GAMEINDY กระดานสนทนา
www.gameindy.com

↓.~ สงคราม ประวัติศาสตร์ ~.↓

_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99
ทหารทั้ง ๒ กองร้อยเคลื่อนที่พ้นทุ่งนาเข้าไปแล้ว ระเบิดควันสีเขียวสีม่วงสีเหลืองถูกเหวี่ยงออกไปเป็นสัญญาณบอกแนวให้นักบินรู้ว่ากำลังของเราอยู่ที่ไหน กันชิพทั้งสองเครื่องต่างผลัดเปลี่ยนกันกระหน่ำเสียจน ผกค. โงหัวไม่ขึ้น พอกระสุนปืนและจรวดหมดก็บินกลับไปโหลดให้ โดยเปลี่ยนให้ บ.จล. ๒ “สปุ๊กกี้” ของกองทัพอากาศซึ่งบินวนคอยทีอยู่แล้วลงกระหน่ำด้วยปืน“มินิกัน” ที่มีอัตราการยิงมากกว่า ๖,๐๐๐ นัดต่อนาที

เท่านั้นยังไม่หนำใจพอ “สปุ๊กกี้” จากไป ปืนใหญ่จากฐานยิงบนเขาค้อเริ่มบรรเลงซ้ำลงยังที่หมายเดิมเป็นวงกว้าง เสียงระเบิดตูมตาม ต้นหมากรากไม้ล้มระเนระนาดทั้งหินทั้งดินฟุ้งกระจายสะเกิดปลิวว่อนจนเราต้องหลบกันจ้าละหวั่น เพราะเป็นการยิงในระยะใกล้แนวของทหารภาคพื้นดิน ผู้ตรวจการณ์หน้า (ผตน.) ต้องตะโกนกรอกวิทยุเสียงลั่นให้ยิงห่างแนวออกไปหน่อย ภารกิจยิงของปืนใหญ่ครั้งนี้รู้สึกสะใจจริงๆ เพราะเป็นการยิงติดต่อกันยาวนานนับชั่วโมง

พอปืนใหญ่เงียบเสียงไป คราวนี้ ร้อย ร.๔๔๒ กับ ร้อย ร. ๔๔๓ ก็ชาร์ทเข้าไปโดยอัตโนมัติ กำลังทั้งสองกองร้าอยเข้าไปลุยอยู่ในบริเวณสำนักทหารช่างก่อนแล้วเลยเข้าไปที่ รร.การเมืองการทหาร เผาให้มันวายวอดไปเลย หมูเห็ดเป็ดไก่วิ่งกันกระเจิงเสียง กระโต๊กกระต๊ากดังลั่นป่าไปหมด ผกค.หนีกันเตลิดเปิดเปิงเห็นหัวสลอนวิ่งเข้าป่าไปปักหลักสู้อยู่ตามคูยิงและบังเกอร์ที่มีอยู่อย่างมากมายในบริเวณนั้น ทิ้งศพเพื่อนนอนตายไว้ตามสุมทุมพุ่มไม้นับได้เกือบ ๒๐ ศพ โดยมีทหารไล่ตามขยี้อย่างดุเดือด

เสียงปืนดังกึกก้องไฟลุกข้ามจากหลังโน่นไปหลังนี้ติดต่อกันไปเป็นบริเวณกว้างหลายไร่ ทหารที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตถูกนำออกจากป่าอย่างทุลักทุเลแล้วนำไปคอย ฮ. อยู่ที่บริเวณทุ่งนาเพื่อรอส่งกลับส่วนหลังต่อไป

หลังจากศึกถล่มศูนย์ประสาท ผกค. เขต ข.๓๓ ผ่านไป ผู้พันหาญสั่งให้ตรวจค้นทันที สิ่งของ อาวุธยุทโธปกรณ์ เครื่องมือช่าง เอกสารสำคัญต่างๆ ถูก ผกค. นำไปซุกซ่อนไว้ตามอุโมงค์ โดยเฉพาะที่ริม ลำน้ำเข็ก พวก ผกค. ได้ขุดอุโมงค์ไว้ เรียงกันเป็นตับเต็มตลิ่งไปหมด และใช่ว่าจะขุดกันตื้นๆ เสียด้วย แต่ละแห่งจุคนได้ไม่น้องกว่า ๕ คนขึ้นไป

ในวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๒๔ ผู้พันหาญได้สั่งให้กำลังเข้าโจมตีสำนักนาเคลื่อนที่ ซึ่งอยู่ห่างจากสำนักทหารช่างและ ร.ร. การเมืองการทหารไปประมาณ 2 กม. แต่การต่อสู้กับ ผกค. ที่นี่ไม่หนักหนาเท่าไรนัก เพราะ ผกค. ได้นำกำลังจากที่หมายนี้ไปช่วยสู้รบที่สำนักทหารช่างและ ร.ร. การเมืองการทหารหมด จึงเหลือกำลังอยู่ไม่กี่คน การรบจึงไม่รุนแรง

ตามแผนที่กำหนดไว้นั้น จะใช้ ฮ. เคลื่อนย้ายกำลังทางอากาศลงสู่ฐานที่มั่นของ ผกค. ในบริเวณหนองแม่นาพร้อมกัน ๒ กองพัน คือ พัน. ร. ๓๔๔๔ และ พัน. ร. ๓๔๔๗ แต่ด้วยเหตุผลบางประการ ใน วันที่ ๒๐ ก.พ. ๒๕๒๔ จึงได้ส่ง พัน. ร. ๓๔๔๔ ลงไปก่อนเพียงกองพันเดียว ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ส่วน พัน. ร. ๓๔๔๗ นั้นได้เคลื่อนย้ายกำลังเข้าที่หมายในวันที่ ๒๑ ก.พ. ๒๕๒๔

พัน. ร. ๓๔๔๗ เป็นกองพันผสมระหว่างทหารจากกรมทหารราบที่ ๔ กับกรมทหารราบที่ ๗ กองพันนี้อยู่ในบังคับบัญชาของ พ.ต. ประสม สอนปาน ภารกิจที่ได้รับมอบหมายคือ การกวาดล้าง ผกค. และทำลายโรงพยาบาลเขต สำนักพลาธิการเขต ๑๕ พลาธิการกองร้อย ซึ่งที่หมายทั้งหมดนี้อยู่ที่บริเวณตีนเขาย่า ใกล้กับหมู่บ้านทุ่งแดงชิงชัยใหม่ มีทหารบ้านติดอาวุธจำนวนหนึ่งเฝ้ารักษาไว้อย่างแข็งแรง

