แล้วกฏข้อไหนของทีมงาน ที่ระบุไว้ว่า 2.3m ต้องเป็น 2,300,000 เสมอ!!! หละครับ คุณมีมาให้ผมดูไหม???
อันนี้มันยิ่งกว่ากฎอีกนะครับ
มันคือสัจนิรันดร์ หรือสิ่งที่เป็นจริงเสมอ
หรือจะเรียกว่ามาตรฐานก็คงไม่ผิด ผมไม่แน่ใจนะว่าคุณเข้าใจคำว่ามาตรฐานรึเปล่า ?
ถ้าจะอธิบายผมก็อย่าเปิด google มานะครับ
ทำไมผมถึงพูดเช่นนี้ ?
เพราะ 2.3 M มันคือคำย่อของ 2.3 Mega หรือ Million ก้อคือคูณด้วยหนึ่งล้าน
และมันถูกพิสูจน์แล้วในเกม
ทุกคน 100 ทั้ง 100 เมื่อมีการพูดถึง 2.3 M นั่นคือ 2,300,000
นาย อันนี้เราขอแย้งนิดน๊ะ อันนี้ไม่เกี่ยวกับประเด็นกระทู้น๊ะ เอาเรื่องประเด็นการยกย่อตัวเลข ประเด็น 2.3M ไม่ใช่มาตรฐานต้องเป็น 2.300.000 ล้านถ้วนๆน๊ะครับ หลักสากลที่เค้าเรียก 2.3M คือสองล้านสามแสนมันคือหลักคร่าวๆครับ ย่อมาจากจำนวนเต็มจริงเพื่อให้เข้าใจว่า จำนวนเงินมันคือ สองล้านสามแสน อยู่ในหลัก สองล้านสามแสน แต่ไม่ได้ระบุตายตัวว่าต้องไม่มีเศษส่วน ถามว่าเพราะอะไร เพราะถ้ามาโดดๆ 2.3 ไม่มี M บาท หมื่น แสน ล้าน ไม่มีหน่วยราคา ไม่มีหน่วยวัด การเอาไปใช้ก็ไม่บ่งบอกว่ามันคืออะไรไอ้ตัว 2.3 มันมาจากอะไร 2.3 นั้นก็เท่ากับไม่รู้ที่มาว่ามันคืออะไร เป็นเลขของอัตราส่วนอะไร มาจากไหน พอใส่ M หรือ บาท หรือ ล้าน หมื่น แสน ทำให้รู้ว่าไอ้ตัว 2.3 มันมาจากหน่วยอะไร ให้เข้าใจว่าเค้าใช้เลข 2 ตัวนี้ กับจุดทศนิยมนั้นมาจากหน่วยอะไร หมายถึงอะไร ราคา หน่วยวัด ตวง หรืออะไร แต่เป็นการบอกแค่คร่าวๆน๊ะครับ ไม่ได้บ่งบอกว่าจำนวนหลักจริงๆของมันต้องถ้วนๆ
อย่างประโยคบอกเล่าคำพูด น่าจะราคาอยู่ที่ 4.7 หรือ 4.8 น๊ะ <<< ถ้ามาถ้วนๆอย่างนี้ ผมยกมาโดดๆอย่างนี้คนอ่านก็ไม่รู้ว่าผมหมายถึงอะไร ราคา หน่วยวัด หรืออะไร แต่ถ้าผมบอกไปอีกว่า ก่อนหน้าที่ผมพูดคำนี้ คุยกับเพื่อนที่เป็นเจ้าของอู่รถอยู่เรื่อง รถผมคันนี้นายว่าถ้าจะขายนายจะให้ราคามันเท่าไหร่ อย่างนี้คนอ่านจะเข้าใจทันทีเลยว่า น่าจะราคาอยู่ที่ 4.7 หรือ 4.8 น๊ะ มีหน่วยเป็นราคา แต่คุณก็ยังไม่รู้อีกละว่าหน่วยมันเป็นอะไร