GAMEINDY กระดานสนทนา
www.gameindy.com

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐ (โดยอำนาจ คนหมั่น)

อุ้ย

  • Jr. Member
  • **
    • กระทู้: 382
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมาย ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐”

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “ระบบคอมพิวเตอร์” หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
“ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
“ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
“ผู้ให้บริการ” หมายความว่า
(๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
(๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
“ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

หมวด ๑
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้น มิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐
(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
(๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี

มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑)(๒) (๓) หรือ (๔)

มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔

มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือ
ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย

มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
(๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ
จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร

หมวด ๒
พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๑๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด
(๑) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้
(๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๔) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่
(๕) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๖) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้
(๗) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว
(๘) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๑๙ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ
(๘) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง ทั้งนี้ คำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดและผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ ประกอบคำร้องด้วยในการพิจารณาคำร้องให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็วเมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) มอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือ
ผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการดำเนินการตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ
(๘) ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งการดำเนินการให้ศาลที่มีเขตอำนาจภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ เพื่อเป็นหลักฐานการทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๘ (๔) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของเจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็น การยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๘ (๘) นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือแสดงการยึดหรืออายัดมอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึดหรืออายัดไว้เกินสามสิบวันมิได้ ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัดไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกินหกสิบวัน เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลัน หนังสือแสดงการยึดหรืออายัดตามวรรคห้าให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๒๐ ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตามที่กำหนดไว้ในภาคสองลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้อง พร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้

มาตรา ๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์รวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ หรือสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นระงับการใช้ ทำลายหรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ในครอบครอง หรือเผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวก็ได้ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ตามวรรคหนึ่งหมายถึงชุดคำสั่งที่มีผลทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมขัดข้อง หรือปฏิบัติงานไม่ตรงตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือโดยประการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงทั้งนี้ เว้นแต่เป็นชุดคำสั่งที่มุ่งหมายในการป้องกันหรือแก้ไขชุดคำสั่งดังกล่าวข้างต้น ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๒๒ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ให้แก่บุคคลใดความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทำเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่
โดยมิชอบ หรือเป็นการกระทำตามคำสั่งหรือที่ได้รับอนุญาตจากศาลพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๒๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๒๔ ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๒๕ ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจมีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น

มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้ ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการ นับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท

มาตรา ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทและปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง

มาตรา ๒๘ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนด

มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจรับคำร้องทุกข์หรือรับคำกล่าวโทษ และมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดาที่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานกับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และรัฐมนตรีมีอำนาจ ร่วมกันกำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเนินการตามวรรคสอง

มาตรา ๓๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญ ของการประกอบกิจการ และการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่น ในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ หรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

ที่มา ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๒๗ ก  ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐

Credit : คุณ อำนาจ คนหมั่น



อุ้ย

  • Jr. Member
  • **
    • กระทู้: 382
ตัวอย่างนะครับ คดีที่ เห็นเป็นประจำนะครับ  เช่น

        ความผิด ตาม พ.ร.บ.คอม ฯ จำแนกความผิดหลักได้ดังนี้. ครับ
1. ใช้ user name/passwordของผู้อื่น Log in เข้าสู้ระบบ ผิด ม.5
2. Forward email ที่มีข้อความ เนื้อหา หรือรูปภาพที่ไม่เหมาะสม เป็นเท็จ กระทบความมั่นคง หรือลามกอนาจาร ผิด ม.14
3. โพสข้อความตามกะทู้ต่างๆที่มีเนื้อหา ไม่เหมาะสม เป็นเท็จ ผิด ม.14
4. เผยแพร่ภาพตัดต่อให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย หรือับอาย ผิด ม.16
พ.ร.บ.คอมฯ เอาผิดจำนวน 1. นักเจาวงะ, 2.นักล้วง , 3. พวกปล่อยไวรัส 4. พวกก่อกวนหรือแกล้งคนอื่น ครับความผิด ตาม พ.ร.บ.คอม ฯ จำแนกความผิดหลักได้ดังนี้. ครับ
1. ใช้ user name/passwordของผู้อื่น Log in เข้าสู้ระบบ ผิด ม.5
2. Forward email ที่มีข้อความ เนื้อหา หรือรูปภาพที่ไม่เหมาะสม เป็นเท็จ กระทบความมั่นคง หรือลามกอนาจาร ผิด ม.14
3. โพสข้อความตามกะทู้ต่างๆที่มีเนื้อหา ไม่เหมาะสม เป็นเท็จ ผิด ม.14
4. เผยแพร่ภาพตัดต่อให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย หรือับอาย ผิด ม.16
พ.ร.บ.คอมฯ เอาผิดจำนวน 1. นักเจาวงะ, 2.นักล้วง , 3. พวกปล่อยไวรัส 4. พวกก่อกวนหรือแกล้งคนอื่น ครับ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

    ตัวอย่าง จากข่าวนะครับ (ที่ศาลมีคำพิพากษา    ไม่ใช่  ฎีกานะครับ)

ศาลสั่งจำคุก  เดือน ปรับ 200,000 หนุ่มโพสต์รูปโป๊แฟนสาวลงอินเทอร์เน็ต หลังแฟนสาวบอกเลิก

         ที่ห้องพิจารณาคดี 908 ศาลอาญา เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 23 ธันวาคม ศาลอ่านคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ อ.2097/2551 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 6 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายพุทธพงศ์ ฉลาดธัญกิจ อายุ 34 ปี เป็นจำเลย ในความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา เพื่อการแจกจ่ายทำให้แพร่หลายซึ่งภาพอันลามกนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งเข้าถึงได้

         โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 51 ระบุความผิดว่า ระหว่างวันที่ 6-29 ตุลาคม 2550 ต่อเนื่องกัน จำเลยได้บังอาจใส่ความ นางสาวหน่อย (นามสมมติ) ผู้เสียหาย โดยการโฆษณาด้วยภาพจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล์ ผ่านเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เป็นภาพการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างจำเลยกับผู้เสียหาย จำนวน 2 ภาพ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้เสียหายเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง

         ต่อมาเมื่อวันที่ 18 กันยายน - 11 ธันวาคม 50 ต่อเนื่องกัน จำเลยนำภาพการมีเพศสัมพันธ์เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ และเป็นการทำให้แพร่หลายโดยประการใดๆ ซึ่งรูปภาพอันลามกส่งเป็นจดหมายอีเมล์ ผ่านเข้าระบบคอมพิวเตอร์ ไปยังผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตหลายครั้งหลายคราวต่างกัน ภายหลังผู้เสียหายได้เข้าแจ้งความกับพนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดต่อเด็ก เยาวชน และสตรี (ปดส.) และสามารถจับกุมจำเลยเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2551 ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ พร้อมของกลางเครื่องคอมพิวเตอร์ 1 ชุด จำเลยให้การปฏิเสธ เหตุเกิด ตำบลในเมือง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ และอำเภอเมืองนครสวรรค์ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

         ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ผู้เสียหายกับจำเลยเคยคบหาเป็นคนรักกันมาก่อน เคยบันทึกภาพระหว่างการมีเพศสัมพันธ์กันไว้หลายครั้ง แต่เมื่อทั้งสองคนเลิกกัน ฝ่ายชายเกิดความหึงหวง จึงนำภาพที่เคยถ่ายไว้ เผยแพร่ ทางคอมพิวเตอร์ ทั้งที่ในระหว่างจำเลยกับผู้เสียหายคบกันไม่เคยมีภาพดังกล่าวปรากฏมาก่อน รับฟังประกอบกับการถ่ายโอนข้อมูลภาพทั้งหมดที่กระทำภายในคราวเดียวจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของกลาง นอกจากนี้ พยานโจทก์ทุกปากไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อน ไม่มีเหตุให้ระแวงสงสัยว่าจะแกล้งเบิกความปรักปรำจำเลย เชื่อว่าภาพในเว็บไซต์เป็นภาพเดียวกับที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของจำเลย และถูกส่งมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังกล่าว ส่วนในคดีแพ่งนั้นศาลเห็นสมควรกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายด้วย

         พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 387 (1) วรรคสอง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (4) (5) ฐานหมิ่นประมาทให้ลงโทษจำคุก 3 เดือน และฐานเพื่อการจ่ายแจก หรือเพื่อการแสดงอวดแก่ประชาชนทำให้ แพร่หลายโดยประการใดๆ ซึ่งภาพอันลามก นำสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งเข้าถึงได้ เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (4) (5) ลงโทษจำคุกเป็นเวลา 6 เดือน รวมจำคุกจำเลยเป็นเวลา 9 เดือน และให้จำเลยชำระเงินค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหาย จำนวน 200,000 บาท


เครดิต :  เว็บ kapook            ลิงค์ http://hilight.kapook.com/view/32264

Credit : คุณ อำนาจ คนหมั่น



อุ้ย

  • Jr. Member
  • **
    • กระทู้: 382
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่พบในไทย

กรณีตัวอย่าง ในประเทศไทย

    การขโมยโดเมนเนม Sanook.com Thailand.com Narak.com
    จดโดเมนเนมชื่อคล้ายบริษัทชั้นนำ ขู่บังคับให้ซื้อโดเมนเนมนั้น มิฉะนั้นจะทำเป็นเว็บโป๊ ให้บริษัทเสียชื่อ
    การแอบเปลี่ยนชื่อ ที่อยู่ ผู้รับเงินโฆษณา แบนเนอร์
    การแอบใช้ Internet Account
    เว็บของ ISP แห่งหนึ่ง ถูกพนักงานที่ไล่ออกไป แก้ไขเป็นเว็บโป๊ และส่ง e-mail ในนามของผู้บริหาร ไปด่าผู้อื่น
    พนักงาน แอบติดตั้งโปรแกรม Cain มา scan หา User / Password ของผู้บริหาร และพนักงานในองค์กร
    พนักงานใช้ e-mail ขององค์กร ไปในทางเสียชื่อเสียง
    พนักงาน แอบนำอุปกรณ์ รับ-ส่งสัญญาณแบบไร้สาย มาติดตั้ง
    องค์กร หรือผู้ใช้ตามบ้านเรือน ติดตั้งระบบไร้สาย แต่ไม่มีระบบป้องกันที่ดีพอ ทำให้ผู้อยู่ใกล้เคียง สามารถลักลอบใช้งานได้
    พนักงาน นำโปรแกรมละเมิดลิขสิทธิ์ มาใช้งาน
    ส่งไวรัส ส่ง Nuke ส่ง spam mail
    ส่งอี-เมล์ขนาดใหญ่จำนวนมาก
    การส่งโปรแกรมมาฝังตัวไว้ในเครื่องผู้อื่น เช่น โปรแกรม NetBus
    Ransom คือการแอบเข้ามานำฐานข้อมูลไปเข้ารหัส เพื่อเรียกค่าไถ่
    การลักลอบแอบเข้าระบบ Hacker เพื่อเข้าไปดูข้อมูล หรือ ลบแก้ไขทำลายข้อมูล Copy ข้อมูล (กรณี อจ.)
    การดักจับข้อมูลในเครือข่าย
    Denial of Service (DdoS)

กรณี ความผิดตามกฎหมายดั้งเดิม บน Internet

    การจัดทำเว็บการพนัน เป็นภาษาไทย ทั้งการพนันทายผลฟุตบอล และคาสิโน โดยเป็นส่วนหนึ่งของ เว็บการพนันที่มีชื่อเสียง
    การเผยแพร่ภาพลามกอนาจาร ใช้ภาษาไทย บางเว็บมีการตัดต่อภาพดารา บางเว็บเสมือนเป็นธุระจัดหา หญิง-ชาย เพื่อการค้าประเวณี
    การโฆษณาเป็นภาษาไทย ขาย เทป วิดีโอ CD ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือเป็นภาพลามก อนาจาร (และไม่ส่งสินค้าให้)
    จัดทำให้ Download ภาพ เพลง MP3 ภาพยนต์ ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือให้บริการแบบ bit torrent
    เผยแพร่ข้อมูล หมิ่นประมาท ใส่ร้าย ผู้อื่น ลงในเว็บไซต์ หรือให้ส่ง e-mail มาขอ หรือ ส่ง e-mail ลูกโซ่
    การจัดทำเว็บขายสินค้า แล้วไม่ส่งสินค้าให้ หรือทำหลอกไว้เพื่อเพียงต้องการหมายเลขและข้อมูลบัตรเครดิต
    การสั่งซื้อสินค้า โดยใช้ หมายเลขบัตรเครดิตของผู้อื่น
    การสั่งซื้อสินค้า โดยใช้โปรแกรมสร้าง หมายเลขบัตรเครดิต
    ลักลอบขโมยข้อมูลจากบัตรเครดิต
    คนทำเว็บ e-commerce หลอกบริษัทกลาง ว่ามีลูกค้ามาซื้อของ
    ลักลอบเปิดบัญชีธนาคาร ในชื่อของเป้าหมาย แล้วโอนเงินผ่าน e-banking จากบัญชีอื่นๆของเป้าหมาย มาเข้าบัญชีที่แอบเปิดไว้
    ชายชาวเยอรมัน อ้างตัวเป็นหญิงไทย จัดทำเว็บ โดยอ้างว่าเดือดร้อน เสนอตัวไปเป็นภรรยา โดยขอให้ส่งเงินมาเป็นค่าเดินทาง โอนเข้าบัญชีธนาคารในประเทศไทย ประมาณ 100,000 บาท
    ทำเว็บขายสินค้า ซึ่งปกติถ้าเปิดเป็นร้าน จะต้องมีใบอนุญาตเฉพาะ แต่บนเว็บจะต้องมีหรือไม่

    ข้อความ รูปภาพ Source Code และโปรแกรม CGI ฯลฯ ที่เผยแพร่บนเว็บแล้ว มีผู้ Copy ไปใช้ที่อื่นหรือในเว็บอื่น หรือถ้าไม่ Copy แต่ใช้วิธีทำลิงค์ไปจากเว็บของตน เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะผู้จัดทำได้แสดงเจตน์จำนงว่าขอสงวนลิขสิทธิ์ไว้

    เสนอขาย โทรศัพท์มือถือ ราคาถูก #ลูกค้า หลงเชื่อ เพราะมีเบอร์โทร.ติดต่อได้ และมี เลขบัญชีธนาคาร
    เสนอซื้อ โทรศัพท์มือถือ โดยนัดให้ไปส่งของ แล้วปล้นทรัพย์