นักบิน ฮ. และช่างเครื่องต้องทำงานหนักกันอีกครั้งหนึ่ง เพราะ ฮ. ที่นำมาใช้ในการเคลื่อนย้ายครั้งนี้ก็คือ ฮ. ชุดเดียวกับเมื่อวันที่ ๒๐ ก.พ. ๒๕๒๔ ฮ. ทุกเครื่องได้ถูกนำไปรวมไว้ ณ ที่แห่งหนึ่งในเพชรบูรณ์ตั้งแต่เมื่อพลบค่ำแล้ว การเตรียมการเป็นไปอย่างคึกคัก พล.ต. ระลอง รัตนสิงห์ พ.อ. พิจิตร กุลละ-วนิชย์ พ.อ. สุรเชษฐ์ เดชาติวงศ์ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายอื่นๆ วิ่งวุ่นกันตั้งแต่เช้า เพราะขณะนี้หน่วยต่างๆ ที่กำลังปฏิบัติการอยู่ในพื้นที่หนองแม่นาได้รายงานเข้ามาเป็นระยะ ๆ บางหน่วยยึดที่หมายได้กำลังรอรับคำสั่งปฏิบัติต่อไป บางหน่วยร้องขอ ฮ. เพื่อไปรับผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต บางหน่วยร้องขอกระสุนและเสบียงเพิ่มเติม

ครั้นได้เวลาประมาณ ๐๕.๐๐ น. ขณะนี้ ฮ. ทุกเครื่องติดเครื่องรอพร้อมอยู่แล้ว พอทหารจาก พัน.ร. ๓๔๔๗ กองร้อยแรกขึ้นประจำที่เรียบร้อยแล้ว ฮ. ลำเลียงทั้ง ๑๐ เครื่อง ได้ทยอยกันขึ้นตามลำดับมุ่งไปทางบ้านเล่าลือ โดยมี ฮ. กันชิพ ๔ เครื่องบินคุ้มกันไปตลอดทาง เมื่อถึงพื้นที่เหนือเป้าที่ได้กำหนดให้เป็นที่ร่อนลงจอดของ ฮ. แต่ละเครื่อง จึงได้ลดระดับเพื่อเตรียมปล่อยทหารลง....
ไอ้พวกแม้วแดงซึ่งคอยทีอยู่แล้วก็เริ่มแผลงฤทธิ์ยิงถล่มไปที่ ฮ. ทันที ซึ่งมันคงหวังอย่างยิ่งว่าวันนี้ต้องซัด ฮ. ให้ระเบิดกลางอากาศให้ได้อย่างน้อยหนึ่งเครื่อง

เพราะเมื่อวานนี้พวกมันเสียท่าถูกจู่โจมโดยไม่รู้ตัว มันระดมยิงอย่างไม่ลืมหูลืมตา กระสุนมีเท่าไรมันซัดเข้ามาเป็นห่าฝน แต่ฝ่ายเราก็รู้ตัวมาก่อนแล้วว่าวันนี้มันต้องเล่นหนักแน่ เพราะฉะนั้นแทนที่จะปล่อยให้มันเล่นเอาฝ่ายเดียว ปืนทุกกระบอกทั้ง เอ็ม-๖๐ บน ฮ. และอาวุธประจำกายของทหารแต่ละคนที่อยู่บน ฮ. จึงซัดสวนลงไปเสียงดังสนั่นหวั่นไหว เท่านั้นยังไม่พอ ฮท. ๑ (กันชิพ) ซึ่งบินวนคอยทีอยู่ก่อนแล้วยังช่วยถล่มลงไปอีกจนในเงยหัวไม่ขึ้น

แต่ถึงแม้ว่าจะยิงถูกต่อต้านจากภาคพื้นดินหนาแน่นเพียงไร นักบินผู้กล้าจากศูนย์การบินทหารบกก็สามารถส่งทหารทั้งหมดลงสู่ที่หมายได้ตามแผน พอตั้งตัวได้ก็เคลื่อนเข้าหาโรงพยาบาลเขตทันที เพราะมองจากพื้นที่ส่งลงก็สามารถเห็นหลังคาของโรงพยาบาลเขตอยู่ในชายป่าข้างหน้าแล้ว และพอขยับเข้าไปใกล้ ผกค. อีกกลุ่มหนึ่งซึ่งคอยต้อนรับอยู่แล้วก็ส่งไอ้หัวปลีมรณะออกมาทักทายทันที

“กรั้ม...ๆ...ๆ...ๆ...ๆ...ๆ” ติดตามด้วยเสียง “เปรี้ยง...ๆ...ๆ...ๆ...ๆ...ๆ...” ซึ่งเป็นเสียงปืนอาร์ก้าและเซกาเซ่อย่างถี่ยิบ "ไม่เป็นไร เอ็งยิงได้ยิงไป ข้าก็มีสิทธิยิงได้เหมือนกัน" ทหารทุกนายบุกเข้าไปเป็นแถวหน้ากระดาน รุกคืบหน้าใกล้เข้าไปตามลำดับ และพอใกล้เข้าไป กับระเบิดที่ ผกค. วางไว้อย่างหนาแน่นก็ระเบิดตูมๆ นักรบของเราพลีชีพไป ๒ นาย และจากนั้น ร.ท. พรธเณศร์ สุนทรเกส ผบ. ร้อย ก็สั่งให้เคลื่อนที่ช้าลง

ในช่วงที่ฝ่ายทหารชะลอการบุกนั่นเอง ที่ฝ่าย ผกค. ได้ฉวยโอกาสถล่มด้วยอาวุธนานาชนิดอีกครั้งหนึ่ง แล้วดาหน้าเฮโลออกมาจากชายป่าหวังจะอัดให้ละลายไปในพริบตา ร.ท. พรธิเณศร์ สั่งทหารทุกนายสู้ตายทันที เสียงปืนและลูกระเบิดมือดังสนั่นหวั่นไหว การรบเป็นไปอย่างดุเดือด ทุกคนยิงอย่างไม่ยั้งมือ บางคนยิงจนกระบอกปืนกลายเป็นสีแดงเพราะความร้อน การปะทะเป็นไปอย่างหนักกินเวลาเกือบ 3 ชั่วโมง ผกค. แตกกระเซอะกระเซิงหลบหนีเข้าป่าไปแล้ว ร.ท. พรธเณศร์ สั่งไม่ใช้ติดตามหรือเข้าตรวจค้นใดๆ ทั้งสิ้น เพราะกลัวว่าอาจจะถูกกลลวงให้เราเข้าสู่พื้นที่สังหารก็ได้

ห่างจากพื้นที่ปะทะบริเวณโรงพยาบาลเขตไปเล็กน้อย ฮ. เที่ยวที่สองได้นำทหารจาก พัน.ร. ๓๔๔๗ อีกกองร้อยหนึ่งลงสู่ที่หมายแล้ว ทหารกองร้อยนี้มีหน้าที่เข้าทำลายสำนักพลาเขตซึ่งอยู่ใกล้เคียงกัน และเช่นเดียวกับทุกครั้ง ผกค. ที่แอบซ่อนอยู่ตามหุบเขาก็ยิงต้อนรับอีกเช่นเคย แต่คราวนี้ความหวังของมันที่จะระเบิด ฮ. ก็เกือบจะเป็นผลสำเร็จ เพราะ ฮ. เครื่องหนึ่งที่บรรทุกทหารมาถูกยิงเข้าที่สุดสำคัญจนเครื่องดับ เซถลาลงมากับพื้นดินและทำท่าจะพลิกหงายท้อง จ.ส.อ. พรศักดิ์ แก้วประสิทธิ์ ช่างเครื่องรีบกระโดดลงมาจาก ฮ. ผลักทหาร ๔-๕ นาย ให้ออกไปพ้นรัศมี มิฉะนั้นอาจจะถูก ฮ. ทับแบน

