GAMEINDY กระดานสนทนา
www.gameindy.com

↓.~ สงคราม ประวัติศาสตร์ ~.↓

_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99



ภาพของทหารอิตาลีที่ถูกจับเป็นเชลยในปฏิบัติการเข็มทิศ ที่เป็นปฏิบัติการใหญ่ในการสู้รบครั้งแรกของฝ่ายสัมพันธมิตรในแนวรบแถบทะเลทรายตะวันตกในสงครามโลกครั้งที่ 2 (สมรภูมิที่แอฟริกา) โดยกองกำลังทหารอังกฤษและเครือจักรภพ ได้ทำการเปิดแผนการโจมตีกองกำลังทหารของฝายอิตาลี ที่ประจำอยู่บริเวณทางตะวันตกของอียิปต์และทางตะวันออกของลิเบีย เมื่อเดือนธันวาคม 1940 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 1941 โดยการโจมตีประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์ ส่งผลให้ฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถรุกคืบจากอียิปต์เข้าไปจนถึงบริเวณตอนกลางประเทศลิเบีย สามารถจับกุมเชลยศึกอิตาเลียนได้กว่า 115,000 นาย ทั้งยังสามารถทำลายรถถังอิตาลีหลายพันคัน รวมถึงปืนใหญ่และเครื่องบินอีกจำนวนมาก ซึ่งส่งผลให้กองกำลังอิตาลีในแนวรบแถบนี้แทบสิ้นสภาพไปเลยก็ว่าได้


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99


[ภาพ] : ทหารสัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกใกล้กับเมืองแอลเจียร์ในปฏิบัติการรหัสว่า "ปฏิบัติการคบเพลิง (Operation Torch)" ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่กองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรได้ทำการยกพลขึ้นบก บริเวณใกล้กับเมืองแอลเจียร์ แถบประเทศโมร็อกโกและแอลจีเรีย โดย "ปฏิบัติการคบเพลิง" นี้เดิมทีแล้วมีชื่อเรียกว่า "ปฏิบัติการจิมแนสต์" (Operation Gymnast) ซึ่งเป็นแผนการทางทหารช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ของสัมพันธมิตร ที่จะใช้กองกำลังผสมอังกฤษ-อเมริกัน เพื่อยกพลขึ้นบกในสมรภูมิแอฟริกา โดยมุ่งจะรุกสู่อาณานิคมแอฟริกาเหนือของฝรั่งเศสเขตวีชี สำหรับความเป็นมาของปฏิบัติการนี้ก็สืบเนื่องมาจากการที่สหภาพโซเวียต ได้กดดันให้รัฐบาลอเมริกาและอังกฤษเปิดแนวรบที่สองในทวีปยุโรป เพื่อเป็นการกดดันฝ่ายนาซีเยอรมันต่อกองทัพโซเวียตในแนวรบด้านตะวันออก

โดยผู้บัญชาการทหารของฝ่ายอเมริกาก็เห็นพ้องกันว่าจะเริ่มปฏิบัติการที่ตั้งชื่อเรียกว่า "ค้อนยักษ์" (Sledgehammer) ที่จะเป็นการยกพลขึ้นบกสู่สมรภูมิยุโรปที่ถูกยึดครองโดยกองทัพนาซีให้เร็วที่สุด แต่ปฏิบัติการนี้ได้ถูกผู้บัญชาการทหารของอังกฤษคัดค้านไว้ โดยให้เหตุผลว่าจะทำให้พันธมิตรตะวันตกต้องเจอกับความสูญเสียอย่างหนัก และได้เสนอให้เปิดปฏิบัติการโจมตีอาณานิคมในแอฟริกาเหนือของฝรั่งเศสเขตวีชี แทนการเปิดปฏิบัติการในยุโรปตามข้อเรียกร้องของสหภาพโซเวียต ซึ่งโซเวียตก็ไม่คัดค้าน

สำหรับการรุกสู่แอฟริกานั้น หลักๆ มีเป้าหมายเพื่อกำจัดกองกำลังฝ่ายอักษะในแอฟริกาเหนือและต้องการจะทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ครอบครองและควบคุมบริเวณแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนให้ได้มากที่สุด เพื่อเตรียมการจะบุกยุโรปใต้เป็นการต่อไปในปี 1943

แผนของฝ่ายสัมพันธมิตรคือการยกพลขึ้นบกเพื่อยึดท่าเรือและสนามบินที่สำคัญในโมร็อกโกและแอลจีเรีย เป้าหมายหลักของแผนปฏิบัติการนี้อยู่ที่เมืองสำคัญสามเมือง นั่นคือ กาซาบล็องกา, ออร็อง (ออราน) และแอลเจียร์ ถ้าแผนการสำเร็จลุล่วงด้วยดีฝ่ายสัมพันธมิตรจะบุกไปทางตะวันออกมุ่งสู่ตูนิเซียต่อไป

กองกำลังของฝ่ายอเมริกันได้ทำการยกพลขึ้นบกช่วงก่อนฟ้าสางของวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942 โดยไม่มีการทิ้งระเบิดก่อนการโจมตีเพราะฝ่ายสัมพันธมิตรคาดการณ์ว่ากองกำลังฝรั่งเศสเขตวีชีจะไม่ทำการต่อต้านใด ๆ ซึ่งเป็นการคาดการณ์ที่ผิดพลาดของฝ่ายสัมพันธมิตรเพราะมีบางส่วนของกองกำลังฝรั่งเศสเขตวีชีที่ยิงต่อต้านฝ่ายสัมพันธมิตรแต่กองกำลังเหล่านั้นก็โดนยิงโต้ตอบและยอมจำนนในที่สุด

ทั้งนี้มีกองเรือของฝรั่งเศสเขตวีชีที่เมืองกาซาบล็องกาซึ่งประกอบด้วยเรือลาดตระเวน เรือพิฆาต และเรือดำน้ำได้เข้าโจมตีสกัดกองกำลังอเมริกันที่กำลังยกพลขึ้นบก แต่ถูกทำลายโดยปืนเรือและเครื่องบินของอเมริกันทำให้เรือลาดตระเวน 1 ลำ เรือพิฆาต 6 ลำ และเรือดำน้ำ 6 ลำของฝรั่งเศสเขตวีชีต้องจมลง ส่วนฝ่ายอเมริกันมีเรือพิฆาตโดนโจมตีเสียหาย 2 ลำ

จากนั้น กองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรได้ยกพลขึ้นบกที่หาดสามแห่ง สองแห่งอยู่ทางตะวันตกและอีกแห่งอยู่ทางตะวันออกของเมืองออร็องตามลำดับ การยกพลขึ้นบกเพื่อยึดหาดที่อยู่ทางตะวันตกที่สุดต้องประสบปัญหาล่าช้ากว่าหาดอื่นเนื่องมาจากหลายสาเหตุ ทั้งการเคลียร์ทุ่นระเบิดที่ล่าช้าและสับสน และไม่มีการส่งหน่วยลาดตระเวนมาประเมินสภาพแวดล้อมของหาด ทำให้เรือระบายพลบางลำเกยตื้นหรือโดนทุ่นระเบิดได้รับความเสียหาย ความผิดพลาดนี้จะถูกนำแก้ไขในปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบกครั้งต่อ ๆไปของฝ่ายสัมพันธมิตร เช่น ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด เป็นต้น

โดยกองกำลังฝรั่งเศสเขตวีชีนั้นก็ได้ทำการยิงโต้ตอบกับกองเรือของฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นเวลากว่า 2 วัน แต่หลังจากโดนระดมยิงด้วยปืนใหญ่จากเรือประจัญบานของอังกฤษในวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ.1942 กองกำลังฝรั่งเศสเขตวีชีที่ปกป้องเมืองออร็องก็ยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตร

ซึ่งปฏิบัติการคบเพลิงนี้ ได้มีการบุกโดยใช้พลร่มด้วย ถือเป็นครั้งแรกๆ ของฝ่ายสหรัฐอเมริกาที่นำกำลังทหารพลร่มเข้าร่วมปฏิบัติการ โดยพลร่มเหล่านี้ได้บินจากเกาะอังกฤษผ่านสเปน ซึ่งปล่อยลงใกล้กับเมืองออร็อง เพื่อทำการยึดสนามบินที่สำคัญสองแห่งคือ Tafraoui และ La Senia อยู่ห่างจากออร็อง 15 และ 5 ไมล์ทางใต้ของออร็องตามลำดับ ภารกิจนี้ถูกขัดขวางด้วยสภาพอากาศที่แย่เหนือสเปน เพราะเป็นปัญหาในเรื่องของการใช้งานระบบนำร่องและระบบการสื่อสารที่มีระยะทางไกลมากจากจุดที่เครื่องขึ้นถึงจุดที่ปล่อยทหารพลร่ม

แต่อย่างไรก็ตาม สนามบินทั้งสองแห่งดังกล่าวก็ถูกพลร่มอเมริกันยึดสำเร็จ จากนั้นจึงเปิดการรุกสู่แอลเจียร์ นำโดยกองพลทหารราบที่ 34 ของอเมริกัน ร่วมกับกองพลน้อยอังกฤษที่ 78 เข้าปฏิบัติการในภารกิจยกพลขึ้นบกที่หาด 3 หาด ใกล้กับแอลเจียร์ และในขณะเดียวกันนั้นได้ให้กองกำลังบางส่วนยกพลขึ้นบกผิดหาดแต่ก็ไม่มีผลกระทบที่เลวร้ายอะไร เพราะกองกำลังฝรั่งเศสเขตวีชีไม่ได้ทำการต่อต้านใด ๆ การรบที่แอลเจียร์เกิดขึ้นที่เดียวคือ ที่ท่าเรือของเมืองแอลเจียร์

จากนั้นเมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มปฏิบัติการชื่อเทอร์มินอล โดยเรือพิฆาตสัญชาติอังกฤษจำนวน 2 ลำ ซึ่งพยายามนำเรือเข้าเทียบท่าเพื่อส่งหน่วยเรนเจอร์อเมริกา เพื่อจะบุกเข้ายึดท่าเรือก่อนที่กองกำลังป้องกันของฝรั่งเศสจะทำลายท่าเรือและจมเรือที่ทอดสมออยู่ทิ้งก่อน ซึ่งระหว่างที่จะเข้าเทียบท่านั้นได้มีการยิงต่อต้านจากปืนใหญ่ของกองกำลังฝรั่งเศสวิชีที่ทำการป้องกันท่าเรืออยู่ ซึ่งได้ยิงเข้าใส่เรือพิฆาต 2 ลำ ของอังกฤษ จนทำให้ 1 ใน 2 ลำ จำเป็นต้องถอนตัวออกจากบริเวณนั้นก่อนที่จะเกิดการสูญเสีย ซึ่งก็เหลืออีก 1 ลำ โดยต่อมาเรือลำนี้ก็สามารถแล่นเข้าเทียบท่าได้สำเร็จ และหน่วยเรนเจอร์ก็บุกเข้ายึดท่าเรือนั้นได้จนสำเร็จ

ทั้งนี้ กองกำลังสัมพันธมิตรที่ขึ้นบกสำเร็จแล้ว ก็ได้เข้าทำการโอบล้อมกองกำลังของฝรั่งเศสเขตวีชีไว้ได้ จนในเวลา 18.00 น. ของวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942 กองกำลังฝรั่งเศสเขตวีชีที่เมืองแอลเจียร์ ก็ยอมจำนนแต่โดยดี ซึ่งเมื่อสรุปความสูญเสียแล้วนั้น ฝ่ายสัมพันธมิตรเสียทหารไปกว่า 479 นาย บาดเจ็บอีกกว่า 720 นาย และอีกฝ่ายคือฝรั่งเศสเขตวีชีนั้น มีทหารเสียชีวิตกว่า 1,346 นาย และบาดเจ็บอีกกว่า 1,997 นาย


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99



[ "กองพันปีศาจ" (Ghost Army) ]

ในสมรภูมิรบที่สำคัญที่สุดในสงครามโลกครั้งที่ 2 คือการรบที่นอร์มังดี (Normandy) ประเทศฝรั่งเศส วันที่ 6 มิถุนายน 1944 กองทัพฝ่ายพันธมิตรยกพลขึ้นบกแต่ถูกเยอรมันตอบโต้อย่างดุเดือด การเคลื่อนย้ายกำลังพลเป็นไปอย่างยากลำบาก ทหารเยอรมันนับแสนๆคนกระจายกันอยู่ตามเมืองสำคัญๆ อีกทั้งยังมีหน่วยสอดแนมคอยส่งข่าวให้รู้ความเคลื่อนไหวของฝ่ายพันธมิตร

การจะเข้ายึดเมืองสำคัญๆคืนจากฝ่ายเยอรมันย่อมต้องเกิดการปะทะและการสูญเสีย ทหารจำนวนมาก วิธีการเดียวที่จะหลีกเลี่ยงการสูญเสียคือการทำให้พวกเขายอมแพ้แต่โดยดี หรืออย่างน้อยก็ต้องเบี่ยงเบนความสนใจ ล่อทหารเยอรมันออกจากเมืองให้ได้ แต่การจะทำเช่นนั้นได้ต้องใช้กำลังพลและยุทธปัจจัยจำนวนมหาศาล

เมื่อไม่มีทรัพยากรมากมายขนาดนั้น สิ่งที่สหรัฐทำคือการสร้างภาพลวงตาให้ทหารเยอรมันเชื่อว่ากองทัพฝ่าย พันธมิตรจำนวนมหาศาลกำลังบุกเข้าโจมตี หน้าที่นี้จึงตกเป็นของบรรดาศิลปินและนักสร้างสรรค์งานโฆษณาประชาสัมพันธ์

เรียกได้ว่าเป็นกองทัพไร้อาวุธของกองทัพอเมริกา โดยคัดเลือกศิลปินสาขาต่างๆ จากมหาวิทยาลัย หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งจิตรกร นักแสดง นักออกแบบ ช่างทำฉาก วิศวกรด้านภาพ และเสียง ได้กำลังพลทั้งหมดราว 1,100 นาย พวกเขาถูกบรรจุให้เป็นทหารหน่วยรบพิเศษ กองบัญชาการที่ 23 (23rd Headquarters Special Troops)

ทหารหน่วยรบพิเศษถูกแบ่งหน้าที่ออกเป็น หน่วยย่อยตามความถนัดคือแผนกสร้างภาพลวงตา แผนกเสียง แผนกบทละครและแผนกสร้างบรรยากาศ ทหารเพียงหน่วยเดียวที่เป็นทหารจริงๆคือทหารช่างทำหน้าที่คุ้มกันหน่วยรบ พิเศษ แต่ละแผนกมีความสำคัญเท่าๆกันที่จะทำให้ทหารเยอรมันตกหลุมพรางและพ่ายแพ้ในที่สุด

[แผนกสร้างภาพลวงตา] (Visual Deception) : หน้าที่ สร้างยานพาหนะ รถจี๊บ รถถัง รถหุ้มเกราะ เครื่องบิน โดยตอนแรกพวกเขาทดลองสร้างจากผ้าใบและไม้อัด แต่มันดูไม่ค่อยเหมือนของจริงสักเท่าไรนัก หากความแตก ทหารเยอรมันจับได้ละก็เป็นโดนถล่มเละเป็นโจ๊กทั้งกองพันแน่ๆ ต่อมาภายหลังจึงเปลี่ยนไปใช้ยางซึ่งสามารถบิดงอได้ตามรูปทรงที่ต้องการ เมื่อทาสีเติมเครื่องหมายต่างๆลงไป มองไกลๆไม่มีทางรู้ได้เลยว่ามันเป็นของปลอม

[แผนกเสียง] (Sonic Deception) : หน้าที่ สร้างซาวนด์เอฟเฟ็ค เสียงเครื่องยนต์ เสียงการเคลื่อนพล โดยเสียงทั้งหมดทำการบันทึกโดยวิศวกรของเบลล์แลบ (Bell Lab) บริษัทที่ชำนาญช่ำชองทางด้านการสื่อสารด้วยเสียง แต่สมัยนั้นยังไม่มีเทปบันทึกเสียง การบันทึกจึงใช้ระบบสายแม่เหล็ก (Wire Record) ซึ่งเป็นระบบการบันทึกเสียงที่ทันสมัยที่สุดในยุคสมัยนั้น เสียงต่างๆสามารถนำมาผสมผสานกันตามที่ต้องการ

[แผนกบทละคร] (Radio Deception) : ทำหน้าที่ในการเขียนบทพูด และติดต่อสื่อสาร ส่งข่าวกับทหารหน่วยอื่นๆเพื่อหลอกล่อให้ฝ่ายเยอรมันเข้าใจผิดในขณะที่ข้อความที่ต้องการสื่อสารกันจริงๆส่งด้วยรหัสมอร์ส (Morse Code)

[สำหรับปฏิบัติการเสี่ยงตาย] : กองพันปิศาจได้ถูกส่งออกปฏิบัติการทั้งหมด 21 ครั้ง โดยสามารถหลอกล่อทหารเยอรมันไปจากตำแหน่งที่ล่อแหลม ทำให้กองกำลังทหารฝ่ายพันธมิตรสามารถเคลื่อนกำลังพลเข้ายึดจุดยุทธศาสตร์ที่ สำคัญๆ ได้ แต่ปฏิบัติการของกองพันปิศาจนั้น ก็เหมือนเป็นการเอาตัวเองเข้าไปล่อเป็นเป้า เหตุการณ์ที่เกือบจะเอาตัวเองไม่รอดครั้งหนึ่งคือปฏิบัติการเบ็ตเตมบอร์จ (Operation Bettembourg) เมื่อวันที่ 21 กันยายน 1944 กองพันปิศาจได้รับคำสั่งให้ไปช่วยกองทหารที่พยายามจะข้ามแม่น้ำโมเซลเล ในเมืองเมตซ์ (Metz) แต่ถูกกองกำลังฝ่ายเยอรมันจำนวนมากยันเอาไว้ กองพันปิศาจมีหน้าที่สร้างภาพว่าเคลื่อนกำลังพล 20,000 นายพร้อมรถถังจำนวนมากมายังพื้นที่

รถถังยางถูกนำมาตั้งให้เห็นบนท้อง ถนน ฝ่ายสร้างบรรยากาศเปิดเครื่องบันทึกเสียงสร้างภาพลวงตาว่ามีรถถังหลายชนิด จำนวนมากกำลังเคลื่อนพลมายังจุดปะทะ นักแสดงชุดหนึ่งติดเครื่องหมายทหารยานเกราะออกเดินทางไปตามแหล่งสถานบันเทิง คุยโวว่าเป็นทหารหน่วยยานเกราะ ปฏิบัติการสร้างภาพดำเนินติดต่อกัน 3 วัน แต่ดูเหมือนฝ่ายเยอรมันจะยังคงยึดที่มั่นยันทหารฝ่ายพันธมิตรไม่ให้ข้ามแม่ น้ำโมเซลเลไปได้ กองพันปิศาจเริ่มใจคอไม่ดี หากเยอรมันจับได้ว่าไม่มีทหารยานเกราะ 20,000 นายเคลื่อนพลมายังจุดปะทะ อย่าว่าแต่ทหารพันธมิตรที่กำลังรอความช่วยเหลือ พวกกองพันปิศาจเองก็คงเน่าด้วยเหมือนกัน

