
สหประชาชาติรับรอง “สาธารณรัฐ ซูดานใต้” ในฐานะประเทศเกิดใหม่ล่าสุดอย่างเป็นทางการ ถือเป็นลำดับที่ 193 ของโลก...
ตั้งแต่เวลา 04.00 น. เช้าวันเสาร์ 9 ก.ค. 2011 ตามเวลาประเทศไทย ชาวโลกรับรู้อย่างเป็นทางการ เกิดชาติน้องใหม่ล่าสุดบนผืนปฐพีลำดับที่ 193 ชื่ออย่างเป็นทางการ “สาธารณรัฐ ซูดานใต้” Republic of South Sudan บนทวีปแอฟริกา ภายหลังคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติอนุมัติรับรองฐานะอย่างเป็นเอกฉันท์
นับถึงช่วงกลางปี 2553 โลกมีแว่นแคว้นอย่างเป็นทางการทั้งหมด 195 ดินแดน แต่สหประชาชาติรับรองฐานะประเทศชาติเพียง 192 ดินแดน ซึ่ง 3 ดินแดนที่เหลือคือ โคโซโว ไต้หวัน กับสำนักวาติกัน ยังไม่รับรองฐานะประเทศชาติ หากว่ากันจริง ๆแล้ว “สาธารณรัฐซูดานใต้” อาจไม่ถือเป็นชาติใหม่สด เพราะแยกส่วนมาจาก “สาธารณรัฐซูดาน” อดีตดินแดนยึดครองของอียิปต์กับอังกฤษ ซึ่งมีประชากรมากเกือบ 44 ล้านคน เพียงแต่ถูกแบ่งแยกประเทศเหนือ-ใต้
ปัญหาความแตกต่างที่นำพาความแตกแยกมาสู่ “ซูดาน” ส่วนหนึ่งเพราะผู้คนภาคเหนือส่วนใหญ่ถูกอิทธิพลครอบงำจากกลุ่มชาติภูมิภาคอาหรับ ส่วนผู้คนภาคใต้ส่วนใหญ่ถูกอิทธิพลครอบงำจากกลุ่มคนหลากหลายเผ่าพันธุ์ในภูมิภาคแอฟริกา อีกความไม่เหมือนทางอุดมการณ์และการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติมากมาย โดยเฉพาะน้ำมัน ก่อเกิด “สงครามกลางเมือง” รบราเข่นฆ่ากันยืดเยื้อยาวนานที่สุดสงครามหนึ่งของทวีปแอฟริกา สงครามกลางเมืองตลอดช่วง 20 ปี ผู้คนล้มตายมากกว่า 2 ล้าน
ความสุขสงบ (ส่วนหนึ่ง) เริ่มมาเยือนซูดานเมื่อปี 2548 หลังการลงนามข้อตกลงสันติภาพระหว่างรัฐบาลกลุ่มอำนาจฝ่ายอาหรับทางภาคเหนือ กับกลุ่มอิทธิพลเผ่าพันธุ์แอฟริกันทางภาคใต้ นำไปสู่การยุติความขัดแย้งรุนแรงลงระดับหนึ่ง ตามด้วยการเคลื่อนไหวของชาวซูดาน “ซีกใต้” มากราว 99 เปอร์เซ็นต์ ลงประชามติ “แยกประเทศ” สำเร็จเมื่อเดือนม.ค.ที่ผ่านมา อันเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงสันติภาพ แต่ด้วยพื้นที่แถบกึ่งกลางประเทศค่อนลงมาทางใต้ อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ “ทองคำดำ” น้ำมันดิบปริมาณมหาศาล ทำให้การแก่งแย่งผลประโยชน์ยังดุเดือดรุนแรงจากหลากหลายกองกำลังในท้องถิ่น รวมถึงรัฐบาลกรุงคาร์ทูม กลุ่มอำนาจภาคเหนือกับกองกำลังอิทธิพลของภาคใต้แห่งกรุงจูบา เมืองหลวงซูดานใต้ เฉพาะพื้นที่ซูดานใต้ ผลิตน้ำมันดิบส่งขายต่่างประเทศเฉลี่ยวันละ 500,000 บาร์เรล หรือ 3 ใน 4 ของผลผลิตน้ำมันดิบจากทั้ง (อดีต) ซูดาน และซูดานใต้ต้องพึ่งพาการขายน้ำมันดิบเป็นรายได้หลักของภูมิภาคมากถึง 98 เปอร์เซ็นต์
