมาของชนเผ่าซาไก] : ความเป็นมาของชนเผ่าซาไกนั้น เป็นกลุ่มชาติพันธ์เงาะป่าในแหลมมลายู ซาไก เป็นกลุ่มชาติพันธ์นิกริโต (nigrito) อาศัยอยู่กระจัดกระจายอยู่ตามพื้นที่ป่าเขาในภาคใต้ของประเทศไทยตลอดแหลมลายู ซาไกหรือคนไทยเรียกว่า “เงาะป่า” ยังมีผู้เรียกชื่อชนกลุ่มนี้อีกหลายชื่อ เช่น ซาแก เซมัง (samang) ซินนอย (senoi) คะนัง โอรัง อัสลี ออกแก นิกริโต และเงาะ ส่วนพวกซาไกเรียกตนเองว่า “ก็อย” “มันนิ” “คะนัง” เชื้อชาติเงาะป่าซาไกในแหลมมลายู
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

- [ลักษณะ รูปร่าง] : ลักษณะรูปพรรณสัญฐาน นิสัยใจคอ สติปัญญา ลักษณะรูปร่างตามธรรมชาติ มีลักษณะเหมือนกับสืบสายมาจากคนป่าแถบอัฟริกา ผมหยิกคอดติดหนังศีรษะ ผิวดำคล้า จมูกแบนกว้าง ริมฝีปากหนา ฟันซี่โต ใบหูเล็ก ท้องป่อง ตะโพกแฟกแฟบนิ้วมือนิ้วเท้าใหญ่ รูปร่างสันทัดสูงประมาณ 140-150 เซนติเมตร ผู้หญิงเตี้ยกว่าผู้ชาย แข็งแรง ส่ำสัน ชอบเปลี่อยอก นิสัยใจคอ มีอุปนิสัยร่าเริง ชอบดนตรีและเสียงเพลง จะฟังออกหรือไม่ ไม่สำคัญขอให้เป็นเสียงดนตรีชอบฟัง กลัวคนแปลกหน้า ยิ้มง่ายเปิดเผยเมื่อคุ้นเคย เกลียดการดูถูกเหยียบหยาม เยือกเย็น พูดน้อยตรงไปตรงมาไม่มีเล่ห์เหลี่ยม สติปัญญาชาวเงาะทั่วไปมีแววฉลาดหลักแหลม เรียนรู้ได้เร็วและมีความจำยอดเยี่ยม ทั้งเด็กและผู้ใหญ่มีศักยภาพด้านภาษาสูง ซาไกแต่ละกลุ่มมีการไปมาหาสู่ เยี่ยมเยือนและมีการนับเครือญาติในหมู่ซาไกที่อยู่ตามถิ่นด้วย ประชากรซาไกกระจายอยู่ทั่วไปในเขตภาคใต้ของไทย กลุ่มชาวซาไกกลุ่มต่างๆ เหล่านี้ อาศัยอยู่ตามป่าในเขตจังหวัดพัทลุง ตรัง สตูล ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ในจังหวัดสตูลพบกลุ่มชนชาวซาไกในเขตอำเภอทุ่งหว้า จังหวัดยะลาพบที่อำเภอธารโต บันนังสตาและเบตงและจังหวัดนาราธิวาส อำเภอระเงะ
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

- [วิถีชีวิต ความเป็นอยู่] : วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของเงาะป่าซาไก ถิ่นที่อยู่อาศัย ลักษณะบ้านเรือน ซาไกอาศัยอยู่ตามป่าเขา ชอบใช้ชีวิติเหมือนมนุษย์สมัยหิน และชอบเร่ร่อนย้ายถิ่นสร้างกระท่อมเป็นที่อยู่อาศัยเรียกว่า “ทับ” กระจายอยู่ทางภาคใต้ของไทยไปจนถึงรัฐเคดาห์ และรัฐปะหัง ประเทศมาเลเซีย บนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนิเซีย สำหรับในประเทศไทย ชนเผ่าซาไกจะเร่ร่อนย้ายถิ่นจากถิ่นหนึ่งไปยังอีกถิ่นหนึ่งในแถบบริเวณภาคใต้ของไทยจะอยู่กันเป็นกลุ่มๆ ละประมาณ 20-30 คน มักเลือกทำเลสูงๆ ใกล้แหล่งน้าเป็นที่อยู่อาศัย เมื่อเลือกทำเลได้ตามต้องการก็จะแผ้วถางให้บริเวณนั้นโล่งเตียนแล้วสร้างที่อยู่เป็นกระต๊อบเล็ก เรียกว่า “ทับ” โดยใช้กิ่งไม้ง่ามเป็นตอม่อ ยกแคร่ขึ้นสูงจากพื้นดิน 1 ศอก และ กว้าง 1 ศอก ซาไกที่เป็นโสดจะมีแคร่เดียว ส่วนซาไกที่มีสามีภรรยา จะมี 2 แคร่อยู่ใกล้ๆ กัน โดยเว้นตรงกลางไว้ หลังคาทับสร้างเป็นแบบเพิงหมาแหงน ใช้เสาไม้ง่ามสี่ต้น เสาสองต้นหน้าสูงระดับศีรษะ เสาสองต้นหลังสูงจากพื้นดินเล็กน้อย ใช้เชือกผูกโครงหลังคานำใบไม้มามุงแบบง่ายๆ ป้องกันแสงแดด เมื่อถึงฤดูฝน ซาไกจะไปอาศัยอยู่ตามถ้ำหรือเชิงผา โพรงต่างๆ พวกซาไกถือว่าเท้าเป็น อัวยะสำคัญของพวกเขา ใช้สัญจรและหาอาหารมาเลี้ยงปากท้อง พวกเขาจึงนอนเอาศีรษะออกข้างนอก เอาเท้าเก็บไว้ข้างใน เขาบอกว่าเท้ามีความสำคัญกว่าศีรษะไปไหนมาไหนได้ก็เพราะเท้า หาอาหารได้ด้วยเท้าหรือเกิดเหตุการณ์ฉุกละหุกระทันหันภัยมาถึงตัวก็วิ่งหนีได้ด้วยเท้า และการันศีรษะออกข้างนอกหากเกิดเหตุก็จะรู้สึกตัวเร็ว ถ้าหากมีเสือมาถ้าหันเท้าออกข้างนอกเสือกัดเท้าทำให้ไม่ตายแต่จะเกิดอาการเจ็บปวด ลำบากมาก ไปไหนไม่ได้ แต่เมื่อหันศีรษะออกเสือจะได้กัดศีรษะที่เดียวได้ตายเสียเลย ส่วนท่านอนชอบนอนตะแคงมากกว่านอนหงายหรือคว่ำเป็นสัญชาติญาณในการระวังภัย ทำให้สะดวกในการลุกหนีเมื่อมีภัยมาถึงตัวนั่นเอง
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

- [ภูมิปัญญาด้านการแพทย์] : อีกอย่างเมื่อเจ็บป่วย ก็ไม่นิยมรักษาในโรงพยาบาล ถึงแม้จะมีคนพาเข้ารักษาก็ตามเขาจะรักษากับหมอประจำเผ่าของเขา ซึ่งมี ๒ คน พวกเขาให้ความนับถือ คือ "หัวหน้าเผ่า" และรองลงมาก็คือ "หมอวิธีการ" ซึ่งชาวซาไกถือว่ามีความรู้ความชำนาญในการใช้ยาสมุนไพรมาก อาทิเช่น ยาสมุนไพรของชาวซาไกนั้น นับได้ว่าเขาเป็นเจ้าแห่งสมุนไพรนานาชนิดทีเดียว พวกเขามีความรู้ ชำนาญในเรื่องยาสมุนไพร อาทิ เช่นยาคุมกำเนิด ภาษาซาไกเรียกว่า “อัมม์” เป็นรากไม้แข็งๆ หากเอาให้ผู้หญิงรับประทานกับหมาก หรือแทะรับประทานเฉยๆ ก็ได้สรรพคุณในทางคุมกำเนิด ถ้าต้องการมีลูกเมื่อใดก็หยุดรับประทาน โดยยาให้มีลูกนี้ เป็นรากไม้แข็งๆ ให้ผู้หญิงกินกับหมากหรือแทะรับประทานก็ได้นั้นมี ๒ ขนาน คือ ขนานที่หนึ่งเรียกยา “มักม็อก” ขนานที่สองเรียกว่า “ยังอ็อน” นอกจากนี้ยังมียาเสริมพลังเพศ เรียกว่า “ตาง็อต” มีลักษณะเป็นหัวคล้ายหัวเผือก เปลือกสีขาว เนื้อสีขาว มีรสมัน ใช้แทะรับประทานหรือดองสุรา จะทำให้พลังเพศแข็งแกร่งกระชุ่มกระชวยดีนักยาเสน่ห์ เป็นน้ำมันเสน่ห์ของซาไก เป็นที่เลื่องลือกันว่ามีคุณภาพดีทำจากน้ำมันมะพร้าวเสกคาถาวิธีใช้ให้เอานิ้วแตะน้ำมันแล้วเอาไปแตะข้างหลังของคนที่เรารักให้ตรงหัวใจภายใน ๓ วัน ๗ วัน โดยคนที่ถูกแตะจะต้องคลุ้มคลั่งวิ่งมาหา นอกจากนี้ยังมียาสมุนไพรของชาวซาไกมีอีกมากมายหลายขนาน เช่น ยาแก้เมื่อย ยาแก้เจ็บเส้น เป็นต้น ทั้งนี้ ซาไกถือได้ว่าเป็นชาวป่า ที่ได้ชื่อว่าเป็นเจ้าแห่งสมุนไพร เนื่องจากมีความชำนาญเป็นพิเศษในเรื่องเครื่องยาสมุนไพร ซาไกจะใช้สมุนไพรรักษาโรคต่างๆ ได้อย่างดี และยังแพร่หลายไปยังชุมชนละแวกนั้นๆ ด้วย ชาวซาไกจะเรียกชื่อสมุนไพรตามคุณภาพที่รักษา เช่น ยาไข่เหล็ก ผู้ชายแทะกินจะทำให้กระชุ่มกระชวยมีสมรรถภาพทางเพศได้ ยาคุมกำเนิด (ยาไม่ให้มีลูก) เป็นต้น
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