แต่แล้วเมื่อถึงวันที่ 4 ทหารเยอรมันกลัวว่าหน่วยยานเกราะกำลังใกล้เข้ามาจริงๆ พวกเขาระเบิดสะพานข้ามแม่น้ำและทิ้งเมืองหนีเอาตัวรอด ท่ามกลางความโล่งใจของกองพันปิศาจที่สามารถปฏิบัติการสำริดผล ซึ่งกำลังพลกองพันปิศาจทั้งหมดนี้ได้ให้สัตย์ปฏิญาณว่า จะไม่เปิดเผยความลับให้ผู้อื่นล่วงรู้แม้ว่าฝ่าย พันธมิตรจะได้รับชัยชนะในสงครามแล้วก็ตาม เรื่องราวทั้งหมดจึงถูกปกปิดนานถึง 50 ปี จนกระทั่งเอกสารลับหมดอายุตามกฎหมาย เรื่องราวนี้จึงถูกเปิดเผยครั้งแรกในปี 1996 ที่ผ่านมานี่เอง


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99



เกณฑ์นักโทษประหารไปเป็น หน่วยพิเศษ ๖๘๔

หน่วยพิเศษ ๖๘๔ ของเกาหลีใต้เกิดขึ้นจากการนำนักโทษประหารทั้งหมด ๓๑ คนมาขับเคี่ยวฝึกให้แกร่งกล้าสมกับภารกิจ "เพื่อชาติ" โดยให้คำมั่นสัญญาว่าสถานภาพของพวกเขาจะถูกเปลี่ยนจากนักโทษเป็นทหารหาญกล้าเปี่ยมทั้งเกียรติยศและกลับมามีชีวิตใหม่อีกครั้ง หลังจากปลิดชีพประธานาธิบดีเกาหลีเหนือได้สำเร็จ

แต่เมื่อเกาหลีใต้มีนโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเปลี่ยนจาก "หักดิบ" ไปสู่การเจรจาทางการทูต บนเวทีนานาชาติ หน่วยพิเศษ ๖๘๔ จึงไร้ความหมายทันทีพวกเค้าไร้ตัวตนในสังคมพวกเค้าไม่มีแม้แต่ชื่อ

โศกนาฏกรรม ๒๓ สิงหาคม ๑๙๗๑ เกิดขึ้นเมื่อกลุ่มคน ๒๓ คนพร้อมอาวุธครบมือ ยึดรถประจำทางมุ่งหน้าสู่กรุงโซลเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่พวกเขา

แต่รัฐบาลเกาหลีใต้ประกาศภาวะฉุกเฉิน โดยอ้่างว่าชายเหล่านี้เป็นกองโจรคอมมิวนิสต์ และสุดท้ายกลุ่มคนเหล่านี้ตัดสินใจระเบิดพลีชีพตัวเองเพื่อหนีความอับอาย ขณะที่มีคนรอดชีวิต ๔ คนถูกจตัดสินประหารชีวิตในเวลาต่อมาเช่นกัน

หลังจากที่เคยอ้างว่ากลุ่มคนเหล่านี้เป็นคอมมิวนิสต์ติดอาวุธ รัฐบาลยกกรณีนี้ให้อยู่ในแฟ้ม "อาชกรรมพิเศษทางการทหาร" จนกระทั่งในปี ๑๙๗๒ ทนายความคนหนึ่งชูประเด็นเรื่องนี้อีกครั้ง ผลที่ได้คือถูกตั้งข้อหา "เป็นภัยต่อความมั่นคง" ต้องไปนอนในคุก ๓ ปี ตามระเบียบ

ประธานาธิบดีปักจุงฮี แห่งเกาหลีใต้นั้นเป็นที่ร่ำลือในความเป็นเผด็จการ ด้วยปูมหลังทางการทหาร ไม่ว่าจะเป็นหน่วยรบเกาหลี (The Republic of Korea Army หรือ ROK) หรือเคยเป็นหทารในแมนจูกัว ที่รู้กันในยุคนั้นว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดของญี่ปุ่นเมื่อครั้งเถลิงอำนาจทั่วเอเชียบูรพา ส่วนตำแหน่งที่ได้ก็มาจากการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลเลือกตั้งของซิงมัน รี (Syngman Rhee) ในเดือน พฤษภาคม ปี ๑๙๖๑

ส่วนคิมอิลซุง ผู้นำสูงสุดคนแรกของเกาหลีเหนือ ผู้ชูอุดมการณ์สังคมนิยม นับตั้งแต่แบ่งแยกดินแดนและปกครองด้วยระบบคอมมิวนิสต์ กลับอยู่นานและถึงแก่กรรมในปี ๑๙๙๔

และเหตุการณ์ได้ถูกนำไปสร้างภาพยนตร์เรื่อง SILMIDO ของเกาหลีใต้


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99



ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แมกอาร์เธอร์เป็นผู้บัญชาการกองกำลังสหรัฐฯ ในตะวันออกไกล และได้ช่วงชิงพื้นที่มหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกเฉียงใต้จากญี่ปุ่น (พ.ศ. 2485-2488) โดยใช้ออสเตรเลียเป็นฐาน ซึ่งถ้อยวลีที่ที่แมกอาเธอร์กล่าวแก่ชาวฟิลิปปินส์ระหว่างถอยหนีกองทัพญี่ปุ่นในฟิลิปปินส์คือ "ข้าพเจ้าจะกลับมา" (I Shall Return) ต่อมาเมื่อกลับมาตามคำสัญญาหลังการถอยไปตั้งหลักที่ออสเตรเลีย แมกอาเธอร์ได้ประกาศอีกครั้งในขณะที่เดินลุยน้ำลงจากเรือที่อ่าวเลย์เตว่า "ข้าพเจ้ากลับมาแล้ว" (I Have Returned) เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2487


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99



[ "การพักรบ"..ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ]

"การพักรบ : truce" เรียกอีกอย่างว่า "การหยุดยิง : ceasefire" ได้แก่ การพักการรบพุ่งซึ่งกันและกันระหว่างการสู้รบในสงครามหรือในเหตุการณ์ขัดแย้งอื่นใด อันมีการใช้กำลังอาวุธ ทั้งนี้การพักรบต้องเป็นไปโดยความเห็นชอบของทุกฝ่ายที่ตกลงจะพักรบการพักรบอาจกระทำได้โดยการประกาศ หรือทำเป็นหนังสือสัญญาอย่างเป็นทางการก็ได้ หรือกระทำโดยประการอื่นใด อันไม่เป็นทางการแต่เป็นที่รับรู้โดยทั่วไป

เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2457 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 มีการประกาศพักรบอย่างไม่เป็นทางการในฝรั่งเศส ของทหารฝ่ายอังกฤษ กับทหารฝ่ายเยอรมัน เพื่อเฉลิมฉลองวันคริสตสมภพ สองสามวันหลังจากนั้นก็เริ่มรบพุ่งกันใหม่ การพักรบครั้งนี้รู้จักกันในชื่อ "การพักรบในวันคริสตสมภพ" (Christmas Truce) ที่ว่าไม่เป็นทางการนั้นเนื่องจากไม่มีการทำหนังสือลงนามทุกฝ่ายระหว่างฝ่ายอังกฤษและเยอรมัน เพื่อร่วมกันเฉลิมฉลองวันคริสต์มาส ซึ่งที่บอกว่าไม่เป็นทางการนั้นก็เนื่องมาจากไม่มีการทำหนังสือลงนามอย่างเป็นทางการนั่นเอง

ฆ่ากันเพื่ออะไร เล่นฟุตบอลกันดีกว่า เยอรมันและอังกฤษ หยุดรบชั่วคราว อย่างน่าประทับใจ เมื่อเยอรมันเชิญอังกฤษ มาฉลองวันคริสมาสต์ และเล่นฟุตบอล กลางสนามรบ ทั้งสองชาติหยุดยิงชั่วคราว มาฉลองกัน ถ่ายรูปด้วยกัน เล่าเรื่องราวแลกเปลี่ยน มีการแสดงการละเล่นให้ดู มีการไว้อาลัยให้ผู้เสียชีวิต เหตุการณ์นี้แสดงให้เห็นว่า ลึกๆ ในใจทุกคน ไม่ได้อยากจะมาเข่นฆ่ากันเลย ทุกคน ทุกเชื้อชาติ ศาสนา ความเชื่อ ต่างมี สันติภาพในใจกันทุกคน ขอสันติภาพจงมีแก่โลกของเรา และทุกๆ สรรพสิ่งในโลกนี้


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99
ฝันดีด้วยภาพนี้ครับ





สงครามโลกแค่ 2 ครั้ง แต่กลืนเอาชีวิตผู้คนไปเกือบร้อยล้าน


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99



พัทยาในอดีต


พ.ศ.๒๕๐๕ รองประธานาธิบดีลินดอน บี.จอนสัน ได้แนะนำให้ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี้ ให้ความช่วยเหลือทางการทหารต่อประเทศไทย ๕๐ล้านดอลลาร์ เพื่อการต่อต้านปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในภาคอีสาน ทั้งนี้ไม่นับค่าธรรมเนียม๒๕ล้านดอลล่าในการสร้างสนามบินหรือยกระดับแต่ละสนามในประเทศไทยขึ้นมา

วันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๐๕ รัฐมนตรีต่างประเทศดีน รัสค์ ของสหัฐฯ กับ รัฐมนตรีต่างประเทศถนัด คอร์มัน ของไทย ได้แถลงการณ์ร่วมกันถึงการต่อต้านการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ในประเทศไทยและในอาเชี่ยน

วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๐๕ ประเทศต่างๆจำนวน ๑๔ประเทศได้ทำการลงนามในสนธิสัญญากรุงเจนีว่า พ.ศ.๒๕๐๕ ว่าด้วย
•   ลาวจะเป็นฝ่ายเป็นกลางทางการการเมืองและจะไม่เข้าข้างทางการทหารกับฝ่ายใด
•   ลาวจะไม่อนุญาติให้กองกำลังทหารของต่างชาติเข้าไปยึดพื้นที่ของประเทศ
•   ลาวจะไม่รับรององค์การทางการทหารใดๆรวมทั้ง ซีโต้ (SEATO)
•   ลาวจะไม่อนุญาติให้ต่างชาติเข้าไปก้าวก่ายกับกิจการภายในของประเทศ
•   กองกำลังของต่างชาติทั้งหมดในประเทศลาวจะต้องถอดกองกำลังออกไปให้เร็วที่สุดเท่าที่ทจะเร็วได้ (เวียตนามเหนือไม่ได้ปฏิบัติตาม ทิ้งกองกำลังไว้ในลาว๔กองพล)

ถามว่าทำได้ไหม การที่จะไม่ให้เวียตนามก้าวก่ายกิจการของลาว ในเมื่อภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสนั้น มือขวาของฝรั่งเศสที่รับคำสั่งไปสั่งต่อกับคนลาวคือคนเวียตนามที่อยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่าคนลาว ซึ่งก็เช่นเดียวกันกับสถาการณ์ในกัมพูชา

คนไทยไม่ยอมเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของตนเอง แต่ชอบโทษชาวบ้านเขาไปทั่ว ทั้งๆที่หากไม่ได้รับความชวยเหลือจากอเมริกาแล้ว ป่านนี้ก็คงจะประมาณพม่านั่นแหล่ะ..


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99




[ "อนุสาวรีย์เราสู้" : รำลึกวีรกรรมชาวบ้านโนนดินแดง จ.บุรีรัมย์]

. "บรรพบุรุษของไทยแต่โบราณ ปกบ้านป้องเมืองคุ้มเหย้า เสียเลือดเสียเนื้อมิใช่เบา หน้าที่เรารักษาสืบไป ลูกหลานเหลนโหลนภายหน้า จะได้มีพสุธาอาศัย อนาคตต้องมีประเทศไทย มิยอมให้ผู้ใดมาทำลาย ถึงขู่ฆ่าล้างโคตรก็ไม่หวั่น จะสู้กันไม่ยอมหนีหาย สู้ตรงนี้สู้ที่นี่สู้จนตาย ถึงเป็นคนสุดท้ายก็ลองดู บ้านเมืองเราเราต้องรักษา อยากทำลายเชิญมาเราสู้ เกียรติศักดิ์ของเราเราเชิดชู เราสู้ไม่ถอยจนก้าวเดียว"..

โดยคำว่า “เราสู้” นี้ เป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ โดยทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ใช้ชื่อเพลงพระราชนิพนธ์ “เราสู้” มาเป็นชื่ออนุสาวรีย์ มีพิธีการเปิดอนุสาวรีย์ไปเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ปี 2523 และถือเอาวันที่ 27 สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันรำลึกถึงเหตุการณ์วีรกรรมอันกล้าหาญในครั้งนั้นด้วย

ซึ่ง คำว่า “เราสู้” ที่ยกมานี้ ก็เพื่อแสดงให้เห็นว่าคุณลักษณะของชาวบุรีรัมย์ในสมัยอดีตอีกด้วย ตรงตามที่ปรากฏตามเพลงพระราชนิพนธ์ คือ มีความกล้าหาญ อดทน เด็ดเดี่ยว ในการต้อสู้เพื่อป้องกันรักษาชาติบ้านเมืองไว้ให้ลูกหลานตลอดมา เริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อพระเจ้าอนุวงศ์ แห่งนครเวียงจันทน์ เป็นกบฏต่อราชอาณาจักรไทย ได้ยกกองทัพมาตีหัวเมืองน้อยใหญ่จนถึงเมืองพุทไธสง เมืองนางรอง และเมืองแปะ หรือเมืองบุรีรัมย์ในปัจจุบัน

พระนครภักดี (หงษ์ ) (พ.ศ. 2350-2370) เจ้าเมืองแปะ ได้นำชาวเมืองออกต่อสู้ด้วยความกล้าหาญ แต่เนื่องจากมีกำลังน้อยกว่า จึงได้ถอยหนีไปตั้งหลักที่เมืองไผทสมัน พวกเวียงจันทน์ได้ติดตามจับได้ที่ช่องเสม็ด เทือกเขาดงรัก เขตชายแดนไทย-กัมพูชา และนำไปจองจำไว้ ณ ทุ่งสุวรรณภูมิ (ปัจจุบันคือ อ.สุวรรณภูมิ จ. ร้อยเอ็ด)

เรื่องราววีรกรรมครั้งนี้ เกิดขึ้นปี 2508 ในห้วงเวลาที่เกิดความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ทางการเมืองอย่างรุนแรง จนถึงขั้นใช้กำลังเข้าตัดสินปัญหา ผกค. ได้มีการยุยงปลุกปั่นราษฎรให้เลื่อมใสในลัทธิคอมมิวนิสต์ เพื่อต่อต้านรัฐบาล ได้มีการสะสมกำลังขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และมีการก่อการร้ายเป็นระยะๆ

จนเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2513 เมื่อรัฐบาลได้เริ่มโครงการก่อสร้างเส้นทางสายยุทธศาสตร์ สายละหานทราย-ตาพระยา (ทางหลวงหมายเลข 348) เชื่อมระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 61 อ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย์ กับหลักกิโลเมตรที่ 118 อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว ในปัจจุบันเป็นระยะทาง 57 กิโลเมตร ซึ่งการที่ทางรัฐบาลได้มีการก่อสร้างเส้นทางสายยุทธศาสตร์บุรีรัมย์นี้ ก็เพราะว่ามีความสำคัญต่อความมั่นคงของประเทศด้านชายแดนไทย-กัมพูชา โดยต้องตัดผ่านเขตอิทธิพลของ ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.)

ส่งผลให้ฝ่ายผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ต่อต้านขัดขวางการก่อสร้างสายนี้ทุกวิถีทาง ด้วยการวางทุ่นระเบิดอย่างหนาแน่น ดักซุ่มยิง และเข้าโจมตีที่ตั้งกำลังทหารที่คุ้มกันการก่อสร้างถนน ในเวลาต่อมาเหตุการณ์ก็ได้ถึงจุดรุนแรงที่สุด เพราะถนนสาย “ละหานทราย-ตาพระยา” เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ก่อสร้างในห้วงเวลาการสู้รบระหว่างเจ้าหน้าที่บ้านเมืองกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.) ซึ่งการต่อต้านจาก ผกค. ในช่วงนี้ เป็นไปอย่างรุนแรงกว่าเดิมมาก จนทำให้เกิดความสูญเสียทั้งแก่เจ้าหน้าที่ ตำรวจ ทหาร อาสาสมัครรักษาดินแดน (อส.) และ กำลังไทยอาสาป้องกันชาติ (ทสปช.) กว่า 100 นาย และอีกทั้งได้บาดเจ็บกันอีกเป็นจำนวนมาก

ทำให้ราษฎรในพื้นที่ทนไม่ไหวพากันรวบรวมกำลังคนผนึกกำลังกับทหาร ตำรวจ อส. และ ทสปท. เพื่อที่จะเข้าต่อต่อต้าน และสู้กับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์(ผกค.) ด้วยความกล้าหาญ ความสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันด้วยความรักและความหวงแหนในดินแดนบ้านเกิด เพื่อปกป้องให้ไทยดำรงความเป็นประชาธิปไตยไม่ให้ใครหน้าไหนเข้ามาทำร้ายและทำลายลงได้ และด้วยการรวมพลังกันเข้าต่อสู้ในครั้งนี้ ทำให้กลุ่มผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ที่เข้ามาก่อเหตุที่นั่นแพ้พ่ายและสิ้นอิทธิพลไป จึงรักษาเส้นทางสายยุทธศาสตร์เส้นนี้ได้สำเร็จ และนี่คือที่มาของ “อนุสาวรีย์เราสู้” วีรกรรมผู้กล้าชาวบ้านโนนดินแดง นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ฝ่ายรักษาประชาธิปไตยต้องสูญเสียพลเรือน ตำรวจ ทหาร และ ทสปช. จำนวนถึง 108 คน บาดเจ็บ 222 คน ในจำนวนนี้ทุพพลภาพ 25 คน และ สูญเสียยานพาหนะ เครื่องมืออุปกรณ์ก่อสร้างรวม 23 คัน และ รวมระยะเวลาในการก่อสร้างนานถึง 5 ปี 8 เดือน สิ้นงบประมาณ 72,010,053 บาท

“ อนุสาวรีย์เราสู้ ” แห่งนี้ใช้เวลาก่อสร้างนาน 1 ปี ระหว่างวันที่ 27 สิงหาคม 2522 ถึง 26 สิงหาคม 2523 สร้างในสมัย นายบำรุง สุขบุษย์ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการ จ.บุรีรัมย์ ซึ่ง กอ.รมน. จ.บุรีรัมย์ ได้ร่วมกับเหล่าข้าราชการและประชาชนชาวบุรีรัมย์ ร่วมกันจัดสร้างขึ้น ณ ริมทางหลวงสายละหานทราย-ตาพระยา ที่บ้านโนนดินแดง ต.โนนดินแดง อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ อยู่ห่างมาจากศาลากลางจังหวัด เป็นระยะทางประมาณ 103 กิโลเมตร

โดยในปัจจุบันทางจังหวัด และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีการจัดพิธีเพื่อบำเพ็ญกุศล และวางพวงมาลา ให้เป็นเครื่องเตือนใจคนบุรีรัมย์และคนไทยทุกคน ได้รำลึกถึงวีรกรรมผู้กล้า เป็นประจำในทุกปี เพื่อยกย่องถึงวีรกรรมอันกล้าหาญของพลเรือน ตำรวจ ทหาร อาสาสมัครรักษาดินแดน (อส.) และไทยอาสาป้องกันชาติ (ทสปช.) ที่เสียชีวิตไป จากการต่อสู้กับผู้ที่ขัดขวางการสร้างเส้นทางยุทธศาสตร์นี้


