ส่วนที่ ๑ ความรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒๖ บัญญัติว่า "ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"
จากบทบัญญัติดังกล่าวมีองค์ประกอบของความผิด คือ
๑.๑ ผู้ใด หมายถึง ผู้กระทำผิดหรือผู้หมิ่นประมาท ในที่นี้เป็นได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
๑.๒ ใส่ความ หมายถึง การยืนยันข้อเท็จจริงซึ่งอาจเป็นความจริงก็ได้หรือเป็นความเท็จก็ได้ แม้แต่การเล่าเรื่องที่ได้ยินมาให้กับบุคคลอื่นฟังก็อยู่ในความหมายของคำว่า "ใส่ความ" เพราะฉะนั้นการใส่ความจึงไม่จำกัดวิธี อาจเป็นการใช้คำพูด ให้ความหมายหรือแสดงกิริยาอาการอย่างหนึ่งอย่างใดหรือใช้ภาษาใบ้ สัญญาลักษณ์ต่าง ๆ หาเหตุร้ายกล่าวหาเรื่องร้ายให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ถูกลดคุณค่าลง ถูกเกลียดชัง ถูกดูหมิ่น เช่น การแอบถ่ายคนที่ร่วมประเวณีกันแล้วนำภาพเหล่าไปให้บุคคลอื่นดู ย่อมเป็นการใส่ความและน่าจะทำให้เกิดความเสียชื่อเสียง หรือนำไปเล่าให้ผู้อื่นฟัง ย่อมเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทได้ แต่หากการใส่ความนั้น เป็นเพียงคำหยาบ คำกล่าวถึงสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ก็ดี การกล่าวข้อความที่มีลักษณะคลุมเครือยังไม่ชัดเจน เช่นคำว่า "เลว" เลวอย่างไร ชั่ว ชั่ว-อย่างไร ยังไม่ถือว่าเป็นการใส่ความ จากแนวคำพิพากษาศาลฎีกาอาจแยกการใส่ความออกได้เป็น ๔ ประเภท คือ
(ก)การใส่ความเกี่ยวกับความประพฤติ
(ข)การใส่ความเกี่ยวกับเรื่องประเวณีหรือความประพฤติที่ไม่เหมาะสมหรืออันควรทางเพศ
(ค)เป็นการใส่ความเกี่ยวกับหน้าที่การงาน
(ง)เป็นการกล่าวถึงความไม่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับสถานะทางเศรษฐกิจการเงินหรือทางสังคม
๑.๓ ต้องเป็นการใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม คำว่า "ผู้อื่น" จะเป็นใครก็ได้อาจจะเป็นบุคคลธรรมดา นิติบุคคล กลุ่มคนที่อยู่รวมกันก็ได้ซึ่งต้องทราบว่าหมายถึงใคร แต่ไม่จำเป็นต้องระบุชื่อ เช่น กล่าวต่อผู้อื่นว่า "พระวัดนี้ดูหนัง พระวัดนี้เลวมาก ดูหนังบ้าง บ้าผู้หญิงบ้าง พระวัดนี้เลวที่สุดไม่มีศิล ผมไม่ไหว้ กรณีนี้เป็นกรณีหมิ่นประมาทพระทั้งวัด
๑.๔ ต้องใส่ความต่อบุคคลที่สาม ความผิดฐานหมิ่นประมาทจะสำเร็จก็ต่อเมื่อบุคคลที่สามได้ทราบข้อความและเข้าใจข้อความ ดังนั้น ถ้าบุคคลที่สามไม่ได้รับทราบข้อความหรือหูหนวกหรือไม่รู้เรื่องหรือเป็นชาวต่างประเทศที่ไม่เข้าใจภาษา ก็เป็นความผิดเพียงฐานพยายามหมิ่นประมาท จะรับโทษเพียงหนึ่งในสาม ของโทษที่ศาลกำหนด