หมื่น แสน หรือ ล้าน หรือเท่าไหร่ จนกว่าคุณจะได้ทราบว่าผมขับรถอะไร รุ่นอะไร สมุตติว่าผมขับ BMW 318i ตัวใหม่ คุณจะอ่านออกเองทันทีว่า น่าจะราคาอยู่ที่ 4.7 หรือ 4.8 น๊ะ คือหลักล้านแน่ หรือถ้าไม่แน่ใจคุณจะถามผมว่า ล้านหรือแสน ซึ่งตามความเข้าใจกันคงจะคิดว่าเป็นหลักหมื่นหลักพันไม่ได้แน่
แล้วสมมุติว่าผมขายรถไปแล้ว เจอเพื่อนอีกคนถามว่า เห้ย ขายรถไปเท่าไหร่ ได้เท่าไหร่ละ ร้านมันให้เท่าไหร่ ผมตอบว่า 4.7 วะ หรือถ้าแปลงเป็นคำพูดก็ต้องพูดว่า สี่ล้านเจ็ดวะ ถ้าคุณเป็นคนฟัง แล้วผมพูดย่อๆสั้นๆกระทัดรัดแค่นี้ คุณจะถามผมต่อมั้ยว่า สี่ล้านเจ็ดถ้วนๆเลยเหรอวะ ผมก็ต้องตอบว่า สี่ล้านเจ็ดแสนห้าหมื่นสามพันบาทวะ (4.753.000) หรือ สี่ล้านเจ็ดแสนห้ากว่าๆวะ ร้านเพื่อนกันเองมันให้ราคาดี กรณีแบบนี้มีเกิดขึ้นจริงมั้ยครับ มันเกิดขึ้นอยู่จริงในชีวิตประจำวันเราใช่มั้ยครับ คุณก็ต้องเคยเจอมาบ้าง นี่เป็นประโยคคำพูดสนทนาที่สามารถพูดได้ละเอียดกว่าการมาเขียนประกาศในเนื้อที่จำกัด แต่เราก็ใช้การย่อหลักมาพูดกันอยู่เสมอๆ แล้วคำว่า 4.7 หรือ 4.7ล้าน ก็ไม่ได้ระบุบังคับใช้ว่า จะต้องนำมาใช้ต่อเมื่อจำนวนเต็มของมันทั้งหมดต้องเป็นจำนวนถ้วนๆเท่านั้น สามารถมีเศษได้ อยู่ที่คุณเอาไปสื่อถึงอะไร หลักสากลที่ใช้กันมันแค่บ่งบอกจำนวนคร่าวๆ เป็นการตัดย่อสั้นๆมาใช้ เค้ามักนิยมใช้กันเพื่อรวบรัด แต่ไม่ได้มีการห้ามใช้ถ้าจำนวนเต็มมีเศษส่วน แต่การเอาไปใช้ก็ต้องดูที่ว่า ที่คุณเอาไปใช้ย่อในข้อความ ประโยคนั้นๆ คุณจะสื่อถึงอะไร สื่อเพื่อให้เค้าเข้าใจว่าอะไร
กรณีที่ใช้ย่อโดยให้เข้าใจว่าจำนวนเต็มไม่มีเศษส่วนก็มีครับ อย่างคุณรู้จักสินค้าชนิดหนึ่งมานาน คุณเห็นการปรับราคาเค้ามาตลอด เอกลักษณ์ของการปรับราคาบริษัทนี้ไม่ปัดราคาให้มีเศษส่วน จะปรับราคาเพิ่มหรือลดเป็นจำนวนถ้วนๆเสมอ อย่างเช่น ถุงยางยี่ห้อนี้ เมื่อ 3 ปีก่อนราคา 30 บาท พอ 2 ปีที่แล้วมีการปรับราคา เค้าขึ้นเป็น 40 บาท มาปีนี้ราคาขึ้นอีกเป็น 50 บาท อย่างนี้ทุกคนเข้าใจหมดว่ามันขายเป็นจำนวนถ้วนๆ ไม่มีเศษส่วน ถ้าติดป้ายประกาศ ถุงยางยี่ห้อ ..... 