แต่เดชะบุญ ฮ. ที่ทำท่าจะพลิกตะแคงจนฐานสกีข้างหนึ่งชี้ฟ้านั้นเกิดพลิกตัวกลับได้อย่างปาฏิหาริย์ และเครื่องก็เกิดติดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง นักบินจึงรีบนำเครื่องโผขึ้นสู่อากาศทันที โดยหารู้ไม่ว่าขณะนี้ จ.ส.อ. พรศักดิ์ ยังวิ่งหลบกระสุนของ ผกค. อยู่ข้างล่าง ต่อมาเมื่อนำเครื่องกลับมาถึงลานจอดแล้วจึงนึกขึ้นได้ว่าช่างเครื่องของตนหายไปคนหนึ่ง จึงตามตัวกันจ้าละหวั่นตามหาเท่าไรก็ไม่พบเลยวิทยุไปที่หน่วยซึ่งปล่อยลงเมื่อสักครู่ จึงได้รู้ว่า จ.ส.อ. พรศักดิ์ ตกค้างอยู่ที่นั่น แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถไปรับได้เพราะหน่วยกำลังปะทะหนัก จ.ส.อ. พรศักดิ์ ก็เลยต้องจับปืนช่วยเขารบไปพลางๆ ก่อน วันรุ่งขึ้นหลังจากที่เหตุการณ์เบาบางลงจึงได้นำ ฮ. ไปรับกลับมารับขวัญเป็นการใหญ่ เรื่องนี้ก็เลยกลายเป็นเรื่องฮาไม่สิ้นสุดจนทุกวันนี้..

ในวันที่ ๒๒ ก.พ. ๒๕๒๔ ร.ท. พรธเณศร์ ผบ.ร้อย ได้สั่งทหารให้บุกเข้าโจมตีโรงพยาบาลเขตอีกครั้งหนึ่ง เพราะเจ็บใจที่เมื่อวานนี้ถล่มไม่สำเร็จ แถมเมื่อคืนนี้มันยังตามมากวนตลอดคืนอีกด้วย วันนี้ต้องเอาให้แหลกให้ได้ โดยให้ปืนใหญ่ยิงเข้าถล่มเข้าไปก่อนตั้งแต่เช้าตรู่ จากนั้นก็ให้ ฮ. กันชิพ เข้ายิงถล่มซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
หลังจากที่ ฮ. กันชิพ บินผละออกไปจากที่หมายไปแล้ว ร.ท. พรธเณศร์ ก็สั่งให้ทหารชุดแรกเคลื่อนที่เป็นหัวหอกเจาะนำเข้าไป และให้ทหารอีกสองส่วนแยกเข้าตีปีกซ้ายปีกขวา

นาทีระทึกใจใกล้เข้ามา....ทหารทั้งหมดค่อยๆ เคลื่อนที่ไปอย่างช้าๆ เพราเกรงใจกับระเบิดที่เจ้าของบ้านวางดักเอาไว้ พอเข้าใกล้เข้าไปห่างจากที่หมายประมาณ ๑๐๐ เมตร ปืนทุกกระบอกทุกชนิดก็เปิดฉากยิงถล่มขึ้นเกือบจะพร้อมๆ กัน เสียงปืนฝ่าย ผกค. ก็ตอบโต้มาทันใจเหมือนกัน

“เปรี้ยง...ๆ...ๆ...ๆ...ๆ...ๆ...”

“กรั้ม...ๆ...ๆ...ๆ...ๆ...ๆ” ไฟจากท้ายกระบอก อาร์พีจีของมันพุ่งไปข้างหลังขณะยิงเสียงดัง “ฟั่บ...ๆ...”

“กรั้ม...ๆ...ๆ...ๆ” จรวดอาร์พีจี ตกใกลักับทหารฝ่ายเราสะเก็ดปลิวว่อน ทหารที่ถูกสะเก็ดร้องโอยๆ ไป ๒-๓ นาย

คราวนี้ไม่ต้องเลี้ยงต่อไปแล้ว อาวุธมีเท่าไรถล่มเข้าไปไม่นับ เสียงสนั่นหวั่นไหว บางคนลุกวิ่งพรวดเข้าไปขว้างลูกระเบิดมือดัง หวือ....ตูม ดินกระจาย สะเก็ดปลิวว่อน
ร.ท. พรธเณศร์ สั่งทหารบุกเข้าไปอย่างไม่กลัวตาย ตัวเองวิ่งกราดปืนนำหน้าไปก่อน จนพลวิทยุตามเกือบไม่ทัน.... แต่แล้วพอเกือบถึงที่หมายอยู่รอมร่อก็มีเสืยงดัง.... “บึ้มส์.....”

ร่างของ ร.ท. พรธเณศร์ ถลากระเด็นลอยคว้างเพราะไปเหยียบกับระเบิดเข้า ทหาร ๒ นายโผเข้าประคองลากถอยออกมา ไม่เป็นไรครับ... เพียงแค่ขาซ้ายเละ ข้อเท้าขวาหมุนได้รอบ เลือดไหลไกรกยังกับน้ำประปา แต่ถึงกระนั้นผู้หมวดใจเด็ดก็ยังป้องปากตะโกนลั่น “เอาเข้าไป...เหยียบมันให้แหลกคาตีน...ทางนี้ไม่ต้องห่วง...”