- [หลักแหล่งที่อยู่ในประเทศไทย] : ชาวซาไกในไทย มีประมาณ 200 คน แยกตามกลุ่มลักษณะภาษาที่ใช้ได้ 4 กลุ่ม ดังนี้..
..1. "กลุ่มซาไกที่ใช้ภาษาแด็นแอ็น" หรือเรียกว่า "กลุ่มแด็นแอ็น" มีถิ่นฐานอยู่แถบจังหวัดพัทลุง สตูล ประชากรเมื่อปี พ.ศ .2526 จำนวน 70 คน และ พ.ศ.2527 คณะสำรวจของสถานบันทักษิณคดีศึกษาพบพวกซาไกบนภูเขา ที่ตำบลลิพัง อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง จำนวน 20 คน และต่อมาอีกเมื่อปี พ.ศ. 2528 ได้มีชาวตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง บอกว่า ได้พบซาไกลงมาอยู่ใกล้หมู่บ้านประมาณ 30 คน อีกด้วย
..2. "กลุ่มซาไกที่ใช้ภากันซิว" มีถิ่นฐานอยู่แถบอำเภอธารโต จังหวัดยะลา มีประชากรประมาณ 30 คน ทั้งนี้สำหหรับซาไกที่อาศัยอยู่ที่ อ.ศรีธารโต จ.ยะลา ก็ได้รับพระราชทานนามสกุลจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี คือชื่อสกุลว่า "ศรีธารโต" แต่ปัจจุบันซาไกธารโตส่วนใหญ่ได้อพยพไปอยู่ในมาเลฯ ด้วยเหตุผลด้านที่ทำกินและวิถีชีวิตที่ดีกว่า กับเหตุผลด้านความไม่สงบด้วย
..3. "กลุ่มซาไกที่ใช้ภาแตะเด๊ะ" มีถิ่นฐานอยู่แถบอำเภอรือเสาะ และอำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส มีประชากรประมาณ 40 คน
..4. "กลุ่มซาไกที่ใช้ภาษายะฮาย์" มีถิ่นฐานอยู่แถบอำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส มีประชากรประมาณ 30 คน
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

- [วัฒนธรรม ความเชื่อ] : นอกจากประเพณีการเกิด ประเพณีการแต่งงาน ประเพณีการทำพิธีเมื่อมีคนตาย และวัฒนธรรมทางภาษาเฉพาะของชาวซาไกชาวซาไกแล้ว ยังมีวัฒนธรรมความเชื่อที่เป็นเอกลักษณ์ความเชื่อในสิ่งที่เหนือธรรมชาติ และเกรงกลัวต่อสิ่งที่เกิดขึ้นจากปรากฏการณ์ธรรมชาติเชื่อในไสยศาสตร์เวทมนตร์ และข้อห้ามทางสังคม ที่พวกเขากำหนดขึ้น ลักษณะของความเชื่อที่ปรากฏอยู่ในสังคมของชาวซาไก คือ
- ความเชื่อเรืองโชคลาง
- ความเชื่อเรื่องเวทมนต์คาถา
- ความเชื่อเรื่องวิญญาณและภูตผี
- ความเชื่อเรื่องสุขภาพ
- ความเชื่อเรื่อง การรักษาความบริสุทธิ์ของหญิงสาว
- ความเชื่อเรื่องสัญลักษณ์
- ความเชื่อเรื่องความฝัน
- ความเชื่อเรื่องข้อห้ามหรือกฎเกณฑ์บางประการ
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

- [วิถีชีวิตของชนเผ่าซาไกในยุคนี้] : ปี พ.ศ.2542 รัฐบาลไทย ได้มอบหมายให้ราชบัณฑิตยสถานจัดทำหนังสือพจนานุกรม และหนังสือสารนุกรมขึ้น และได้บันทึกไว้ว่าเงาะป่าในแหลมมลายู มี 2 เผ่า คือ เผ่าเซมัง ซึ่งเข้ามาอยู่ในแหลมมลายูก่อนเผ่าซาไก และยึดครองพื้นที่ตอนบนบริเวณภาคใต้ของไทย และตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย อีกชื่อหนึ่งว่า นิกริโต มีจำนวน 4,500 คน ส่วนเงาะซาไกอาศัยอยู่บริเวณรัฐเประปะหังเป็นตระกูลอสโตรเนเซียน เป็นพวกมองโกลอยด์ เส้นผมหยิก มาเลเซีย เปลี่ยนชื่อเป็น ซีนอย และโอรัง อัสมี มีจำนวน 73,00 คน
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

- [อาชีพและการศึกษา] : สำหรับการศึกษาไม่มีสถานศึกษา การเรียนรู้นอกห้องเรียนเน้นการปฏิบัติจริง ทุกวันนี้จังหวัดพัทลุง จังหวัดสตูล จัดการศึกษาให้เงาะป่าได้มากขึ้น ในปี พ.ศ. 2541
วิเคราะห์ภูมิปัญญา ภูมิปัญญาของเงาะป่าซาไกเป็นภูมิปัญญาสั่งสม ที่มีมาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

- [นิสัยใจคอ] : โดยปกติมีอุปนิสัยร่าเริง ชอบดนตรีและเสียงเพลง กลัวคนแปลกหน้า ยิ้มง่ายเมื่อคุ้นเคยกัน
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

- [การอพยพทิ้งที่อยู่ไปหาที่อยู่แห่งใหม่] : ถิ่นที่อยู่อาศัย ซาไกในภาคใต้ของประเทศมีเพียงกลุ่มเดียวที่มีที่อยู่อาศัยแน่นอน คือกลุ่มซาไกจังหวัดยะลา ส่วนซาไกอื่นๆ ไม่มีหลักแหล่งที่แน่นอน
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

- [ภาษา] : ซาไกมีภาษาเป็นของตนเอง เป็นภาษาในตระกูลออสโตรเอเชียติก เป็นตระกูลภาษาใหญ่ตระกูลหนึ่งในเอเชียอาคเนย์
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

- [ความเชื่อ] : ซาไกทุกกลุ่มไม่นับถือศาสนาใดๆ เว้นแต่ซาไกกันซิวนับถือศาสนาพุทธ
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