    ISP รายใหญ่ บล๊อก IP ที่มาจาก ISP รายเล็ก ไม่ให้เข้าเว็บดังในสังกัดของตน เป็นการกีดกันทางการค้า
    ละเมิดลิขสิทธิ์ ลอกเว็บไซต์ผู้อื่นทั้งเว็บ เปลี่ยนแต่เพียง ชื่อเว็บและหมายเลขโทรศัพท์
    ช่างซ่อมคอมฯ แอบนำข้อมูลส่วนตัวไปเปิดเผย
    ผู้ซื้อเครื่องคอมฯมือสอง กู้ข้อมูลส่วนตัวของเจ้าของเดิม ไปเปิดเผย
    มหาวิทยาลัยเอกชน แห่งหนึ่งว่าจ้างให้ ดร.ท่านหนึ่งเป็นผู้บริหารหลักสูตร และให้ทำ e-learning ทางเว็บด้วย ต่อมาได้ทำผิดกฎจึงต้องให้ออกไป หลังจากนั้น ได้มีผู้เข้ามาในระบบ แล้วลบข้อมูลทั้ง Server
    พนักงานภายใน แอบเปิดอีเมล์ที่มาจากสำนักงานใหญ่ แล้วแก้ไขขอมูลด้านการเงิน เพื่อส่งต่อให้ฝ่ายบัญชี
    เกมออน์ไลน์ชื่อดัง ได้ถูกเจ้าหน้าที่ของบริษัท ใช้สิทธิของ ผู้ดูแลระบบ แอบสร้าง อาวุธในเกม,คะแนน,เงินในเกม เพื่อนำไปจำหน่ายให้กับผู้ที่เล่นเกม
    เกมออน์ไลน์ ถูกคนภายใน นำเกมนั้นไปใช้เล่นที่อื่น (off line)
    มาแจ้งความว่า ได้ซื้อ Internet Account จาก ISP หนึ่งในราคา 10,000 บาท ต่อมาได้ถูกเด็กหลายคนแอบนำไปใช้จนหมด เมื่อตำรวจสืบได้แล้ว ผู้แจ้งจึงไปขอเจรจากับผู้ปกครอง เป็นรายตัวแล้วเรียกค่าเสียหาย 5,000-10,000-100,000 บาท
    ชายหนุ่มมาแจ้งว่า ถูกแฟนเก่าเขียนในเว็บบอร์ด หมิ่นประมาทตนและแฟนใหม่ หลายครั้ง
    ต่อมา หญิงแฟนเก่าได้มาแจ้งว่า ตนและครอบครัวใช้ อินเทอร์เน็ตไม่เป็น แต่มีใครไม่ทราบมาเขียนหมิ่นประมาทตนและครอบครัว หลายครั้ง
    จากการสืบสวนพบว่า ทั้งสองรายมาจากร้านเน็ต ใกล้บ้านฝ่ายชาย
    ใช้ อีเมล์ แอบอ้างว่าเป็นบุคคลสำคัญ/หน่วยงาน ส่งไปหาบุคคลอื่น ทำให้เกิดความเสียหาย
    นำเว็บไซต์ของกลุ่มก่อการร้ายสากล มาฝากไว้ใน Server ภายในประเทศ
    ในเว็บบอร์ดของ สมาคมกีฬา ยุยงให้ นักกีฬาทีมชาติ แตกแยกความสามัคคีกัน
    สาวขายบริการ ติดต่อทางอินเทอร์เน็ต นัดให้ชายหนุ่ม มาใช้บริการที่บ้านตน อ้างว่าเพื่อประหยัดค่า โรงแรม ต่อมาแจ้งจับข้อหาบุกรุกและกระทำอนาจาร
    สาวขายบริการ ติดต่อทางอินเทอร์เน็ต เข้าโรงแรมกับลูกค้า แล้วแอบกินยานอนหลับเอง ขณะที่ พี่ชาย พาตำรวจมาจับกุม อ้างว่าน้องสาวถูก มอมยา เพื่อจะข่มขืน
    ใช้ระบบ e-Banking โอนเงินจากบัญชีของผู้อื่น เข้าบัญชี ที่ตนทำไว้ในชื่อคนอื่น
    พนักงานธนาคาร เขียนโปรแกรม ดักเก็บข้อมูลบัตรเครดิตและรหัสลับ แล้วนำไปทำบัตรใหม่
    ให้เพื่อนยืม บัตร ATM แต่เพื่อนได้นำบัญชีนั้นใช้หลอกขายโทรศัพท์มือถือ ทำให้เจ้าของบัญชี ตกเป็นผู้ต้องหา ฉ้อโกงทรัพย์
    Hack บัญชีธนาคารของผู้อื่น โอนเข้าบัญชีตน ต่อมาถูกจับรับสารภาพ แต่ทางธนาคารฯปฏิเสธ ทำให้ Hacker ปฏิเสธไปด้วย
    นักเรียน ชั้น ม.3 แค้นที่ อจ.ดุด่า จึงไปเขียนในเว็บบอร์ด ว่า อาจารย์ผู้ชายนั้น เป็นเอเยนต์ นศ.ขายตัว และภรรยาของอาจารย์ “เหงาจัง อยากมีคู่*นอน” พร้อมแจ้งเบอร์ โทร.มือถือ และ โทร.บ้าน
    นศ.ปริญญาโท แค้น อจ.ที่ให้คะแนนน้อย จึงไปเขียนในเว็บบอร์ด ว่า “ช่วยด้วย ถูก อจ. ข่มขืน”
    ผู้หญิง ถูกแอบถ่าย / ตัดต่อ / คลิปวิดีโอ แล้วนำภาพลงในเว็บโป๊ หรือส่งต่อทาง โทร.มือถือ
    ผู้ชาย ถูกแอบถ่าย / ตัดต่อ# แล้วนำภาพลงในเว็บ เกย์
    หลอกว่าจะได้รับรางวัล เป็นเงิน 40 ล้านยูโร แต่ต้องเสียเงินก่อนกว่า 2 ล้านบาท
    หลอกว่ามีเงินอยู่ที่ไนจีเรีย 15 ล้าน$ ขอนำเงินมาผ่านบัญชีเพื่อฟอกเงิน แล้วจะแบ่งให้ 40%
    หลอกว่าได้รับรางวัลตั๋วเดินทาง เช่นเดียวกับ แก๊งค์ตกทอง ในอดีต
    หลอกขอลงโฆษณาในเว็บ ต่อมามีผู้เรียกร้องสิทธิ์ อ้างว่าได้ละเมิดลิขสิทธิ์ ภาพที่นำมาลงโฆษณา
    สาวเล่น Webcam ถูก Hacker ควบคุมให้กล้องทำงาน ขณะเปลี่ยนเสื้อผ้า
    VDO Chat Room มีการโชว์ลามกอนาจาร
    ลักลอบ สร้างระบบ โทร.ทางไกลข้ามประเทศ BKT , Skype
    Hack ระบบบัตรเติมเงิน โทร.มือถือ โดยนำเลขบัตรเก่า ให้กลับมาใช้ได้ใหม่ แล้วนำไปขายทั่วประเทศ ทำให้ผู้ให้บริการเสียหายกว่า 150 ล้านบาท
    Hack ระบบบัตรเติมเงิน เติมตัวเลขในบัญชีของตน
    ซุ่มรหัสจาก M-banking ลักลอบโอนเงินจากบัญชีธนาคาร เพื่อจ่ายค่า โทร.มือถือแบบเติมเงิน
    ข้อสังเกต บัตรเติมเงิน จะขายดีในช่วงที่มีการเลือกตั้ง