เท่านั้นเองทหารไม่ต้องคืบต้องคลานกันอีกแล้ว ทุกคนวิ่งพรวดเข้าชาร์ทไปทันที ไอ้แม้วเห็นท่าไม่ดีเพราะยิงสกัดเท่าไรก็ไม่อยู่ ยิ่งยิงทหารยิ่งบุก มันหวดด้วยอาวุธทุกชนิดเป็นครั้งการสั่งลาแล้วโกยแน่บเข้าไป ทิ้งเพื่อนฝูงหลายคนเละเป็นปลากระป๋องอยู่ทางนี้เลือกสาดแดงฉานไปหมด ป่านนี้ได้พวกหมอกับพยาบาลซึ่งมีอยู่ประมาณ ๓๐ คน คงจะเปิดแน่บไปนานแล้ว ทิ้งให้พวกทหารบ้านซึ่งน่าจะมีอยู่ประมาณ ๓๐ คน สู้อยู่กับทหาร

พอทุกคนย่างเหยียบเข้าไปถึงที่หมายก็ไม่ฟังเสียง จ่อไฟแช๊กเข้าที่ชายคาบ้านซึ่งมุงด้วยแฝกไฟก็ลุกพึ่บพั่บควันโขมง ไม่กี่อึดใจโรงพยาบาลเขตของพวกมันก็ตกอยู่ในกองเพลิงซึ่งกำลังลุกไหม้อย่างรวดเร็วด้วยแรงลม และในขณะเดียวกับที่กองร้อยที่ ๑ ของพัน ร. ๓๔๔๗ เข้าโจมตีโรงพยาบาลแห่งนี้ กำลังอีกกองร้อยก็กำลังถล่มสำนักพลาเขตของ ผกค. อยู่อย่างเมามัน

โดยสังเกตได้จากเสียงปืนทุกชนิดที่ดังอื้ออึงไปหมด บนท้องฟ้า ฮ. กันชิพหลายเครื่องบินว่อนเหมือนฝูงเหยี่ยว จิกหัวลงยิงซ้ำแล้วซ้ำเล่า เช่นเดียวกับที่โรงพยาบาลเขต ที่การเข้าตีที่หมายมีความดุเดือดไม่แพ้กัน เพราะสำนักพลาเขตมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าที่หมายแห่งอื่นๆ เพราะเป็นคลังมหึมาที่เก็บอาวุธยุทโธปกรณ์ เครื่องเวชภัณฑ์ และอุปกรณ์สายพลาฯ

รวมทั้งอาวุธกระสุนที่สะสมไว้เพื่อรอลำเลียงไปสนับสนุน ผกค. ที่จังหวัดตากด้วย คลังต่างๆ ที่มีอยู่กว่า ๑๐ หลังล้วนแล้วมีแต่ขนาดใหญ่โตทั้งสิ้น ซึ่งแน่ละที่เจ้าของต้องหวงเป็นธรรมดา เพราะถ้าคลังแห่งนี้ถูกทำลายได้เมื่อใดก็หมายความว่าอาวุธกระสุนที่รวบรวมไว้จำนวนมหาศาลจะต้องวอดวายไปด้วย แล้ว ผกค. เหล่านี้จะสู้อยู่ได้อย่างไร เพราะมีปืนก็เหมือนมีสากกะเบืออันหนึ่งเท่านั้นเอง...!!



Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99



ล้มเหลวไม่ใช้เเปลว่าจะจบสิ้นความหวังไปหมด


ว่างๆจะมาต่อ ตอนนี้ขอไปขายของทำมาหากินก่อนครับ woon_5555


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99



<ภาพ> : เครื่องบินแห่งประวัติศาสตร์ B-29-45-MO หมายเลข 44-86292 ทะเบียน 82 ของฝูงบินทิ้งระเบิดที่ 393 "Enola Gay" ขึ้นบินจาก Mariana Islands ไปทิ้งระเบิดปรมาณูลูกแรก "Little Boy" ณ เมืองฮิโรชิมาในวันที่ 6 สิงหาคม 1945 ...

ภายหลังจากการโจมตีแบบไม่ทันให้ตั้งตัวที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ กองกำลังอเมริกาก็เข้าสู่สงครามและได้ต่อสู้ฟันฝ่าเพื่อชิงดินแดนในแถบแปซิฟิกคืนทีละเกาะๆ แต่ทัพหลักของญี่ปุ่นยังคงไม่บุบสลายและไม่เคยแพ้ อเมริกาเคยลองใช้ระเบิดเพลิงเพื่อทำให้ญี่ปุ่นยอมแพ้ เมืองแล้วเมืองเล่ากลายเป็นซากปรักหักพัง แต่ฝ่ายญี่ปุ่นก็ยังไม่ยอมจำนน

ดังนั้น เวลานี้ฝ่ายสัมพันธมิตรจึงมีแนวโน้มที่จะต้องบุกอย่างเต็มอัตรา โดยที่บางคนประมาณการว่าพวกเขาอาจต้องเผชิญกับความสูญเสียมากมาย ทหารอาจบาดเจ็บล้มตายถึงหนึ่งล้านนาย และฝ่ายญี่ปุ่นก็ต้องสูญเสียมากกว่านั้นเยอะ ญี่ปุ่นสมัยนั้น จักรพรรดิคือประมุขของประเทศ และยังเป็นเทพที่มีชีวิต แต่อำนาจอยู่ที่คณะที่ปรึกษาพิเศษซึ่งกำกับกิจการสงคราม

นายกรัฐมนตรีซูซูกิและรัฐมนตรีต่างประเทศโทโกกำลังพิจารณาว่าจะยุติสงครามตามที่มีการเจรจาต่อรอง แต่รัฐมนตรีกองทัพ นายพลโคเรชิกะ อานามิ ยังมุ่งมั่นที่จะสู้ต่อไป แผนของอานามิคือการสู้รบขั้นแตกหักเต็มอัตราศึก อเมริกาได้ถอดรหัสลับของญี่ปุ่น จึงทราบดีว่า การเรียกร้องให้ยอมจำนนอย่างสิ้นเชิงโดยไม่มีเงื่อนไขจะถูกฝ่ายญี่ปุ่นมองว่าเป็นการคุกคามองค์จักรพรรดิ ดังนั้นพวกเขาจึงตัดสินใจเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข และเสนอทางออกแก่ฝ่ายญี่ปุ่น

วันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1945 : คำขาดที่ผ่านการแก้ไขแล้วได้ถูกส่งไปยังญี่ปุ่นทางคลื่นวิทยุ แต่ดูเหมือนเงื่อนไขการยอมจำนนที่อ่อนลงนี้จะก่อให้เกิดผลในทางตรงกันข้าม นายกรัฐมนตรีซูซูกิประกาศว่ารัฐบาลของเขาจะไม่สนใจแถลงการพ็อทสแดม เขาใช้คำว่า "โมกุซัทสึ" ซึ่งแปลว่า การฆ่าโดยไม่แยแส

ดังนั้น โดยนับจากวินาทีนั้น การทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมาจึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ลูกระเบิดเดินทางจากซานฟรานซิสโกโดยเรือ ยูเอสเอส อินเดียนาโปลิส ข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกเป็นเวลาสิบวัน จนไปถึงเกาะทิเนียน ซึ่งจากจุดนั้นใช้เวลาบินไปถึงญี่ปุ่นเพียงหกชั่วโมงเท่านั้น

เกาะทิเนียน คือ ฐานทัพอากาศใหญ่ที่สุดในโลก มีรันเวย์ขนาดใหญ่ 4 รันเวย์ เป็นที่เก็บเครื่องบิน บี-29 ซูเปอร์ฟอร์ทเตรส กว่า 500 ลำ และยังเป็นที่มั่นของหน่วยผสมที่ 509 กลุ่มคนที่จะทิ้งระเบิดปรมาณูใส่ญี่ปุ่น หัวหน้าหน่วยแห่งนี้คือ นาวาเอกพอล ทิบเบ็ตส์ ซึ่งมีประสบการณ์โชกโชนในการทิ้งระเบิดต่อสู้กับเยอรมัน เขามีลูกเรือคนสำคัญสองคนคือพลเล็งเป้า ทอม เฟอเรอบี และต้นหน ดัทช์ ฟาน เคิร์ค