- [สรุป] : เงาะป่าซาไกที่ถือเป็นคนกลุ่มน้อยที่อยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยุ่หัว ทรงสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับชีวิตเงาะป่า โดยนำลูกเงาะป่าชื่อ “คนัง” มาทรงชุบเลี้ยงในพระบรมมหาราชวัง และเป็นมหาดเล็กคนโปรดของพระองค์บทละครเรื่อง เงาะป่า แสองให้เห็นถึงพระราชดำริริเริ่มสร้างสรรค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการทรงนำชีวิตของชนกลุ่มน้อยซึ่งไม่อยู่ในสายตาของผุ้คนในสังคมเมืองมาทรงพระราชนิพนธ์ ซึ่งไม่เคยมีปรากฏมาก่อนในวรรณคดีไทย บทละครเรื่องเงาะป่าเกิดขึ้นในช่างระยะเวลาใกล้เคียงกับพระราชบัญญัติเลิกทาส จึงน่าจะสะท้อนให้เห็นแนวพระราชนิยมและพระราชดำริอันแสดงจุดยืนที่แน่วแน่ที่ทรงมีต่อมนุษย์ชาติไม่ว่าจะอยู่ในสถานภาพใดในสังคมใด ทุกชีวิตต่างมีค่าและมีความสำคัญเท่าเทียมกันในความเป็นมนุษย์ มีอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดไม่แตกต่างกัน และแสดงให้เห็นว่าความล้าหลังทางวัตถุและรูปลักษณ์ภายนอกไม่ได้เป็นข้อสรุปถึงความต่ำต้อยทางจิตวิญาณเสมอไป มนุษย์ทุกผู้ทุกนามต่างมีศักดิ์ศรี มีจุดหมายในการดำรงอยู่เพียงแต่จะไปถึงจุดหมายปลายทางได้มากน้อยเพียงได นอกจากนี้เรื่องราวของชนเผ่านี้ก็เคยได้ถูกนำมาถ่ายทอดในรูปแบบต่างๆ เช่น "เงาะป่า" บทพระราชนิพนธ์ร้อยกรองในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2448 และก็ยังมี ภาพยนต์เรื่อง "เงาะป่า" ที่ทำเป็นภาพยนตร์ไทยในปี พ.ศ. 2523 ซึ่งทำการดัดแปลงมาจากบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 นั่นเอง สำหรับในยุคปัจจุบันไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็ได้มีการนำเรื่องของชนเผ่านี้มาสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง "ซาไกยูไนเต็ด" (พ.ศ. 2547) ที่เป็นเรื่องราวของชาวซาไกเข้าแข่งขันและชนะเลิศฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานนั่นเอง..


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99




ภาพประวัติศาสตร์เมื่อครั้งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 6 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ สืบต่อจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ รัชกาลที่ 5 ที่ทรงเสด็จสวรรคตลงเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ทั้งๆ ที่พระองค์นั้นได้รับการสถาปนาตั้งไว้ในพระรัชทายาทสืบพระราชสันตติวงศ์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2437 แต่ก็ทรงเศร้าสลด ไม่มีพระราชประสงค์ที่จะแลกสิริราชสมบัติสำหรับพระองค์เองกับการสูญเสียพระชนมชีพของสมเด็จพระบรมชนกนาถ

จนกระทั่งสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ซึ่งทรงเป็นทูลกระหม่อมอาแท้ ๆ ทูลเชิญเสด็จลงที่ห้องแป๊ะเต๋งบนชั้น 2 พระที่นั่งอัมพรสถาน และท่ามกลางพระบรมวงศานุวงศ์ เสนาบดี ผู้ใหญ่ องคมนตรี และข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย ที่ชุมนุมอยู่ ทูลกระหม่อมอา ได้คุกพระชงฆ์ลงกับพื้นกราบถวายบังคมอัญเชิญเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมเด็จเป็นพระเจ้าแผ่นดินสืบสนองพระองค์สมเด็จพระบรมชนกนาถ และทันใดทุกท่านที่ชุมนุมอยู่ที่นั้น ก็ได้คุกเข่าลงกราบถวายบังคมทั่วกัน

โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเต็มว่า "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ เอกอรรคมหาบุรุษบรมนราธิราช พินิตประชานาถมหาสมมตวงศ์ อดิศัยพงศ์วิมลรัตน์วรขัตติราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาตสังสุทธเคราะหณีจักรีบรมนาถ จุฬาลงกรณราชวรางกูร บรมมกุฏนเรนทร์สูรสันตติวงศวิสิฐ สุสาธิตบุรพาธิการ อดุลยกฤษฎาภินิหาร อดิเรกบุญฤทธิ ธัญลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประณตบาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดม บรมสุขุมาลย์ทิพยเทพาวตาร ไพศาลเกียรติคุณ อดุลยวิเศษสรรพเทเวศรานุรักษ์ บุริมศักดิสมญาเทพวาราวดี ศรีมหาบุรุษสุทธสมบัติ เสนางคนิกรรัตนอัศวโกศล ประพนธปรีชา มัทวสมาจาร บริบูรณคุณสารสยามาทินคร วรุตเมกราชดิลก มหาปริวารนายกอนันต์มหันตวรฤทธิเดช สรรพวิเศษศิรินธร บรมชนกาดิศรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษฏาภิสิต สรรพทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวศรัยพุทธาธิไตรรัตนสรณารักษ์ อดุลยศักดิ์ อรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณา สีตลหฤทัย อโนมัยบุญการสกลไพศาล มหารัษฎาธิบดินทร์ ปรเมนทรธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว"

ต่อมาใน พ.ศ. 2459 ได้ทรงเปลี่ยนคำนำหน้าพระปรมาภิไธยของพระองค์เองใหม่ว่า "พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ อรรคมหาบุรุษบรมนราธิราช พินิตประชานาถมหาสมมตวงศ์ ฯลฯ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 6 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสวยราชสมบัติเมื่อวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช 2453 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 รวมพระชนมพรรษา 45 พรรษา เสด็จดำรงราชสมบัติรวม 15 ปี

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชอัจฉริยภาพและทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในหลายสาขา ทั้งด้านการเมืองการปกครอง การทหาร การศึกษา การสาธารณสุข การต่างประเทศ และที่สำคัญที่สุดคือด้านวรรณกรรมและอักษรศาสตร์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทร้อยแก้วและร้อยกรองไว้นับพันเรื่อง กระทั่งทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาเมื่อเสด็จสวรรคตแล้วว่า "สมเด็จพระมหาธีราชเจ้า" พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ใน พระราชวงศ์จักรีพระองค์แรกที่ไม่มีวัดประจำรัชกาล แต่ได้ทรงมีการการสถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวง หรือวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน ขึ้นแทน ด้วยทรงพระราชดำริว่าพระอารามนั้นมีมากแล้ว และการสร้างอารามในสมัยก่อนนั้นก็เพื่อบำรุงการศึกษาของเยาวชนของชาติ จึงทรงพระราชดำริให้สร้างโรงเรียนขึ้นแทน

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ในตอนแรก ไทยรักษาความเป็นกลางอย่างมั่นคงแต่เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าอยู่หัวทรงให้ความสนใจและติดตามข่าวการสงครามอย่างใกล้ชิดพระองค์ทรงเล็งเห็นการณ์ไกลในการให้ประเทศไทยประกาศเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร เพราะถ้าฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะจะมีผลดีในการที่ประเทศไทยจะเรียกร้องสิทธิต่างๆ เช่น ขอแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมที่ทำไว้กับนานาประเทศ จึงได้ประกาศสงครามกับเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี ในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 โดยประกาศกระแสพระบรมราชโองการประณามว่า “เยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี เป็นฝ่ายละเมิดเมตตาธรรมของมวลมนุษย์ มิได้มีความนับถือต่อประเทศเล็ก ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศ และเป็นผู้ก่อกวนความสุขของโลก” ซึ่งเหตุการณ์ก็เป็นดังที่พระองค์ทรงคาดไว้ คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะ

ต่อมา พ.ศ. 2524 องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ยกย่องพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม ในฐานะที่ทรงเป็นนักปราชญ์ นักประพันธ์ กวี และนักแต่งบทละครไว้เป็นจำนวนมาก

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรพระโรคพระโลหิตเป็นพิษในพระอุทรตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 และเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 เวลา 1 นาฬิกา 45 นาที โดยได้อัญเชิญพระบรมศพไปประดิษฐาน ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทรวมพระชนมพรรษาได้ 45 พรรษา และเสด็จดำรงสิริราชสมบัติได้ 15 พรรษา

ต่อมาได้มีพระบรมราชานุสาวรีย์แห่งแรกขององค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2485 ประดิษฐาน ณ สวนลุมพินี ซึ่งเป็นบริเวณที่ดินส่วนพระองค์ ที่พระราชทานไว้เป็นสมบัติของประชาชน เพื่อจัดงานสยามรัฐพิพิธภัณฑ์แสดงสินค้าไทยแก่ชาวโลกเป็นครั้งแรก เพื่อบำรุงเศรษฐกิจและพาณิชยกรรมของประเทศ (แต่มิทันได้จัดก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน) และทรงตั้งพระราชหฤทัยว่าเมื่อเสร็จงานแล้ว จะพระราชทานเป็นสวนสาธารณะพักผ่อนหย่อนใจแห่งแรกในกรุงเทพฯ