    บริษัทแห่งหนึ่ง ถูก Hack ระบบโทรศัพท์ทางไกลต่างประเทศ ทำให้ต้องเสียค่าโทร.ทางไกล จากเดิม เดือนละ 3-4 แสนบาท กลายเป็นเดือนละ 8 ล้านบาท
    Phishing เว็บไซต์ที่อ้างเป็นเว็บของธนาคารในฮ่องกง แต่ใช้ Server ในประเทศไทย
    ส่ง e-mail อ้างว่ามาจากธนาคาร หรือบัตรเครดิต ให้เข้าไปแก้ไขข้อมูลของเรา ตาม URL ที่แจ้งมา โดยทำหน้าเว็บคล้ายกับของธนาคาร หรือบัตรเครดิต เช่น http://signin.ebay.com[3] แต่จริงๆแล้ว คือ http://ipheaven.info/update/[4]
    ราชาเว็บโป๊ จากสหรัฐ ขณะนี้หลบมาอยู่ในประเทศไทย

ที่มา : http://www.itmelody.com

Credit : คุณ อำนาจ คนหมั่น



อุ้ย

  • Jr. Member
  • **
    • กระทู้: 382
ตัวอย่างพฤติกรรมที่มีความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

1: พฤติกรรม:     ใช้ user name/password ของผู้อื่น Log in เข้าสู่ระบบ
    ฐานความผิด:  มาตรา 5 ปรับไม่เกิน 10,000.- จำคุกไม่เกิน 6 เดือน
    ข้อแนะนำ:    ไม่ใช้ user/password ของผู้อื่น และห้ามไม่ให้ผู้อื่นล่วงรู้ password ของตน

2. พฤติกรรม:     Forward email ที่มีข้อความ เนื้อหา หรือรูปภาพที่ไม่เหมาะสม เป็นเท็จ กระทบความมั่นคง หรือลามกก่อนาจาร
   ฐานความผิด:   มาตรา 14 ปรับไม่เกิน 100,000.- จำคุกไม่เกิน 5 ปี
   ข้อแนะนำ:     ไม่ forward email ที่ไม่เหมาะสม

3. พฤติกรรม:    โพสข้อความตามกระทู้ต่างๆ ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม เป็นเท็จ กระทบความมั่นคง หรือลามกอนาจาร
   ฐานความผิด:  มาตรา 14 ปรับไม่เกิน 100,000.- จำคุกไม่เกิน 5 ปี
   ข้อแนะนำ:     ใช้วิจารณญาณในการแสดงความคิดเห็น และคำนึงถึงผลที่จะตามมา

4. พฤติกรรม:    เผยแพร่ภาพตัดต่อให้ผู้อื่นได้รับความเสื่อมเสีย หรืออับอาย
    ฐานความผิด: มาตรา 16 ปรับไม่เกิน 60,000.- จำคุกไม่เกิน 3 ปี
 

          การก่อกวนหรือลักขโมยข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ เป็นการกระทำที่กฎหมายอาญาใช้กันอยู่ ไม่สามารถเอาผิดได้ เนื่องจากเป็นความผิดที่ทันสมัย ไม่สามารถปรับข้อกฎหมายเอาผิดได้ จึงได้มีกฎหมายเฉพาะเพื่อเอาผิดกับบรรดาแฮกเกอร์ จอมก่อกวนทั้งหลาย ชื่อ พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2550

          ใครที่คิดจะทำความผิด ให้รีบเสียก่อนที่กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ เมื่อกฎหมายใช้บังคับแล้ว ขอให้หยุดก่อกวนชาวบ้าน จะได้ไม่ต้องย้ายภูมิเนาไปอยู่ในคุก

           กฎหมายฉบับนี้มีทั้งหมด 30 มาตรา บัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ไว้ค่อนข้างครอบคลุม จึงทำให้ต้องใช้ภาษาทางกฎหมาย เพื่อให้มีความหมายเผื่อไว้สำหรับวิธีการใหม่ๆ ที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง อัตราโทษสำหรับลงโทษผู้กระทำผิด มีตั้งแต่ปรับอย่าเดียว จนสูงสุดจำคุกถึง 20 ปี ซึ่งพอสรุปเป็นภาษาให้อ่านเข้าใจง่ายๆดังนี้
 
ความผิดสำหรับนักเจาะ

    พวกที่ชอบเจาะระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ที่เขาอุตส่าห์สร้างระบบป้องกันไว้แต่ถ้าเข้าเว็บสาธารณะ ก็ย่อมไม่มีความผิด โทษสำหรับพวกชอบเจาะ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
    แต่ถ้าเจาะเข้าไปถึงข้อมูลที่เก็บรักษาไว้ด้วย โทษจะเพิ่มเป็น 2 เท่า
    คนที่เผยรหัส (Password) ที่ตัวเองรู้มา สำหรับเพื่อใช้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ มีโทษจำคุก 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท

ความผิดสำหรับนักล้วง

         พวกที่ชอบดักข้อมูลที่เป็นส่วนตัว ซึ่งส่งถึงกันทางอินเตอร์เน็ต ทาง e-mail มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท
 
ความผิดสำหรับพวกปล่อยไวรัส

    พวกทำลายข้อมูล หรือไปเปลี่ยนแปลงข้อมูลของคนอื่น ไม่ว่าด้วยวิธีใด จะใช้ไวรัส หรือแอบเข้าไปทำลายตรงๆ หรือพวกพนักงานที่ทำงานอยู่แล้วกำลังจะออก ไปทำลายข้อมูลเข้า มีโทษจำคุกไม่เกิน 5ปี ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
    ถ้าทำลายระบบคอมพิวเตอร์ จะมีข้อมูลหรือไม่ก็ตาม มีโทษเท่ากัน
     
    “เมื่อมีกฎหมายฉบับนี้ มีผลบังคับใช้ น่าจะช่วยให้การก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ลดลงได้บ้าง แม้จะไม่ทั้งหมดก็ตาม คนที่ใช้คอมพิวเตอร์ ใช้อินเตอร์เน็ตโดยสุจริต คงไม่ต้องกังวล คงไม่ต้องกังวล ถ้าไม่คิดจะไปกลั่นแกล้งใคร”
    ถ้าการทำลายข้อมูลคนอื่น ทำให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ประเภทคอมพิวเตอร์ควบคุมจราจร โทษสูงขึ้นเป็น จำคุก 10 ปี ปรับ 200,000 บาท
    และถ้ากระทบถึงความมั่นคงของประเทศ โทษจะสูงขึ้นเป็นจำคุก 3-15 ปี
    แต่ถ้าจนเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย โทษจะหนักถึงจำคุก 10-20 ปี

ความผิดของพวกชอบก่อกวนหรืชอบแกล้งคนอื่น

    พวกที่ชอบส่งเมลก่อกวนหรือโฆษณาขายสินค้าหรือขายบริการ ประเภทไปโผล่ป๊อปอัพ หรือพวกส่งเมลขยะโดยที่เขาไม่ต้องการ มีโทษปรับอย่างเดียวไม่เกิน 1000,000 บาท โทษฐานก่อความรำคาญ
    พวกที่ชอบส่งเมล เป็นข้อมูลปลอมข้อมูลเท็จ ใส่ร้ายป้ายสีคนอื่น หรือพวกเจ้ากรมข่าวลือที่ชอบปล่อยข่าวให้เกิดความวุ่นวาย รวมถึงส่งภาพลามกอนาจารทั้งหลาย รวมถึงพวกผสมโรงที่ได้รับแล้วส่งต่อด้วย มีโทษเสมอกันคือ จำคุกไม่เกิน 5 ปีปรับไม่เกิน 100,000 บาท
    พวกที่ชอบใช้ศิลปะเฉพาะตัว ตัดต่อภาพของคนอื่น แล้วนำเข้าเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต ทำให้เจ้าของภาพเข้าเสียหาย อับอาย ต้องโทษาจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 600, 000 บาท แต่กฎหมายยกเว้นสำหรับผู้ที่ทำด้วยความสุจริต จะไม่เป็นความผิด ซึ่งผมยังนึกไม่ออกครับว่า ถ้าตัดต่อภาพเข้าแล้ว จะสุจริตได้อย่างไร คงเป็นกรณีตัดต่อให้ดูสวยกว่าตัวจริง ซึ่งก็รู้จะทำไปทำไม