เย็นวันที่ 4 สิงหาคม 1945 พอล ทิบเบ็ตส์เรียกคนของเขามาประชุมกัน ภารกิจการทิ้งระเบิดถูกกำหนดไว้สำหรับคืนต่อไป วันที่เมฆเหนือประเทศญี่ปุ่นมีทีท่าว่าจะปลอดโปร่ง แต่เช้าตรู่ของวันรุ่งขึ้นบรรดาลูกเรือบนเกาะทิเนียนต้องตื่นขึ้นมาเพราะเสียงดังสนั่น เครื่องบินบี-29 ตกที่รันเวย์อีกครั้ง เครื่องบินตกครั้งนี้ทำให้ พอล ทิบเบ็ตส์ ในฐานะผู้บัญชาการ ตัดสินใจที่จะขับเครื่องบินโจมตีลำนี้เอง และเขาเลือกชื่อของเครื่องบินตามธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันมา

คืนนั้น ในช่วงนาทีสุดท้ายก่อนออกเดินทาง มีการสรุปภารกิจให้ลูกเรือทุกคนที่กำลังจะมุ่งหน้าไปฮิโรชิมาฟังเป็นครั้งสุดท้าย ภารกิจนี้เป็นความลับมาก ทิบเบ็ตส์ได้รับยาเม็ดฆ่าตัวตายไว้ใช้ในกรณีที่พวกเขาถูกฝ่ายญี่ปุ่นจับได้ เจ้าหน้าที่ถ่ายภาพนิ่งและภาพยนตร์ได้รับคำสั่งให้บันทึกภารกิจประวัติศาสตร์ครั้งนี้

ระเบิดลูกนี้หนักกว่าสี่ตัน ทำให้การทะยานขึ้นมีอันตรายมากกว่าปกติ หลังจากทะยานขึ้นไป 15 นาที ขณะที่เครื่องบินยังอยู่ในระดับต่ำ พาร์สันส์ก็พร้อมแล้วที่จะประกอบระเบิด พวกเขารู้ว่าความผิดพลาดเพียงครั้งเดียวอาจทำให้ภารกิจทั้งหมดล้มเหลวได้ สองชั่วโมงต่อมา เครื่องบิน อีโนล่า เกย์ สมทบกับเครื่องบินบันทึกภาพและข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ เวลานี้เครื่องบินทั้งหมดอยู่ห่างจากฮิโรชิมาราวสามชั่วโมง

6 สิงหาคม ค.ศ. 1945 เครื่องบินบี 29 อีกลำหนึ่งได้บินอยู่เหนือเมืองฮิโรชิมาเพื่อตรวจสอบสภาพอากาศ ทำให้ประชาชนตื่นกลัวและหลบอยู่ในที่กำบัง เครื่องบินตรวจสอบสภาพอากาศรายงานผลไปยัง อีโนล่า เกย์ และเมื่อเครื่องบินตรวจสอบอากาศบินเลยไปโดยไม่มีการโจมตี ช่วงนั้นดูเหมือนภัยคุกคามจะผ่านไปแล้ว แต่ต่อมาไม่นานเครื่องบิน อีโนล่า เกย์ ก็บินอยู่เหนือน่านฟ้าฮิโรชิมา

จากนั้นระเบิดลูกประวัติศาสตร์ก็ถูกปล่อยออกมา หลังจากหล่นลงมา 43 วินาที กลไกที่ทำงานตามเวลาและแรงดันอากาศก็เริ่มกระบวนการจุดระเบิด กระสุนยูเรเนียมถูกยิงไปตามลำกล้องเข้าใส่ยูเรเนียมที่เป็นเป้าหมาย ยูเรเนียมทั้งสองเริ่มทำปฏิกิริยาลูกโซ่ อณูของแข็งเริ่มแตกตัวและปล่อยพลังงานออกมาในปริมาณมหาศาล

ระเบิดปล่อยอานุภาพทำลายล้างออกมาทีละขั้น ประกายไฟที่ออกมาจากลูกไฟยักษ์ที่กว้างถึง 300 เมตร ทำให้อุณหภูมิที่อยู่ด้านล่างลูกไฟนั้นสูงถึง 4,000 องศาฯ รังสีความร้อนหลอมละลายทุกอย่างที่อยู่ในที่โล่งถ้าไม่ระเหยกลายเป็นไอ ก็กลายเป็นเถ้าถ่านไปในทันที ปฏิบัติการของทหารอเมริกันครั้งนั้นคร่าชีวิตคนไปเป็นจำนวนมากกว่าแสนราย

แต่ตอนนั้นญี่ปุ่นยังไม่ประกาศยอมแพ้และยังคงทำการสู้รบต่อไปแบบยอมตายถวายหัว ทำให้ระเบิดปรมณูลูกที่ 2 คือ "แฟตแมน" ก็ได้ถูกหย่อนลงยังเมืองนางาซากิ ส่งผลให้ผู้คนล้มตายไปเป็นจำนวนมาก และจากการทิ้งระเยิดทั้ง 2 ลูกนี้ ถือเป็นหนึ่งในเหตุให้ญี่ปุ่นยอมแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ปิดฉากการสู้รบลง..