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99



[ เหตุการณ์ : ก๊อดอามี่บุกยึดโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี ]

เวลาประมาณ 06.15 น.ของวันที่ 24 ม.ค.2543 ขณะที่หมอกลงหนาทึบ ความหนาวยังสัมผัสได้ ขณะที่นายพินิจ ม่วงมณี คนขับรถโดยสารสายสวนผึ้ง-ราชบุรี กำลังขับรถบัสโดยสารประจำทางออกจากที่จอด บ้านตะโกล่าง ต.สวนผึ้ง อ.สวนผึ้ง เพื่อวิ่งรับผู้โดยสารเช่นปกติ กลับต้องหัวใจเต้นแรงลุ่มร้อนจนใจแทบระเบิด เมื่อมีกองกำลังก๊อดอามี่ประมาณ 10 คน อาวุธครบมือใช้อาวุธปืนจี้บังคับให้ไปส่งที่ราชบุรี

นาย พินิจ เล่าว่า เมื่อออกจากรถท่ารถบ้านตะโกล่างได้ เดี๋ยวเดียว ถึงเนินเขาจะเข้บ้านห้วยสุต มีชายชุดพรางออกมาโบกรถให้หยุดเพื่อโดยสาร พอหยุดรถก็มีชายประมาณ 10 คนในชุดพรางเช่นกัน ขึ้นรถ และบังคับให้ขับรถไปจุดหมายปลายทางตามที่เขาต้องเขาเหล่านั้นจะสั่งการ ตลอดเส้นทางจากบ้านตะโกล่างถึงราชบุรี ผ่านด่านตรวจทุกจุดได้อย่างสะดวก ทั้งนี้เพราะโดยปกติ รถโดยสารเที่ยวเช้าเจ้าหน้าที่มักจะไม่เข้มงวด เนื่องจากเป็นที่ชาวบ้านเอาของไปขายตลาดและนักเรียนนักศึกษาเดินทางไปเรียน หนังสือ

--> << ยึดโรงพยาบาลศุนย์ราชบุรี >>

เวลา 07.20 น.รถบัสโดยสารสายสวนผึ้ง-ราชบุรี สีน้ำทะเลคาดขาวได้ฝ่าด่านของโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรีเข้าไปจอดสงบนิ่งหน้าตึก อำนวยการ กองกำลังก๊อดอามี่ (God'd Army) 10 นาย ในชุดพรางพร้อมอาวุธครบมือทั้ง เอ็ม 16 เอ็ม 79 และอาร์ก้าได้กระจายกำลังเข้าปฏิบัติการยึดโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรีไว้อย่าง สันติปราศจากการขัดขวาง โดยวางระเบิดเคโมที่ประตูหน้าและหลังโรงพยาบาลดักกันการจู่โจมของเจ้า หน้าที่ หัวหน้าชุดชื่อ ปรีดา หรือ เบดา หรือ หนุ่ย พูดภาษาไทยได้ดี ได้ให้กองกำลังกวาดต้อนบคลากรทางการแพทย์และญาติผู้ป่วยเป็นตัวประกันไว้ บริเวณตึกอำนวยการชั้น 2 ประมาณ 200 คน มีข้อเรียกร้องเบื้องต้น ว่า ..
=> 1. ให้ตำรวจวางกำลังห่างจากโรงพยาบาล 300 เมตร
=> 2. ขอข้าว น้ำ บุหรี่
=> 3. ขอโทรศัพท์มือถือ 1 เครื่อง

ประมาณ 08.00 น.เศษ กองกำลังก๊อดอามี่ได้เดินทางสำรวจตึกผู้ป่วย มีเสียงปืนสงครามดังขึ้นในโรงพยาบาล 2-3 ชุด ซึ่งตอนบุกเข้ามาครั้งแรกได้ยิงไปหลายชุดแล้ว

ผู้อยู่ในเหตุการณ์ต่างโกลาหลทั้งภายในและภายนอกโรงพยาบาล เสียงปืนยังคงดังเป็นระยะแต่ไม่ถี่นัก ผู้เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายปกครอง ตำรวจ ทหาร รายงานเหตุการณ์ถึงหน่วยเหนือถี่ยิบ

ผู้สื่อ ข่าวทะลักเข้าราชบุรีโดยไม่นัดหมาย ปลายปากกาจดลงบนกระดาษมิมีโอกาสเปิดมือ โทรศัพท์สายด่วนร้อนจี๋ เครื่องมือสื่อสารสับสนเพราะการใช้งานที่มีมากจนสัญญาณคลาดเคลื่อน หลายครั้งที่สัญญาณหายไปเฉยๆ ช่องสัญญาณขัดข้อง

ตำรวจ ปิดการจราจรถนนทุกสายที่มุ่งสู่โรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี บรรดาไทยมุงมากขึ้นเป็นลำดับ จังหวัดราชบุรีร่วมกับ กองทัพภาคที่ 1 ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการร่วมแก้ไขเหตุการณ์ขึ้นที่อาคารสามกีฬา จ.ราชบุรี ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกคนละฟากถนนกับโรงพยาบาลราชบุรี

ทุกฝ่ายยังคงรอเวลาและเตรียมการเจรจาจนประมาณ 11.00 น.เศษได้มีข้อเรียกร้องจากผู้ก่อการร้ายก๊อดอามี่ เสนอความต้องการ ว่า..
=> 1. ทีมแพทย์และพยาบาลเข้าไปรักษากองกำลังกระเหรี่ยงที่ได้รับบาดเจ็บจากการสู้รบที่ชายแดนไทย-พม่า
=> 2. ให้เปิดชายแดนไทย เพื่อให้กองกำลังกะเหรี่ยงมี่ที่พักพิงในเขตไทย

เมื่อข้อเรียกร้องไม่ได้รับความสนใจ ผู้ก่อการร้ายได้ยิงปืนขึ้นฟ้าและยิงยางรถยนต์ 1 ชุด

ในขณะนั้นมีผู้ป่วยในโรงพยาบาลอยู่ประมาณ 580 คน เจ้าหน้าที่ 200 คน ไม่มีใครเข้า-ออกโรงพยาบาลได้ ผู้ป่วยที่จะมารักษาใหม่ในวันนั้น จังหวัดได้ประสานให้ไปรับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลแม่และเด็กแทน ด้านทางการแพทย์ได้มีการประสานสั่งการให้โรงพยาบาลใกล้เคียงเตรียมพร้อมรอง รับเหตุการณ์ฉุกเฉินและสำรองเสบียงอาหารให้กับคนไข้ และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลศูนย์ราชบุรีด้วย

เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่เวรดึก ซึ่งยังไม่ทันได้เปลี่ยนเวร และมีบางส่วนเป็นเจ้าหน้าที่อยู่เวรเช้าและมาทำงานเช้าเลยติดอยู่ในเหตุการณ์ด้วย

---> << เตรียมพร้อม >>

จนใกล้เที่ยงวัน พล.ต.ท.วีระ วิสุทธิกุล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พร้อมคณะได้เดินทางมาถึง ได้เข้าหารือกับเจ้าหนาที่ของทางจังหวัด ทั้งผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจภูธจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด

จากนั้น กองกำลังที่เกี่ยวข้องเริ่มเข้าพื้นที่ ณ จุดนัดหมาย ชุดปิดล้อทโรงพยาบาล ชุดหน่วยอาวุธพิเศษ หน่วยนเรศวร 261 จาก ตชด.นำโดย พ.ต.ท.ปรีชา บุญสุข หน่วยคอมมานโด นำโดย พล.ต.ต.อัศวิน ขวัญเมือง หน่วยอรินทราช 26 นำโดย พล.ต.ต.ธวัชชัย พรหมประสิทธิ์ และกองกำลังทหารพร้อมเจ้าหน้าที่ สห. นำโดย พล.ท.ทวีป สุวรรณสิงห์ แม่ทัพภาคที่ 1 ทุกหน่วยงานเริ่ปฏิบัติงานไปตามภารกิจที่ผู้บังคับหน่วยได้รับคำสั่งจาก ศูนย์อำนวยการร่วมแก้ไขเหตุการ

ต่อมา 11.30 น. พลตรีสนั่น ขจรประศาสตร์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย(ขณะนั้น) พร้อมคณะประกอบ ด้วย พลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ ผบ.ทบ. พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ผบ.ตร. ได้มาถึงศูนย์อำนวยการร่วมแก้ไขเหตุการณ์ โดยแจ้งว่านายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย ได้มีบัญชามอบหมายให้ พล.อ.สุ รยุทธ จุลานนท์ ผบ.ทบ.เป็นผู้บัญชาการแก้ไขเหตุการณ์ ผบ.ตร.เป็นรอง พล.ต.ท.วีระ วิสุทธิกุล และ พล.ท.ทวีป สุวรรณสิงห์ เป็นผู้ช่วย

ในช่วงเวลาดังกล่าว นายกร ทัพพะรังษี รมว.สธ. (ขณะนั้น) และคณะของกระทรวงสาธารณสุขได้เดินทางมาร่วมสมทบ มีการประชุมหารือแนวทางแก้ปัญหาให้คลี่คลายในทางที่ดีและโดยเร็วภายใต้หลัก การที่ว่า "ผู้ถูกกักกันเป็นตัวประกันต้องปลอดภัยและเกิดการสูญเสียน้อยที่สุด"

ศูนย์ อำนวยการร่วมฯ ได้จัดให้มีชุดเจรจาต่อรอง ได้เริ่มเจรจาต่อรองอย่างเป็นทางการประมาณ 11.00 น.โดยใช้โทรศัพท์เป็นเครื่องมือสื่อสาร

.. ผู้ก่อการได้มีหนังสือเรียกร้อง 5 ข้อ คือ ..
=> 1. ขอ ร้องให้ฝ่ายรัฐบาลไทย ทหารไทยหยุดยิงผู้อพยพชายแดน เช่น กะเหรี่ยง มอญ พม่า ซึ่งขณะนนี้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 200-300 คนแล้ว ที่ทั้งเด็ก ผู้หญิง และไม่ใช่ทหาร
=> 2. ขอ ร้องให้ทหารไทยหยุดช่วยเหลือทหารพม่า โดยหยุดช่วยเหลือด้านนำกำลังเข้ามาทางเขตไทย หยุดยิงจากเขตชายอดนไทย หยุดการฆ่า ข่มขืน พวกอพยพ
=> 3. ขอ ร้องให้รัฐบาลไทยทำการช่วยเหลือผู้อพยพ โดยให้นำผู้อพยพเข้ามาอยู่ในเขตไทย เนื่องจากผู้อพยพไม่มีอาหารประทังชีวิต ขอให้ช่วยเหลือด้านอาหารโดยด่วน และเต็มที่
=> 4. ขอ ร้องให้รัฐบาลไทย และ UN ประชุมปรึกษากัน และกดดันรัฐบาลพม่าให้รัฐบาลพม่ายอมรับและช่วยเหลือผู้อพยพให้มีชีวิตความ เป็นอยู่ที่ดีขึ้น
=> 5. ให้รัฐบาลไทยทำการดำเนินคดีลงโทษ หัวหน้าทหารไทย ซึ่งเป็นผู้สั่งให้ยิงผู้อพยพ

[สรุปท้าย ขอร้องให้รัฐบาลไทยดำเนินการตามข้อเรียกร้องโดยด่วน ถ้าไม่ดำเนินการโดยเร็วทางฝ่ายก๊อกอามี่ ไม่รับรองว่าจะเกิดเหตุร้ายอะไรขึ้นบ้างและเหตุการณ์จะลุกลามมากไปกว่านี้]

---> << การดำเนินการเบื้องต้น >>

.. จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยฉุกเฉิน การแก้ไขปัญหาระยะแคบต้องเร่งรัดอย่างมีประสิทธิภาพ เฉียบพลันดุดันและเด็ดขาด จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ดำเนินการในเบื้องต้นดังนี้..

=> จัดการให้มีการรักษาความปลอดภัยสถานพยาบาลทุกหน่วย โรงงานผลิตอาวุธ โรงไฟฟ้า สถานที่ราชการ สถานที่สำคัญ
=> สั่งปิดโรงเรียนในเขตเทศบาลทุกแห่ง
=> ตั้งจุดสกัด จุดตรวจ ด่าน ในทุกพื้นที่เข้มงวด
=> ควบคุมนักศึกษาพม่าในศูนย์นักศึกษาพม่ามณีลอย ไม่ให้ออกนอกศูนย์อย่างเด็ดขาด
=> จัดหน่วยเคลื่อนที่เร็วฉุกเฉิน
=> จัดชุดสื่อสาร
=> จัดชุดซ่อม/แก้ไขการสื่อสาร/ไฟฟ้า และประปา
=> จัดชุดดูแลเสบียงอาหาร
=> จัดชุดบรรเทาสาธารณภัย
=> จัดชุดพยาบาลสนาม
=> จัดศูนย์แถลงข่าว
=> เตรียมโฆษกผู้แถลงข่าว
=> เตรียมไฟฟ้าสำรอง
=> จัดหน่วยซักถาม
=> ติดตั้งระบบสื่อสาร
=> จัดเตรียมห้องประชุมวางแผน
=> จัดหน่วยกู้ภัย/เจ้าหน้าที่กู้ภัย
=> ประสานหน่วยข้างเคียงทั้งกำลังเจ้าหน้าที่ เครื่องมือ อุปกรณ์ และการประสานรายงาน

---> << ร้องของแถลงข่าว >>

.. เวลาประมาณ 13.00 น. พล.ท.ทวีป สุวรรณสิงห์ แม่ทัพภาคที่ 1 เป็นโฆษกศูน์อำนวยการร่วมฯ แถลงข่าวโดยสรุปข้อเรียกร้องของผู้ก่อการและแนวทางการดำเนินการของฝ่ายเรา หลังจากนั้นฝ่ายก่อการได้มีหนังสือเรียกร้องฉบับที่ 2 เพิ่มอีก 3 ข้อ คือ..
=> 1. ขอให้นักข่าว เข้าไปทำข่าว
=>2. แถลงการณ์ที่ให้ไปออกทีวีทุกช่อง
=>3. ขอแพทย์ พยาบาลด่วน

---> << เริ่มปล่อยตัวประกัน >>

4.00 น. ผู้ก่อการได้ปล่อยตัวประกันออกมาประมาณ 30 คน เป็นเด็ก ผู้หญิงสูงอายุ เพื่อแลกกับอาหาร ใช่วงนี้ได้มีผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย และเจ้าหน้าที่บางคน ได้หลบหนีออกมาด้วย ซึ่งฝ่ายบรรเทาสาธารณภัย ได้นำผู้ป่วยส่งไปรักษาตัวต่อที่โรงพยาบาลแม่และเด็ก ในช่วงนี้จะมีการรายงานข่าวให้หน่วยเหนือทราบเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง ส่วนการเจรจาต่อรองยังมีไปต่อเนื่อง เช่นกัน โดยผลัดเปลี่นหมุนเวียนกันไปมีทั้งชายและหญิง โดยกลุ่มผู้ก่อการของร้องให้ทุกคนถอยห่างรัศมีโรงพยาบาล 300 เมตร

ทั้งนี้ผู้ก่อการยังได้ร้องขออาหาร 15 กล่อง (ไม่มีหมู) ขอบุหรี่ 10 ซอง ขอวิทยุมือถือ ยี่ห้อ ไอคอม รุ่น 2 จี 3 เครื่อง และได้ขอพบนาย ซอ โต โต ชาวกะเหรี่ยงที่พักอยู่ในศูนย์นักศึกษาพม่ามณีลอย และนายสะ แค ที่เป็นกลุ่มก๊อดอามี่ ที่ถูกทหารไทยจับกุมตัวเมื่อ 1 ปีที่ผ่านมาก่อนเกิดเ้หตุการณ์นี้

โดยจังหวัดได้อนุญาตให้นำตัวนายซอ โต โต จากศูนย์นักศึกษาพม่ามณีลอยมาพบเจ้าหน้าที่ฝ่ายแผนไทย โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยได้ซักถามนายซอ โต โต ถึงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มก่อการร้ายกับนายซอ โต โต

แท้จริงนายซอ โต โต เคยเป็นสมาชิกกองกำลังก๊อดอามี่ แต่ถูกขับไล่ออกมาเพราะมีปัญหาขัดแย้งกัน ตอนหลัง นายซอ โต โต กลับใจวางมือจากการสู้รบ อยากไปตั้งถิ่นฐานประเทศที่สาม จึงขอเข้ารายงานตับกับ UNHCR อยู่ในศูนย์นักศึกษาพม่ามณีลอย รอการเดินทางไปประเทศที่สาม


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99
---> << สืบสภาพ >>

เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการเริ่มสืบสภาพทั้งภายนอกและภายในโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี โดยพลางตนปะปนไปกับเจ้าหน้าที่ ประชาชน และผู้ป่วย ใช่วงที่มีการเจรจาและปล่อยตัวประกัน อาคารทุกแห่งในโรงพยาบาล มุมอับ มุมแคบ ผังอาคาร สถานที่ แบบแปลนการก่อสร้างนำมาใช้การอีกครั้งหนึ่ง ชุดปฏิบัติการอยู่ ณ จุดที่กำหนด หารายละเอียดให้มากที่สุดก่อนจะนำมาประมวลเป็นแผนการปฏิบัติการ หากยังยืดเยื้อต่อไป และโอกาสอำนวย

พ.ต.อ.ปรีชา ธิมามนตรี หัวหน้าชุดเจรจาต่อรอง และคุณเอกพงศ์ หริมเจริญ เจ้าหน้าที่เจรจาต่อรอง จากสภาความมั่นคงดูจะมีงานหนักต้องวิ่งรอกจากโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี กับศูนย์อำนวยการข่าวร่วมฯ ทีมเจรจาต่อรองถูกฝึกอบรมมาอย่างดีเยี่ยม คุมอารมณ์ได้ดี นุ่มนวล แนบเนียน ใช้ความนิ่งสยบความเคลื่อนไหว ใช้น้ำเย็นคอยลูบไล้ ไล่ความร้อนคู่อริ ให้จางลงไว้ใจและตายใจ

ในขณะที่ศูนย์ปฎิบัติการหลากหลายที่นำกำลังเข้าสมทบ เคลื่อนพลเข้าพื้นที่เป้าหมายอย่างสงบเงียบนิ่ง สงัดจนหนาว

การ แลกเปลี่ยนอาหารกับตัวประกัน การนำอาหารเข้าไปส่งโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายเรานำเข้าไปภายใต้ความยินยอมของฝ่าย ก่อการ เป็นเสี้ยววินาทีที่มีค่า ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการแก้ไขสถานการณ์ และต่อชาติ

16.00 น. มีคนไข้และเจ้าหน้าที่ หนีออกมาได้อีกประมาณ 50 คน โดยออกมาที่ช่องทางหนีไฟ และด้านหลังโรงพยาบาล สำหรับผู้ป่วยได้นำรักษาตัวต่อที่โรงพยาบาลแม่และเด็กต่อไป

ระบบโทรศัพท์ในโรงพยาบาลถูกตัดขาด การเจรจาต่อรองหยุดชะงักไประยะหนึ่ง สุดท้ายฝ่ายต่อรองต้องเข้าไปใช้เครื่องโทรศัพท์ภายในของโรงพยาบาลที่ศาลา เอนกประสงค์ การเจาจาจึงลื่นไหลต่อไป