ความผิดของผู้ให้บริการหรือเจ้าของเว็บ

          ผู้ให้บริการหรือเจ้าของเว็บ มีหน้าที่ต้องเก็บข้อมูลของผู้ใช้บริการอย่างน้อย 90 วัน เพื่อให้สามารถหาตัวผู้ใช้บริการ สำหรับให้ตรวจสอบได้ มิฉะนั้น ผู้ให้บริการหรือเจ้าของเว็บ จะต้องรับโทษเอง แต่เบาหน่อยคือปรับอย่างเดียวไม่เกิน 500,000 บาท

          การกระทำความผิดตามกฎหมายนี้ แม้จะทำนอกราชอาณาจักร ไม่ว่าคนไทยหรือคนต่างด้าวเป็นผู้ทำ ถ้าเกิดวามเสียหายไม่ว่าเป็นในประเทศหรือต่างประเทศ ก็ต้องยอมรับโทษตามกฎหมายนี้ด้วย

          ปัญหาที่ตามมาคือ การกระทำความผิด ในระบบคอมพิวเตอร์ทางอินเตอร์เน็ตอย่างนี้ จะจับได้อย่างไร เรื่องนี้ขอเตือนพวกลองดีทั้งหลายว่า อย่าประมาทเพราะกฎหมายให้อำนาจ เรียกข้อมูลจากผู้ให้บริการหรือเจ้าของเว็บทั้งหลาย รวมถึงมีอำนาจที่จะ รวมถึงอำนาจที่จะเข้าไปติดตาม ตรวจสอบ ก็อปปี้ ในระบบคอมพิวเตอร์ของใครก็ได้ ถ้ามีเหตุอันควรเชื่อถือได้ว่ามีการกระทำความผิด

          แต่การใช้อำนาจเจาะเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ของคนอื่นโดยไม่มีความผิดตามกกหมายนี้นั้น จะต้องขอนุญาตต่อศาลเสียก่อน จะทำโดยพลการไม่ได้

          หากเจ้าหน้าที่เปิดเผยข้อมูลที่ใช้อำนาจ หน้าที่ไปเจาะข้อมูลเข้ามาโดยไม่มีอำนาจ เจ้าหน้าที่แหละจะต้องย้ายภูมิลำเนาเข้าไปอยู่ในคุก ด้วยอัตราโทษจำคุก ไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท

         และแม้ไม่ได้ตั้งใจเปิดเผย แต่ด้วยความประมาท ทำให้ข้อหลุดเข้าสู่ อินเตอร์เน็ต ก็ต้องรับโทษด้วย คือจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท

         เมื่อกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้แล้ว น่าจะช่วยให้การก่ออาชญากรรมทางอินเตอร์เน็ตลดลงได้บ้าง แม้จะไม่ทั้งหมดก็ตาม คนที่เคยใช้คอมพิวเตอร์ ใช้อินเตอร์เน็ตด้วยความสุจริต คงไม่ต้องกังวล ถ้าไม่คิดจะกลั่นแกล้งหรือใส่ร้าย ป้ายสีใคร เพียงแต่จะรู้เรื่องของชาวบ้านน้อยลง เพราะทุกคนต้องทำตามกกหมาย e-mail ในระบบจะหายไปกว่าครึ่ง

         เพราะทุกวันนี้ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-mail ที่ส่งกัน ส่วนใหญ่ เป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับการทำงาน แต่เป็นเรื่องชาวบ้านเป็นภาพวาวหวิวของน้องๆ ทั้งหลาย ซึ่งล้วนแต่เป็นเรื่องที่เข้าข่ายผิดกฎหมายฉบับนี้ทั้งนั้น

http://www.softbizplus.com

Credit : คุณ อำนาจ คนหมั่น



อุ้ย

  • Jr. Member
  • **
    • กระทู้: 382
ที่ใช้ไม่ได้เพราะไม่มีคนเอาจริงกัน ถ้ามีคนเอาจริง คิดหรือว่าจะตามไม่ถึงตัว อย่างกรณีที่ด่าว่ากันเสียๆ หายๆ ในบอร์ด ก็เข้าข่ายหมิ่นประมาท

        มาดูว่าการหมิ่นประมาททางอินเตอร์เน็ต คืออะไร ก่อนที่จะพิจารณาถึงเรื่องนี้ควรจะพิจารณาก่อนว่า หมิ่นประมาทนั้น มีลักษณะการกระทำอย่างไร หมิ่นประมาทคือ การใส่ความผู้อื่นไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดๆ เช่น พูด เขียน พิมพ์ข้อความ หรือแสดงกริยาต่างๆ โดยการใส่ความดังกล่าวนั้น ต้องเป็นการกระทำให้บุคคลที่สามรับทราบ ซึ่งเป็นการกระทำให้ผู้ถูกใส่ความนั้น ได้รับความเสียหาย

          ดังนั้น ผู้กระทำการหมิ่นประมาท จะมีความผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา กล่าวคือ การหมิ่นประมาทนั้น ผู้กระทำผิดจะมีความหมายทางแพ่ง ฐานละเมิดตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 ซึ่งมีหลักการสำคัญ คือ ผู้กระทำได้กล่าว หรือไขข่าวแพร่หลาย ซึ่งข้อความที่ขัดต่อความเป็นจริง เป็นผลให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ต่อชื่อเสียงเกียรติคุณ

          นอกจากนี้การหมิ่นประมาท ยังถูกบัญญัติให้เป็นความผิดหนึ่ง ในประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 326 ซึ่งลักษณะการกระทำคือ ผู้กระทำความผิดได้ใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง การพิจารณาข้อความที่เป็นการหมิ่นประมาทในทางอาญานั้น อาจเป็นความจริง หรือเท็จก็ได้ดังที่เคยมีคำกล่าวว่า "ยิ่งจริงยิ่งผิด" เพราะกฏหมาย มุ่งพิจารณาแต่เพียงว่าถ้ามีการกล่าวถึงบุคคลอื่น ในด้านที่ไม่ดีแล้ว ย่อมจะทำให้สังคมไม่สงบสุข ไม่ว่าข้อความนั้นจะเป็นจริงหรือไม่

          ความรับผิดทางอาญา และทางแพ่งมีข้อแตกต่าง ประการสำคัญทีสุด คือ หากข้อความที่กล่าวเป็นเรื่องเท็จ ผู้กระทำจะมีความผิดทางอาญา และต้องชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่ง แต่ถ้าข้อความที่กล่าวเป็นจริง ผู้กระทำจะมีความผิดทางอาญา แต่ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่ง

          กรณีความผิดทางอาญา ในการหมิ่นประมาททางอินเตอร์เน็ต จะมีความผิดตามมาตรา 326 ที่บัญญัติว่า "ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่ทำให้ผู้นั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมื่น หรือ ถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ"

          หากนำข้อความ หรือภาพที่มีลักษณะหมิ่นประมาท ไปลงไว้ในเว็บไซต์ คนทั่วไปย่อมสามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้ อันเป็นลักษณะของการโฆษณาด้วยภาพ หรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฎด้วยวิธีใด อย่างหนึ่ง ซึ่งในมาตรา 329 บัญญัติไว้ว่า "ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาท ได้กระทำโดยการโฆษณา ด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนต์ ภาพ หรือ ตัวอักษรที่ทำให้ปรากฎ ไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท" ผู้กระทำจะต้องได้รับโทษหนักกว่ามาตรา 326 เพราะการโฆษณาเป็นการทำให้ข้อความหรือภาพที่มีลักษระหมิ่นประมาทกระจายไปสู่ คนจำนวนมากกว่าการหมิ่นประมาท ทั่วๆ ไป