จากนั้นเป็นต้นมา เมื่อถึงวันคล้ายวันสวรรคตของทุกปี วันที่ 25 พฤศจิกายน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือผู้แทนพระองค์ จะเสด็จฯ มาทรงวางพวงมาลา ถวายบังคมพระบรมราชานุสรณ์ ณ สวนลุมพินีแห่งนี้ ในวันนั้นมีหน่วยราชการ หน่วยงานเอกชน นิสิตนักศึกษา พ่อค้าประชาชนจำนวนมากไปวางพวงมาลาถวายราชสักการะ และยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวาย ณ วชิราวุธวิทยาลัย อีกด้วย


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99




ในภาพจะเห็นปืนใหญ่สนามขนาดเล็กของไทยในอดีตที่ตอนนั้นมีการใช้อย่างแพร่หลาย แต่ปัจจุบันแทบไม่มีข้อมูลของปืนชนิดนี้เลย โดยจากในภาพ (3 ท่านที่นั่งอยู่กึ่งกลางแถวหน้า) จะเห็นปืนที่เรียกกันว่าปืนหามแล่นด้วย และจะเห็นขาตั้งปืนเป็นรูปตัว Y สีดำๆ คว่ำอยู่ ส่วนไม้ที่ใช้หามนั้นน่าจะเป็นไม้กระทุ้งดินปืนและแซ่ทำความสะอาดลำกล้องปืนครับ ซึ่งข้อมูลของหามแล่นนั้นพอรวบรวมมาจากแหล่งต่างๆ ได้คร่าวๆ ดังต่อไปนี้ครับ :

ปืนชนิดนี้จัดเป็นปืนใหญ่สนามขนาดเล็ก ซึ่งดูเหมือนว่าปืนหามแล่นจะนิยมใช้ในทหารราบ ส่วนอีกแบบหนึ่งที่เรียกว่า "ปืนขานกยาง" ที่เป็นแบบหมุนได้รอบตัวนั้น จะนิยมใช้ตั้งบนเรือเร็ว และบนหลังช้างศึกครับ ในอดีตปืนชนิดนี้ถูกใช้ในกองทัพในการรบอย่างเช่น สงครามอานามสยามยุทธสมัยรัชกาลที่ 3 ในการทัพครั้งนั้น ก็มีการนำปืนหามแล่นจำนวนมากไปใช้ในการรบกับญวณด้วย โดยในศึกครั้งนั้นได้มีการระดมกำลังพลทหารกองทัพสยามที่ใหญ่ที่สุดด้วยเป็นจำนวนกำลังพลถึงหนึ่งแสนสองหมื่นคน โดยมีจุดหมายของสงครามอานามสยามยุทธครั้งนี้ก็คือ ป้อมเมืองไซ่ง่อน นั่นเอง

ผลก็คือ สยามชนะอย่างราบคาบ เป็นอันสิ้นศึกใหญ่นับแต่การรบครั้งนั้นเป็นต้นมาครับ เหตุผลที่เปิดศึกใหญ่กับชาติทางด้านตะวันออก ทั้งๆ ที่ศึกใหญ่มักจะเปิดกับพม่าทางตะวันตก ก็เพราะว่าต้องการชัยชนะอย่างเด็ดขาด เพราะที่ผ่านๆ มาก่อนหน้านั้น มีปัญหาไม่ลงรอยกันกับญวณ ลาวและเขมรอยู่เป็นทุนเดิมแล้ว ดังนั้น สิ่งที่จะวัดและตัดสินความแพ้ชนะได้ดีที่สุดในยุคนั้นก็คือ การเปิดศึกสู้รบกันให้รู้แพ้รู้ชนะ ซึ่งจะเป็นที่ยอมรับโดยทั่วกัน ที่สำคัญ "สงครามอานามสยามยุทธครั้งนั้น ถือได้ว่าเป็นสงครามกู้ชาติสยามเลยก็ว่าได้ครับ..

สำหรับการบรรจุกระสุนนั้นจะใช้การบรรจุทางปากกระบอกแบบปืนใหญ่ธรรมดา ส่วนการจุดระเบิดก็เช่นเดียวกัน แต่คาดกันว่าชาวสยามน่าจะใช้ธูปไหว้พระที่ชาวพุทธคุ้นเคยกันอย่างดี นำมาใช้เป็นตัวจุดชนวนล่ะครับ เพราะสะดวก และคล่องตัวในการเคลื่อนที่นั่นเองครับ

ปืนชนิดนี้ หรือทั้งสองแบบที่กล่าวมาทั้งหามแล่น และขานกยางนี้ ก็ได้ถูกนำมาใช้งานจนมาร่วมสมัยกันกับปืนเล็กยาวแบบมีปลอก และมีปืนกลเก็ตลิ่งใช้กันแล้ว ที่สำคัญได้ถูกใช้ในสมัย "สงครามปราบฮ่อ" ในเมืองลาวด้วยครับ ส่วนใหญ่ตอนนั้นจะใช้ติดตั้งบนหลังช้างศึกมากกว่าเมื่อครั้งสงครามอานามสยามยุทธ ทั้งนี้ มันมีลำกล้องยาวราวสัก 3 - 4 ศอก ใช้ขนาดกระสุนกลมๆ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้วครึ่ง โดยเป็นปืนที่สามารถทำการเคลื่อนย้ายได้อย่างสะดวก และรวดเร็วในการใช้งานสำหรับแบบ "ปืนหามแล่น" ด้วยกำลังพลแค่ 3 นาย ก็สามารถทำการรบได้ ส่วนแบบ "ปืนขานกยาง" นั้น การติดตั้งหรือนำขึ้นบนหลังช้างศึกก็ทำได้ไม่ยากนักเช่นกัน

โดยปืนแบบนี้ได้เริ่มใช้กันมาตั้งแต่เมื่อครั้งสมัยอยุธยาแล้ว และใช้กันเรื่อยมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งไม่ได้มีไว้ใช้เพื่อหวังผลในการทำลายป้อม หรือค่ายแต่อย่างเดียวเท่านั้น แต่นำมาใช้ในสนามรบ เพื่อหวังผลในการสังหารที่ได้ผลเป็นหลัก ซึ่งความยาวของปืนนี้มีความยาวเฉลี่ยประมาณ ๕๐ นิ้ว เวลาใช้งานนั้นต้องวางไว้บนแท่นยิง หรือขาหยั่งที่ทำจากไม้ต่อมาก็มีขาหยั่งที่ทำจากเหล็กด้วย ซึ่งมีรูปร่างคล้ายกับขานก และด้วยเหตุนี้เองจึงเรียกกันอีกชื่อว่า "ปืนขานกยาง" ดังที่กล่าวมาข้างต้น

ส่วนปืนหามแล่นนั้น จะนิยมใช้ในกองทหารราบ ส่วนปืนขานกยางที่หมุนได้รอบตัวนั้นจะนิยมใช้ตั้งบนเรือไม่ก็ตั้งบนหลังช้างศึก และอีกแบบคือการถือหิ้วเป็นปืนสนามในการรบแบบเคลื่อนที่ก็ได้เช่นกัน แต่ต้องใช้พลประจำปืนถึง 3 นาย แต่ด้วยน้ำหนักที่หนักเอาการเช่นกันถ้าจะแบกยิงคนเดียว จึงนิยมตั้งบนขาหยั่งและนำมาติดตั้งเป็นป้อมปืนประจำหลังช้างศึกมากกว่า

ลักษณะทั่วไปของปืนหาบแล่นนี้ สามารถนำไปตั้งบนขาทรายหรือขาหยั่งทั้งแบบ 3 ขา หรือ 2 ขา ที่ตั้งไว้ตรงคู่หน้าที่เมื่อตั้งขึ้นแล้วจะมีรูปแบบคล้ายขาของนกกระยาง ซึ่งน่าจะเป็นที่มาของชื่อ "ปืนนกกระยาง" และในส่วนของขาหลังนั้นจะยึดตามความยาวของลำกล้องปืนไปจนถึงส่วนท้ายสุดของลำกล้อง

การยิงปืน "หามแล่น" หรือ "ปืนขานกยาง" นั้น ต้องมีพลยิงประจำ 3 นาย ซึ่งปรากฎเป็นบทบันทึกในลิลิตไปขัดทัพพม่าของ "สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาศักดิพลเสพย กรมพระราชวังบวรสถานมงคล" ว่า ดังนี้...