ยิ่งเย็นอากาศ เริ่มแปรปรวน อบอ้าวมาทั้งวัน ความเครียดไม่ปราณีใครทุกคนทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายก่อการและฝ่ายเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการของไทยต้องเคร่งเครียด ต้องคุมเชิงเดินเกมอย่างสุขุม

ใกล้ค่ำสถานการณ์เริ่ม เปลี่นแปลง ผู้ก่อการร้ายขอเฮลิคอปเตอร์ 2 ลำ เพื่อนำคณะผู้ก่อการร้ายไปส่งชายแดน เมื่อฝ่ายเจรจาซักถามให้ไปส่งที่ใด ผู้ก่อการร้ายตอบไม่ได้ สับสน กังวล ไม่แน่ใจในความปลอดภัย ตอบเพียงว่าขอให้ไปส่งแนวชายแดนพืนที่ของกะเหรี่ยงก๊อดอามี่

สรุป การต่อร้องให้ใช้รถยนต์ไปแทน จึงไม่มีข้อยุติ

---> << รบกับสื่อ >>
งานอย่าง นี้มีหรือสื่อมวลชนจะพลาด ทุกสื่อเกาะติดสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ชิดจนลมหายใจรดต้นคอ ได้กลิ่นเหงื่อและสัมพันธ์ลมหายใยซึ่งกันและกัน

เจ้า หน้าที่ตำรวจถูกต่อว่าจนหน้าจ๋อยไปตามๆ กัน ให้ สห.เข้าไปสู้ก็ถอยกลับมาตามเคย ดูคล้ายกับว่า พวกคุณเธอเหล่านี้จะไปดำเนินการแก้ไขปัญหาซะเองเช่นนั้น ไปทางไหนมีแต่สื่อมวลลชน ดูเกะกะไปหมด ทั้งๆ ที่เตือนหลายครั้ง ผู้ก่อการแจ้งออกมาให้ออกจากรัศมีพื้นที่เป้าหมาย 300 เมตร ก็ยังไม่ฟัง บางคนสอดแทรกตัวเข้าไปภายในโรงพยาบาลจนถูกเจ้าหน้าที่นำตัวออกมา มีการต่อว่ากันนิดหน่อย เขาคิดอย่างสื่อคิด

ในขณะที่คนทำงานเขาคิดอย่างคนทำงานคิด ต้องรับผิดชอบต่อชีวิตคนที่เป็นตัวประกัน ชื่อเสียงของประเทศและความเป็นชาติ ขณะที่สื่อต้องการ ภาพ ต้องการความจริงนำเสนอเผยแพร่ให้เร็วที่สุดชิงไหวชิงพริบกัน

สื่อ ที่สำคัญ คือ ทีวี มีรายงานภาพเหตุการณ์ทุกระยะ คนในโรงพยาบาลก็ดู คนภายนอกก็ดู มีตอนหนึ่งที่ น.ต.ประสงค์ สุ่นสิริ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่า ต้องดำเนินการเด็ดขาดกับผู้ก่อการ คนที่ถูกกักเป็นตัวประกันได้มาเล่าให้ฟังภายหลังว่า พอได้ยินดังนั้น เขาเห็นนายปรีดา น้ำตาคลอ และร้องไห้ พูดขึ้นมาลอยๆ ว่า "คราวนี้เห็นทีจะไม่รอด"

18.30 น.ผู้ก่อการย้ายระเบิดเคโมจากประตูหน้าโรงพยาบาลไปอยู่ด้านในโรงพยาบาลและขอเสาวิทยุ การเจรจาต่อรองยังคงดำเนินต่อไป

19.00 น.ความมืดคือภัยร้ายที่น่ากลัว กำลังคืบคลานเข้ามา ทุกอย่างยังนิ่งสงบ อากาศเย็นลง ใจคนทำงานไม่ได้เย็นลงเลย คณะต่อรองยังคงทำงานหนักกันต่อไป มีข้อเสนอเพื่อให้ผู้ก่อการมอบตัวเพื่อขึ้นศาลไทย และอาจลี้ภัยไปประเทศที่สาม แต่ไม่มีการตอบรับ ไม่มีข้อยุติ

ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีนายชวน หลีกภัย ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ผบ.ตร.และข้าราชการนายทหารระดับผู้ใหญ่ ได้มาตั้งกองบัญชาการสั่งการที่กรมการทหารช่าง ทั้งหมดได้หารือกันอย่างเคร่งครัด ดึกสงัดก่อนเดินทางกลับ

" ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบายยุติปัญหาให้เสร็จในคืนนั้นให้ได้ อย่าให้ยืดเยื้อถึงรุ่งเช้าเด็ดขาด " ย้ำ !!

ห้วง นั้นมีเฮลิคอปเตอร์บินผ่านมา ผู้ก่อการคงคิดว่าทางการไทยจะยอมให้เฮลิคอปเตอร์นำส่งชายแดน จึงไม่ยอมมอบตัว แท้จริงเป็นเฮลิคอปเตอร์ที่บินมาส่ง ฯพณฯ รอง นรม. และ รมว.มท. ผบ.ตร. และ ผบ.ทบ.

21.30 น.เศษ ผู้ก่อการร้องขออยากกลับบ้าน ขอวิทยุไอคอม รุ่น 725 ด่วน ตัวประกันได้รับการปล่อยตัวออกมาอีกชุดหนึ่ง ผู้ที่เข้าไปสัมผัสใกล้ชิดในการรับตัวประกัน กลับมารายงานว่า ผู้ก่อการร้ายเริ่มอ่อนล้า พูดจาวกวน

23.30 น.ผู้ก่อการของดเจรจาจะพักผ่อน ความ ดึกสงัดแห่งรติกาล ลมหนาวเย็นยังคงโชยแผ่วเบา คนไข้หลายคนหลับด้วยอ่อนเพลีย นักรบผู้มาเยือนบางคนพักผ่อน บางคนเฝ้าระวังภัย ผู้อยู่ภายนอกอาคารโรงพยาบาลยังเฝ้ารอ ความสัมพันธ์ พ่อ แม่ ลูก เครือญาติ ความห่วงหาอาทรในยามวิกฤต เช่นนี้ มีให้เต็มกระแสแห่งน้ำใจ สายใยใดเลยจะเหนียวแน่นไปกว่าสายใยแห่งความรัก ความผูกพันธ์ ลูกรอแม่..แม่รอลูก..ที่เป็นพยาบาลติดเป็นตัวประกันอยู่กับก๊อดอามี่ ความกระวนกระวาย ใจที่รุ่มร้อนกังวล น้ำตาหยดเป็นระยะ คงรอ และรอต่อไป

ผ่าน พ้นถึงวันใหม่ 01.30 น. วันที่ 25 มกราคม 2543 ผู้ก่อการร้องขอเครื่องดื่มโค๊ก เป็บซี่ 20 กระป๋อง ขอเฮลิคอปเตอร์กลับบ้าน เจ้าหน้าที่ได้นำวิทยุไอคอมไปส่งให้ แต่การติดต่อที่หมายไม่ได้ผล ผู้ก่อการมีลักษณะวิตกกังวลมากขึ้น

คนป่วยหลายรายที่ ต้องการรักษาพยาบาลอย่างเร่งด่วน เด็กชายต้องผ่าตัดสมอง หญิงจะคลอดบุตร ผู้ป่วยสำคัญถูกลำเลียงส่งออกมาจากโณงพยาบาลศูนย์ราชบุรี แล้วส่งต่อไปยังโรงพยาบาลข้างเคียงเพื่อรักษาพยาบาลโดยด่วน ขณะที่มีผู้ป่วยอีกหลายคนยังคงนอนซม

นอนซมด้วยพิษไข้ ยังพอทน แต่ต้องนั่งเบิกตาด้วยจิตใจที่ไม่ปกติ กลัวภัยตระหนกถึงเหตุร้าย ใจจะขาดตายเสียเดี๋ยวนั้นให้ได้ แล้วใครจะปิดเปลืกตาลงได้สนิท ณ เวลานั้น

ผู้สูงอายุบางคนบอกว่า ผู้ก่อการนั้นเขาดีนะ สุภาพ มีสัมมาคารวะ "เขายังป้อนข้าวให้ยายเลย" เขาบอกว่า ยายอย่ากลัวนะ ผมไม่ทำอะไรหรอก พวกผมเดือดร้อนมากจึงต้องทำอย่างนี้ คนชื่อหนุ่ย บอกยายว่าอย่างนั้น บรรดาแม่ยกทั้งหลายแสดงความเห็นอกเห็นใจผู้ก่อการ "สงสารเขานะ แต่เขาไม่น่าจะทำอย่างนี้"

พล ซุ่มยิงทุกชุด ถูกสั่งเตรียมพร้อม รอรับคำสั่งปฏิบัติการ ศูนย์อำนวยการเหตุการณ์ยังสาละวันกับการสื่อสารและรายงาน การเจรจาต่อรองอืดอาดประวิงเวลา สาระลดลง ผู้มีอำนาจเด็ดขาดในการบัญชาการเหตุการณ์แยกตัวไปประชุมลับเฉพาะ และพบปะมอบภาระกิจให้กำลังใจ นักรบไทยที่จะจู่โจมชิงตัวประกัน

---> << วันกองทัพไทย >>

25 มกราคม วันกองทัพไทย ทุกปีมีการเดินสวนสนามประกาศความยิ่งใหญ่ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกอบกู้เอกราช ทรงเป็นนักรบผู้กล้าหาญ นักรบผู้ยิ่งใหญ่โดยเฉพาะสมรภูมิที่สู้รบกับพม่า พระองค์ประสบชัยชนะอย่างสง่างามและเด็ดขาด

ณ เวลานี้ โรงพยาบาลศูนย์ราชบุรีถูกกะเหรี่ยง ก๊อดอามี่แห่งประเทศพม่ายึด อะไรจะเกิดขึ้นกับวันกองทัพไทย เสียงที่เปล่งสดุดีจะแหบพล่า การเดินสวนสนามจะฮึกเหิมได้อย่างไร หากสถานการณ์ยังคลุมเครือเช่นนี้

ผบ.ทบ.พล เอกสุรยุทธ จุลานนท์ นักสู้ผู้ยิ่งใหญ่ในทุกสนามรบ ยอมไม่ได้เด็ดขาด ชาติอยู่เหนืออื่นใด จะปล่อยให้ก๊อดอามี่กองกำลังกะเหรี่ยงลูบคมหยามศักดิ์ศรีทหารไทย คนไทย สองครั้งสองคราได้อย่างไร (ครั้งหนึ่งเมื่อ 1 ต.ค.2542 ยึดสถานฑูตพม่าในไทย)

แผนเผด็จศึกถูกจัดวางอย่างรอบคอบรัดกุม ไม่มีผู้ใดรู้ล่วงหน้าเลยเพียงแต่กำชับให้ทุกหน่วยต้องพร้อมปฏิบัติเมื่อมีคำสั่งเท่านั้น

พร้อม ปฏิบัติได้เมื่อสั่ง เพียงคำนี้ทุกหน่วยรบรู้เองว่าจะปฏิบัติอย่างไร และอะไรจะเกิดขึ้นต่อไป การซักซ้อม ประสานการปฏิบัติหน่วยต่อหน่วย ซ้อมครั้งแล้วครั้งเล่า ซ้ำซาก กำหนดทิศทางต้องลงตัวเสมอ ผิดแม้แต่องศาเดียวหมายถึง ชีวิตตัวประกัน ชีวิตตนเอง ชื่อเสียงประเทศชาติ เกียรติภูมินักรบไทย

---> << มดดำ >>

ที่หมาย 03.00 น. ทุกอย่าง ลงตัว การคืบคลานเข้าสู่เป้าหมายเริ่มขึ้น สงบเงียบ หนาว สะดุดบางครั้ง ราบรื่นบางคราว ลัดเลาะตามหลืบแหล่งม่านมืดเข้าไป ตัวเล็และลีบหลบซ่อนคืบคลานบนหังคา กันสาด ฝูงมดดำ ไต่ยั๊วเยี๊ยะ เงียบ สงัด

สุนัขกรรโชกข้างโรงพยาบาล ทุกคนสดุ้ง ผู้ก่อการระวังตัวแจ แม้จะออกมาดูรอบอาคารแล้ว ด้วยความอ่อนล้ามาทั้งวัน ก็ต้องการพักผ่อนเช่นปุถุชนธรรมดา

มดดำไม่ชอบเสียงสุนัขเห่า ถอยร่นมาตั้งหลักใหม่

03.30 น.ต้องราวีกับสื่อมวลชนอีกรอบ การขอร้องด้วยสุภาพ โดย พล.ต.ต.ฉลอง สนใจ ผู้บังคับการตำรวจภูธร จ.ราชบุรี พ.ต.อ.ศักดิ์ชัย ตันบุญเอก ผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรเมืองราชบุรี พ.อ.ทวีวัฒน์ บูรณสิงห์ (เสธ.ตั้ม) แห่ง จทบ.ราชบุรี ผู้สื่อข่าวและสื่อมวลชนทุกแขนงยอมถอยห่างจากรัศมีโรงพยาบาลตอนค่อนรุ่ง

คงไม่มีอะไรเกิดขึ้นแล้วละ ค่อยว่ากันใหม่พรุ่งนี้นะ หลายคนอยากหลับซักงีบ นั่ง พิง นอน เหยียดแข้งเหยียดขาตามสบาย

บึ๊ม! บึ๊ม! เสียงสตั้นบอมส์ 2 ลูกซ้อน ดังสนั่นปลุกคนราชบุรี ทั้งจังหวัดให้ลุกหุงข้าวใส่บาตรพระในวันกองทัพไทย เพื่อจะได้อุทิศผลบุญกุศลให้นักรบผู้กล้าของไทย ที่เคยรบกับพม่าในสงครามเก้าทัพ และที่บ้านบางแก้ว จ.ราชบุรี สื่อมวลชนพุ่งตัวเข้าหาที่หมายขอภาพงามๆ ออกอวดสายตาชาวโลก ขอรางวัลภาพข่าวเด่นสักครั้งเถอะน่า

---> << ทะลวงฟันสยบเหยื่อ >>
การ จู่โจมปฏิบัติการเริ่มขึ้นเมื่อ 05.35 น.เสียงปืนรัวถี่ยิบ สตั้น บอมส์ ดังขั้นจังหวะ แผ่นดินสะเทือนไหว พระสยามเทวาธิราชเจ้าเอาใจช่วย หลายคนใจหาย จะเสียหายสักเท่าไร จะสูญเสียเลือดเนื้อเท่าใด ที่สำคัญ ตัวประกันต้องปลอดภัย

เสียงสั่งการของผู้บัญชาการหน่วยจู่โจมดังติดต่อไม่ขาดระยะ ไหลๆๆๆๆ...อย่าหยุด ต่อไปๆๆๆ

คาว เลือด น้ำตา เสียงกรี๊ดร้องด้วยตระหนก ผสมเสียงคำรามของมัจจุราชจากปลายกระบอกปืน เสียงขู่กรรโชกอย่างโหดร้ายของสตั้น บอมส์ ระเบิดเสียงกระชากจืตใจที่อ่อนบางของผู้คนให้หวาดหวิว

คนป่วย คนชรา เด็ก หญิง ผู้อ่อนแอ เสียงอาวุธสงครามดังก้องทั่วราชบุรี กังวานไปอีกนานนับนานไม่มีวันจางหาย

06.15 น. เสียงปืนนัดสุดท้ายสิ้นลง จบด้วยสตั้นบอมส์สั่งลา เฮลิคอปเตอร์บินขึ้นค้นหาผู้จะหลบหนี โฉบเฉี่ยวดุจพญาเหยี่ยวโฉบเหยื่อหลายต่อหลายรอบแล้วลงสงบนิ่ง

07.00 น. พล.ท.ทวีป สุวรรณสิงห์ แถลงข่าวปิดสถานการณ์ ผู้ก่อการร้าย 10 คน ถูกสังหารจบชีวิตทั้งหมด เป็นของขวัญวันกองทัพไทย ตัวประกันทุกคนปลอดภัย ฝ่ายเรามีเจ้าหน้าที่บาดเจ็บ 8 นาย

---> << ตรวจสมรภูมิ >>

หลัง สิ้นเยงปืนและรับมอบพื้นที่จากฝ่าบปฏิบัติการจู่โจม ศูนย์อำนวยการแก้ไขเหตุการณ์แล้ว แพทย์และพยาบาลของโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรีได้เข้าทำการรักษาพยาบาลผู้ป่วย ประจำตึกต่างๆ อย่างเร่งด่วน โดยมีคณะแพทย์ พยาบาลของโรงพยาบาลจากอำเภอมนพื้นที่ราชบุรี และจังหวัดข้างเคียงให้การสนับสนุนในการดูแลรักษาอย่างใกล้ชิดด้วย

จาก การตรวจพิสูจน์สถานที่ภายในโรงพยาบาลโดยรอบ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุระเบิด เจ้าหน้าที่ตำรวจและฝ่ายปกครองพบความเสียหายอย่างมาก เนื่องจากแรงอัดของระเบิด และคมกระสุนปืน กระจก ผนัง ประตู หน้าต่าง อุปกรณ์ เครื่องมือทางการแพทย์ ตลอดจนเครื่องอำนวยความสะดวกทางการแพทย์ เครื่องช่วยผู้ป่วย เครื่องำนวยความสะดวกญาติผู้ป่วย เป็นต้น ทุกอาคารเจ้าหน้าที่ได้ตรวจอย่างละเอียดเริ่มตั้งแต่ตึกกาญจนาภิเษก ซึ่งสูง 7 ชั้น ตึกเจ้าฟ้ามหาจักรี ตึกเอ็กซเรย์ ตึกเมตตาเรื่อยมาถึงตึกอำนวยการ ซึ่งเป็นศูนย์รวมเหตุการณ์แต่แรก

---> << สิ่งที่พบเป็นหลักฐานเหลือไว้เป็นรูปธรรมให้เห็น >>

=> 1. ศพผู้ก่อการ จำนวน 10 ศพ
=> 2. ซองกระสุนปืน เอ็ม 16 จำนวน 8 ซอง
=> 3. ซองกระสุนปืนอาร์ก้า จำนวน 3 ซอง
=> 4. ซองกระสุนคาร์บิน จำนวน 1 ซอง
=> 5. อาวุธปืนเอ็ม 16 จำนวน 7 กระบอก
=> 6. อาวุธปืนขนาด 9 ม.ม. จำนวน 1 กระบอก
=> 7. อาวุธปืนอาร์ก้า จำนวน 2 กระบอก
=> 8. กระสุนปืนเอ็ม 16 จำนวน 400 นัด
=> 9. กระสุนปืนอาร์ก้า จำนวน 300 นัด
=> 10. กระสุนปืนลูกซอง จำนวน 12 นัด
=> 11. ลูกระเบิดขว้างเอ็ม 67 จำนวน 8 ลูก
=> 12. ลูกระเบิดเอ็ม 79 จำนวน 8 ลูก
=> 13. ชนวนฝักแคพร้อมเชื้อประทุ จำนวน 7 เส้น
=> 14. ทุ่นระเบิดเอ็ม 18 เอ (เคโม) จำนวน 1 ทุน

นอกจากนั้น เป็นอุปกรณ์สนามที่ใช้ในสนามรบ เช่น กระติกสนาม เข็มขัดสนาม รองเท้าคอมแบท หมวก ชุดลายพราง แชลง กรรไกรตัดเหล็ก และเอกสาร ภาษากะเหรี่ยง พม่าอีกจำนวนหนึ่ง