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99


ภาพในอดีตของ ร.ล.สินสมุทร 1 ใน 4 เรือดำน้ำไทย โดยมีวันเรือดำน้ำ ซึ่งตรงกับวันที่ 4 กันยายน ของทุกปี ที่ซึ่งบรรดาทหารเรือที่เคยประจำการในเรือดำน้ำ ได้ถือเอาวันนี้เป็นวันที่ระลึกเรือดำน้ำ สืบเนื่องจากเมื่อ 4 กันยายน พ.ศ.2480 ก็ได้เรือดำน้ำ 2 ลำ จากจำนวน 4 ลำ ที่สั่งต่อจากบริษัทมิตซูบิชิ ที่ประเทศญี่ปุ่น คือ "เรือหลวงมัจฉานุ" และ "เรือหลวงวิรุณ" ซึ่งสร้างแล้วเสร็จ ทางบริษัทที่ญี่ปุ่นก็พร้อมที่จะส่งมอบให้แก่ราชนาวีไทย ดังนั้น ทหารที่ถูกจัดให้อยู่ประจำเรือทั้ง 2 ลำนี้ ได้กระทำพิธีรับมอบและลงประจำเรือตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และต่อมาก็ได้อีก 2 ลำที่เหลือ จนครบ 4 ลำ คือ "เรือหลวงสินสมุทร" และ "เรือหลวงพลายชุมพล" และถึงแม้กองทัพเรือจะปลดประจำการเรือดำน้ำชุดนี้ไปแล้ว แต่ในอดีต เรือดำน้ำเหล่านี้ ได้เป็นเขี้ยวเล็บที่เสริมสร้างนาวิกานุภาพของไทยให้เข้มแข็ง จนเป็นที่กล่าวขานและได้รับใช้ชาติอย่างสมบูรณ์ ในกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสและในสงครามมหาเอเชียบูรพา จนสงครามสงบโดยเรือดำน้ำทั้งหมดได้ปลดระวางประจำการไปเมื่อวันที่ 30 พ.ย. พ.ศ.2494 รวมเวลารับใช้กองทัพเรือเป็นเวลา 12 ปีเศษ เรื่องเรือดำน้ำจึงได้กลายเป็นอดีตไปแล้ว ก็เหลือเพียงแต่เรื่องราวที่อยู่ในความทรงจำของเหล่าทหารเรือไทยในยุคนั้น โดยกองทัพเรือได้จัดงานวันเรือดำน้ำขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สมาชิก อดีตทหารเรือที่เคยเป็นนักดำเรือดำน้ำ กลุ่มชมรมเรือดำน้ำ และนายทหารประจำการที่เคยศึกษาวิชาเรือดำน้ำยุคใหม่ได้พบปะสังสรรค์ และแลกเปลี่ยนความรู้กัน รวมทั้งยังเป็นการร่วมทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่นักดำเรือดำน้ำไทยที่ล่วงลับอีกด้วย


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99



ใน Battle of Palembang ปี 1942 กองทัพสมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่น ก็มีการใช้กำลังทหารหน่วยพลร่มเป็นกำลังหลัก โดยการส่งทางอากาศลงยังพื้นที่เป้าหมายโดยเครื่องบิน กำลังพลจากหน่วยพลร่ร่มของญี่ปุ่นนี้ ได้มีการเตรียมความพร้อมสำหรับจะบุกเข้า ณ ตอนใต้ของเกาะสุมาตรา ในเดือน กุมภาพันธ์ ปี 1942 โดยเมื่อเปิดยุทธการ กำลังจากหน่วยพลร่มของญี่ปุ่นก็ได้โรยตัวลงยังพื้นที่เป้าหมายคือ ทางภาคใต้ของเกาะสุมาตรา โดยทำการเริ่มโจมตีเป้าหมายทางทหารและที่ตั้งข้าศึก รวมทั้งโรงงาน สนามบิน และท่าเรือด้วย จนในที่สุดทำให้กำลังทหารของฝ่ายสัมพันธมิตรที่อยู่ในพื้นที่นี้ ถูกทำลายลงและต้องถอนตัวออกมาจากพื้นที่นั้น ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ปี 1942 ทั้งนี้ ในการรบของสงครามโลกครั้งที่ 2 แม้กำลังหน่วยพลร่มญี่ปุ่นจะมีไม่มากนักเมื่อเทียบกับพลร่มของอีกฝ่าย แต่การปฏิบัติการรบของพลร่มญี่ปุ่นก็ถือว่ามีประสิทธิภาพและน่าเกรงขามไม่น้อยเลยทีเดียว แต่ด้วยด้านยุทธวิธีการรบของกองทัพญี่ปุ่น ที่ไม่เน้นการใช้กำลังหน่วยพลร่ม จึงทำให้ไม่มีความโดดเด่นหรือไม่ค่อยเป็นที่รู้จักเหมือนหน่วยพลร่มฝ่ายสัมพันธมิตร โดยการรบครั้งนี้พลร่มญี่ปุ่นได้มีส่วนอย่างมากในการบุกสายฟ้าแลบจนกำลังทหารของฝ่ายสัมพันธมิตรในแถบนี้ต้านไว้ไม่ไหว ต้องถอยร่อนออกไป แต่ที่สุดแล้วญี่ปุ่นก็ได้ถูกตีโต้กลับในเวลาต่อมา ก่อนที่จะพ่ายในสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1945 เป็นอันปิดฉากการรบของสมรภูมิสงครามโลกครั้งที่ 2 ในพื้นที่ทะเลแปซิฟิกลง


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99



วีรบุรุษกองทัพเวียดนาม นายพล โวเหงียนเกี๊ยบ เสียชีวิตด้วยวัย 102 ปี ท่านเป็นวีรบุรุษแห่งกองทัพเวียดนาม "โว เหงียน เกียบ" หรือ “หวอ เงวียน ซ้าป” หลังจากจบการศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮานอย ก็ได้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเวียดนามของโฮจิมิห์น รวมถึงได้ร่วมก่อตั้ง “เวียดมินห์” หรือขบวนการต่อสู้เพื่อปลดปล่อยเวียดนามจากฝรั่งเศส เขามีชื่อเสียงจากการรบชนะฝรั่งเศสที่เดียนเบียนฟู และจากนั้นก็มีบทบาทสำคัญในการสู้รบกับอเมริกาในสงครามเวียดนามด้วย โดยเป็นยอดขุนพลคู่ใจของท่านโฮจิมินห์ด้วย โดยท่านเสียชีวิตแล้วด้วยวัย 102 ปี ในช่วงเย็นที่ผ่านมา (4 ก.ย.2556) ทั้งนี้ โวเหงียนเกี๊ยบ เกิดเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ.2454 เป็นนายทหารนอกราชการสังกัดกองทัพประชาชนเวียดนามและนักการเมือง เขาเป็นผู้บัญชาการหลักสงครามใหญ่ 2 ครั้ง คือ สงครามอินโดจีนครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2489-2497) และสงครามเวียดนาม (อีกนัยหนึ่งคือสงครามอินโดจีนครั้งที่ 2, พ.ศ.2503-2518) และมีส่วนร่วมในยุทธการครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์อันได้แก่ยุทธการที่หลั่งเซิน (พ.ศ.2493) ยุทธการที่ฮหว่าบิ่ญ (พ.ศ.2494-2495) ยุทธการที่เดียนเบียนฟู (1954) การรุกวันตรุษญวน (พ.ศ.2511) การรุกวันอีสเตอร์ (ในเวียดนามเรียกชื่อว่า "การรุกเหงียนเว้",พ.ศ.2515) และการทัพโฮจิมินห์ (พ.ศ.2518) นอกจากนี้ย้าบยังเป็นนักหนังสือพิมพ์ รัฐมนตรีมหาดไทยในรัฐบาลเวียดมินห์ของโฮจิมินห์ ผู้บัญชาการทหารของเวียดมินห์ ผู้บัญชาการกองทัพประชาชนเวียดนาม รัฐมนตรีกลาโหม และรับตำแหน่งในคณะกรมการเมือง (โปลิตบูโร) ของพรรคแรงงานเวียดนาม (พรรคลาวด่ง) อีกด้วย ซ้าบเป็นผู้บัญชาการทหารที่โดดเด่นที่สุดที่อยู่เคียงข้างโฮจิมินห์ในช่วงสงคราม และรับผิดชอบในการนำปฏิบัติการต่างๆ ที่สำคัญมาโดยตลอดจนกระทั่งสงครามยุติ นอกจากนี้เขายังเป็นที่จดจำว่ามีชีวิตอยู่ยืนยาวยิ่งกว่าประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นคู่สงครามทุกคน และเป็นนายทหารระดับสูงที่โดดเด่นที่สุดในช่วงสงครามเวียดนามซึ่งได้รับการยอมรับจากทั้งสองฝ่าย..