" ทัพขันจ่ายปืนครึ่ง กึ่งพลหามแล่นบอกสามคน ร้อยถ้วน "

อีกอย่างปืนหาบแล่นหรือปืนขานกยางนั้น นอกจากสามารถนำมาตั้งบนขาหยั่ง เพื่อทำการยิงในเชิงการรบแบบตั้งรับ หรือป้อมปืนขนาดเล็กได้แล้ว ยังสามารถนำมาใช้เป็นปืนสนามสำหรับแบกหิ้วในกองทหารที่ทำการรบแบบเคลื่อนที่ได้ด้วย โดยทหาร 2 นาย หิ้วปืนโดยมีที่จับเพื่อปะคองปืนไว้คนละด้าน และอีก 1 นาย ทำหน้าที่เป็นพลยิง ซึ่งถือเป็นปืนที่ใช้ในการรบหลายได้แบบทีเดียว

ปืนหามแล่นนี้ ส่วนมากจะนำไปใช้โดยเหล่าหทารมหาดเล็ก, สนมทหาร หรือ สนมตำรวจ ที่จะใช้งานตอนเมื่อเวลาเป็นผู้ที่ไปทำหน้าที่ จุกช่อง หรือ ล้อมวง ทั้งบนบก และลอยเรือ ซึ่งจะเฝ้าอยู่ตามจุดต่างๆ ในระหว่างทางที่มีการเสด็จพระราชดำเนินผ่าน ทั้งทางสถลมารคและทางชลมารค ทั้งนี้ก็เพื่อทำหน้าที่ในการถวายอารักขาและคุ้มครองในด้านความปลอดภัย แต่โดยหน้าที่หลักแล้ว คาดว่าน่าจะเหมือนจรวดต่อสู้รถถังด้วยครับ หากคิดเทียบว่า ใช้กับเป้าหมายที่เป็นนายช้าง นายม้า แทนรถถังนั่นเอง

นอกจากนี้แล้วนั้น ในยามศึกหรือยามมีราชการสงคราม ปืนหามแล่นนี้ ก็ยังสามารถที่จะนำไปใช้ในการสู้รบในศึกสงครามแบบกลางแปลงได้ด้วยตามที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น แต่ส่วนมากที่นิยมใช้นั้นจะเป็นรูปแบบการตั้งขาหยั่งที่เรียกว่าขานกยางมากกว่า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการรบแบบหิ้วเคลื่อนที่ยิงก็มีด้วยเช่นกัน

ปืนชนิดนี้นั้นดังที่กล่าวมาข้างต้น ได้ช่วยสร้างขวัญ และกำลังใจให้ทหารไทยในยุคนั้นได้เป็นอย่างดี ทั้งการเข้าตี และตั้งรับ โดยจำนวนที่มีใช้ในกองทัพสยามสมัยนั้นก็มีมากมายไม่น้อยเลย อีกทั้งประเทศเพื่อนบ้านเราเองก็มีใช้ด้วยเช่นกัน ปืนชนิดนี้นั้นมีทั้งแบบที่เป็นปืนเหล็ก และที่เป็นปืนทองเหลือง โดยคาดว่าปืนที่เป็นแบบทองเหลืองนั้น อาจจะถูกหล่อขึ้นเพื่อใช้กันเองในภูมิภาคนี้ก็เป็นได้ เพราะบางกระบอกก็มีลวดลายประจำถิ่นภูมิภาคนี้

ในปัจจุบันนี้ เป็นที่น่าเสียดายยิ่ง เพราะว่าเหลือข้อมูลเกี่ยวกับปืนชนิดนี้ให้ดูน้อยมาก แต่เมื่อเร็วๆ นี้หากใครได้เคยชมภาพยนตร์ฝรั่งที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับกบฏนักมวยในจีนนั้น ก็ยังมีให้ได้เห็นกันอยู่ครับ


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99




ภาพการเดินรถรางในกรุงเทพฯ เมื่อปี 2505. : สำหรับเรื่องของ "รถราง" (tram) นี้ เป็นพาหนะที่วิ่งบนรางชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะคล้ายรถไฟ แต่จะสั้นกว่า มีน้ำหนักเบากว่า โดยรถรางส่วนมากใช้ไฟฟ้าจากสายไฟด้านบน แต่ก็ยังมีบางส่วนใช้ดีเซลอยู่ และในปัจจุบันนิยมนับรถราง เป็นประเภทหนึ่งของรถไฟฟ้ารางเบาอีกด้วย ซึ่งในอดีตนั้น ประเทศไทยก็เคยมีการใช้รถรางเช่นกัน ใช้ครั้งแรกเมื่อ 22 ก.ย. 2431 ซึ่งเริ่มแรกใช้กำลังม้าลากรถไปตามราง ต่อมาภายหลังได้เปลี่ยนมาใช้ "ไฟฟ้า" เมื่อเดือน พ.ค. ปี 2437 จนถึงปี พ.ศ. 2511 จึงได้ยกเลิกการเดินรถทุกเส้นทางอย่างถาวร ซึ่งคำว่า "รถราง" ในภาษาไทยปัจจุบัน ถูกใช้ในความหมายของรถชมเมืองที่วิ่งโดยไม่ใช้ราง แต่ด้วยล้ออีกด้วย..

"รถราง" นั้น แบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ 1. แบบที่เป็นตัวถังไม้เปิดโล่ง และผืนผ้าใบ ที่ม้วนเก็บ ห้อยไว้กับขอบบน ทั้งสองข้าง สำหรับกันแดดกันฝุ่น และแบที่ 2. จะเป็นรุ่นที่นิยมเรียกกันว่า “ไอ้โม่ง” ตามรูปทรง ของหลังคา ที่มีความโค้งอยู่มาก และยังจะสร้างตัวถัง ด้วยโครงเหล็ก ซึ่งนับว่าทันสมัยมากในยุคนั้น รถรางในสมัยก่อนเรียกว่า "รถไอ" เมื่อ พ.ศ. 2436 (ร.ศ. 112) มีการสัมปทานการเดินรถราง จากหลักเมืองไปตามถนนเจริญกรุง จนถึงถนนตก และใช้ม้าลาก ลากกันแบบช้า ต่อมาบริษัทรถรางได้หยุดวิ่งรถราง เพราะค่าโดยสารแพงสำหรับในยุคนั้น เลยขาดทุนและขายกิจการต่อให้กับบริษัทของประเทศอังกฤษ แต่ก็ขาดทุนอีก และสุดท้ายก็ขายกิจการให้กับบริษัทของประเทศเดนมาร์ก และสมัยนั้นก็มีการสร้างโรงไฟฟ้าขึ้นแล้ว และมีการเปลี่ยนจากลากรถ มาใช้พลังงานไฟฟ้าแทนอีกด้วย

แต่ตอนนี้คนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่กำลังตื่นเต้นที่มีรถไฟฟ้าใชั หลังจากคอยกันมาหลายปี เพื่อเอามาแก้ปัญหาการจราจร และเห่อกันว่าเป็นของใหม่ทันสมัย แต่ขอโทษที รถไฟฟ้านี้ กรุงเทพฯ เรามีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2435 สมัยคุณปุ่โน่นแล้ว แต่ต้องเลิกไปหมดในปี พ.ศ. 2511 เพราะเป็นตัวการ ที่ทำให้การจราจรติดขัด เนื่องจากไม่ได้วิ่งลอยฟ้าอย่างทุกวันนี้ แต่วิ่งอยู่ข้างถนนบนผิวจราจรฯ บางแห่ง ก็วิ่งตรงกลางถนนซะเลย

ย้อนไป ตอนที่สร้างถนนเจริญกรุงหรือที่ฝรั่งเรียกกันว่า "นิวโรด (New Road)" เสร็จในปี พ.ศ. 2407 มีผู้นิยมใช้สัญจรไปมามาก ฝรั่งหัวใส 2 คน ชื่อ จอห์น ลอฟตัส เป็นชาวอังกฤษ เข้ามารับราชการ เป็นช่างทำแผนที่ กับ อันเดรีย ดูเปล ริเตธิเชอเลียว ชาวเดนมาร์ก ซึ่งเข้ามารับราชการ เป็นกัปตันเรือพระที่นั่งเวสาตรี สังกัดกองทัพเรือ ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น พระยาชลยุทธโยธี เห็นว่าถ้าเปิดเดินรถโดยสาร ในถนนสายนี้ ก็จะเป็นธุรกิจที่ดีไม่น้อย และเพื่อให้แน่ใจ จึงทำการสำรวจ หาตัวเลขกันก่อน