๑.๕ โดยประการที่น่าจะต้องทำให้ผู้อื่น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง องค์ประกอบนี้เป็นพฤติการณ์ประกอบการกระทำต้องวินิจฉัยตามความรู้สึกนึกคิดของคนทั่วไปมิใช่ของผู้กระทำหรือผู้ถูกกระทำ แต่ถ้าเป็นข้อความสามัญ ศาลจะวินิจฉัยได้เอง ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องมีความเสียหายเกิดขึ้นจริง
๑.๖ เจตนาที่จะใส่ความ หากไม่มีเจตนาที่จะใส่ความก็ไม่ผิด กล่าวคือ จะต้องรู้สำนึกในการกระทำผิดของตนขณะที่พูดว่าข้อความที่พูดนั้นทำให้ผู้อื่นเสียหายหรืออาจได้รับความเสียหาย
ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๓๒๖ นี้ เป็นหลักของเรื่องการหมิ่นประมาททั่วไป ถ้าหากผู้พูดได้ใส่ความผู้ตายหรือผู้ที่ไม่มีชีวิต ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒๗ บัญญัติว่า"ผู้ใดใส่ความผู้ตายต่อบุคคลที่สามและการใส่ความนั้นน่าจะเป็นเหตุให้บิดามารดา คู่สมรสหรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษดังบัญญัติไว้ในมาตรา ๓๒๖ นั้น" มาตรา ๓๒๗ นี้เป็นเรื่องใส่ความผู้ตาย แต่เป็นเหตุให้ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ได้รับความเสียหาย เช่น นายแดงถึงแก่ความตาย นายดำไปงานศพนายแดงแล้วพูดกับนายขาวว่า ขณะที่นายแดงมีชีวิตอยู่นายแดงได้คดโกง กินสินบน ทุจริตต่อหน้าที่ การกล่าวเช่นนี้อาจทำให้บิดา มารดา คู่สมรสหรือบุตรของนายแดงได้รับความเสียหาย นายดำมีความผิดตามมาตรา ๓๒๗ นี้ได้
เมื่อพูดอะไรออกไปแล้วหาเป็นการใส่ความทั้งหมดและเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาททั้งหมดไม่ ประมวลกฎหมายอาญา ได้บัญญัติบทยกเว้นความรับผิดหรือยกเว้นโทษไว้ กล่าวคือ
มาตรา ๓๒๙ บัญญัติว่า
"ผู้ใดแสดงความแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต
(๑)เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม
(๒)ในฐานะเจ้าพนักงานปฎิบัติการตามหน้าที่
(๓)ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ หรือ
(๔)ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือในการประชุม
ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท"
นอกจากนั้นถ้าเป็นกรณีพิจารณาคดีในศาล กฎหมายได้ให้ความคุ้มครองในสิ่งที่คู่ความหรือทนายความพูดในศาล ดังบัญญัติไว้ในมาตรา ๓๓๑ บัญญัติว่า "คู่ความหรือทนายความของคู่ความ ซึ่งแสดงความคิดเห็นหรือข้อความในกระบวนพิจารณาคดีในศาล เพื่อประโยชน์แก่คดีของตน ไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท"
และหากข้อความที่ใส่ความนั้นเป็นความจริง กฎหมายกำหนดให้ไม่ต้องรับโทษทางอาญา ดังได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๓๐ บัญญัติว่า "ในกรณีหมิ่นประมาท ถ้าผู้ถูกหาว่ากระทำผิด พิสูจน์ได้ว่าข้อหาที่ว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ
แต่ห้ามไม่ให้พิสูจน์ ถ้าข้อความหมิ่นประมาทนั้น เป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์จะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน"
จะเห็นได้ว่ามาตรา ๓๓๑ เป็นยกเว้นโทษเท่านั้น ไม่ได้ยกเว้นความผิด ผู้กระทำผิดหมิ่นประมาทยังมีความผิดอยู่เพียงแต่ไม่ต้องรับโทษทางอาญาเท่านั้น ต่างกับมาตรา ๓๓๐ ที่ถือว่าผู้กระทำไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทเลย ในการพิสูจน์ความผิดกฎหมายยอมให้พิสูจน์ได้เพียงเรื่องที่หมิ่นประมาทนั้นไม่ใช่เรื่องส่วนตัวและการพิสูจน์จะต้องเป็นประโยชน์ต่อประชาชนเท่านั้น ตัวอย่างเช่น นาย ก. พูดกับเพื่อนบ้านว่า นางสาว ข. เป็นชู้กับนาย ค. ซึ่งถึงแม้เรื่องที่กล่าวหาจะเป็นความจริงก็ตาม แต่เป็นเรื่องส่วนตัวของนางสาว ข. และเป็นเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน จึงห้ามไม่ให้นาย ก.พิสูจน์ข้อเท็จจริง หากเรื่องที่หมิ่นประมาทไม่ใช่เรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์เป็นประโยชน์ต่อประชาชนเช่น นายแดงลูกบ้านนายดำ ซึ่งเป็นกำนัน ได้พูดต่อนายดำ ว่า นายขาว นายกองค์การบริหารส่วนตำบลที่นายแดงอยู่ คดโกง ยักยอกปูน หิน ทราย ในการสร้างถนนในหมู่บ้าน เห็นไดว่า เรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน จึงไม่ต้องห้ามในการพิสูจน์ เมื่อพิสูจน์แล้วเป็นความจริงนายแดง ไม่ต้องรับโทษ แต่หากพิสูจน์แล้วเป็นความเท็จนายแดง ต้องรับผิดฐานหมิ่นประมาท
ความผิดฐานหมิ่นประมาท เป็นความผิดอันยอมความได้ ตามมาตรา ๓๓๓ กล่าวคือ ความผิดฐานหมิ่นประมาทนั้นเป็นความผิดต่อส่วนตัว เมื่อผู้หมิ่นประมาทกับผู้ถูกหมิ่นประมาทตกลงกัน ยอมความกัน ไม่เอาความต่อกัน หรือให้อภัย ไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม กฎหมายถือว่าความผิดหมิ่นประมาทนั้นเป็นอันยุติ ศาลหรือเจ้าพนักงานตำรวจต้องยุติกระบวนการดำเนินคดีในความผิดหมิ่นประมาท และไม่ถือว่าผู้หมิ่นประมาทเคยกระทำผิดมาก่อนแต่อย่างใด
ส่วนที่สอง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หลังจากได้กล่าวถึงความรับผิดในทางอาญาของผู้หมิ่นประมาทแล้ว ผู้หมิ่นประมาทยังต้องรับรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๒๓ บัญญัติว่า "ผู้ใดกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่นก็ดี หรือเป็นที่เสียหายแก่ทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของเขาโดยประการอื่นก็ดี ท่านว่าผู้นั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เขาเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การนั้น แม้ทั้งเมื่อตนมิได้รู้ว่าข้อความนั้นไม่เป็นจริง แต่หากควรจะรู้ได้" หรือเรียกว่า "หมิ่นประมาททางแพ่ง" เป็นการละเมิดด้วยคำพูด ด้วยลมปาก ทำให้เสียหายแก่เกียรติยศชื่อเสียงอันเป็นนามธรรม ซึ่งผู้หมิ่นประมาทจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในความเสียหายที่เกิดแก่ผู้ถูกละเมิดหรือผู้ถูกหมิ่นประมาทตามพฤติการณ์และความเสียหายที่เขาได้รับจากการกล่าวหรือไขข่าวนั้น
