pdpa หมายถึง พ.ร.บ. คุ้มครองความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 โดยคำว่า “ข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึงข้อมูลใด ๆ ที่ทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เช่น ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล บัตรประชาชน รูปภาพ รวมถึงพฤติกรรมต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับความคุ้มครองจาก กฎหมาย pdpa ทั้งสิ้น โดยปกติแล้ว ข้อมูลเหล่านี้มักถูกผู้ประกอบการต่าง ๆ เก็บรวบรวมไว้ใช้ส่งเสริมการตลาด เช่น การวิเคราะห์กลุ่มลูกค้า แนวโน้มตลาด เพื่อนำมาพัฒนาสินค้าและบริการในธุรกิจตัวเองให้ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้ามากขึ้น แต่ก็มีหลายกรณีที่การใช้ข้อมูลเหล่านี้เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของลูกค้าหรือเจ้าของข้อมูล ทำให้ pdpa ให้สิทธิต่าง ๆ แก่เจ้าของข้อมูล ได้แก่ สิทธิได้รับการแจ้งให้ทราบ, สิทธิขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล, สิทธิในการขอให้โอนข้อมูลส่วนบุคคล, สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล, สิทธิขอให้ลบหรือทำลาย-ระงับการใช้ข้อมูลและสิทธิในการขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลวันนี้เราจะมาหาคำตอบกันว่า ธุรกิจใดบ้างที่จะต้องเตรียมรับมือ กฎหมาย pdpa
1. ธุรกิจธนาคาร ธนาคารถือเป็นศูนย์กลางที่รวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลไว้มากที่สุดแห่งหนึ่งเลยก็ว่าได้ ทั้ง ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ ไปจนถึงสถานะทางการเงินและเครดิตต่าง ๆ ของลูกค้าทุกคนที่มาใช้บริการ หากข้อมูลเหล่านี้รั่วไหลไปถึงบุคคลภายนอกหรือถูกเอาไปใช้โดยผิดวัตถุประสงค์ก็อาจสร้างความเสียหายให้กับลูกค้าหรือเจ้าของข้อมูลได้อย่างมหาศาล ดังนั้น pdpa คือ กลไกที่จะคอยกำกับดูแลให้ข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าถูกเก็บรักษาอย่างเข้มงวดและเจ้าของข้อมูลจะได้รับสิทธิต่าง ๆ ตามที่ pdpa กำหนด (เพิ่มเติมที่:
https://www.marketingoops.com/news/biz-news/pdpa-columbus-agency/)
2. ธุรกิจประกันภัย หากใครเคยประสบปัญหาเดือดร้อน รำคาน เพราะสายปริศนาที่โทรมาเพื่อเสนอขายประกันหรือโฆษณาประกันชนิดต่าง ๆ ปัญหานี้อาจจะหมดไปเมื่อ กฎหมาย pdpa บังคับใช้ เพราะนายหน้าขายประกันอาจจะต้องระมัดระวังมากขึ้นในการติดต่อหาลูกค้าจากข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้มาอย่างไม่ถูกต้องและไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ของเจ้าของข้อมูล ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและยังเป็นการทำผิด กฎหมาย pdpa อีกด้วย
3. ธุรกิจเกี่ยวกับด้านอสังหาริมทรัพย์ ข้อมูลส่วนบุคคคลของลูกค้า เช่น ชื่อ ที่อยู่ สถานที่ทำงาน อีเมลล์ ธุรกรรมด้านอสังหาฯ ฯลฯ ล้วนเป็นข้อมูลที่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทุกแห่งเก็บรวบรวมไว้ หากไม่มี กฎหมาย pdpa คอยควบคุม ข้อมูลเหล่านี้ก็อาจรั่วไหลออกไปถึงมือบุคคลที่ 3 จนก่อให้เกิดความเสียหายกับลูกค้าหรือเดือดร้อนให้กับเจ้าของข้อมูลได้ เช่น หากข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมของลูกค้ารั่วไหลไปถึงมือผู้ประกอบการธุรกิจประเภทอื่น ก็อาจทำให้เจ้าของข้อมูลถูกรบกวนจากการติดต่อเสนอขายสินค้า-บริการได้นั่นเอง
4. ธุรกิจด้านการท่องเที่ยว ธุรกิจอย่าง “โรงแรม” ถือเป็นคลังข้อมูลส่วนบุคคลชั้นดีที่เก็บรวบรวมข้อมูลสำคัญ ๆ ไว้มากมาย เช่น ประวัติธุรกรรมที่เคยทำกับโรงแรม พฤติกรรมการบริโภค ข้อมูลบัตรเครดิต ไปจนถึงช่วงเวลาที่เข้าพัก ซึ่งธุรกิจด้านท่องเที่ยวหลายแห่งใช้ฐานข้อมูลเหล่านี้ในการพัฒนาการให้บริการและส่งเสริมการขายให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ดังนั้น pdpa จึงทำหน้าที่ควบคุมดูแลให้การใช้ข้อมูลเหล่านี้ของผู้ประกอบการเป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสม ไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของลูกค้าหรือเจ้าของข้อมูล
5. ธุรกิจด้าน E-commerce การค้า-ขายออนไลน์ ถือเป็นแหล่งรวมข้อมูลส่วนบุคคลแทบทุกประเภท แถมข้อมูลบางอย่างก็เป็นเรื่องละเอียดอ่อน เช่น ความเห็นทางการเมือง ศาสนา เชื้อชาติ และ สีผิว หากข้อมูลเหล่านี้ถูกเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาตก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของข้อมูลได้ เช่น การซื้อ-ขายสินค้าผ่านสื่อโซเชียลต่าง ๆ ที่อาจทำให้อีกฝ่ายรู้ถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่ละเอียดเหล่านี้ได้ ซึ่ง กฎหมาย pdpa มีหน้าที่กำกับดูแลไม่ให้มีการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูล
จะเห็นได้ว่าทั้ง 5 ธุรกิจล้วนเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลทั้งสิ้น ซึ่ง กฎหมาย pdpa ให้ความคุ้มครองไม่ให้ข้อมูลเหล่านี้ถูกนำไปใช้อย่างไม่ถูกต้องหรือผิดวัตถุประสงค์จนเกิดความเสียหาย หากผู้ประกอบการรายใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามก็อาจมีโทษ โดยแบ่งเป็น 3 ลำดับ ได้แก่ โทษทางอาญาคือจำคุกไม่เกิน 1 ปี และ/หรือ ปรับสูงสุด 1 ล้านบาท โทษทางแพ่ง จ่ายสินไหมไม่เกิน 2 เท่าของสินไหมที่แท้จริงและโทษทางปกครอง ปรับไม่เกิน 5 ล้านบาท
https://www.primal.co.th/th/marketing/what-is-pdpa/https://brandinside.asia/pdpa-privacy-law/https://www.enablerspace.com/th/digitalmarketingtips/what-is-pdpa/https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/840245https://medium.com/@chonnuttida/personal-data-protection-act-pdpa-ff9bcbfe1490https://www.everydaymarketing.co/business/data/%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B8%95%E0%B9%8C-pdpahttps://thaipublica.org/2020/03/personal-data-protection-act-the-new-paradigm-shift-of-organizations-challenges/https://www.twfdigital.com/blog/2020/05/prepare-website-for-pdpa/https://techsauce.co/tech-and-biz/hotelman-pdpa-hotels