          ความผิดสำเร็จในความผิดฐานหมิ่นประมาททางอินเตอร์เน็ตนั้น จะถือว่าความผิดสำเร็จเมื่อใด เมื่อพิจารณาถ้อยคำที่ว่า "โดยประการที่ทำให้ผู้นั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมื่น หรือถูกเกลียดชัง" ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 326 นั้นไม่ใช่ผลของการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ที่ต้องถือว่าเป็นความผิดสำเร็จแล้ว แต่จะพิจารณาว่าผิดสำเร็จ หรือไม่จากวิญญูชนทั่วไป (บุคคลทั่วไป) ว่าเมื่อได้รับทราบข้อความนั้นแล้ว เห็นว่าน่าจะเกิดความเสียหายแต่ผู้อื่นหรือไม่ ถ้าเห็นว่าน่าจะเสียหาย ผู้กระทำก็จะมีความผิดแล้ว แต่ถ้าบุคคลทั่วไปเห็นว่าไม่น่าจะเสียหายแต่ผู้อื่น ผู้กระทำก็ไม่มีความผิด และต้องได้ข้อเท็จจริงว่า บุคคลที่สามรับทราบข้อความนั้นแล้ว จึงจะถือว่าเป็นความผิดสำเร็จ

          ถ้าบุคคลที่สามยังไม่ได้รับทราบข้อความนั้นเลย ก็เป็นแต่เพียงขั้นพยายามหมิ่นประมาทเท่านั้น คือ ผู้กระทำได้กระทำไปตลอดแล้ว แต่การกระทำไม่บรรลุผล เช่น นายเอก ส่งอีเมลล์ให้นายโท โดยมีข้อความหมิ่นประมาทนายตรี ถ้านายโทยังไม่เปิดอ่าน ถือว่านายเอกได้กระทำไปตลอดแล้ว แต่ไม่บรรลุผล คือ นายโท ยังไม่ได้รับทราบข้อความนั้น จีงมีความผิดเพียงขั้นพยายามหมิ่นประมาทรับโทษเพียงสองในสาม แต่ถ้านายโทเปิดอ่านอีเมล์ฉบับดังกล่าวแล้ว ถือได้ว่ามีบุคคลที่สามรับทราบข้อความแล้ว จึงเป็นความผิดสำเร็จโทษเต็มตามที่กฎหมายบัญญัติ

          ในกรณีเมื่อได้รับอีเมลล์ที่มีข้อความหมิ่นประมาท และได้ forward ต่อไปให้ผู้อื่น จะมีความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือไม่ ประเด็นนี้เกิดขึ้นได้บ่อยมากในปัจจุบัน เพราะสามารถทำการส่งข้อความหรือภาพ ที่เราได้รับมาไปให้เพือนหรือ คนรู้จักกันได้อีกไม่จำกัดจำนวน ประเด็นนี้สามารถเทียบเคียงได้กับคำพิพากษาศาลฎีกาที 2822/2515 ซึ่งมีข้อเท็จจริงคือ จำเลยแสดงข้อความในจดหมายที่ได้รับจากผู้อื่น โดยรู้อยู่ว่าจดหมายนั่นมีข้อความหมิ่นประมาท ถือได้ว่าจำเลยมีความผิดฐานหมิ่นประมาท

กรณีศึกษา

คัดลอกส่วนหนึ่งของข้อความมาจาก
http://www.ryt9.com/s/prg/256418
 adore

เพื่อง่ายแก่การทำความเข้าใจผมขอยกตัวอย่าง เช่น นาย ก. ไม่พอใจนางสาว ข. เนื่องจากเรื่องส่วนตัวจึงเขียนข้อความบนเว็บไซท์ว่า นางสาว ข. ขายบริการทางเพศโดยระบุชื่อที่อยู่ของนางสาว ข. หรือใส่ความอย่างอื่นจนนางสาว ข. เกิดความเสียหาย

กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวคือ ประมวลกฎหมายอาญาฐานหมิ่นประมาท มาตรา 326 และ 328 ซึ่งระบุว่า มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 328 ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏด้วยวิธีใด แผ่นเสียง หรือสิ่งบนทึกเสียงอย่างอื่น กระทำโดยการกระจายเสียง หรือโดยการกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่นใด ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

จากหลักกฎหมายดังกล่าวการที่นาย ก. เขียนข้อความที่หมิ่นประมาทนางสาว ข. ผ่านทางอินเตอร์เน็ต หากข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริงและก่อให้เกิดความเสียหายต่อนางสาว ข. นาย ก. ก็มีความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และ 328 แม้ว่านาย ก. นั้นจะมิได้อยู่ในประเทศไทยก็ตาม เพราะการกระทำดังกล่าวผิดกฎหมายไทย นาย ก. จึงก็ต้องรับโทษตามกฎหมายไทย การที่นาย ก. มีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศนั้นไม่ได้เป็นเหตุให้ นาย ก. ได้รับยกเว้นโทษแต่ประการใด

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เขียนข้อความหรือหมิ่นประมาทบุคคลอื่นผ่านทางอินเตอร์เน็ตนั้น มักจะชะล่าใจว่าตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องไม่สามารถตามตัว บุคคลดังกล่าวเพื่อดำเนินคดีในทางอาญาได้ ผมขอเรียนว่า ในทางเทคนิคนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ว่า ผู้ที่เขียนข้อความหมิ่นประมาทดังกล่าวเป็นใครโดยร่วมมือกับเว็บไซท์ที่ให้ บริการจัดให้มีการสนทนา โดยตรวจสอบหมายเลขที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต (IP Address) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่นาย ก. ใช้ในการสนทนาหรือ ปิดประกาศข้อความที่หมิ่นประมาทบนอินเตอร์เน็ต เนื่องจากการติดต่อสื่อสารบนอินเตอร์เน็ตนั้นต้องกระทำผ่านเครื่อง คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องซึ่งจะมีหมายเลขรหัสประจำเครื่องที่ไม่ซ้ำกัน นอกจากนี้ผู้ใช้บริการโดยส่วนใหญ่มักจะต้องเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์ของตน กับผู้ให้บริการทางอินเตอร์เน็ตหรือ ISP - Internet Service Provider หรือร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ที่ท่านเข้าไปใช้บริการ ซึ่งจะบันทึกข้อมูลการใช้บริการทุกครั้งไว้ ดังนั้น การตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังว่าบุคคลใดเป็นผู้กระทำผิดจึงสามารถทำได้

ปัญหาอีกประการหนึ่งคือ เว็บไซท์ที่ให้บริการมีความรับผิดทางกฎหมายหรือไม่ อาทิเช่น สมมติว่าเว็บไซท์ yahoo.com เปิดให้บริการสนทนาผ่านทางอินเตอร์เน็ตและมี นาย A ผู้ใช้บริการรายหนึ่งเขียนข้อความอันเป็นการหมิ่นประมาทนางสาว ข. ผ่านเว็บไซท์ของ yahoo.com บริษัท yahoo.com ต้องรับผิดในความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นผ่านอินเตอร์เน็ตหรือไม่