วิธีการที่ฝรั่งทั้ง 2 ชาติ เอามาสำรวจนี้ นับว่าเก๋ไก๋ไม่เบา โดยเอาเม็ดมะขามใส่ชามใหญ่วางไว้ตรงกลาง แล้วเอาชามย่อมลงไปหน่อยมาอีก 2 ใบ วางไว้ข้างละใบ เมื่อคนเดินไปทางขวา ก็หยิบเม็ดมะขามใส่ลงไปในชามขวา เมื่อคนเดินไปทางซ้าย ก็หยิบเม็ดมะขามใส่ลงไปในชามซ้าย ทำการสำรวจอยู่แบบนี้อยู่ถึง 3 วัน จึงได้ตัวเลขว่า มีคนขึ้นล่องในนิวโรด วันละเท่าไร ซึ่งคงจะเป็นตัวเลขที่น่าสนใจทีเดียว เขาจึงร่วมกัน ยื่นขอสัปทานเดินรถรางหรือ "แตรมเวย์" (Tramway) คนไทยเรียกว่า "รถแตรม" ในปี พ.ศ. 2430 โดยยื่นรวม 7 สายทั่วกรุง เพื่อกันคนอื่นตามด้วย รัฐบาลได้ให้สัมปทานเป็นเวลา 50 ปี โดยมีเงื่อนไขว่า จะต้องสร้างสายที่ 1 ให้เสร็จภายในเวลา 5 ปี ส่วนอีก 6 สาย ต้องสร้างให้เสร็จในเวลา 7 ปี

โดยรถรางสายแรกเปิดบริการในวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2431 โดยเริ่มต้นจากบางคอแหลม ถนนตก ซึ่งตอนนั้นยังเป็นสวนอยู่ มาตามถนนเจริญกรุง สุดปลายทางที่ศาลหลักเมือง ข้างศาลายุทธนาธิการ หรือกระทรวงกลาโหมในปัจจุบัน เป็นระยะทาง 6 ไมล์ (ประมาณ 10 - 12 กิโลเมตร) ใช้รถเล็ก 4 ล้อ เทียมด้วยม้า 2 คู่ และมีสถานีเปลี่ยนม้าเป็นระยะ แต่เมื่อคนเต็มคัน ม้าก็ต้องออกแรงลาก จนน้ำลายฟูมปาก ยิ่งตอนขึ้นสะพานบางทีม้าก็ลากไม่ไหว เป็นภาพที่น่าสงสารเป็นอันมาก

ต่อมาๆ คนก็ขึ้นรถรางน้อยลงทุกที อาจจะเป็นเพราะคนไทยเรา เป็นคนขี้สงสาร ไม่อยากจะทรมานทารุณม้าก็เป็นได้ อีกทั้งค่ารถราง ในตอนนั้นก็แพงไม่เบา เก็บ 6 อัฐต่อระยะ 3 ไมล์ ส่วนผู้ที่นั่ง 'ผู้ที่นั่งอย่างวิเศษ' หรือชั้นพิเศษ เก็บอีกเท่าตัว เป็น 12 อัฐ ซึ่ง 63 อัฐ เท่ากับ 1 บาท ก็ดูไม่แพง แต่สมัยนั้น ข้าวแกงจานละ 1 อัฐนะขอรับ คนเลยหายเห่อรถแตรมกัน ซึ่งก็คงทำนองเดียวกับรถไฟฟ้าสมัยนี้ ทั้งนี้ เมื่อรถรางขาดทุน สองผู้บุกเบิก ก็ไปไม่ไหว ต้องขายกิจการ ให้บริษัทบางกอกแตรมเวย์ ซึ่งเป็นของคนอังกฤษดำเนินการต่อ โดยยังคงใช้ม้า ลากตามเดิม แล้วม้าก็ลากบริษัทรถรางไปไม่ไหวอีกราย ต้องขายต่อในปี พ.ศ. 2435

ผู้ดำเนินกิจการรถรางรายใหม่ เป็นบริษัทของคนเดนมาร์ก ซึ่งได้พัฒนามาใช้ไฟฟ้ารแทนม้าลาก โดยขึงสายไฟเปลือย เหนือรางไปตลอด มีสาแหรกเป็นแท่งเหล็กยากติดบนหลังรถ ขึ้นไปรับกระแสไฟฟ้าจากมาเข้าเครื่อง เมื่อเปิดเดิน เครื่องจะไม่ไอ และแสงพุ่งแปลบออกมาที่หน้ารถ ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า "รถไอ" กิจการรถรางไฟฟ้าได้รับความนิยม ทำกำไรให้บริษัทมาก ในปี พ.ศ. 2448 เจ้านายและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่หลายคน จึงติดตั้งบริษัทรถรางแข่งกับฝรั่งบ้างในชื่อ บริษัท รถรางไทยทุน จำกัด ได้สัมใปทาน 2 สาย คือ สายรอบเมือง และสายดุสิต วิ่งจากยศเส สะพานดำ เสาชิงช้า บางลำภู จนถึงสวนดุสิต ใช้รถแบบเดียวกัน แต่ทาสีแดง เพื่อให้แตกต่างจากของบริษัทฝรั่ง ซึ่งทาสีเหลือง แต่ต่อมา ก็ต้องรวมกันเป็นบริษัทเดียว ทาสีเหลืองคาดแดง จนหมดสัมปทาน ตกมาเป็นของรัฐบาล ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2493

ในสมัยรัชการที่ 5 ที่ได้เริ่มเปิดเดินรถราง ถนนหนทางในกรุงเทพฯ ยังเป็นถนนที่เรียงด้วยอิฐแดง หน้าแล้ง มีฝุ่นคลุ้งกระจาย รัฐบาลจึงมีเงื่อนไขในสัญญาสัมปทานให้บริษัท รถรางบรรทุกน้ำ ไปฉีดถนนให้ด้วย ต่อมาได้เกิดเพลิงไหม้กรุงเทพฯ บ่อยครั้ง และไหม้แต่ละครั้งก็เป็นเรื่องใหญ่ เพราะบ้านส่วนใหญ่ยังเป็นไม้ มุงหลังคาด้วยจากอยู่ ผู้เดินรถราง จึงได้ตั้งหน่วยดับเพลิงขึ้น โดยดัดแปลงรถบรรทุกน้ำราดถนนเป็นรถดับเพลิงไปด้วย เพื่อช่วยทางราชการผจญไฟไหม้ในเส้นทางที่รถรางผ่าน

แม้รถรางเปิดเดินมาหลายปี แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.5 ก็ยังไม่เคยเสด็จประพาสทางรถราง ฉะนั้นในตอนค่ำวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2438 เวลาทุ่มเศษ จึงเสด็จพระราชดำเนินโดยรถพระที่นั่งเป็นการส่วนพระองค พร้อมด้วยพระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าลูกเธอ และพระบรมวงศานุวงศ์ ไปยังมุมศาลายุทธนาธิการด้านศาลหลักเมืองอีกด้วย ซึ่งขณะนั้น เมื่อรถรางกำลังจะออกจากต้นทางพอดี นายฮุยซึ่งเป็นกระเป๋ารถ เห็นขบวนเจ้านายเสด็จตรงมา จึงบอกให้นายชมคนขับรถรอ และขอร้องให้ผู้โดยสาร 4 คน ที่อยู่บนรถลงไปรอคันหลัง เมื่อพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จมาถึง นายฮุย นายชม ก็ก้มลงกราบทูลเชิญให้เสด็จประทับบนรถ

เมื่อพระองค์รับสั่งว่า มีพระราชประสงค์จะทอดพระเนตรเครื่องจักรไฟฟ้าของรถ นายฮุยที่รู้เรื่องดี จึงทำการเปิดที่เก็บเครื่องให้ทอดพระเนตร และพระองค์ก็ทรงรับสั่งถามว่า เหตุใดจึงมีแสงสว่างส่องแปลบปลาบออกมาจากเครื่อง และนายฮุยกราบบังคมทูลว่า เมื่อเริ่มเดินเครื่องต้องเปิดไอหน้ารถอย่างแรก ไอนั้นจึงมีแสงสว่างพุ่งแปลบออกมา และได้ทรงรับสั่งให้นายชมเดินหน้าถอยหลังให้ทอดพระเนตร จากนั้นก็ให้ขับไปตามเส้นทางจนถึงโรงไฟฟ้าของรถราง ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ๆ วัดมหาพฤฒาราม และพระองค์ก๋ทรงพระราชทานรางวัลให้นายชมกับนายฮุยด้วยคนละ 4 บาท