หลังเหตุการณ์ จังหวัดได้จัดทำแผนแม่กลองร่มเย็นรองรับการจัดตั้งศูนย์อำนวยการข่าวร่วม พลเรือน ตำรวจ ทหาร ประสานการรักษาความสงบเรียบร้อยโดยทุก อำเภอ/กิ่งอำเภอ มีการจัดตั้งศูนย์รองรับในลักษณะเดียวกัน ระดมเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายทั้ง ตำรวจ ทหาร พลเรือน อาสาสมัคร อป.พร. มวลชนทุกประเภท ร่วมมือปฏิบัติให้แผนแม่กลองร่มเย็นบรรลุเป้าหมาย

ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ และคณะมาจับมือแสดงความยินดีกับ พลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ ผบ.ทบ.ในฐานะผู้บัญชาการเหตุการณ์ถึงผลสำเร็จในการปฏิบัติงานก่อนที่คณะทุก ท่านจะเดินทางกลับท่ตั้งหน่วยปกติ ปิดสถานการณ์

บุคคลที่มีส่วนร่วมในการยุติเหตุการณ์ในครั้งนี้หลัก เช่น

=> นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี
=> พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
=> นายกร ทัพพะรังสี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
=> มรว.สุขุมพันธ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
=> พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฎฐ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
=> พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ ผู้บัญชาการทหารบก
=> พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
=> พล.ท.ทวีป สุวรรณสิงห์ แม่ทัพภาคที่ 1
=> พล.ท.อาภรณ์ กุลพงษ์ เจ้ากรมการทหารช่าง
=> พล.ต.ท.อนันต์ เหมาทานนท์ ผู้บัญชาการตำรวจภาค 7
=> นายชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย
=> นายขจัดภัย บุรุษพัฒน์ เลขาธิการสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ
=> พล.ต.สัญชัย รัชตะวรรณ ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 9
=> นายโกเมศ แดงทองดี ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี
=> นายนิรันดร์ จงวุฒิเวศย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี
=> นายเรืองบุญ สิริธรังศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี
=> นายปรีชา เรืองจันทร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี
=> นายเฟื่อง สังข์ปาน ปลัดจังหวัดราชบุรี
=> พล.ต.ต.ฉลอง สนใจ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดราชบุรี
(ทั้งหมดเป็นยศและตำแหน่งขณะนั้นครับผม)



Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99



<ภาพ> : ทหารไทยและทหารญี่ปุ่นพบกันที่เมืองมัณฑะเลย์

ในเวลานั้น ทหารญี่ปุ่นจำนวนมากได้เข้าสู่พระนครเต็มไปหมด และได้ใช้สถานที่ทางราชการบางแห่งเป็นที่ทำการ รัฐบาลได้ประกาศให้ญี่ปุ่นเป็น มหามิตร ประชาชนทุกคนต้องให้ความร่วมมือและสนับสนุนกับทางญี่ปุ่นอย่างเต็มที่ การกระทำใด ๆ ที่เป็นปรปักษ์มีโทษถึงประหารชีวิต แต่ก็มีประชาชนบางส่วนลับหลังได้เรียกญี่ปุ่นอย่างดูถูกว่า "ไอ้ยุ่น" หรือ "หมามิตร" เป็นต้น

ในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2485 รัฐบาลไทยก็ได้ประกาศสงครามกับอังกฤษ สหรัฐอเมริกา อย่างเต็มตัว ผลของการประกาศสงครามทำให้ไทยได้ดินแดนในแหลมมลายู ที่เสียให้อังกฤษกลับคืนมา (จังหวัดมาลัย) ยังได้ก่อตั้งสหรัฐไทยเดิมโดยส่งกองทัพเข้ายึดและรวมดินแดนในแคว้นรัฐฉาน (เชียงตุง เมืองพาน), รัฐกะยา

รวมไปถึงเมืองตองยีและครึ่งใต้ของเมืองมัณฑะเลย์ในเขตประเทศพม่าอีกด้วย ผลจากสงครามทำให้สถานการณ์รุนแรงภายในของไทยถึงขนาดมีการปลุกระดมให้เกิดลัทธิคลั่งชาติอย่างรุนแรง ถึงปลูกฝังความคิดชาตินิยม พูดถึงความยิ่งใหญ่ของชาติ ที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางอารยธรรมเหนือชาติใดๆ ในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โดยได้มีเป้าหมายขจัดอิทธิพลของชาติตะวันตกร่วมกับจักรวรรดิญี่ปุ่น อีกทั้งยังได้มีการปลุกระดมการรักชาติในด้านการศึกษาแก่เยาวชน เพื่อจะได้ได้ร่วมกันเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชาติให้ยิ่งใหญ่ทัดเทียมกับสมัยเมืองพระมหานครสุโขทัย อยุธยาในอดีต

ขณะเดียวกัน ทางสหรัฐอเมริกา ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา ไม่อาจยอมรับการประกาศเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นของรัฐบาลไทย และได้ประกาศขบวนการเสรีไทยขึ้นที่นั่น ในวันที่ 12 ธันวาคม พร้อม ๆ กับขบวนการเสรีไทยในที่อื่น ๆ ก็ได้เกิดขึ้น

เสถียรภาพความมั่นคงของรัฐบาลไทยต้องสั่นคลอน เมื่อคณะราษฎรฝ่ายพลเรือนหลายคน เช่น ปรีดี พนมยงค์ ทวี บุณยเกตุ ควง อภัยวงศ์ ได้แยกตัวออกมา เนื่องจากไม่อาจรับกับการกระทำของรัฐบาลเช่นเดียวกัน และกลายมาเป็นขบวนการเสรีไทยในประเทศ

ในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2485 ประเทศไทยได้เซ็นสัญญาร่วมรบกับญี่ปุ่นจึงมาตั้งทัพในไทยฐานะพันธมิตร อีกทั้งในเดือนกรกฎาคมนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นฮิเดะกิ โทโจได้เดินทางมาเยือนกรุงเทพและได้เจรจาวางแผนและแบ่งเขตการรบกับไทย นัยว่าเพื่อหวังจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทยตามที่ตกลงไว้ในสนธิสัญญา

ในการเจรจาสรุปได้ว่ากองทัพไทยต้องถูกส่งไปรบที่เชียงตุงโดยก่อตั้งกองพลพายัพเพื่อรบกับอังกฤษและสาธารณรัฐจีน ตามข้อตกลงแบ่งเขตการรบที่ทำไว้กับญี่ปุ่นว่าตั้งแต่รัฐกะยาห์จนถึงครึ่งใต้ของเมืองมัณฑะเลย์โดยยึดเส้นแบ่งเขตใต้ของเมืองเป็นของไทย จนถึงแม่น้ำโขงเป็นเขตการรบของไทย ฝ่ายทางรัฐบาลไทยต้องรบเพื่อรักษาอาวุธยุทธภัณฑ์ไว้ไม่ให้ขบวนการเสรีไทยลักลอบขโมยไปจนหมด กองทัพไทยยังสามารถขออาวุธของญี่ปุ่นมาเพิ่มเติมได้ด้วย

หลังจากนั้นฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มส่งเครื่องบินเข้ามาทิ้งระเบิดในพระนคร การทิ้งระเบิดครั้งแรก เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2485 สถานการณ์โดยทั่วไปในพระนครนั้น ประชาชนได้รับคำสั่งให้ทำการ พรางไฟ คือการใช้ผ้าขนหนูหรือผ้าขาวม้าปิดบังแสงไฟในบ้าน ให้เหลือเพียงแสงสลัวๆ เพื่อป้องกันมิให้เครื่องบินของฝ่ายข้าศึกมาทิ้งระเบิดลงได้

ส่วนสถานการณ์โดยรวมของสงคราม ฝ่ายอักษะมีทีท่าว่าจะได้รับชัยชนะในสมรภูมิยุโรปและแอฟริกาตอนเหนือ ส่วนในเอเชียญี่ปุ่นก็สามารถยึดมลายูและสิงคโปร์ได้แล้ว

สำหรับ เมื่อไทยนั้นเมื่อได้ประกาศสงครามอย่างเต็มตัวกับฝ่ายสัมพันธมิตร ทางสหรัฐอเมริกาและอังกฤษได้ส่งเครื่องบิน บี 24, บี 29 และ (Vickers Windsor) เข้าทิ้งระเบิดทำลายทั้งสนามบิน ชุมทางรถไฟ ท่าเรือ สะพาน อันเป็นปมคมนาคมเพื่อตัดเส้นทางลำเลียงของญี่ปุ่น

โดยพระนครและธนบุรีถูกเครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรโจมตีทิ้งระเบิด ระหว่างปี พ.ศ. 2485 ถึง 2488 รวม 34 ครั้งด้วยกันคือ ปี พ.ศ. 2485 จำนวน 5ครั้ง ปี พ.ศ. 2486 จำนวน 4 ครั้ง ปี พ.ศ. 2487 จำนวน 14 ครั้ง และปี พ.ศ. 2488 จำนวน 11 ครั้ง

สถานที่ที่ถูกโจมตี ได้แก่ สถานีรถไฟหัวลำโพง สถานีรถไฟบางกอกน้อย สถานีรถไฟช่องนนทรีย์ สถานีรถไฟบางซื่อ โรงงานซ่อมสร้างหัวรถจักรมักกะสัน โรงไฟฟ้าวัดเลียบ โรงงานปูนซีเมนต์บางซื่อ สะพานพุทธยอดฟ้า สะพานพระราม 6 ท่าเรือคลองเตย สนามบินดอนเมือง สถานทูตญี่ปุ่น ที่พักและคลังอาวุธของทหารญี่ปุ่น

รวมถึง ที่ตั้งปืนต่อสู้อากาศยานบริเวณถนน กาติ๊บ สนามเป้า กองสัญญาณทหารเรือข้างสวนลุมพินี ประตูทดน้ำบางซื่อ โรงเก็บสินค้าและโรงงาน การทิ้งระเบิดในระยะแรก ระหว่างปี พ.ศ. 2486 ถึงกลางปี พ.ศ. 2487 เป็นการโจมตีทิ้งระเบิดในเวลากลางคืน ต่อมาในเดือน มิถุนายน 2487 จึงได้เริ่มโจมตีทิ้งระเบิดในเวลากลางวัน

ในครั้งนั้น การทิ้งระเบิดมีการทิ้งผิดเป้าหมายที่ต้องการเป็นจำนวนไม่น้อยด้วย เช่น วัดราชบุรณราชวรวิหาร ทำให้ภาพวาดของขรัวอินโข่งถูกทำลาย เครื่องบินทิ้งระเบิดที่ใช้มี แบบ บี-24 ซึ่งส่วนใหญ่จะมาทิ้งระเบิดเวลากลางคืน ปืนต่อสู้อากาศยานได้ยิงต่อสู้โดยใช้ไฟฉายส่อง ค้นหาเป้าหมายแบบประสานกันจากจุดต่าง ๆ บนพื้นดิน

ซึ่งเมื่อจับเป้าคือเครื่องบินได้แล้ว ก็เกาะเป้าไว้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ปืนต่อสู้อากาศยาน ยิงทางเครื่องบินทิ้งระเบิด จะต่อสู้โดยยิงปืนกลอากาศสวนมาตามลำแสงของไฟฉาย ซึ่งจะเห็นได้จากกระสุนส่องวิถีจากปืนกลอากาศ ที่ยิงมาเป็นชุดยาว

ทางกองทัพอากาศได้ส่งเครื่องบินขับไล่ขึ้นต่อสู้สกัดกั้น แต่ไม่ใคร่ได้ผลเพราะเครื่องบินฝ่ายเรา มีสมรรถนะต่ำกว่า และต่อมาในระยะหลังที่ใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ บี -29 ซึ่งจะบินมาเป็นหมู่ในระยะสูง ปืนต่อสู้อากาศยานยิงไม่ถึง จึงได้มีการมาทิ้งระเบิดเวลากลางวันอย่างเสรี

อีกทั้งรัฐบาลต้องประกาศให้ประชาชนเตรียมพร้อมสำหรับการทิ้งระเบิด เมื่อมาถึงทางการจะเปิดเสียงสัญญาณหวอเสียงดังเพื่อเตือนให้ประชาชนได้ระวังตัว เช่น หลบอยู่ในหลุมพรางที่ขุดขึ้นเอง หรือทำการพรางไฟ เป็นต้น แต่ประชาชนบางส่วนก็ได้อพยพย้ายไปอยู่ตามชานเมืองหรือต่างจังหวัด

ตลอดจนลงไปอยู่ในหลุมที่ทางการจัดสร้างไว้ เป็นต้น ซึ่งการอพยพนั้นมักจะเดินกันไปเป็นขบวนกลุ่มใหญ่เหมือนขบวนคาราวาน โดยชานเมืองที่ผู้คนนิยมไปกันเป็นจำนวนมากคือ บริเวณถนนสุขุมวิท ซึ่งในเวลานั้นเรียกว่า บางกะปิ

สรุบแล้ว ตั้งแต่เดือน มกราคม 2487 ถึงเดือน มกราคม 2488 ประเทศไทยถูกโจมตีทางอากาศจากฝ่ายสัมพันธมิตร ประมาณ 250 ครั้ง มีเครื่องบินเข้าปฏิบัติการประมาณ 2,490 เที่ยวบิน ทิ้งลูกระเบิดทำลายประมาณ 18,600 ลูก ระเบิดเพลิงประมาณ 6,100 ลูก ทุ่นระเบิดประมาณ 250 ลูก พลุส่องแสงประมาณ 150 ลูก มีผู้เสียชีวิตประมาณ 1,900 คน บาดเจ็บประมาณ 3,000 คน

รวมทั้ง อาคารถูกทำลายประมาณ 9,600 หลัง เสียหายประมาณ 1,200 หลัง รถจักรเสียหาย 73 คัน รถพ่วงเสียหาย 617 คัน เรือจักรกลเสียหาย 14 ลำ เรืออื่น ๆ ประมาณ 100 ลำทรัพย์สินเสียหายประมาณ 79 ล้านบาท


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99



[ วีรกรรม ตชด. ณ บ้านกกค้อ , บ้านหนองดอ ,บ้านน้อยป่าไร่]

8 มกราคม 2520 ในสมัยที่ พล พต เรืองอำนาจ และปกครองประเทศกัมพูชา เกิดเหตุการณ์ที่ทหารกัมพูชานับร้อยๆ นายได้บุกเข้ามาที่หมู่บ้านกกค้อ ,หนองดอ และบ้านน้อยป่าไร ที่อรัญประเทศ สังหารโหดชาวบ้านไม่ว่าลูกเด็กเล็กแดง ผู้หญิง คนแก่ อย่างโหดเหี้ยม ทารุณ.. ไปถึง 30 กว่าศพ รวมทั้งเผาหมู่บ้านวอดจนเหลือแต่เถ้าถ่าน..!!!

เหตุเกิดที่ บ้านกกค้อ, หนองดอ, น้อยป่าไร่ ที่ อรัญญประเทศ

ตลอดยุคที่ผ่านมา เขมรส่อพฤติกรรมให้ชาวโลหได้เห็นว่า ไม่เคยมีความบริสุทธิ์ใจต่อไทยเท่าไหร่นัก ประเทศไทยซึ่งทำตามเสมือนเป็นพี่น้องที่ดีกับเขมร แต่เขมรกลับรุกล้ำอธิปไตยของประเทศไทย ด้วยการอ้างว่าดินแดนเหล่านั้นเป็นของตนตลอดเวลาเรื่อยมาอย่างไม่สิ้นสุด

โดยนับตั้งแต่ปี 2518 เป็นต้นมา เหตุการณ์ตามแนวชายแดนก็ได้ร้อนระอุ เพราะการกระทำของเขมรอีกครั้ง นับตั้งแต่ ตาพระยา อรัญญประเทศ โป่งน้ำร้อน และหาดเล็ก ซึ่งทุกครั้งที่มีการรุกล้ำเกิดขึ้นนั้นก็หมายถึง การทำลายทรัพย์สินของฝ่ายไทย รวมทั้งชีวิตของคนไทยต้องสูญเสียไปด้วยกับเหตุการณ์นั้นเสมอๆ ไม่มากก็น้อย ไมตรีจิตที่ไทยหยิบยื่นให้ด้วยการลดราวาศอกต่อเหตุการณืร้ายเหล่านั้น ทำให้เสมือนหนึ่งเป็นการปล่อยให้เขมรย่ามใจ

แล้วการสูญเสียชีวิตคนไทยโดยน้ำมือเขมร ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด และทารุณกรรมที่สุดก็อุบัติขึ้น เมื่อคืนวันที่ 28 มกราคม พ.ศ.2520

จะไม่มีคนไทยคนใดลืมมันได้ลงสำหรับพฤติกรรมอันโหดเหี้ยมที่ยิ่งกว่าเดรัจฉานของเขมรนับร้อย เข้าสังหารชาวบ้านที่ไม่มีทางสู้จำนวนกว่า 30 คน ทั้งชาย หญิง คนแก่ เด็ก และคนท้อง อย่างสยดสยอง ก่อนที่พวกเขมรนั้นจะลงมือเผาหมู่บ้านชาวไทยทั้งสองแห่งแล้วหลบหนีออกไปอย่างลอยนวล โดยทิ้งรอยจารึกที่แสนรันทดและความเจ็บแค้นใจให้แก่คนไทยอย่างที่มิอาจลืมเลือนได้

- หมู่บ้านกกค้อ : เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ห่างจากถนนสายอรัญญประเทศ-คลองลึก ไปทางทิศเหนือประมาณ 2 กม. และห่างจากพรมแดนไทย-เขมร ประมาณ 1 กม.

ชาวบ้าน 6 ครอบครัวที่อยู่ในหมู่บ้านแห่งนี้ ดำเนินชีวิตอยู่ด้วยความสงบสุขตลอดมา แม่จะมีฐานะไม่สู้ดีนักแต่ทุกคนก็ไม่เคยหวาดระแวงภัยใดๆ เพื่อถือว่าที่นั่นคือ ผืนแผ่นดินไทย!!

แต่แล้ววันที่ทุกคนต้องสะอื้นให้กับชะตาชีวิตของพวกเขาก็มาถึง!!

คืนวันที่ 28 มกราคม 2520 เวลาประมาณ 4 ทุ่ม หลายคนในหมู่บ้านต้องสะดุ้งติ่นเมื่อได้ยินเสียงคล้ายเป็ดร้องดังลั่นทั้งๆ ที่เป็ดในหมู่บ้านนั้นก็มีเพียงสองสามตัวเท่านั้น รวมทั้งมีเสียงหมาที่พากันเห่าหอนผิดปกติ ทั้งๆ ที่ีร้อยวันพันปีหมาที่หมู่บ้านนี้ไม่เคยเห่ากระชั้นชิดเช่นนั้นเลย

ชาวบ้าน 4-5 คน พากันด้อมออกมามองที่ชายคาบ้าน ซึ่งไม่ดีไปกว่ากระต๊อบเท่าไหร่นัก ทุกคนได้แต่เงียบและไม่กล้าส่งเสียง นอกจากสมาชิกในครอบครับที่อยู่ด้วยกันที่พอจะกระซิบกระซาบกันเป็นเสียงเบาๆ บ้าง และต่างจับต้องเฝ้าดูสิ่งผิดสังเกตุ ซึ่งเสียงเหล่านั้นแม้จะคล้ายๆ เสียงสัตว์เลี้ยงมาก แต่มันก็ไม่เหมือนเลยเสียทีเดียว

ทันใดนั้น!! เสียงปืนก็รัวดังขึ้นถี่ยิบในระที่ไม่ห่างออกไปนักทางทิศเหนือ อันเป็นทิศทางที่ตั้งของหมู่บ้านหนองดอ ตะเกียงที่รั้วนั้นต่างก็ดับไปนานแล้ว ซึ่งข้างนอกก็มีแต่แสงสลัวๆ ของเดือนแรมอ่อนๆ และป่าต้นเพล๊กที่มีอยู่รอบหมู่บ้านก็ไหวยวบยาบตามแรงลมยามค่ำคืน

" ทุกคนยังไม่รู้เลยว่า ขณะนั้นภยันตรายได้ล้อมพวกเขาไว้หมดแล้ว !!"