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99



[ภาพ] : ทหารป่าเวียตกง กำลังทำการวางทุ่นระเบิดเคลย์มอร์ ..

ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล "M18A1 เคลย์มอร์" (M18A1 Claymore anti-personnel mine) เป็นทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ที่ใช้งานโดยกองทัพสหรัฐ ออกแบบโดย "นอร์แมน แม็กลีออด เป็นผู้ตั้งชื่อทุ่นระเบิดชนิดนี้ตามศัพท์ภาษาแกลิกแบบสกอตว่า "เคลย์มอร์"

ระเบิดรุ่นแรกใช้ชื่อว่า เอ็ม18 เคลย์มอร์ ออกแบบขึ้นปี 1950 เริ่มใช้งานครั้งแรกในสงครามเวียดนาม ประกอบด้วยกล่องพลาสติกรูปโค้ง ภายในบรรจุซีโฟร์ และสะเก็ดสังหารเป็นลูกกลมเหล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1/8 นิ้ว จำนวน 700 ลูก เมื่อถูกจุดระเบิดลูกเหล็กจะพุ่งเป็นแนวรูปพัด ระยะประมาณ 100 เมตร ทำมุมประมาณ 60 องศา ความสูงประมาณ 2 เมตร ด้วยความเร็วประมาณ 1,200 เมตร/วินาที

การจุดระเบิดทำได้สามวิธีคือ ใช้ผู้ควบคุม ไม่ใช้ผู้ควบคุม (ทำงานโดยใช้สายลวด หรือระบบอื่นๆ เช่น สวิทช์แสง สวิทช์จับความเคลื่อนไหว สวิทช์สั่นสะเทือน) และระบบหน่วงเวลา สามารถทำความสูญเสียกับทหารราบและยานยนต์ไม่หุ้มเกราะ อีกอย่างในประเทศไทย บางครั้งมีผู้เรียกระเบิดชนิดนี้ว่า "เคโม" นั่นเอง

เคลย์มอร์ (Claymore) ถูกคิดค้นขึ้นโดยชาวสก๊อตแลนด์ จึงตั้งชื่อเรียกระเบิดชนิดนี้ว่า เคลย์มอร์ ที่มาจากชื่อดาบประจำชาติสก๊อตแลนด์อย่างดาบเคลย์มอร์ (Claymore Sword) นั่นเอง เป็นระเบิดที่มุ่งหวังสังหารบุคคลโดยเฉพาะ ในปัจจุบันระเบิดชนิดนี้ถูกผลิตขึ้นที่สหรัฐอเมริกา ชิลี และเกาหลีใต้ เป็นต้น

ลักษณะของระเบิดเคลย์มอร์นั้น เป็นรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งมีความโค้งเล็กน้อยและมีความยาว 220 มิลลิเมตร สูง 90 มิลลิเมตร หนา 50 มิลลิเมตร โดยมีเปลือกนอกเป็นพลาสติกเสริมใยแก้วสีเขียว และด้านในของระเบิดจะบรรจุลูกเหล็กขนาดเล็กติดกันเป็นแผงยาวหลายร้อยลูก อีกทั้งด้านหน้าของระเบิดจะมีข้อความที่ระบุชัดเจนว่า "Front Toward Enemy" หมายถึง ลักษณะการใช้งานที่ผู้ใช้ต้องหันด้านหน้าของระเบิดออกสู่ศัตรู เนื่องจากด้านหลังนั้นจะถูกทำการใส่ดินระเบิดเข้าไป อาจจะเป็นได้ทั้ง C-4 หรือ TNT แต่ส่วนมากแล้วจะนิยมใช้ดินระเบิด C-4 น้ำหนักราว 1 ปอนด์ หรือประมาณครึ่งกิโลกรัมมากกว่า

-> ดินระเบิดของ C-4 มีส่วนประกอบ 2 ส่วน ดังต่อไปนี้ < -

- 1. ดินระเบิด ที่จะมีลักษณะคล้ายดินน้ำมัน แต่ไม่สามารถติดไฟเองได้ ต้องอาศัยเชื้อประทุในการจุดชนวน
- 2. เชื้อประทุ มีลักษณะเป็นแท่ง เวลาจุดชนวนจะระเบิดคล้ายประทัด แต่มีอานุภาพรุนแรงกว่า

โดยระเบิดเคลย์มอร์แบบปกติจะมีกระบวนการทำงานด้วยการใช้มือจุดชนวน ซึ่งผู้จุดชนวนจะทำการฝังระเบิดไว้ และกดจุดชนวนเมื่อมีเป้าหมายเดินผ่านหรือใช้ลวดขึง (Tripwire) เพื่อให้เกิดการสัมผัสจากเป้าหมายจนเกิดระเบิดขึ้นก็ได้

ต่ในปัจจุบันได้มีการนำไปดัดแปลงด้วยการติดเซ็นเซอร์และระบบสั่นสะเทือนเข้าไป ให้ระเบิดเคลย์มอร์สามารถดักจับเป้าหมายได้เอง เพื่อลดเวลาในการติดตั้งระเบิดลง โดยใช้เซ็นเซอร์อย่าง อินฟาเรด หรือ เลเซอร์ที่เป็นลำแสงสีแดง สำหรับดักจับเป้าหมาย

สำหรับอานุภาพการทำลายล้างของระเบิดเคลย์มอร์นี้ สะเก็ดระเบิดจะทำงานไปในทิศทางเดียว ก็คือด้านที่หันเข้าใส่เป้าหมาย หรือด้านที่มีข้อความเตือนว่า Front Toward Enemy นั่นเอง เพราะว่ารัศมีการทำงานของระเบิดเคลย์มอร์ จะพุ่งไปในทิศทางที่ตั้งไว้เป็นมุมกว้าง 60 องศา สูงจากพื้นดิน 2 เมตร หวังผลในระยะ 50 เมตรแรก ระยะที่อันตรายที่สุดคือ 16 เมตร แต่ถ้าหากอยู่ไกลเกินกว่า 250 เมตร จะเป็นระยะที่ปลอดภัย..@/มินกอล์ฟ.