คำตอบคือ หากเว็บไซท์ yahoo.com ไม่ได้ทราบหรือมีส่วนรู้เห็นถึงการกระทำอันเป็นการหมิ่นประมาทดังกล่าวข้าง ต้น เว็บไซท์ yahoo.com ก็ไม่ต้องรับผิดในความผิดฐานหมิ่นประมาทเนื่องจากขาดเจตนาและการดำเนินการ ทั้งหมดของเว็บไซท์ yahoo.com กระทำผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์อัตโนมัติทั้งหมด อย่างไรก็ตาม หากผู้ที่ได้รับความเสียหายคือ นางสาว ข. ได้แจ้งให้เว็บไซท์ yahoo.com ได้ทราบว่า ข้อความที่อยู่บนเว็บไซท์ yahoo.com ดังกล่าวนั้นไม่เป็นความจริง และเว็บไซท์ yahoo.com ยังคงเผยแพร่ข้อความดังกล่าวอยู่โดยมิได้ลบออกจากเว็บไซท์ กรณีนี้อาจถือได้ว่า เว็บไซท์ yahoo.com มีเจตนาก่อให้เกิดความเสียหายต่อนางสาว ข. ได้ ดังนั้น ผมแนะนำว่า หากมีการแจ้งเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิดังกล่าวเข้ามา ท่านผู้ประกอบการเว็บไซท์ควรรีบตรวจสอบและลบข้อความดังกล่าวออกโดยเร็วเพื่อ แก้ไขปัญหาดีกว่าจะมีคดีความกันในภายหลังครับ

ส่วนวิธีป้องกันนั้น เว็บไซท์โดยทั่วไปมักจะระบุเงื่อนไขในการใช้บริการ (Terms & Conditions) ว่าจะปฏิเสธความรับผิดในกรณีที่มีการหมิ่นประมาทผู้อื่นทางอินเตอร์เน็ตและ อาจใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบ pop-up ให้แสดงข้อความเงื่อนไขสิทธิดังกล่าวโดยปรากฏขึ้นบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ก่อน ที่ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตแต่ละรายจะเข้าไปใช้บริการ ก็แก้ไขปัญหาได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งอย่างน้อยก็พิสูจน์ได้ว่า ผู้ใช้บริการแต่ละท่านได้ทราบแล้วว่าเว็บไซท์ที่ให้บริการเป็นเพียงสื่อกลาง ที่ใช้ในการติดต่อระหว่างกันเท่านั้น มิได้มีส่วนรู้เห็นถึงการกระทำความผิดใดๆ ที่เกิดขึ้นแม้แต่น้อยสุดท้ายนี้ ผู้เขียนมีความเห็นว่า สื่ออินเตอร์เน็ตเป็นเสรีภาพอย่างหนึ่งในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นและมี ประโยชน์อย่างมากต่อการติดต่อสื่อสารระหว่าง ดังนั้น เราๆ ท่านๆ ทั้งหลายจึงควรร่วมกันใช้สื่อดังกล่าวในทางสร้างสรรค์โดยไม่ก่อให้เกิดความ เสียหายแก่ผู้อื่น เพราะจริยธรรมหรือมารยาทในการใช้อินเตอร์เน็ต (Nettiquette) ที่อยู่ในจิตใจของคนนั้นบางครั้งมีความสำคัญมากกว่าความเจริญก้าวหน้าทาง วัตถุเสียอีกครับ

ที่มาhttp://www.justusers.net
ปล. ที่ต้องหาข้อมูลที่มีที่มา ที่อ้างอิง เพราะบางอย่างผมรู้ไม่ลึก รู้ไม่ละเอียดจริง พูดไปเดี๋ยวผิด จะซวยเอง >:D
ปล.2 ใครอยากได้ความรู้ก็ทนๆ อ่านกันไปเน้อ เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัว และจริงๆ แล้วเราทำผิดกันประจำแต่ยังไม่มีใครคิดจะเอาผิดจริงจังเท่านั้นเอง

Credit : คุณ อำนาจ คนหมั่น



OKCITY

  • Jr. Member
  • **
    • กระทู้: 325

วิชาเทคโนโลยี ม.4 ก็พึ่งเรียนมา อาทิตย์ก่อน - -"

เพื่อนมันแฮคหมูกัน จะโดนมั้ยเนี้ย  woon_5555 woon_5555





III-PooH-III

  • Jr. Member
  • **
    • กระทู้: 390
  • มึงว่ากู!...แล้วมึงดูตัวเองยังอีตอแหล


~:•<แมวปีศาจ>•:~

  • โสด~ขั้นเทพ !!!
  • Asura Tester
  • Hero Member
  • **
    • กระทู้: 7,165
  • จีบได้ หาหม้ายจ้าว..!!!
    • Ith Continue
ยาวไปมั้ยครับ g#013

เพื่อความครบถ้วนสมบูรณ์ของเนื้อหาไงคับ g#004
และเพื่อความปลอดภัยและประโยชน์ของท่าน ผมแนะนำว่า ควรอ่านอย่างยิ่ง #038 g#037
90% ของพวกชอบดราม่าด่าด้วยภาษาย่าทวดในอินเตอร์เน็ต
มักจะหงอแดกเงียบเป็นสากเวลาเจอหน้ากันนอกจอ จริงป้ะ ?


III-PooH-III

  • Jr. Member
  • **
    • กระทู้: 390
  • มึงว่ากู!...แล้วมึงดูตัวเองยังอีตอแหล
ยาวไปมั้ยครับ g#013

เพื่อความครบถ้วนสมบูรณ์ของเนื้อหาไงคับ g#004
และเพื่อความปลอดภัยและประโยชน์ของท่าน ผมแนะนำว่า ควรอ่านอย่างยิ่ง #038 g#037


 g#031 g#031 g#031 g#031
~•~ไม่ได้ถือตัวแต่ถือเรื่องมารยาทกับกาละเทศะ~•~


firstalonely

  • Jr. Member
  • **
    • กระทู้: 452
  • ป่วนบอร์ด&ดราม่าเป็นอาชีพหลัก
อุตส่าห์ไปหาตั้งไกล ที่ไหนได้อยู่ใกล้แค่เอื้อมนี่เอง
แต่หน้าเว็บมันเขีียน พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
แล้วอันนี้ล่ะค่ะ ร่างพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ปี 2554 ฉบับใหม่ เห็นจากเว็บ http://www.manacomputers.com/draft-computers-law-2554
มันฉบับใหม่ หรือการจะใช้คนละอย่างกัน???

พอดีกำลังศึกษาเรื่อง กฎหมายหมิ่นประมาทผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต


firstalonely ณ เซิร์ฟสวรรค์


~:•<แมวปีศาจ>•:~

  • โสด~ขั้นเทพ !!!
  • Asura Tester
  • Hero Member
  • **
    • กระทู้: 7,165
  • จีบได้ หาหม้ายจ้าว..!!!
    • Ith Continue
อุตส่าห์ไปหาตั้งไกล ที่ไหนได้อยู่ใกล้แค่เอื้อมนี่เอง
แต่หน้าเว็บมันเขีียน พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
แล้วอันนี้ล่ะค่ะ ร่างพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ปี 2554 ฉบับใหม่ เห็นจากเว็บ http://www.manacomputers.com/draft-computers-law-2554
มันฉบับใหม่ หรือการจะใช้คนละอย่างกัน???