จากนั้น!! แสงสว่างของแฟร์ในสงครามก็ได้ถูกยิงขึ้นไประเบิดอยู่บริเวณเหนือหมู่บ้านหนองดอ จนชาวบ้านที่อยู่ที่นี่ห็นได้ชัด แล้วเสียงปืนขนาดหนักก็ได้ดังขึ้นตามมาราวกับเสียงประทัดแตก เพียงครู่เดียวเท่านั้น ก็มีแสงเพลิงลุกโชติช่วงขึ้นที่นั่น

ถ้าพวกเขาไม่อยู่ไกลจนเกินไป พวกเขาจะได้ยินเสียงร้องวอนขอชีวิตของเพื่อนคนไทยอีกหมู่บ้านหนึ่ง เสียงเด็กน้อยร้องไห้จ้า และเสียงตระหนกตกใจสุดขีด

ทุกชีวิตตื่นกลัวและทิ้งบ้านช่องหนีเอาชีวิตรอดทันที พร้อมๆ กันนั้นเสียงปืนจากราวป่าริมหมู่บ้านก็ดังขึ้น ห่ากระสุนสาดเข้ามาปลิวว่อน จากนั้นพวกเขมรแดงในชุดดำโพกผ้าก็กรูกันเข้ามา ชาวบ้านหลายคนบ้างก็ถูกกระสุนตายคาบันได บ้างก็กระเสือกกระสนเพื่อดิ้นหนีแต่ก็ยังไม่ทันพ้นลานบ้านก็ถูกตามมายิงเอาแบบเผาขน ลูกพลัดพ่อ เมียพลัดผัว แม่พลัดลูก บางคนที่หนีออกมาได้นั้นต่างก็ซมซานไปข้างหน้าอย่างเดียว โดยไม่รู้ว่าข้างหน้านั้นจะประสบะตาเช่นใด จะรอดหรือไม่ในระหว่างทาง เพื่อที่จะเข้ามายังที่ตั้งของ ตชด. ทางใต้ ที่ห่างออกมาเป็นระยะทางไกลพอดู

เด็กหลายคนพยายามวิ่งฝ่าความมืดด้วยสัญชาติญาณของมนุษย์ที่จะเอาชีวิตรอด ต่างก็ถูกดาบปลายปืนแทงตายอย่างทารุณ อีกทั้งทารกที่ไร้เดียงสาส่วนหนึ่งประมาณ 2-3 คน ที่พลัดจากอกแม่ ต่างร้องไห้จ้าอยู่กลางลานบ้าน ก็ไม่เว้นจะถูกจับเชือดคออย่างน่าเอน็จอนาจใจ

อีกทั้ง ลุงบุญส่ง ชายสูงอายุในหมู่บ้าน กระโจนจากเรือนลงไปหลังบ้าน พร้อมหิ้วปืนลูกซองที่มีอยู่ประบอกเดียว ทั้งแกและลูกสาววัย 17 ได้ปักหลักยิงสู้กับพวกเขมรนั้น แต่ในที่สุดทั้งพ่อและลูกนั้นสุดท้ายก็ต้องจบชีวิตลง เป็นเหยื่อสังเวยความชั่วช้าอยู่ตรงริมรั้วนั้นเอง

เมื่อพวกเขมรนั้นเดินตรวจตรา หลังจากกระสุนนัดสุดท้ายได้เงียบลงแล้ว กองฟางที่อยู่ใกล้ๆ หมู่บ้านนั้นก็ถูกพวกมันจุดขึ้น และกลายเป็นเชื้อไฟเผาผลาญเอาบ้านแทบทุกหลังในหมู่บ้านนี้

หูที่ปร่าเพราะเสียงปืนของชาวบ้านคนหนึ่ง ซึ่งหมอบหลบเขมรใต้ขอนไม้ใหญ่ใกล้หมู่บ้าน ได้ยินเสียงเท้าหนักๆ นับร้อยคู่ย่ำผ่านเข้าไป ปนเปกับสำเนียงเขมร "โดว..โตว." ก่อนที่ทุกอย่างจะเงียบลงเหมือนตอนหัวค่ำ นอกจากเสียงปะทุของเปลวไฟ และกลิ่นคาวเลือดเท่านั้น

เหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วประดุจสายฟ้าแลบก่อนหน้า 4 ทุ่ม เล็กน้อยที่หมู่บ้านหนองดอ ซึ่งห่างจากหมู่บ้านกกค้อขึ้นไปทางเหนือเพียง 6 กิโลเมตรเศษนั้น ยิ่งสยดสยองกว่าที่หมู่บ้านกกค้อหลายเท่านัก

โดยลักษณะก่อนเกิดเหตุที่หมู่บ้านหนองดอแห่งนี้นั้นก็คล้ายๆ กับที่เกิดขึ้น ณ หมู่บ้านกกค้อ แต่การจู่โจมของพวกฆาตกรโหดพร้อมทั้งอาวุธหนักอีกกลุ่มหนึ่งที่แยกกันทำงานนั้นรวดเร็วกว่า รวมทั้งการที่ชาวบ้านหนองดอนั้นไม่เฉลียวใจมาก่อนว่าจะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ จึงทำให้ชาวบ้านที่มีอยู่เพียง 64 คน ในหมู่บ้าน ต้องสูญเสียชีวิตไปถึง 21 ชีวิต

ทั้งยังมี ผู้หญิงท้องถูกยิงโดยร่างไร้วิญญาณนั้นนอนอยู่ข้างๆ กับบุตรชายของเธอที่วัยเพียง 13 เดือน เท่านั้น และไม่ห่างกันเท่าไรนัก ก็มีร่างของเด็กอีกหลายคนที่ถูกจับเชือดคออย่างน่าสังเวชใจ ร่องรอยที่เด็กน้อยเหล่านั้นดิ้นทุรนทุรายก่อนสิ้นใจด้วยวัยที่ไร้เดียงสา ทำให้ดินบริเวณนั้นยังเป็นรอยมองเห็นเป็นถนัดสำหรับผู้พบเห็นในตอนนั้น อีกทั้งยังมีพี่น้องที่โชคร้ายอีกคู่ที่นอนสิ้นใจกอดกันกลมมีรอยกระสุนพรุนทั่วทั้งตัว

!!มันเป็นภาพที่ทุกคนที่เห็นนั้น ไม่มีวันจะลืมเลือนลงได้!!

หลังจากก่อกรรมทำเข็ญ มาคร่าชีวิตชาวบ้านผู้บริสุทธิ์ด้วยความทารุณ หนำซ้ำยังเผาหมู่บ้านเป็นจุลเหลือแต่ซาก โดยการบุกเข้าสังหารชีวิตคนไทยทั้งสองหมู่บ้านนี้ กระทำการในเวลาห่างกันเพียงไม่กี่นาที ชาวบ้านไม่มีทางต่อสู้กับศัตรูแห่งละนับร้อยเช่นนี้ได้เลย พวกเขาไม่มีโอกาสที่จะรู้ตัวด้วยซ้ำกับชะตาชีวิตเช่นนั้น

พวกเขมรเหล่านี้ต้องการอะไรหรือ ?? มันอ้างก่อนหน้านี้ไม่กี่วันว่า ดินแดนตรงนั้นเป็นของมัน แต่คนไทยเหล่านี้ก็รักแผ่นดิน พวกเขารู้ว่าผืนแผ่นดินตรงนั้นเป็นของคนไทย จนกระทั่งต้องแลกความเชื่อมั่นเหล่านั้นด้วยชีวิตของพวกเขาเอง จะมีใครบ้างที่เรียกร้องหาความยุติธรรมให้พวกเขาด้วยวิธีไหนได้บ้าง!! จนป่านนี้ยังไม่มีใครตอบได้

ขอวิญญานพวกเขาจงรับรู้ว่า "คนไทยทั้งหมดได้อาลัยต่อการเป็นเหยื่อของฆาตกรโหดในครั้งนี้ " แต่มันเพียงเท่านั้นละหรือ??

ในเวลาเดียวกันที่เขมรบุกเข้าสังหารคนไทยที่หมู่บ้านหนองดอและหมู่บ้านกกค้อ ก็ยังมีกำลังของทหารเขมรจำนวนไม่ต่ำกว่าร้อยนาย บุกเข้าล้อมหมู่บ้านน้อยป่าไร่ด้วย โดยหมู่บ้านนี้อยู่ห่างจากชายแดนเขมรเพียงกิโลเมตรเศษและไกลขึ้นไปทางเหนือของหมู่บ้านหนองดอประมาณ 2 กม. ซึ่งที่นี่เป็นจัดห่างฐานปฏิบัติการใหญ่ของ ตชด.มากที่สุดเมื่อเทียบกับหมู่บ้านอีกทั้งสามแห่งนั้น

แต่หมู่บ้านเงียบสงัด เพราะชาวบ้านที่นี่อพยพออกจากหมู่บ้านไปหมดแล้ว ก่อนหน้าที่จะเกิดเหตุการณ์นี้ประมาณเดือนเศษๆ เพราว่าหลายคนต้องเสียชีวิตและพิการ เนื่องจากเหยียบกับระเบิด แต่หมู่ในหมู่บ้านก็ยังมี ตชด. อยู่ รวม 18 นาย ประจำอยู่ยังฐานปฏิบัติการย่อยแห่งนั้น

โดยฝ่ายเขมรเป็นฝ่ายสาดกระสุนเข้ามาในหมู่บ้านก่อน และเมื่อถูกรุกราน ตชด. ทั้งหมดที่เตรียมพร้อมอยู่จึงทำการตอบโต้ การปะทะเริ่มรุนแรงยิ่งขึ้น ฝ่ายเขมรทำการโอบล้อมกลุ่ม ตชด.เหล่านั้น เข้าเป็นรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว เปิดทางเอาไว้ หันไปทางชายแดนเขมร

การได้เปรียบของ ตชด. ไทย ซึ่งอยู่ในที่กำบัง จึงทำให้กำลังของเขมรหลายคนถูกลูกปืน ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นยืนยันว่าเห็นเขมรลากเพื่อที่บาดเจ็บจำนวนมากล่าถอยออกไปด้วย ซึ่งหลังจากการปะทะกันประมาณ 20 นาที ฝ่ายเขมรจึงล่าถอยออกไป

อย่างไรก็ตาม จากการประเมินกำลังของเขมร ตชด.เหล่านั้น เชื่อว่าเขมรพวกนั้นจะต้องกลับมาบุกพวกเขาอีกแน่นอน และก็เป็นความจริง เพราะอีกไม่เกินครึ่งชั่วโมงต่อมา กำลังทหารของฝ่ายเขมรนั้นก็กลับเข้ามาโจมตีซ้ำอีก

เมื่อเห็นท่าไม่ดี ตชด.ประจำหน่วยบ้านน้อยป่าไร่ก็วิทยุขอกำลังเสริมมาช่วย แต่ทว่าในยามกลางคืนและป่าที่รกชัดเช่นนั้น กำลังสนับสนุนจะปลอดภัยหรือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนเส้นทางแคบๆ สายเดียวสู่หมู่บ้านน้อยป่าไร่ อาจถูกวางกับระเบิดเอาไว้เต็มไปหมดแล้วก็เป็นได้

โดยกำลังของ ตชด. เหล่านั้น หลายนายบ้างก็โดนกระสุนปืนของฝ่ายตรงข้าม แต่ส่วนมากไม่ถูกที่สำคัญนัก นอกจากท่าน จ.ส.ต.ภิรมย์ แก้ววรรณา ซึ่งโดนเข้าอย่างจังถึงกับเสียชีวิตหลังโดนยิงไม่นานนัก แต่ขณะนั้นทุกคนจะมัวเป็นห่วงใครไม่ได้เลยเพราะต้องระดมกำลังทั้งหมดที่มีอยู่นั้นเข้าต้านทานฝ่ายข้าศึกที่มีจำนวนมากกว่าหลายเท่า เพื่อประวิงเวลาให้หน่วยสนับสนุนเข้ามาช่วยเท่านั้น

เสียงหูดับตับไหม้ของการยิงต่อสู้ที่ผ่านเข้ามายังเครื่องรับ ณ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน เขต 2 กับเสียงการรายงานขอความช่วยเหลือด่วนของเหล่า ตชด. ที่นั่น ทำให้ พ.ต.ท.สมนึก พลสิทธิ์ ผู้กำกับการฯ ว้าวุ่นใจอย่างยิ่ง ทั้งกำลังที่มีอยู่ที่นี่เองก็น้อย ส่วนการสนับสนุนทางอากาศก็คงทำไม่ไหว ท่านจึงตัดสินใจให้ ตชด. จำนวนหนึ่งนำรถหุ้มเกราะออกไปสนับสนุนช่วยเหลือหน่วยที่อยู่ฐานบ้านน้อยป่าไร่ โดยมี ส.ต.อ.ดาบศึก ชีวะโต เป็นหนัวหน้าชุด

จากนั้น !! ทุกนายก็เคลื่อนล้อรถเกราะออกไป เพื่อเข้าไปยังเขตแดนอันตราย จุดมุ่งหมายอยู่ที่บ้านน้อยป่าไร่ !!

หลังจากที่รถเกราะนั้นวิ่งมาได้เพียงประมาณ 20 นาที จวนจะถึงหมู่บ้านแรกคือหมู่บ้านกกค้อ ก็ถูกดักซุ่มโจมตีจากกำลังส่วนหนึ่งของอีกฝ่ายที่อยู่สองข้างทางอย่างหนักหน่วง แต่ไม่ได้รับความเสียหายและทั้งหมดนั้นไม่ทำการตอบโต้ โดยมุ่งตรงไปข้างหน้า ณ จุดที่เพื่อนอยู่ เพื่อช่วยเหลือเพื่อนๆ เท่านั้น

รายงานจากหน่วยรถเกราะชุดนั้น ได้แจ้งว่า ถูกโจมตีอย่างหนักด้วยอาวุธร้ายแรง แม้จะยังไม่เป็นอะไร แต่ผู้กำกับฯ สมนึก ไม่ค่อยมั่นใจเลยว่า หน่วนสนับสนุนนั้นจะสามารถเข้าไปช่วยพรรคพวกที่ถูกล้อมอยู่นั้นทันหรือป่าว

แล้วความคิดของท่านก็เป็นจริง เมื่อรถเกราะคันนั้นแล่นเข้าเขตหมู่บ้านน้อยป่าไร่ ซึ่งเหลือระยะทางเพียงประมาณไม่ถึง 1 กม. เท่านั้น ก็จะถึงที่หมายแล้ว แต่ก็โดนกับระเบิดอย่างจังเข้า จนเพลารถนั้นขาดหยุดกับที่และล้อหลังด้านซ้ายนั้นขาดกระเด็นหายไปในความมืด แต่ ตชด. ทุกนายปลอดภัย ได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย แต่ก็สามารถต่อสู้ต่อไปได้

จากนั้น ส.ต.อ.สมนึก หัวหน้าชุด ก็บอกกับเพื่อนๆ ที่มาด้วยกันให้ออกจากรถแล้วให้หลบเข้าไปกำบังในหลุมระเบิดเมื่อครู่ และให้พลปืนประจำรถเกราะนั้นยิงกราดออกไปเพื่อคุ้มกันกำลังที่เหลือก่อน จากนั้นการปะทะกันระหว่าง ตชด.ชุดช่วยเหลือกับเหล่าทหารเมมรก็เริ่มขึ้น

ท่านผู้กำกับฯ สมนึก พยายามคิดแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอยู่ แต่ก็ยังคิดไม่ออก จนกระทั่ง รองผู้กำกับฯ ท่าน พ.ต.ท.วาริชัย สุริยกุล ณ อยุธยา เสนอให้ใช้เครื่องบินตรวจการณ์หมายเลข 1603 ที่มีอยู่เพียงลำเดียวนั้น ออกไปยิงสนับสนุน โดยรับอาสาจะไปกับเครื่องบินลำนี้ด้วย

ผู้กำกับฯ สมนึก จึงตัดสินใจ ใช้วิธีนั้น!! เครื่องบินตรวจการณืลำนี้ใช้งานอยู่ใน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต 2 มานานแล้ว มันเก่าคร่ำคร่าและมีสภาพไม่ค่อยสมบูรณ์นัก และเคยมีครั้งหนึ่งในการปฏิบัติการคราวหนึ่งที่เครื่องสะดุดหยุดเอาเฉยๆ ดื้อๆ จนทำให่ผู้ที่อยู่บนเครื่องคราวนั้นหายใจไม่ทั่วท้องมาแล้ว แต่แล้วช่างเครื่องก็สามารถแก้ไขให้กลับมาใช้ได้อีก

พ.ต.ท.วาริชัย ท่านคลุกคลีกับเครื่องบินลำนี้มานาน เพราะนพลาดตระเวนหาข่าวตามแนวชายแดนเสมอ และท่านก้ได้นำปืนกลเบากระบอกหนึ่งที่ดัดแปลงขาตั้งด้วยเงินเดือนของตนประมาณ 70 บาท ติดตั้งเข้ากับเครื่องบินตรวจการณ์ลำนี้เอาไว้ เพื่อป้องกันตนเองในยามฉุกเฉิน

จากนั้น กำลังสนับสนุนชุดสุดท้ายทางอากาศ ภายใต้การนำของ พ.ต.ท.วาริชัย นั้นต้องบินเครื่องโดยดับไฟทั้งหมด มุ่งตรงไปยังหมู่บ้านน้อยป่าไร่ ซึ่งขณะนั้นเขมรได้เร่มจุดไฟเผารอบหมู่บ้าน โดยหวังจะให้กำลัง ตชด.ที่เหลืออยู่ทั้ง 17 นาย ให้ตกอยู่ในกองไฟนั้นเอง

ส่วนชุดสนับสนุนรถเกราะที่โดนระเบิดนั้น กำลังพากันยิงต่อสู้กับเขมรอีกกลุ่มหนึ่งอยู่ โดยได้วิทยุแจ้งขึ้นมายังเครื่องให้ทราบด้วยว่า พวกตนสามารถตรึงกำลังของเขมรไว้ได้แล้ว ขอให้บินไปช่วยหน่วยบ้านน้อยป่าไร่เท่านั้นเป็นพอ ไม่ต้องเป็นห่วงพวกตน

เมื่อเครื่องบินบินอยู่เหนือหมู่บ้านน้อยป่าไร่ พ.ต.ท.วาริชัย ก็มาทำหน้าที่พลปืน ได้กราดยิงลงไปยังจุดที่เขมรซ่อนอยู่ ตามเป้าที่หน่วย ตชด. ที่ฐานบ้านน้อยป่าไร่แจ้งไว้ให้ทราบ และเพียงประมาณ 20 นาทีเท่านั้น ปืนกลที่ใช้งานมานานก็เกิดขัดลำกล้อง จึงได้วิทยุแจ้งไปยังกองกำกับฯ ให้ถอดปืนประจำรถเกราะอีกคันหนึ่ง ซึ่งจอดรออะไหล่บางชิ้นมานานร่วมเดือนเอาไว้ เพื่อรอเปลี่ยนแทนปืนกลเบาโบราณกระบอกนั้น