อย่างไรก็ตามก็ยังมีทหารที่รับมือกับระเบิดเคลย์มอร์นี้ในสนามรบ ด้วยการแอบคลานเข้าไปกลับด้านของระเบิดให้หันเข้าหาฝ่ายที่เป็นผู้จุดชนวนเอง ซึ่งเป็นจุดอ่อนในการใช้ระเบิดเคลย์มอร์อย่างมาก การใช้ระเบิดเคลย์มอร์แบบดัดแปลงติดเซ็นเซอร์จึงถูกนำมาใช้มากขึ้น เพราะระบบเซ็นเซอร์จะสามารถจุดชนวนตัวเองได้เมื่อมีเป้าหมายเข้าใกล้นั่นเอง.


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99



[ การทดสอบเครื่องบินโซเวียตของสหรัฐฯ ช่วงยุคสงครามเย็น ]

ในยุคสงครามเย็น โซเวียตสร้างเครื่องบินรบขึ้นรุ่นหนึ่ง โดยให้ชื่อว่า MiG-15 เครื่องบินรุ่นนี้โด่งดังมากในยุคสงครามเกาหลี และได้รับการยกย่องว่าเป็นเครื่องบินรบที่ดีที่สุดรุ่นหนึ่งในสงครามครั้งนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงต้นสงคราม และเชื่อกันว่าเป็นเครื่องบินรุ่นหนึ่งที่มีการผลิตออกมามากที่สุดในโลก โดยตัวเลขการผลิตของโซเวียตคือ 12,000 ลำ แต่ถ้าหากรวมกับส่วนที่โซเวียตได้ออกใบอนุญาตให้ประเทศอื่นๆ สร้างก็จะมีประมาณ 18,000 ลำ และด้วยระบบการออกแบบ และเทคโนโลยีอันล้ำหน้าของเครื่องบินในยุคนั้น ทำให้สหรัฐไม่มีทางตามทันในระยะเวลาอันใกล้ แต่สหรัฐฯ ก็อยากที่จะได้รู้ถึงความลับที่บรรจุอยู่ภายในเครื่องบินโซเวียตอย่างมาก ก็เลยใช้วิธีแบบง่ายๆ ธรรมดาๆ คือ ประกาศให้เงิน 100,000 ดอลล่าร์ ให้กับใครก็ตามที่นำเครื่องบินรุ่นนี้มาให้สหรัฐฯ ได้เป็นลำแรก แถมยังจะมีโบนัสโดยการให้อยู่ในอเมริกาด้วย และแล้ว ฝันของอเมริกาเป็นจริง เมื่อวันที่ 5 มีนาคม ปี 1953 เมื่อฟรานซิสเช็ค ยาเร็คกี้ นักบินแห่งกองทัพอากาศโปแลนด์ รัฐบริวารของโซเวียต นำเครื่องบินหนีมาลงจอดที่เดนมาร์ก ทางเดนมาร์กจึงได้ติดต่อมาที่อเมริกา ทำให้อเมริกาส่งให้ผู้เชี่ยวชาญไปตรวจสอบและทำการศึกษาเครื่องบินที่ว่านี้อย่างละเอียดเป็นครั้งแรก แต่ไม่กี่สัปดาห์ต่อมา แคนาดาก็ส่งเครื่องบินคืนให้ประเทศโปแลนด์ตามระเบียบของนานาชาติ ส่วนตัวนักบินก็รับเงินไป 50,000 ดอลล่าร์ และได้กลายเป็นพลเมืองของสหรัฐฯ ไปตามสัญญา ต่อมากองทัพอเมริกาก็ได้เครื่อง MiG-15 มาครอบครองจำนวน 1 เครื่อง ซึ่งคราวนี้เป็นฝีมือของนักบินแห่งกองทัพอากาศเกาหลีเหนือชื่อ "เรืออากาศโท โน คุม ซก, No Kum-sok" (คนดังภาพ) เขาบอกว่า ไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับรางวี่รางวัลอะไรเลย เขาแค่ขับเพื่อหนีทัพคอมมิวนิสต์เกาหลีเหนือ มาสวามิภักดิ์กับกองทัพเกาหลีใต้ และประสงค์จะอยู่ฝ่ายเกาหลีใต้ที่เป็นประชาธิปไตยมากกว่าฝ่ายพวกคอมมิวนิสต์ โดยเขาได้บินนำเครื่องมาลงจอดที่ฐานทัพอากาศคิมโปในในวันที่ 21 กันยายน ปี 1953 และในที่สุดเครื่องบินโซเวียตลำนี้ ก็ถูกฝ่ายอเมริกันนำขึ้นบินทดสอบสมรรถนะ รวมทั้งศึกษาระบบเครืองยนต์กลไกต่างๆ ทั้งภายนอกและภายในอยู่หลายครั้ง ทำให้ทราบรายละเอียดและรู้ถึงจุดอ่อน-จุดแข็ง ส่งผลให้การรับมือกับเครื่องมิกที่สงครามเกาหลีดีขึ้น หลังสงครามสงบและปัจจุบันเครื่องบินลำนี้ก็ถูกจัดตั้งแสดงไว้ ณ พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศสหรัฐฯ ใกล้เมืองเดย์ตัน รัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


ดีนเทพที่สุด

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 43
  • ชีวิตขาดเถื่อนไม่ได้
อยากรู้เรื่องวัน D-Dayอ่ะครับหามาให้ได้มั้ย woon_sad2
เห้ยเบื่อโคตรเลยเว้ยยยย


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99
อยากรู้เรื่องวัน D-Dayอ่ะครับหามาให้ได้มั้ย woon_sad2


Day 6th June 1944: วันดี-เดย์ 6 มิถุนายน พ.ศ.2487
เป็นวันเริ่มปฏิบัติการของฝ่ายสัมพันธมิตร ในสงครามโลกครั้งที่สองตามแผนโอเวอร์ลอร์ด (Overlord Operation ) มีพลเอก ดไวท์ เดวิด ไอเซนฮาวร์ (Dwight David Eisenhower) เป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพสัมพันธมิตรและพลเอกเบอร์นาร์ด ลอว์ มอนต์โกเมอรี (Bernard Law Montgomery) เป็นผู้บัญชาการภาคพื้นดินมีอำนาจบังคับบัญชาด้านยุทธการ กำหนดหาดนอร์มังดี 5 แห่งคือยูทาห์ (Utah) โอมาฮา (Omaha) โกลด์ (Gold) จูโน (Juno) และซอร์ด (Sword) เป็นเวลาที่พลเอกรอมเมล (Rommel) ของเยอรมนีไม่อยู่บัญชาการทัพ ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตร มีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น การยกพลขึ้นบกครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้น การปลดปล่อยกรุงปารีสจากการยึดครองของเยอรมนี เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ.1944 และเผด็จศึกยุโรปวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ.1945 เมื่อเยอรมนีต้องยอมจำนนโดยไม่มีเงื่อนไขที่เมืองแรงส์ (Reims)

D-Day เป็นศัพท์ทางทหาร หมายถึงวันที่การต่อสู้หรือปฏิบัติการจะเริ่มต้น ซึ่งไม่แน่ว่าจะใช้วันไหน   



Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