50 หรืออาจจะขายถูก 40 ติดป้าย 40 ด้วนๆแบบนี้อะ ทุกคนเข้าใจหมดแน่นอนว่าราคาจริงต้อง 40 หรือ 50 บาทถ้วน ต้องไม่ใช่ 40.75 สตางค์ หรือ 50.75 สตางค์ เพราะบริษัทนี่เป็นอันที่เราเข้าใจกันในราคาสินค้ามันละว่ามันไม่ขายของมีเศษส่วนแน่ๆ
หรือถ้าเกิดมีบริษัทและสินค้าใดถูกสั่งหรือบังคับให้ต้องขายไม่เกินราคาที่เค้าระบุให้ขาย เช่น บริษัทนำเข้ารถยนต์แห่งหนึ่ง ถูกสั่งให้ต้องขายภายในประเทศได้ต้องไม่เกินราคานี้ๆๆๆๆ ผมสมมุติว่าราคานี้คือถูกควบคุมว่าต้องไม่เกิน 35 ล้านบาทแล้วกันน๊ะ เต็มๆของมันคือ 3.500.000 ล้านบาท ถ้าเลขย่อของมันก็คือ 3.5 ล้าน หรือ 3.5 M ทีนี้ทุกคนรับทราบหมดเพราะมีประกาศมาแจ้งให้ทราบว่าบริษัทนี้จะขายรถคันนี้ได้ยังไงก็ต้องไม่เกิน 35 ล้าน แล้วบริษัทก็จะขาย 35 ล้านบาทเต็มๆ ถ้วนๆเลย คือเอาเต็มอัตราที่ทำได้ เค้าก็ติดป้ายประกาศโฆษณาว่า ขายรถรุ่นนี้ 3.5 M หรือ ขายรถคันนี้ 3.5 ล้านบาท ถ้าอย่างนี้ไม่น่าแปลกใจอะไรเลยที่คนจะเข้าใจว่า 3.5 จากประกาศนี้คือ 3.500.000 บาทถ้วน เพราะเค้ารับทราบและเข้าใจมาจากประกาศอันนั้นแล้วว่า ยังไงมันบริษัทก็ขายรถคันนี้ก็ได้ไม่เกิน 3.5 ล้านบาทถ้วนๆ
กรณีให้เข้าใจว่าเป็นเลขจำนวนถ้วนๆก็มีเยอะน๊ะครับในชีวิตจริงเรา สินค้าบางอย่างก็ถูกควบคุมราคาไว้ว่าต้องไม่เกินเท่าไหร่ แค่ใช้หลักย่อสั้นๆมาประกาศคนก็เข้าใจแล้วว่ามันคือจำนวนเต็มถ้วนๆ บางอย่างก็ไม่สามารถทำให้คนเข้าใจได้น๊ะครับว่าราคาจริงๆมันคือจำนวนถ้วนๆ ขึ้นอยู่ที่คุณสื่ออะไร แบบไหน สินค้าคุณคืออะไร หลายๆอย่างอะ มันจึงมีที่เข้าใจได้ 2 แบบครับ เข้าใจว่าถ้วนๆ กับ เข้าใจว่ามีเศษส่วน อยู่ที่คุณจะสื่อ และอยู่ที่คนรับข่าวสารว่าเค้าเข้าใจอย่างไร ไม่ใช่ว่าถ้ายกตัวเลขมาจะต้องถือเป็นเข้าใจว่ามันคือจำนวนเต็มจริงๆต้องไม่มีเศษหรือต้องถ้วนๆเท่านั้น หลักสากลเค้าใช้เอามาเพื่อให้เข้าใจคร่าวๆ ใช้เรียกให้รวบรัด แล้วอยู่ที่ว่าคุณเอาไปสื่อถึงอะไรด้วย