ปัญหาคือ การขายน้ำมันดิบต้องผ่านทะเลแดง และการส่งน้ำมันดิบถึงท่าเรือทางออกสู่ทะเลแดงต้องผ่านพื้นที่ “ซูดานเหนือ” อดีตผลกำไรจากการขายน้ำมันดิบทั้งหมดของซูดานใต้ ถูกแบ่งให้รัฐบาลกลางกรุงคาร์ทูม 50 เปอร์เซ็นต์ ผลประโยชน์ส่วนนี้กำลังถูกจับตามองความเปลี่ยนแปลง
สหประชาชาติ “อ่านเกม” ตัดสินใจส่งเพิ่มทหารรักษาสันติภาพเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ดูแลงานด้านความมั่นคงให้กับชาติน้องใหม่ “ซูดานใต้” มากกว่า 7,000 นาย บวกกองกำลังตำรวจนานาชาติอีก 900 นาย ระยะเวลาปฏิบัติงานเบื้องต้น 1 ปี ในนาม “UNMISS” หรือ UN Mission in the Republic of South Sudan ส่วนทหารรักษาสันติภาพในซูดานอีกจำนวนหนึ่งก่อนหน้านี้ 10,400 นาย ในนาม “UNMIS” หรือ UN Mission in the Republic of Sudan ทำหน้าที่ดูแลรักษาความมั่นคงพื้นที่แถบชายแดนเขตกันชนระหว่างซูดานเหนือกับซูดานใต้มาตั้งแต่หลังข้อตกลงสันติภาพมีผลบังคับใช้เมื่อปี 2548 ต้องหมดวาระการปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นทางการในวันเสาร์ 9 ก.ค.เช่นกัน
แม้ว่าสหประชาชาติขอขยายภารกิจอีก 3 เดือน แต่ถูกรัฐบาลกรุงคาร์ทูมปฏิเสธทั้งเร่งขับไล่ทหารยูเอ็นออกนอกประเทศให้หมดเร็ว ๆ รัฐบาลซูดานเหนือกับซูดานใต้ ลงนามข้อตกลงปฏิบัติการร่วมภารกิจรักษาความมั่นคงแนวชายแดนแล้วเมื่อ 29 มิ.ย. ที่ผ่านมา รอประเมินผลงาน “เวิร์คหรือไม่”
ซูดานใต้
جنوب السودان(อาหรับ)
Southern Sudan (อังกฤษ)
ธงชาติ

เมืองหลวง จูบา
ภาษาทางการ ภาษาอาหรับและภาษาอังกฤษ
การปกครอง สาธารณรัฐ
- ประธานาธิบดี ซัลวา คีร์ มายาร์ดิต
- นายกรัฐมนตรี เรียก มาคาร์
พื้นที่
- รวม 619,745 ตร.กม.
239,285 ตร.ไมล์
ประชากร
- 2548 (ประมาณ) 18,154,000 ¹ (57)
- 1988 (สำรวจ) 10,815,694
สกุลเงิน ปอนด์ซูดาน (SDG)
เขตเวลา เวลามาตรฐานกรีนิช (UTC+3)
- (DST) (UTC+0)
โดเมนบนสุด .sd
รหัสโทรศัพท์ 249
ในที่นี้ ส่งผลให้ซูดานตกอันดับประเทศที่ใหญ่ที่สุดในเเอฟริกาอีกด้วย
โดยที่ แอลจีเรียกลายเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในเเอฟริกาด้วยพื้นที่ 2,381,740 ตร.กม
ข้อมูลบางส่วนเขียนเองนะครับ***
เครดิต
www.thairecent.com