จากนั้น ทรงรับสั่งให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสมมติอมรพันธ์ เข้าไปติดต่อขอเข้าทอดพระเนตรในโรงไฟฟ้า มิสเตอร์แฮนเซ่น นายช่างใหญ่ ก็ถวายการต้อรับด้วยความยินดี ทรงปฏิสันถาร กับมิสเตอร์แฮนเซ่น เป็นภาษาอังกฤษว่า เหตุใดจึงใช้แกลบ เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า ไม่ใช้ฟืน นายช่างใหญ่ก็กราบทูลว่า แำกลบนั้นถูกกว่าฟืนถึง 50 เท่า ทำให้ทุ่นค่าใช้จ่ายมาก และก่อนเสด็จกลับ ได้พระราชทานพระหัตถ์ให้มิสเตอร์แฮนเซ่น สัมผัส ที่ซึ่งเป็นนายช่างใหญ่ ได้กราบบังคมทูลของพระบรมราชานุญาตขับรถรางมาส่งเสด็จจนถึงศาลหลักเมืองด้วยตนเองด้วย พระพุทธเจ้าหลวงจึงได้พระราชทานเหรียญทองคำให้มิสเตอร์ แฮนเซ่น เป็นที่ระลึก และพระราชทานเงินให้บริษัทรถราง 20 บาท เป็นค่าโดยสาร

และกาลต่อมาเมื่อกรุงเทพฯ เจริญขึ้น มีรถยนต์วิ่งกันขวักไขว่ รถราง ก็กลายเป็นเครื่องกีดขวางการจราจร ถูกยุบลงทีละสายสองสาย จนเลิกเด็ดขาดเมื่อวันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2511 คงเหลือแต่ที่ จังหวัดลพบุรี ซึ่งเปิดใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2499 ต่อมา ก็ต้องเลิกไปอีกในปี พ.ศ.2506 หลังจากใช้อยู่ 8 ปี ด้วยสาเหตุเดียวกับในกรุงเทพฯ คือ กีดขวางการจราจร รถรางไฟฟ้าจึงสูญพันธุ์ไปจากเมืองไทย ส่วนตัวรถปัจจุบันนี้ได้นำมาใช้ในการท่องเที่ยว โดยติดเครื่องยนต์ราก เช่น ในกรุงเทพฯ ก่อนจะเกิดใหม่มาเป็นเป็นรถไฟฟ้าลอยฟ้าในปัจจุบันนั่นเอง..


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99



ภาพของทหารยามที่ค่ายกักกันเชลยของญี่ปุ่น (yokohama ปี 1945) ขณะโค้งคำนับให้แก่อดีตเชลยศึกที่เคยเป็นนักโทษของเขา หลังจากญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้ในสงครามครามโลกครั้งที่ 2


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99
จากภาพเร็ป บน ฝันดีครับคืนนี้


พวกเค้าไม่ได้แพ้อย่างหมดรูป แต่พวกเค้าแพ้เพราะพวกเค้าได้รับคำสั่ง ให้ยอมแพ้ พวกเค้าได้สู้อย่างไม่กลัวตายอย่างถึงที่สุดเราควรให้เกียรติพวกเค้าแทนที่จะทับถมพวกเค้า พวกคุณสามารถถือระเบิดวิ่งใส่คนได้รึเล่า คุณสามารถที่จะยอมตายแทนที่จะยอมแพ้ได้รึเปล่า คุณสามารถก้มหัวรับคำสั่งทั้งๆที่คุณไม่ได้ชอบได้รึเปล่า ถ้าคุณสามารถทำได้อย่างที่ผมเขียนไว้สักข้อแล้วค่อยไปว่าพวกเค้า ทับถมพวกเค้า อ่อลืมบอกที่ผมเล่าได้ขนาดนี้เพราะตาของผมท่านได้สู้รบกับทหารญี่ปุ่น ท่านบอกว่าทหารญี่ปุ่นเหล่านี้มิได้กลัวสิ่งใดเลยเหมือนกับทหารไทยที่ต้องการสู้รบเพื่อบ้านเกิดของเราเอง




Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99
๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛ *PK*


มากจากกิล <•~- ◄Chill ◄Chill -~•> ตราบใดที่ผมยังเล่นอยู่ ผมไม่เคยกลัวกิลไหนในเซิฟ PK บอกตรงๆจากใจ

ที่ผมเกรงใจ มีเเค่2กิล  -?‘ มาsS:lบิ๑ธJ ‘?-  g#031 •`:- € v o l u T ! o N -:´• เเละกิลย่อยๆของเขา ถึงหัวกิลจะไม่ใช้คนเดิมเเต่ชื่อกิลยังเป็นสิ่งที่รบล้างไม่ได้ ส่วนกิลอื่นๆที่ขึ้นมาใหม่เป็นเศษธุรี สำหรับผม คำว่าเเฟนในกิลนี้ไม่มี มีเเต่คำว่าพี่ น้อง เเละสิ่งสำคัญคือ (คำว่าครอบครัว) ใครที่จะให้คนในกิลของผม ก้มหัวให้กิลนั้นผมบอกตรง ๆ  ทุกอย่างอยู่ที่ผม ว่าจะยอมหรือจะไม่ยอม หรือจะไปเเค่นั้น





Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99


เรือผีสิงชื่อ
“เรือฟลายอิ้ง ดัทช์แมน” ที่ออกหลอกหลอนแก่คนในน่านน้ำทั่วโลกและได้เป็นแรงบันดาลใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็นภาพวาด นิยายสยองขวัญ ภาพยนตร์ รวมทั้งเป็นชื่อเรือโจรสลัดลำหนึ่งในภาพยนตร์ชุด ไพเรทส์ ออฟ เดอะ แคริบเบียน และแม้กระทั้งโอเปร่าโดยเรือลำนี้ถูกกล่าวถึงครั้งแรกปลายปี 1700 ในหนังสือ "Voyage" และได้รับความนิยมในยุคนั้นและจากนั้นเป็นต้นมาตำนานนี้ก็แพร่หลายไปทั่วโลก โดยตำนานมีอยู่ว่ากัปตันชาวดัตช์คนหนึ่งชื่อ แวน แดร์ เดคเคน (Van Der Decken) ได้นำเรือไปพบสภาพอากาศที่เลวร้ายในแหลมกู๊ด โฮป ประเทศแอฟริกาใต้ เขาพยายามนำเรือผ่าพายุนี้แต่ไม่เป็นผลจนเรือใกล้อัปปาง ซึ่งเขาโกรธมากเขาเลยสาบานแก่ฟ้าว่า "ข้าจะวนเวียนอยู่บริเวณแหลมนี้ ตราบฟ้าดินสลาย" และแล้วก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ เขาและเรือได้กลายเป็นปีศาจที่ต้องคำสาปให้เดินทางในมหาสมุทรชั่วกัลปาวสาน ไม่สามารถเดินทางกลับบ้านได้ ตราบโลกนี้สิ้นสลาย ฟลายอิ้ง ดัตช์แมนได้รับการบันทึกเป็นเอกสารมาตั้งแต่คริสต์สตวรรษที่ 17 และมีรายงานการพบเห็นเป็นครั้งคราวมาจนถึงคริสต์สตวรรษที่ 20 เรือฟลายอิ้ง ดัทช์แมนมักปรากฏตัวในคืนที่มีหมอกหนาทึบ บางครั้งพบเห็นเป็นแสงประหลาดในเวลากลางคืน ในรูปของเรือสำเภาสามใบเสา และกัปตันผู้ซึ่งยังแต่งกายในแบบศตวรรษเก่าใบหน้าของเขาบิดเบี้ยว กรีดเสียงหัวเราะบ้าคลั่งชวนขนลุก หลายคนเริ่มมีความเชื่อว่าหายนะมักจะตามมาหากใครที่ได้เห็นเรือลำนี้ เช่น ในปี ค.ศ.1881 คนประจำเรือของพระเจ้าจอร์จที่ 5 ได้เห็นเรือลำใหญ่ลึกลับปรากฏขึ้นทางด้านหัวเรือเมื่อเวลา 4.00น. และหลังจากนั้นไม่กี่วัน คนประจำเรือคนนั้นก็พลัดตกเสากระโดงเรือตายคาที่ ทุกวันนี้ก็ยังมีคนกล่าวอ้างอยู่เสมอว่าเห็นเรือฟลายอิ้ง ดัทช์แมนยังคงรอนแรมอยู่เดียวดายกลางทะเลด้วยรูปลักษณ์อันเศร้าโศกและสยดสยองอยู่ ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์ได้คำอธิบายปรากฏการณ์ฟลายอิงดัตช์แมน ว่าเป็นปรากฏการณ์ทางแสงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เป็นมิราจหรือฟาตา มอร์กานา ที่เกิดจากการหักเห และการสะท้อน ที่พบเห็นในทะเล