ส่วนประเด็นเรื่องตั้งร้านอันนี้ผมไม่ขอออกความเห็นกับจุดนี้แล้ว เพราะผมได้คำตอบมาแล้วก็อย่างที่ผมเอามาประกาศในกระทู้แจ้งเบาะแสไป ว่าเค้าใช้หลักอะไรในการดู แล้วเมื่อดูแล้วมีโทษเลยหรือว่าอย่างไร เพราะในชีวิตจริงถ้าจะดิ้นสู้ความกันมันละเอียดกว่า คุณถูกกล่าวหาว่าคุณใช้คำโฆษณาให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจผิดในสินค้าและราคา ทาง สคบ.ก็เห็นว่าเข้าข่าย แต่ถ้าเกิดไปสู้คดีความกัน ฝ่ายคนขายไปให้สำนักโพลสำรวจประชาชน เป็นสำนักโพลที่มีชื่อเสียงและยอมรับกันในสังคมไปสำรวจคน 1000 คน 7000 เกิดบอกว่า เข้าใจว่าประกาศราคาถ้วนๆ อีก 300 บอก ไม่คิดว่าจะถ้วน แน่นอนคุณผิด แต่เกิด 700 คนบอกว่า ไม่คิดว่าจะถ้วน และอีก 300 บอก คิดว่าถ้วน ตรงนี้ก็เอามาเป็นข้อโต้แย้งได้น๊ะครับ เพราะ สคบ.เค้าระบุไว้ว่า การโฆษณาผู้ค้าต้องใช้คำโฆษณาโดยยึดถือความเข้าใจของผู้บริโภคเป็นหลัก นั่นคือคนขายจะตั้งราคาที่ตัวเองเข้าใจคนเดียวไม่ได้ ต้องตั้งราคาหรือถ้อยคำที่ให้คนซื้ออ่านแล้วเข้าใจว่ามันเป็นอย่างนั้น แต่เค้าไม่ได้มีข้อย่อยระบุชัดเจนเลยว่าแบบใดต้องผิด แบบใดห้ามตั้ง เค้าวัดเอาจากคนซื้อ จากความรู้สึกคนซื้อที่อ่านและมองแล้วรู้สึกหรือเข้าใจว่า ที่ประกาศมันเป็นอย่างไร มันละเอียดและหลากหลายประเด็น ยังไม่สามารถออกกฏระบุชี้ชัดตรงตัวได้ว่าแบบนี้ผิด แบบนี้ไม่ผิด ในเกมส์มันแค่ทีมงานตัดสิน เมื่อตัดสินแล้วก็ลงโทษ เค้าไม่ได้ให้ทั้งสองฝ่ายทำสำนวนมาหักล้างสู้กัน แต่บทสรุปลงท้ายของทั้งในเกมส์และชีวิตจริงมันจะลงที่จุดเดียวกันของการตัดสินคือ อัยการและลูกขุนลงความเห็น บางทีต่อให้เสียข้างมากจากโพลสำรวจคุณว่าไม่คิดว่าถ้วนตั้ง 700 ตน คุณดูเหมือนถูกละ แต่เค้าลงความเห็นว่าผิด คุณก็ผิดน๊ะ ของเกมส์ถ้าทีมงานตัดสินแล้วว่าผิดหรือไม่ผิด มันก็คือสิ้นสุดการไต่สวนและลงโทษ แต่ในชีวิตจริงคุณอุทรณ์ได้ ในเกมส์ได้มั้ยผมไม่รู้ เค้ามีเปิดให้ทำได้รึเปล่าไม่ทราบ ในชีวิตจริงเราก็มีตั้งหลายคดีที่ใครๆก็ดูแล้วว่ามันผิด แต่มันก็กลับไม่ผิดได้ เยอะแยะมาก บางคดีดังแบบไม่อายใครเลย