หลังจากที่กลับไปเพื่อทำการเปลี่ยนอาวุธเสร็จ เครื่องบินตรวจการณ์ที่ถูกนำมาเป็นเครื่องบินโจมตีในยามฉุกเฉินนี้ ก็บินกลับเข้าไปยังหมู่บ้านน้อยป่าไร่อีกครั้งหนึ่ง

ผลตอบรับคือ อานุภาพของปืนประจำรถถัง ตชด. นั้น ทำให้เสียงปืนของฝ่ายเขมรเงียบหายไป ตชด.ทุกนายที่อยู่ข้างล่างต่างก็ใจชื้นขึ้นมาบ้าง ซึ่งความหวังที่จะรอดนั้นมีเปอร์เซ็นต์มากขึ้นอีก เพราะอีกประมาณชั่วโมงเดียวก็จะเช้าแล้ว

การโจมตีของเขมรทั้งสองจุดนั้นเงียบหายไป ทุกคนต่างเร่งและรอให้สว่างเร็วๆ เพราะความมืดกับกำลังที่น้อยกว่ามันไม่ค่อยยุติธรรมสำหรับพวกเขาเหล่านั้นเลย

ในขณะที่เครื่องบินตรวจการณ์ที่ต่อมาไปร่อนลงที่สนาม ยังไม่ทันจอดสนิท ผู้บังคับการ ตชด.ภาค 1 พล.ต.ต.สมโภชน์ วิไลจิต ที่บึ่งรถจาก กทม. ทันทีที่ได้รับรายงานนั้นก็ไปถึงพอดี

หลังจากนั้น นายตำรวจถูกเรียกเข้าประชุมด่วน ทุกคนมีสีหน้าที่เคร่งเครียด ดำคล้ำ เพราะเหตุการณ์ที่ร้ายแรงนั้นมัน้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเกือบแก้ปัญหาไม่ได้

และแล้ว แผนงานสำหรับวันรุ่งขึ้นก็ถูกกำหนดขึ้นอย่างละเอียด ไม่มีใครรู้ว่าเหตุการณืที่อาจร้ายแรงกว่านี้นั้นจะเกิดขึ้นอีกหรือไม่ ซึ่งข้าราชการฝ่ายปกครองตามอำเภอชายแดนนั้น เป็นอีกพวกหนึ่งที่ต้องประสบกับความยุ่งยากลำบากใจอย่า่งยิ่งก็คือ การที่จะต้องพยายามสอดส่องเอาใจใส่ประชาชนในที่ห่างไกลอย่างจริงจัง ลำพังการพยายามพัฒนาท้องถิ่นให้ดีขึ้นนั้นก็ยากอยู่แล้ว

แต่อีกสองสิ่งที่ยากไปกว่านี้ก็คือจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยให้กับประชาชน ร่วมกับ ตชด. หรือทหารอีกด้วย และไม่เพียงเท่านั้น นโยบายต่างประเทศของไทยที่พยายามเป็นมิตรกับประเทศเพื่อนบ้านทุกประเทศ ยิ่งต้องทำให้พวกเขาต้องคอยระแวดระวังการดำเนินการใดๆ ก็ตามของอีกฝ่ายตลอดเวลา

!!ฟ้าสางแล้ว!! แสงตะวันเช้านั้น แสดเข้มปนแดงราวสีเลือด ผู้รอดชีวิตหลายคนที่หนีรอดมาได้ ต่างก็เล่าเหตุการณ์อันป่าเถื่อนจากน้ำมือเขมรโหดเหล่านั้น หลายคนสติแทบไม่อยู่กับเนื้อกับตัว เพราะสี่ภาวะจิตใจของพวกเขาไม่สามารถที่จะทนต่อภาพที่ได้เห็นมาหยกๆ อีกต่อไปเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายก็เริ่มทำงานกันอย่างหนัก

โดยเมื่อเข้าเคลียร์พื้นที่ท่านอธิบดีกรมตำรวจขณะนั้น ถึงกับอุทานออกมาว่า โหดร้ายที่สุดเท่าที่เคยพบมา!!


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99



[ ยุวชนทหาร ในประเทศไทย ] : คำว่า "ยุวชนทหาร" มีอักษรย่อ ว่า "ยวท." ก็คือ เยาวชนที่ได้รับการฝึกวิชาทหารขึ้นในช่วงระหว่างปี 2477 - 2490 เนื่องจากรัฐบาลสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีนโยบายที่จะฟื้นฟูการฝึกหลักสูตรวิชาทหารให้แก่ประชาชน และนักเรียนมัธยม และได้มอบหมายให้ดำเนินการโดยกรมยุวชนทหาร กระทรวงกลาโหม (ณ ปี 2481 ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นกรมเตรียมการทหารเมื่อปี พ.ศ. 2484)..

ประวัติความเป็นมาในการก่อตั้งหน่วยยุวชนทหารครั้งนี้ ได้เริ่มขึ้นหลังจากกิจการเสือป่าในอดีตได้ทรุดตัวลง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า หลักการอันสำคัญนั้นจะสลายลงไปด้วย ในขณะเหตุการณ์ในยุโรปช่วงประมาณปี พ.ศ. 2475 กำลังผันผวนนั้น รัฐบาลได้คำนึงถึงความสำคัญที่ว่า การที่ทหารกองหนุนมีจำนวนมาก แต่ขาดตัวผู้บัญชาการในตำแหน่ง ผบ.หมวด(กองหนุน) จึงได้คิดจะจัดตั้ง กรมยุวชนทหาร ซึ่งกรมนี้ปรารถนาจะให้เป็นเครื่องจักรในการผลิตนายทหารชั้น ผบ.หมวด(กองหนุน) และในเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2478 กระทรวงกลาโหมก็ได้เริ่มมีการฝึกวิชาทหารให้แก่นักเรียน โดยได้กำหนดความมุ่งหมายไว้ในระเบียบทหารบก ที่ 1/7742 ว่าด้วยนักเรียนที่จะเข้ารับการฝึกวิชาทหาร ดังนี้..
.. "ด้วยทางราชการทหารได้พิจารณาความผันแปรเหตุการณ์ของโลกปัจจุบัน (พ.ศ. 2478) รู้สึกเป็นที่แน่ใจว่าอย่างไรเสียก็ต้องเกิดสงครามขึ้นอีก รูปของสงครามคราวต่อไปจะร้ายแรงกว่าที่แล้วๆมาเป็นอันมาก เพราะด้วยความเจริญแห่งอาวุธและวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการประหัตประหารกัน จะมิใช่ทหารรบกันเท่านั้น จะต้องเป็นชาติต่อชาติรบกัน คือผู้คนในชาติหนึ่ง ทั้งผู้หญิง คนแก่ เด็ก จะต้องอยู่ในสนามรบพร้อมกัน เพราะเมื่อเกิดสงครามขึ้น เครื่องบินรบอีกฝ่ายหนึ่งจะพยายามเอาลูกระเบิดต่างๆมาทิ้งไว้ในที่ทั่วๆไป เพราะฉะนั้น จึงมีความจำเป็นโดยแท้ที่เราทั้งหลายทุกคนต้องเตรียมตัวหัดการรบไว้ให้พร้อม ถ้าชาติใดข่มเหง เราทุกคนในชาติจักได้ช่วยกันสู้รบอย่างเต็มที่ คือพวกเราต้องเป็นทหารของชาติ ทุกคนทั้งแผ่นดินนั่นเอง" ..

โดยกระทรวงกลาโหม ผู้ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการเห็นว่าในชั้นนี้ จะเริ่มฝึกอบรมวิชาการรบแก่กุลบุตรก่อน ทั้งนี้สำหรับหลักเกณฑ์การเข้ารับการฝึกวิชาทหารเพื่อเป็นยุวชนทหารต้องมี ดังนี้..
... - ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี และไม่เกิน 17 ปี
... - เป็นลูกเสือเอก
... - เป็นนักเรียนชั้นมัธยมปลาย

โดยหน่วยฝึกยุวชนทหารครั้งแรกของประเทศไทยนั้น มี 315 นาย อยู่ในความอำนวยการของมณฑลทหารบกที่ 1 ต่อมาก็ได้ขยายตัวกว้างขวางออกไปจนถึงต่างจังหวัด และต่อมาในปี พ.ศ. 2479 ก้ได้มีการยกฐานะขึ้นเป็น แผนกฝึกที่ 6 กรมจเรทหารบก ซึ่งขยายการฝึกออกไปในต่างจังหวัดด้วย จนถึงปี พ.ศ. 2480 ได้ขยายชั้นเรียนจนถึงชั้น 1,2 และ 3 และมีจำนวนผู้รับการฝึกประมาณ 3,000 นาย และถัดมาอีกในปี พ.ศ. 2481 ได้รับการยกฐานะจาก แผนกฝึกที่ 6 กรมจเรทหารบก ขึ้นเป็น "กรมยุวชนทหารบก" มีกำลังทั้งสิ้นประมาณ 10,000 นาย (กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด) โดยแบ่งเป็น 4 แผนก ดังต่อไปนี้..
..- [แผนกที่ 1] : มีหน้าที่ฝึกยุวชนทหาร ยุวชนนายสิบ ยุวนารี
..- [แผนกที่ 2] : มีหน้าที่ฝึกยุวชนทหาร เฉพาะกรุงเทพฯ และธนบุรี (สมัยนั้นมีฐานะเป็นจังหวัด)
..- [แผนกที่ 3] : มีหน้าที่ฝึกยุวชนทหารในต่างจังหวัด (จังหวัดที่ไม่มีหน่วยทหาร)
..- [แผนกที่ 4] : มีหน้าที่กำหนดแบบแผน หลักสูตร ประสานงานแผนกที่ 1,2,3 และฝึกอบรมครูฝึกยุวชนทหาร

ทั้งนี้ อนุสาวรีย์ยุวชนทหาร ที่เชิงสะพานท่านางสังข์ จังหวัดชุมพร
ระหว่างปี พ.ศ. 2482-2483 ได้เปิดขยายในต่างจังหวัดเพิ่มเติมขึ้นอีกและในเขตจังหวัดชายแดนในเขตปลอดทหารขึ้นด้วย เช่น..
..- [ภาคเหนือ] : เชียงใหม่ ลำปาง พิษณุโลก นครสวรรค์
..- [ภาคกลาง] : ลพบุรี อยุธยา สระบุรี นนทบุรี สมุทรปราการ
..- [ภาคอีสาน] : นครราชสีมา อุดรธานี ขอนแก่น หนองคาย สกลนคร อุบลราชธานี และนครพนม
..- [ภาคตะวันออก] : ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา
..- [ภาคใต้] : ราชบุรี เพชรบุรี ชุมพร หลังสวน ระนอง ภูเก็ต นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง ปัตตานี และสงขลา

นอกจากนี้ยังมียุวชนเหล่าพิเศษ เช่น เหล่าทหารปืนใหญ่ ทหารช่าง ทหารสื่อสาร ฯลฯ อีกด้วย..

ต่อมาปี พ.ศ. 2484 กรมยุวชนทหารบก เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "กรมเตรียมการทหาร" ด้วยความมุ่งหมายที่จะขยายการให้ความรู้ทางวิชาการทหารแก่ประชาชน ซึ่งตรงกับสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น กรมเตรียมการทหารได้รวบรวมกำลังยุวชนทหารทุกประเภททุกเหล่าบรรจุตามอัตราสงคราม 3 กองพล (27 กองพัน) พร้อมด้วยผู้บังคับบัญชา เตรียมการที่จะปฏิบัติการรบร่วมกับกองพันได้

สำหรับวีรกรรมยุวชนทหาร จากเหตุการณ์ วันที่ 8 ธ.ค. 2484 ซึ่งเป็นช่วงที่ไฟสงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังรุนแรง ญี่ปุ่นได้รุกเข้ามาไทยพร้อมกับการเข้าโจมตีฐานทัพเรือเพิร์ลฮาเบอร์ และประเทศต่างๆ อีกด้วย ซึ่งเวลาประมาณ 02.00 น. ของประเทศไทย กองกำลังส่วนหนึ่งของกองทัพญี่ปุ่นได้บุกยกพลขึ้นบกบริเวณบ้านคอสน และบ้านแหลมดิน ต.ท่ายาง อ.เมือง จังหวัดชุมพร ซึ่งวีรกรรมครั้งยิ่งใหญ่ของยุวชนทหารคือการร่วมมือกับทหารและตำรวจเพื่อต่อต้านการรุกรานจากกองทัพญี่ปุ่นในสงครามมหาเอเชียบูรพาเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ปี พ.ศ. 2484 ในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ โดยได้มีวีรกรรมของหน่วยยุวชนทหารที่โดดเด่นที่สุดในการรบครั้งนั้นคือ วีรกรรมที่สะพานท่านางสังข์ ของจังหวัดชุมพร (ต่อมาได้มีการนำเหตุการณ์ดังกล่าวไปสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง "ยุวชนทหาร เปิดเทอมไปรบ" โดยบริษัทแกรมมี่ฟิล์ม เมื่อ พ.ศ. 2543) โดยทางผู้บังคับหน่วยยุวชนทหารที่ 42 ได้นำกำลังยุวชนทหาร รร.ศรียาภัย พร้อมทั้งตำรวจ ทหาร และประชาชนเข้าต่อสู้กับผู้รุกรานจนถึงขั้นตะลุมบอนกันบริเวณสะพานท่านางสังข์ จนทหารญี่ปุ่นไม่สามารถเข้าเมืองชุมพรได้ ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นผลให้ผู้บังคับหน่วยและวีรชนผู้กล้าหาญเสียชีวิต 5 นาย บาดเจ็บ 5 นาย และในภายหลังวีรกรรมของยุวชนทหารและเหล่าผู้รักชาติในวันที่ 8 ธ.ค. ปี 2484 ครั้งนั้น ก็มีการสร้างเจดีย์องค์หนึ่งตรงบริเวณที่มีการสู้รบด้วย

ต่อมาในปี พ.ศ. 2524 จึงได้สร้างอนุสาวรีย์ยุวชนทหารบริเวณริมถนนเชิงสะพานท่านางสังข์ เป็นรูปยุวชนทหารหล่อด้วยสำริด แต่งเครื่องแบบยุวชนทหารถือปืน ตั้งอยู่บนแท่งฐานหินอ่อนสีขาว รอบฐานมีแผ่นจารึกวีรกรรม และรายชื่อของทหาร ยุวชนทหาร และประชาชนผู้เสียสละ เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้รำลึกถึงวีรกรรมของเหล่าผู้กล้าหาญที่ยอมสละชีพเพื่อปกป้องอธิปไตยของชาติ ต่อมา พ.ศ. 2485-2486 การฝึกยุวชนทหารได้เจริญก้าวหน้าไปมาก ได้มีการตรา พ.ร.บ.ยุวชนแห่งชาติ พ.ศ.2486 ขึ้น เพื่อเป็นการกำหนดโครงสร้างทางการปกครอง บทบาท หน้าที่ และการอำนวยการฝึกให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

แต่อย่างไรก็ตาม การสิ้นสุดของขบวนการยุวชนทหารซึ่งการฝึกยุวชนทหารถูกยกเลิกใน พ.ศ. 2490 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงได้ 2 ปี ตามพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติยุวชนแห่งชาติ พุทธศักราช 2486 และ พ.ศ. 2490 เนื่องจากขาดแคลนครูฝึกและงบประมาณ แต่แนวคิดเกี่ยวกับการฝึกยุวชนทหารนี้ได้พัฒนาต่อมาเป็นการฝึกนักศึกษาวิชาทหาร ภายใต้การควบคุมของกรมการรักษาดินแดนหรือหน่วยบัญชาการกำลังสำรองในปัจจุบัน


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99



[ สมรภูมิเขาค้อ : ยุทธการผาเมือง 2524 ]

"บทความนี้เขียนขึ้นโดย พ.อ.สมจริง สหเสนี โดยคุณ vasin นำมาโพสเผยแพรที่ thaifighterclub.com ซึ่งเป็นเรื่องราวส่วนหนึ่งของ ยุทธการผาเมืองเผด็จศึก ซึ่งเป็นปฏิบัติการของกองทัพภาคที่สามต่อผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์บริเวณเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ บทความบอกเล่าเรื่องราวความยากลำบากและวีรกรรมของทหารอาชีพในสมัยนั้นที่ต่อสู้เพื่อปกป้องชาติและราชบัลลังค์โดยแท้จริง ในยุคสมัยที่ความแตกแยกของคนไทยลุกลามถึงขั้นต้องจับอาวุธขึ้นมาต่อสู้กัน"

เสียงกึกก้องกัมปนาทของปืนใหญ่บนเขาค้อและปืนใหญ่จากด้านเขาห้วยทรายที่ยิงติดต่อกันไม่ขาดระยะ นาฬิกาเพิ่งบอกเวลา ๐๕.๓๐ น. ของวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๕ อากาศรอบฐานหนาวเย็นยะเยือก อาศัยแสงดาวที่ระยิบระยับบนท้องฟ้า ทำให้พอสังเกตเห็นว่าที่ลานจอด ฮ. ข้างกองอำนวยการโครงการพัฒนา ลุ่มน้ำเข็ก ขณะนี้คราคร่ำไปด้วยเหล่าทหารจาก กองพันทหารราบเฉพาะกิจที่ ๓๔๔๔ (พัน.ร ๓๔๔๔) ซึ่งเป็นทหารจาก กองพันที่ ๔ กรมทหารราบที่ ๔ และเต็มไปหมด เสียงตะโกนเรียกหากันดังโหวกเหวก ระคนกับเสียงคุยจ้อกแจ้กจอแจ

เมื่อปืนใหญ่เงียบเสียงไปแล้ว สักครู่ก็ปรากฏเสียง ฮท.๑ จำนวนหลายลำดังกระหึ่มมาจากทางด้านหล่มสัก พอใกล้เข้ามาเสียงก็ยิ่งดังจนแสบแก้วหู ไฟสีเขียวสีแดงที่ตัวเครื่องวูบวาบข้ามศีรษะไปเป็นทางเหมือนกับผีกระสือ

อึดใจเดียวก็ได้ยินเสียงปืนกล เอ็ม-๖๐ ดี ขนาด ๗.๖๒ มม. ของ ฮท.๑ (ขนส่ง) ซึ่งติดตั้งอยู่ข้างห้องโดยสารของเครื่องข้างละกระบอก ที่เพิ่งบินผ่านไปเมื่อสักครู่ ดังสนั่นจนได้ยินอย่างชัดเจน เสียงการยิงดังกล่าวเป็นการยิงเพื่อเคลียร์พื้นที่ก่อนที่จะปล่อยทหารระลอกแรกลงในพื้นที่บริเวณหนองแม่นา นอกจากนั้นยังมีเสียงจรวด ๗๐ มม. และปืนมินิกัน ๖ ลำกล้อง ขนาด ๗.๖๒ มม. ของ ฮท.๑ (กันชิพ) ที่บินคุ้มกันดังสนั่นหวั่นไหวสลับกันอยู่ตลอดเวลาอีกด้วย

ฮ. เหล่านี้บินมาจาก พตท. ๑๖๑๗ อ. หล่มสัก และเป็น ฮ. เที่ยวแรกที่นำทหารจาก พัน. ร. ๓๔๔๔ จำนวน ๑ กองร้อย ไปลงในพื้นที่หนองแม่นา รังใหญ่ของ ผกค. เขตเขาค้อ