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99



สงครามเงียบ: ทางหลวงสายเอเซีย๑ และ ๒

ทางหลวงเอเซียสายที่๑ จากสะเดาผ่านหาดใหญ่ผ่านกรุงเทพฯสู่อำเภอเชียงของ-เชียงรายสู่ห้วยทราย-ลาวไปยังยุนนานและคุนหมิง ได้ตกอยู่ในสถานการณ์ที่การก่อสร้างและการประกาศใช้ถูกระงับหรือชลอลงเป็นครั้งคราวอันสืบเนื่องมาจากเหตุผลทางเศรษฐกิจ สังคม และ การเมืองระหว่างประเทศ

ความวิตกของไทย: ผลกระทบจากข้อตกลงปลอดภาษีฝันร้าย
ข้อตกลงการค้าปรอดภาษีไทย-จีน เมื่อหลายปีก่อนได้ก่อให้เกิดภาวะขาดทุนและตกงานให้กับชาวเกษตรกรไร่กระเทียมของไทยเป็นจำนวนมาก
ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๔๗ – พ.ศ.๒๕๕๐ ไร่กระเทียมในประเทศไทยลดลงมาจาก ๙๘,๐๐๐ไร่ เหลือเพียง ๗๖,๐๐๐ไร หรือจากการผลิตกระเทียมได้ปีละ๙๖,๐๐๐ตัน เหลือเพียง ๗๕,๐๐๐ตัน อันสืบเนื่องมาจากกระเทียมราคาถูกจากประเทศจีนที่ได้ทะลักเข้าสู่ตลาดของประเทศไทย จากผลของข้อตกลงการค้าเสรีไทย-จีน

ปัญหาของความมั่นคงและสวัสดิการสังคมของประเทศ:
นอกจากนี้แล้ว ความกังวลว่าด้วยการทะลักเข้าสู่ประเทศไทยของชาวจีนก็ยังเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ทำให้เส้นทางเอเซียสายที่๒ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสะพานมิตรภาพไทย-ลาวสายที่๔ประสพกับความล่าช้าในการสร้างประการประกาศใช้
คนงานชาวจีนที่เข้าไปทำงานสร้างถนนและสะพานในประเทศลาวปฏิเสธที่จะย้ายกลับและได้ทำให้เกิดชุมชนของชาวจีนในบริเวณที่ใกล้กับเส้นทางและสะพานข้างหัวทราย-เชียงของ

อีกปัญหาหนึ่งก็คือรายได้ของกิจการเรือขนสินค้าข้ามฟากทั้งไทยและลาวที่จะได้รับความกระทบกระเทือนจากการเปิดใช้สะพาน ซึ่ง จะเป็นการการสูญเสียรายได้จำนวนมหาศาลของนักธุรกิจทั้งสองฝ่าย

อีกปัญหาหนึ่งของการเปิดเส้นทางให้รถบรรทุกขนาดใหญ่ข้ามผ่านที่จะต้องตามมาด้วยกิจการต่างๆเพื่อการรองรับอันหมายถึงอาชญากรรมที่จะเกิดขึ้นตามมาตามธรรมชาติของบริการรองรับชนชั้นแรงงานระดับล่างของสังคม

สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาและสงครามเย็นของการสร้างและการเชื่อมเส้นทางของทางหลวงสายเอเซียสายที่๒ ซึ่งก็เป็นปัญหาที่คล้ายคลึงกันกับสายอื่นๆ อาทิ สายที่หนึ่งจากอรัญประเทศสู่ท่าแขกขึ้นเหนือสู่ยุนนานเพราะจะต้องผ่านดินแดนที่รัฐบาลพม่าไม่สามารถที่จะควบคุมได้ การที่พม่าจะขอความร่วมมือจากจีนในการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ของภาคเหนือของพม่าเพื่อความสำเร็จของเส้นทางย่อมึหมายถึงอธิปไตยของพม่าตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของจีน ซึง เป็นสิ่งที่พม่าจะไม่มีวันยอม...


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99



สงครามตัวแทนที่เกิดในยุคของสงครามเย็นนั้น นอกจากสงครามสงครามเวียดนามและสงครามเกาหลีแล้ว ยังมี "สงครามโซเวียต - อัฟกานิสถาน" ด้วย ซึ่งในปัจจุบันบางคนอาจสับสนเมื่อกล่าวถึงสงครามอัฟกานิสถานที่มักจะเข้าใจรวมว่าเป็นสงครามการก่อการร้ายที่กำลังสู้รบกันอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้น ต้องแยกและเข้าใจให้ดีในความหมายว่าระหว่างสงครามการก่อการร้ายในอัฟกานิสถาน และสงครามโซเวียตระหว่างกับอัฟกานิสถานนั้น เป็นสงครามที่เกิดขึ้นในคนละยุคและคนละเหตุผลกัน สำหรับสงครามโซเวียต-อัฟกานิสถาน" : เป็นการต่อสู้ระหว่างกองโจรมุสลิมต่อต้านมูจาฮีดีน กับรัฐบาลอัฟกัน และกองทัพโซเวียต สงครามนี้เริ่มจากการทำรัฐประหาร (ค.ศ. 1978) ซึ่งโค่นล้มประธานาธิบดีของอัฟกานิสถานคือ ซาร์ดาร์ มูฮามัด เดาวด์ คาน ผู้ซึ่งขึ้นมามีอำนาจโดยการโค่นล้มกษัตริย์ในปี (ค.ศ. 1973) ตัวประธานาธิบดีถูกลอบสังหาร และรัฐบาลคอมมิวนิสต์ที่ฝักใฝ่โซเวียตภายใต้การปกครองของ นัวร์ มูฮามัด ทารากิ ก็ถูกจัดตั้ง (ค.ศ. 1979) และการทำรัฐประหารอีกครั้งได้ทำให้ ฮาฟิซูลล่าห์ อามิน มีอำนาจ เป็นปัจจัยที่ทำให้โซเวียตเข้ามารุกราน และแต่งตั้งให้ บาบราก คาร์มาล เป็นประธานาธิบดี การรุกรานของโซเวียตซึ่งทำให้ชาวอัฟกันลุกขึ้นต่อต้าน เกิดจากกองทหารเพียง 30,000 นาย ซึ่งได้เพิ่มขึ้นในที่สุดเป็น 100,000 นาย โดยได้รับการสนับสนุนจากอเมริกา ซาอุฯ อิสราเอล จีน ปากีสถาน กลุ่มอิสลามมูจาฮีดีน รวมถึงประเทศมุสลิมอื่นๆ ทั่วโลกผ่านปากีสถาน แม้ว่าโซเวียตจะมีอาวุธที่เหนือกว่า และมีกำลังทางอากาศเพียงฝ่ายเดียว ฝ่ายต่อต้านก็สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านั้นได้ สงครามได้กลายเป็นการปักหลักสู้กันโดยกองทัพของโซเวียตควบคุมพื้นที่ในเมือง และกลุ่มกองโจรได้ปฏิบัติการอย่างเป็นอิสระในพื้นที่ชนบท ซึ่งส่วนใหญ่เป็น ภูเขา เมื่อสงครามได้ขยายตัว ฝ่ายต่อต้านได้ปรับปรุงองค์กรและเริ่มใช้อาวุธที่ได้รับการสนับสนุน และที่ยึดได้รวมไปถึง อาวุธต่อต้านอากาศยานของอเมริกา ทำให้โซเวียตไม่ได้เปรียบในเรื่องของอาวุธที่ทันสมัย คาร์มัล ลาออก และมูฮามัด นาจิบูลลาห์ ได้กลายเป็นผู้นำสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสต์ (ค.ศ. 1986) ในที่สุดประธานาธิบดีมิคคาเอล กอร์บาชอฟ ได้ประกาศการถอนกำลังทหารโซเวียต (1988 - 1989) ออกจากอัฟกานิสถาน ซึ่งก็เพราะว่าประชาชนของโซเวียต เริ่มไม่พอใจกับสงครามซึ่งยืดเยื้อและไม่มีท่าทีจะประสบความสำเร็จ นอกจากการที่จะต้องสูญเสียทหารไปเรื่อยๆ นั่นเอง


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99



หนังสือพิมพ์ของไทยฉบับหนึ่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