พอดีกำลังศึกษาเรื่อง กฎหมายหมิ่นประมาทผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต


จัดเลยเต็มที่  g#031
ระดับแฮคเกอร์ข้ามชาติเค้ายังตามจับกันได้
นับประสาอะไรกับหมาเห่าหน้าคอม นักเลงคีย์บอร์ดระดับรากหญ้า
กลัวแต่ว่าถึงเวลาได้รับหมายศาล มันจะร้องไม่เป็นภาษามนุษย์เท่านั้นแหละ
 #038 g#037
90% ของพวกชอบดราม่าด่าด้วยภาษาย่าทวดในอินเตอร์เน็ต
มักจะหงอแดกเงียบเป็นสากเวลาเจอหน้ากันนอกจอ จริงป้ะ ?


firstalonely

  • Jr. Member
  • **
    • กระทู้: 452
  • ป่วนบอร์ด&ดราม่าเป็นอาชีพหลัก
เฟิร์สไม่เคยขึ้นโรงขึ้นศาลอ่ะ ไม่ค่อยรู้เรื่องกฏหมายด้วย ไม่รู้จะไปปรึกษาใคร ว่าจะไปขอคำแนะนำกับตำรวจ
แต่ไม่รู้ว่าเรื่องแบบนี้ เพื่อความชัวร์ต้องไปแจ้งที่ไหน ยังไง ยิ่งอ่านยิ่งปวดหัว
อยากกลับไปเล่นเกมส์แบบมีความสุข มากกว่ามานั่งหาความรู้เรื่องกฏหมาย เซ็ง g#040

ที่อ่านมาเขาก็บอกว่าไม่ยากประมาณนี้อ่ะ

"การดำเนินดคีกับผู้กระทำผิดหมิ่นประมาทคนอื่นนั้นไม่ยาก  เพราะนอกจากมีกฎหมายอาญามาตรา 328 ระบุความผิดแล้ว  ก็ยังมีกฎหมายคอมพิวเตอร์ ปี 2550 สนับสนุนอีกแรง  ทำให้สาวถึงตัวผู้กระทำผิดได้อย่างง่ายดาย   คือ รู้ข้อความหมิ่นประมาท  รู้ตัวผู้กระทำผิด  รู้สถานที่ที่กระทำความผิด  รู้หมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้ในการกระทำความผิด  รู้เวลาและคาบเวลาที่กระทำความผิด ฯลฯ...ทุกอย่างชัดเจนหมด  ดิ้นไม่หลุด !!

ผู้กระทำความผิดหมิ่นประมาทบุคคลอื่น  หรือกระทำความผิดอาญาอื่นๆบนอินเตอร์เน็ตสามารถถูกจับกุม หรือถูกฟ้องร้องดำเนินตดีได้อย่างง่ายดายที่สุด...ตรงนี้จึงขอเตือนทุกท่านได้โปรดระมัดให้จงหนัก..!!"

การหมิ่นประมาทผู้อื่นบนอินเตอร์เน็ต  ไม่ต่างอะไรกับการหมิ่นประมาทผู้อื่นบนหน้าหนังสือพิมพ์ เพราะใช้ตัวบทกฎหมายอาญามาตรา 328 เดียวกัน  แต่การหมิ่นประมาทบนอินเตอร์เน็ตจะมีกฎหมายคอมพิวเตอร์ 2550 สมทบเข้ามา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสาวถึงผู้กระทำผิดได้ถูกตัวถูกคน

จากเวบ http://forum.asura.in.th/index.php?action=post;quote=24124;topic=429.0 อ่ะ

firstalonely ณ เซิร์ฟสวรรค์


หนึ่งดาบสะท้านปฐพี

  • Asura Tester
  • Full Member
  • **
    • กระทู้: 1,061
อุตส่าห์ไปหาตั้งไกล ที่ไหนได้อยู่ใกล้แค่เอื้อมนี่เอง
แต่หน้าเว็บมันเขีียน พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
แล้วอันนี้ล่ะค่ะ ร่างพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ปี 2554 ฉบับใหม่ เห็นจากเว็บ http://www.manacomputers.com/draft-computers-law-2554
มันฉบับใหม่ หรือการจะใช้คนละอย่างกัน???

พอดีกำลังศึกษาเรื่อง กฎหมายหมิ่นประมาทผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต

ถ้าข้อมูลผมไม่ล้าหลังนะครับ ตัวใหม่พึงเป้นแค่ร่าง ยังไม่ได้ตราเป็นกฎหมาย ยังไม่ได้ผ่านมติคณะรัฐมนตรี (ตอนนี้กำลังเลือกตั้ง)
ขั้นตอนกว่าจะออกมาเป็นกฎหมายคร่าวๆ ก็

กระบวนการตรากฎหมาย

ความหมาย
กฎหมายโดยทั่วไป หมายถึง หลักเกณฑ์หรือสิ่งใดก็ตามที่ออกมาเพื่อกำหนดหรือบังคับให้คนทั้งหลายต้องยึดถือและต้องปฎิบัติตาม ไม่ว่าจะออกมาโดยผู้มีอำนาจในชั้นใด หลักเกณฑ์หรือสิ่งเหล่านั้น คือกฎหมายที่ทุกคนจะต้องปฏิบัติตาม [1]

กฎหมายตามความหมายของรัฐธรรมนูญ หมายถึง เฉพาะรัฐธรรมนูญในฐานะที่เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ กฎมณเฑียรบาล พระราชบัญญัติหรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ และพระราชกำหนด[2]

กระบวนการตรากฎหมาย
ในที่นี้หมายถึงกระบวนการหรือวิธีการในการออกกฎหมายซึ่งได้แก่ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ และพระราชกำหนด[3]

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับกฎเกณฑ์การปกครองประเทศที่แยกมาบัญญัติรายละเอียดต่างหากออกไปจากรัฐธรรมนูญเพื่อขยายบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น มีกระบวนการตราและพิจารณาเหมือนกับการตราพระราชบัญญัติ แต่มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากพระราชบัญญัติคือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น รัฐสภาจะตราขึ้นได้เฉพาะในกรณีที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้ตราขึ้นและกำหนดเนื้อหาสาระสำคัญไว้ อันเป็นการผูกพันให้รัฐสภาจะต้องตรากฎหมายให้มีเนื้อหาสอดคล้องกับหลักการที่รัฐธรรมนูญกำหนดเท่านั้น[4] รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันกำหนดให้ตราในรูปแบบของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมีอยู่ 9 ฉบับด้วยกัน ได้แก่

(1) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา

(2) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง

(3) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง

(4) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ

(5) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ

(6) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

(7) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน

(8) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

(9) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน

ผู้มีอำนาจเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะเสนอได้ก็แต่โดย

(1) คณะรัฐมนตรี

(2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือสภาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือ

(3) ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา หรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งประธานศาลและประธานองค์กรนั้นเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น

ที่มา http://www.parliamentlks.ob.tc/Parliament19.htm


หนึ่งดาบสะท้านปฐพี

  • Asura Tester
  • Full Member
  • **
    • กระทู้: 1,061
ถ้าจะเอาจริงๆ จากการที่ถามผู้รู้บางท่าน
แจ้งความไว้เป็นหลักฐาน
นำหลักฐานการแจ้งความมาติดต่อดีบัสเพื่อขอข้อมูลของ id นั้น
ในนั้นจะต้องมีชื่อ นามสกุล หรือเลขบัตรประชาชนแน่นอน
พอได้มาแล้วก็เอาข้อมูลนี้พร้อมสำเนาเอกสารการแจ้งความไปที่สำนักทะเบียน ที่ใหนก็ได้
บอกไปว่าขอยื่นคำร้องขอดูที่อยู่ คนที่มีชื่อ  พอรู้ที่อยู่ ส่งหมายศาลไปถึงประตูบ้านได้แล้วครับ
ปล. อันนี้คร่าวๆ นะ