แต่อย่างไรก็ตามในการหมิ่นประมาททางแพ่งนั้น ผู้กล่าวหรือไขข่าวหาจำต้องรับผิดเสมอไปไม่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้กำหนดข้อยกเว้นไม่ต้องรับผิด ดังบัญญัติไว้ในมาตรา ๔๒๓ วรรคสอง "ผู้ใดส่งข่าวสารอันตนมิได้รู้ว่าเป็นความไม่จริง หากตนเองหรือผู้รับข่าวสารนั้นมีทางได้เสียโดยชอบในการนั้นด้วยแล้วท่านว่าเพียงที่ส่งข่าวสารเช่นนั้นหาทำให้ผู้นั้นต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่"
กล่าวโดยสรุปในความรับผิดและข้อยกเว้นความรับผิดหมิ่นประมาททางแพ่งอาจดังนี้
ก.ผู้ก่อความเสียหาย "รู้" ว่าไม่จริงแล้วยังพูด = จงใจ
ข.ถ้าผู้ก่อความเสียหาย "ไม่รู้ แต่ควรรู้ได้"แล้วยังพูด = ประมาทเลินเล่อ
ค.ถ้าผู้ก่อความเสียหาย "ไม่รู้ และไม่ควรรู้ได้" แล้วพูด = ไม่จงใจ ไม่ประมาท
กรณี ก. ข. ต้องรับผิด ส่วนกรณี ค. ไม่ต้องรับผิด
กร๊ากกกกกกกกกกกกกกกกก การแสดงออกซึ่งในทางสาธารณะโดยบริสุทธิ์ใจ ไม่เป็นการหมิ่นประมาททางอาญาและทางแพ่ง
เหมือนกับการตั้งประเด็นว่า "ผมสงสัยว่า หนูนี่ทำไมต้องออกจากที่ทำงาน หรือเป็นเหตุจากการทุจริต" อันนี้ผมสงสัยได้โดยบริสุทธิ์
ใจ โดยมิได้กล่าวหา แต่เป็นการตั้งคำถามซึ่งหาคำตอบ
เข้าใจครับ เข้าใจว่าคุณโกรธเขาด้วย โดนว่าพาลาด๋อยสินะ ลองดูดีๆสิครับ เราตอบเหมือนกันล่ะครับ จขกท เริ่มหัวข้อวิธีรับมือ ผมก็ตอบวิธีรุกให้ใหม่
คุณโดน ว่าพาลาด๋อย ก็เลยมาบอก วิธีแก้ให้ มันเหมือนกันเลย ไม่เห็นเหรอ ผมยอมรับว่า เวลาผมพูดอะไรไปเหมือนจะด่า
แล้วคนส่วนใหญ่ก็มักไม่ค่อยเข้าใจ
ผมก็ต้องมาอธิบายอย่างเนี้ยล่ะ ทีนี้ เข้าใจแล้วสินะ ขี้คร้านอธิบายง่าวบ่า

มึงเสนออะไรหรอ กูไม่เห็นจะเสนอวิธีรุกห่าไรเลย จะมาพูดแถให้ตัวเองดูดี ว่าตัวเองฉลาดว่างั้น ผมก็ตอบวิธีรุกให้ใหม่
คุณโดน ว่าพาลาด๋อย ก็เลยมาบอก วิธีแก้ให้ มันเหมือนกันเลย ไม่เห็นเหรอ ผมยอมรับว่า เวลาผมพูดอะไรไปเหมือนจะด่า เสนอวิธีใหม่ ใหม่ตรงไหนสายคอมโบ มันใหม่หรอวะกูเพิ่งรู้ว่าสายใหม่ พาราด๋อยผมบอกวิธีแก้ตรงไหน แค่บอกว่าเจ้าเทพแค่ไหนก็ต่อยพาราเปิดกายาไม่ตาย ในระดับพอๆกัน หรือถ้าตายก็โอกาศน้อยมาก
ผมก็ต้องมาอธิบายอย่างเนี้ยล่ะ ทีนี้ เข้าใจแล้วสินะ ขี้คร้านอธิบายง่าวบ่า เอาง่ายๆ มึงโง่สื่อความหมายไม่ค่อยถูกสินะ
แบบกรณีนี้เหมือนกัน มันได้แค่หยาบ ถึงแม้มีคำด่าทอว่าโง่ แต่หากอ่านโดยองค์รวมแล้วเป็นการถกวิวาทะในเรื่องของความเห็น
ที่แตกต่างกันออกไป... กร๊ากกกกกกกกกกกกกก