วันนี้ (๒๐ ก.พ. ๒๔) เป็นวันที่กองทัพภาคที่ ๓ ประกาศสงครามกับกองกำลังผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งจะต้องจารึกเอาไว้ว่า วันนี้นักรบไทยส่วนหนึ่งในสังกัดของ กองพลทหารราบที่ ๔ ได้ไปสร้างเกียรติประวัติฝากชื่อไว้ในแผ่นดินที่ เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์

ก่อนที่จะถึงวันนี้กองกำลังส่วนหนึ่งซึ่งประกอบ ด้วยทหารพรานและอาสาสมัครชาวเขาได้เคลื่อนย้ายเข้าปิดล้อมฐานที่มั่นของ ผกค. และในวันนี้เป็นวันที่กำลังส่วนหน้านั้นจะสมทบกับกำลังที่ส่งทางอากาศเข้าร่วมโจมตีที่หมายต่างๆ พร้อมกัน

๐๖.๐๐ น. ดวงอาทิตย์สีหมายสุกโผล่พ้นทิวเขาขึ้นมา พอจะเห็นอะไรได้ชัดเจนขึ้น บริเวณลานจอด ฮ. ที่กำลังพลุกพล่านไปด้วยทหารจาก พัน. ร. ๓๔๔๔ ทั้งนายทหาร นายสิบ พลทหาร ทุกคนสวมหมวก แบร์เล่ย์สีพราง จำนวนไม่ต่ำกว่า 2 กองร้อย กำลังรอคิวขึ้น ฮ. เที่ยวต่อไป เป้ที่อยู่บนหลังบรรจุแน่นไปด้วยสิ่งของเครื่องใช้ อาวุธ กระสุนทุกชนิดเต็มอัตราศึก ทหารเหล่านี้พอกหน้าด้วยดินหม้อจนดูเหมือนพวกนิโกร

ทุกคนยิ้มแย้มแจ่มใสร่าเริง พูดกระเซ้าเย้าแหย่กันด้วยความสนุกสนาน ไม่มีแวววิตกกังวลอยู่บนใบหน้าแม้แต่น้อย ผบ.ร้อย ผบ.หมวด ผบ.หมู่ กำลังจัดระเบียบการขึ้น ฮ. อยู่อย่างสับสน ผบ.หมู่ กำลังตามหาลูกหมู่ของตนอยู่อลหม่าน เสียงตะโกนเรียกหาโหวกเหวกดังอยู่อย่างเอ็ดอึง.... กว่าจะตามหาได้ครบก็เสียงแหบเสียงแห้ง

สักครู่หนึ่ง ฮท.๑ (ขนส่ง) ๓ - ๔ เครื่อง ก็บินกลับลงมาจอดที่ลานจอด โรเตอร์หลักพัดฝุ่นฟุ้งตลบ อบอวลจนเกือบมองไม่เห็นอะไร เดี๋ยวเดียวก็ทยอยกันมาอีก ๖ เครื่อง และกำลังทยอยลงจอดเป็นแถวยาวเยียด มี ฮท.๑ (กันชิพ) ๔ เครื่องเท่านั้นที่บินเลยไปจอดที่ลานอีกแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ใกล้กันแต่มีขนาดเล็กกว่า เพื่อโหลดจรวดและกระสุนปืนกลเพิ่ม ขณะที่ทหารกองร้อยแรกของ พัน.ร. ๓๔๔๔ ลงไปตะลุยขับเคี่ยวกับ ผกค. อยู่ในหนองแม่นาแล้ว ซึ่งสามารถได้ยินเสียงปืนแว่วมาจากด้านหลังของเขาค้อ และทหารส่วนที่เหลือนี้กำลังจะตามไปสมทบอีก

ฮ. ยังคงติดเครื่องกระหึ่ม ใบพัดใหญ่หมุนคว้างฝุ่นปลิวว่อน นักบินและช่างเครื่องกำลังก้มๆ เงยๆ อยู่ที่ท้องเครื่องเพื่อหารอยกระสุน เพราะเมื่อสักครู่นี้ขณะที่ร่อนลงปล่อยทหาร ถูก ผกค. ซัดเข้าไปหลายรู อาจจะเป็นเพราะเราจู่โจมลงไปโดยที่มันไม่รู้ตัวก็ได้มันเลยตั้งหลักไม่ทัน จึงเพียงแต่เฉี่ยวๆ ไม่ถูกที่สำคัญ เหล่าทหารที่กำลังรอขึ้นเครื่องอยู่ ก็เริ่มทยอยขึ้นเครื่อง ๆ ละ ๖ - ๗ นาย ซึ่งปรกติแล้วถ้ามีแต่ตัวเปล่าๆจะนั่งได้อย่างสบาย

แต่เมื่อทุกคนบรรทุกของใส่เป้มาเต็มที่ น้ำหนักไม่ต่ำกว่าคนละ ๓๐ กก. แล้วไหนจะอาวุธและกระสุนอีกก็เลยทำให้ภายในเครื่องเกือบไม่มีที่ว่างแม้แต่นิดเดียว พอทหารขึ้นนั่งประจำที่ครบทุกเครื่องแล้ว

“เคลียร์” ... พอสิ้นเสียง นักบิน ฮท.๑ (ขนส่ง) เครื่องหมายเลข ๑ ซึ่งจอดอยู่หัวแถว ก็เร่งเครื่องจนใบพัดใหญ่หมุนติ้ว เครื่องยกตัวขึ้น พอสกีพ้นพื้นก็พุ่งปราดไปข้างหน้า บินนำไปก่อนเป็นเครื่องแรก แล้วเครื่องที่ ๒-๓-๔-๕ จนถึงเครื่องที่ ๑๐ ก็บินตามกันไปเป็นหาง มุ่งหน้าสู่หนองแม่นาซึ่งกำลังมีการปะทะกันอยู่ ส่วน ฮท.๑ (กันชิพ) ทั้ง ๔ เครื่องนั้นไปบินวนคุ้มกันอยู่บนอากาศก่อนแล้ว พอขบวน ฮ. บินผ่านฐานปฏิบัติการบนเขาค้อ ก็มองเห็นทหารที่อยู่บนฐานนั้นโบกมือให้กำลังใจกันสลอน

ข้ามเขาค้อไปก็มองเห็นเขาย่าอยู่แค่เอื้อม ตรงนั้นมีที่ราบนิดหน่อย ฮท.๑ หมายเลข ๒๓๔๐๗ ซึ่งเป็นเครื่องนำขบวน เริ่มลดระดับลง ฮ. เครื่องอื่นที่บินเกาะหมู่มาด้วยกันก็แยกย้าย เพื่อเตรียมร่อนลงปล่อยทหารตามตำแหน่งที่กำหนดไว้ แนวไม้ข้างล่างใกล้พื้นที่เป้าหมายมีกลุ่มควันที่เกิดจากการปะทะ ผุดขึ้นตรงโน่นตรงนี้ราวกับดอกเห็ด

นักบินบังคับเครื่องวนอยู่สักอึดใจก็นำเครื่องลดระดับลงต่ำ พลปืนกลทั้งซ้ายขวายิงกราดนำไปก่อน เพื่อเป็นการเคลียร์พื้นที่ ที่หมายเป็นป่าอ้อสูงท่วมหัวปะปนกับไม้รวกหนาทึบมีที่ว่างอยู่นิดหน่อย

พอถึงที่หมาย นักบินบังคับเครื่องให้ลอยนิ่งอยู่ในระยะ ๑๕ ฟุต เหนือพื้นดิน พลปืนบนเครื่องสอดสายตามองหาเป้าหมายที่เป็น พวกแม้วแดง ที่อาจจะแอบซ่อนอยู่ในดงไม้เพื่อหาโอกาสสอย ฮ. ที่กำลังลอยตัวเพื่อส่งทหารลงที่หมาย ซึ่งเกือบจะเป็นเป้านิ่งเลยทีเดียว

“โดด...” .... สิ้นเสียงผู้บังคับหมู่สั่ง ทหารทั้งหมดต่างโดดออกจากประตูเครื่องทั้งสองข้าง เสียงอีลุ่บตุ้บตั้บ บางคนลงในป่าอ้อ บางคนลงไปในกอไม้รวกเสียงสวบสาบ พอทหารกระโดดลงหมดแล้ว ฮ. ยกตัวขึ้น ไอ้แม้วไม่รู้ว่าซ่อนอยู่ตรงไหน ซัดด้วยอาร์ก้าหรือ เซกาเซ่ก็ไม่ทราบ

“เปรี้ยง...เปรี้ยง...เปรี้ยง...เปรี้ยง.........”

พอสิ้นเสียงปืนชุดนี้ กระสุนนัดหนึ่งก็เจาะเข้าที่ลำคอ อีกนัดหนึ่งเจาะเข้าอย่างจังที่หน้าอก จ่าทวีปผงะหงายล้มกลิ้งเสียชีวิตทันที ส่วนจ่าธีระวัฒน์ซึ่งควบคุมทหารพรานลุยกับ ผกค. อยู่อีกด้านหนึ่งก็ถูกกระสุนที่โคนแขนขวาอาการสาหัส... แต่ไม่เป็นไรกำลังที่เหลือคงลุยต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง จนกระทั่งเวลาบ่ายแก่ๆกำลังส่วนใหญ่ของหมวดไพบูลย์ พร้อมกับศพของจ่าทองแดง กับ อส.ทพ. ทอง แก้วทา จึงได้หลุดออกสู่ ทุ่งโล่งโดยปลอดภัย

แต่การปะทะกับ ผกค. ยังไม่มีวี่แววจะยุติ ศพของจ่าทวีป และจ่าธีระวัฒน์ ที่ได้รับบาดเจ็บยังเอาออกมาไม่ได้ เพราะการรบยังติดพันอยู่ หมวดไพบูลย์ จึงสั่งให้กำลังทั้งหมดกลับเข้าไปช่วยอีกครั้งหนึ่ง

พอกลับเข้าไปถึงจุดที่ปะทะ ก็เข้าสมทบกับทหารที่อยู่ระวังหลัง เฮโลเข้าตะลุมบอนดะ ปรับเป็นแถวหน้ากระดานเข้าไปเลย มันจะอยู่ตรงไหนก็ช่าง มองเห็นหรือไม่เห็นไม่รู้ ทุกคนไล่ยิงด้วยความบ้าเลือดชนิดตายเป็นตาย เอ็งแน่ก็ยิงเข้ามา เสียงอาร์พีจี,ปืนเอ็ม-๗๙, เอ็ม-๑๖ และ เอ็ม-๖๐ ดังก้องป่าไปหมด

พอเจอความบ้าเลือดแบบนี้เข้า ไอ้แม้วถอยกรูดๆ ลากคอเพื่อนที่ม่องเท่งแล้วถูลู่ถูกังเลือดสาดกระจายหนีไปทางริมตลิ่ง ทหารยังตามกระหน่ำซ้ำด้วยอาร์พีจีและเอ็ม-๗๙ จนกระทั่งเสียงปืนของมันค่อยๆ ห่างออกไปทุกทีแล้วเงียบหายไปในที่สุด

หลังจากที่ ผกค. แตกหนีออกไปแล้ว ทหารก็ได้นำผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตมารอ ฮ. อยู่ที่โค่นต้นไม้ ซึ่งที่นั่นมีมวลชน ผกค. จำนวน ๑๓ คน รวมอยู่ด้วย ไม่นาน ฮ. ติดเครื่องหมายกากะบาดสีแดงเขียนข้างลำตัวว่า “ไทยช่วยไทย” ร่อนลงมารับเอาร่างผู้เสียชีวิต และผู้บาดเจ็บ กลับไป

ด้านของ ผู้พันหาญ ผบ.พัน.ร. ๓๔๔๔ หลังจากนำ ร้อย.ร. ๔๔๒ และ ๔๔๓ แยกทางกับ ร้อย.ร. ๔๔๑ เพื่อเข้าสู่ที่หมายซึ่งอยู่ห่างออกไป ๒ ก.ม. อันเป็นที่ตั้งของโรงเรียนการเมืองการทหาร ซึ่งเปรียบเสมือน หัวใจของ ผกค. เขต ข.๓๓ ตัวสหายวิสุทธิ์ (เล่าย่า)จอมวายร้ายกรรมการรวมเขต 3 จังหวัด (พิษณุโลก - เพชรบูรณ์ - เลย)

รวมทั้ง ผกค. ชั้นหัวกะทิทั้งหมดก็อยู่ที่นี่ด้วย ส่วนสาเหตุที่ไม่เลือกพื้นที่ส่งกำลังลงใกล้กับที่หมายก็เพราะว่า รร.การเมืองการทหาร, สำนักอำนาจรัฐ, สำนักนาเคลื่อนที่ และสำนักทหารช่าง ที่หมายเหล่านี้แต่ละแห่งก็อยู่ห่างกันไม่เท่าไร ถ้าหากถูก จู่โจมเมื่อใด ผกค. ประมาณ ๒๐๐ คนจะต้องเฮโลเข้ามาช่วยกัน ซึ่งจะทำให้ฝ่ายเราต้องสูญเสียมากขึ้นด้วย

กำลังทั้ง ๒ กองร้อย เดินข้ามทุ่งโล่งอย่างไม่สู้รีบร้อนนัก ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เหน็ดเหนื่อยเสียก่อน เมื่อกำลังทั้งหมดมาถึงห้วยร่อนแก่นซึ่งเป็นลำห้วยเล็กๆ ซึ่งแยกมาจากลำน้ำเข็ก และน้ำก็ไม่ลึกจนเกินไปพอที่จะลุยข้ามได้ ผู้พันหาญจัดกำลังเป็นส่วนระวังหลังไว้จำนวนหนึ่ง นอกนั้นได้ทยอยกันลุยข้ามลำห้วยไป แล้วกระจายกำลังลัดเลาะไปทางป่าตีนเขาหลังโนนสน

ใกล้เข้าไป ทุกอย่างเงียบสงบแม้แต่ลมก็ไม่กระดิก มันเงียบจนเกือบจะไม่แน่ใจว่ามาถูกทางหรือเปล่า มันน่าจะมีวี่แววอะไรสักอย่างปรากฏให้เห็นแต่มันก็ไม่มี แต่เมื่อเคลื่อนที่เข้าไปใกล้อีกหน่อย ก็มองเห็นทุ่งนานาวเหยียดมีความ ๒ - ๓ ตัว เล็มหญ้าอยู่ ทางด้านซ้ายเป็นลำน้ำเข็ก ด้านขาวเป็นป่าที่มีต้นยางสูงเสียดฟ้าแออัดยัดเยียดกันจนเกือบจะไม่มีช่องว่าง แต่ละต้นล้วนใหญ่โตมโหฬารทั้งสิ้น เมื่อสังเกตุให้ดีอีกครั้งหนึ่งก็เห็นว่าที่ริมลำน้ำเข็กนั้นมีกระต๊อบเล็ก ๆ เตี้ย ๆ เรียงรายอยู่ ๖ - ๗ หลัง

แต่มองไม่เห็นใครเลยแม้แต่คนเดียว ผู้พันหาญกางแผนที่เช็กพิกัดให้แน่นอนอีกครั้งหนึ่ง ก็ปรากฏว่าได้นำกำลังมาถูกที่แล้ว เพราะฉะนั้นที่หมายที่จะเข้าโจมตีจะต้องอยู่ในป่าแห่งนั้นอย่างแน่นอน ผู้พันหาญสั่งการให้ ผบ.ร้อยทั้งสองเตรียมเข้าถล่มทันที ชุดยิง ค.๖๐ ของทั้งสองกองร้อย ตั้งขาหยั่งอย่างรีบด่วน เมื่อทุกอย่างพร้อม พลกระสุนก็ปล่อยลูก ค. นัดแรกเข้าไปโดยไม่ต้องเล็ง
“บึมส์....” ค. นัดแรกหยอดข้ามทุ่งนาไปแล้วเป็นการหยั่งเชิง ระเบิดดินฟุ้งขึ้นพ้นยอดยาง เงียบ....

“บึมส์....” นัดที่สองหยอดซ้ำลงไปอีก ควันโขมง...
“วี้ดดดดด....กรั้มมมมมม......”

เจ้าของบ้านตอบมาแล้ว คราวนี้พวกเราหมอบติดคันนาเลยทีเดียว เพราะอาร์พีจี ๒ - ๓ นัด ของ ผกค. ปลิวมาตกอยู่ตามคันนาฝุ่นฟุ้ง วัวควายวิ่งกันกระเจิง ทหารทั้งสองกองร้อยชาร์ทเข้าหาที่หมายทันที โดยทางด้านซ้าย ร้อย.ร. ๔๔๒ ตีโอบเข้าไป ร้อย.ร. ๔๔๓ โอบทางด้านขวาเข้าหาชายป่าที่อยู่ตรงหน้า ผกค. ระดมยิง ค. และ อาร์พีจี ใส่อย่างไม่ยั้งพยายามจะสกัดไม่ให้ฝ่ายเราบุกเข้าไปถึงที่หมาย ทหารทั้งหมดบุกเข้าไปอย่างไม่กลัวตาย ค.๖๐ ฝ่ายเราที่อยู่ด้านหลังก็ยังคงระดมยิงเข้าไปเพื่อเปิดทางให้ฝ่ายเราบุกเข้าไปเป็นระลอกๆ

บนท้องฟ้า ฮท.๑ (กันชิพ) ๒ เครื่อง เพื่อนร่วมสมรภูมิปรากฏตัวขึ้นแล้ว มาถึงก็ไม่ฟังเสียงจิกหัวตรงรี่ลงมาเลย

“แซ๊ดส์....บึมส์....แซ๊ดส์....บึมส์....”

จรวด ๗๐ มม. ๒ ลูกซ้อน พุ่งปร๊าดออกจากท่อยิงทั้งสองข้างตรงไปยังกลุ่ม ผกค. ที่กำลังยิงต่อสู้กับฝ่ายเราอยู่ จรวดทั้งสองลูกกระทบที่หมาย ควันโขมง ดินจากแรงระเบิดสูงพ้นยอดไม้ ฮ. กันชิพ เครื่องแรกถล่มด้วยจรวดเสร็จแล้วก็ยกตัวขึ้นสูงเพื่อเปิดทางให้ ฮ. กันชิพอีกเครื่องจิกหัวลงซ้ำด้วยปืนกลอากาศ...

“พรู่ด....พรู่ด...พรู่ด....พรู่ด.........” เสียงดังราว กับช้างร้อง แล้วก็เอียงลำตัวให้ปืนอีกข้างหนึ่งหวดซ้ำลงไปอีก

“พรู่ด....พรู่ด...พรู่ด....พรู่ด.........” แสงไฟจากปากลำกล้องสีแดงสลับเขียวพุ่งเป็นฝอยราวกับไฟพะเนียง พอเครื่องที่สองไต่ระดับขึ้นสูง เครื่องแรกก็จิกหัวตรงรี่ลงมาอีก กระหน่ำด้วยจรวดอีก ๒ นัด ตามด้วยปืนกลอีก ๓ - ๔ ชุด ฮท.๑ (กันชิพ) ทั้งสองเครื่องผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันแผลงฤทธิ์อย่างสนุกสนาน ลูกจรวดตกลงบนหลังคาค่ายพักไฟลุกพึ่บแล้วลามไปยังหลังอื่นๆ อย่างรวดเร็ว
ทางด้านภาคพื้นดิน


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