GAMEINDY กระดานสนทนา
www.gameindy.com

↓.~ สงคราม ประวัติศาสตร์ ~.↓

_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99



เป็นความเชื่อของบุคคล อ่านกันควรพิจราณากันด้วยน๊ะคับผม



Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99



[ภาพ] : ขณะรถถังของอเมริกาและรถถังสหภาพโซเวียต ที่เผชิญหน้ากันในกรุงเบอร์ลินระหว่างวันที่ 27-28 ตุลาคม ปี 1961 ในยุคของสงครามเย็น โดยเหตุการณ์เผชิญหน้ากันครั้งนี้กินเวลาไปกว่า 16 ชั่วโมง ซึ่งได้มีการออกข่าวด้วย สาเหตุของการเผชิญหน้ากันครั้งนี้ดูข้อมูลได้จากเว็ปของต่างประเทศดังต่อไปนี้นี้ครับ

"สงครามเย็น" (Cold War) : ตามคำนิยามในหนังสือพจนานุกรมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ให้นิยามไว้ว่า -->

"The International Relations Dictionary" คือ ภาวะความตึงเครียด, ความเป็นปฏิปักษ์กันอย่างรุนแรงระหว่างมหาอำนาจตะวันตกกับค่ายคอมมิวนิสต์ของยุโรปตะวันออก ซึ่งเริ่มต้นขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติ และสิ้นสุดลงเมื่อระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ล่มสลายในสหภาพโซเวียต (Soviet Union) และเกิดรัฐบาลประชาธิปไตยที่มีอิสระขึ้นในประเทศต่าง ๆ ในยุโรปตะวันออกในช่วงปลายทศวรรษปี 1990 ที่จะนำเสนอต่อไปนี้เป็นเรื่องของสงครามเย็นตามนิยามข้างต้น ซึ่งสงครามเย็นนี้ได้กลายเป็นประวัติศาสตร์ไปแล้ว แต่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจเรื่องประวัติศาสตร์โลกและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

<< ต่อไปนี้เป็นเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาอันยาวนานกว่า 46 ปี คือ ช่วงปี 1945-1991 เป้นเหตุการณ์ตามลำดับ ตั้งแต่ต้นจนอวสาน คือ .>>

1. [สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตเป็นสองอภิมหาอำนาจ] : สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตเป็นสองอภิมหาอำนาจ (Superpowers) ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งทั้งสองอภิมหาอำนาจนี้ต่างมีพันธกิจทางด้านอุดมการณ์ของฝ่ายตน คือ ฝ่ายสหรัฐอเมริกามีพันธกิจด้านลัทธิประชาธิปไตยแบบทุนนิยม ส่วนสหภาพโซเวียตก็มีพันธกิจทางด้านลัทธิคอมมิวนิสต์ ทั้งสองฝ่ายต่างมีเครือข่ายพันธมิตร และมีประเทศโลกที่สาม (The Third World) เป็นลูกไล่หรือลูกกะโล่ (Client States) ที่ต้องการจะดึงมาเข้าฝ่าย กับมีอาวุธนิวเคลียร์ที่มีอานุภาพทำลายล้างอยู่ในคลังแสงของตน ที่พร้อมจะนำมาใช้ได้ตลอดเวลา

2. [ทวีปยุโรปถูกแบ่งแยกเป็น 2 ฝ่าย] : ช่วงที่มีสงครามเย็นอยู่นี้ ทวีปยุโรปถูกแบ่งแยกออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งอยู่ภายใต้การกำกับของกองกำลังทหารจำนวนมหาศาลของสหรัฐอเมริกาและเครือข่ายขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) กับอีกส่วนหนึ่งภายใต้การกำกับของกองทัพอันเกรียงไกรของสหภาพโซเวียต และเครือข่ายพันธมิตรของกติกาสัญญาวอร์ซอ

3. [ประเทศเยอรมนีถูกแบ่งแยกเป็น 2 ประเทศ] : ประเทศเยอรมนีที่พ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น ได้ถูกแบ่งแยกออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งอยู่ภายใต้การยึดครองของอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศส เรียกว่า "เยอรมนีตะวันตก"(West Germany) กับอีกส่วนหนึ่งครอบครองโดยสหภาพโซเวียต เรียกว่า "เยอรมนีตะวันออก" (East Germany) ในปี 1961 เยอรมนีตะวันออกได้สร้างกำแพงเบอร์ลิน (Berlin Wall) แบ่งแยกเบอร์ลินตะวันออกจากเบอร์ลินตะวันตก กำแพงเบอร์ลินนี้เป็นสัญลักษณ์ของการแบ่งแยกยุโรปซึ่ง "วินสตัน เชอร์ชิลล์" แห่งอังกฤษ เรียกว่า "ม่านเหล็ก" (Iron Curtain)

4. [ตะวันออกและตะวันตกขัดแย้งแต่มีเสถียรภาพ] : แม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างตะวันออกกับตะวันตกในช่วงสงครามเย็นจะมีลักษณะเป็นปฏิปักษ์และมีความขัดแย้งกัน (East-West Conflict) แต่กรอบของความสัมพันธ์ ก็มีลักษณะมีเสถียรภาพดีพอควร และความขัดแย้งกันนี้ก็มิได้ลุกลามจนเกิดเป็นสงครามร้อนรบพุ่งกันอย่างขนานใหญ่ และถึงแม้ว่าทางค่ายของสหภาพโซเวียตจะมิได้เข้ามาร่วมเป็นสมาชิกของสถาบันทางเศรษฐกิจต่างๆของค่ายตะวันตก แต่ประเทศส่วนใหญ่ของโลกก็ได้เข้ามาเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ (UN) ซึ่งต่างจากกรณีขององค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations) ที่ล่มสลายไปก่อนนั้นแล้ว

5. [สหรัฐอเมริกาและพันธมิตรหวั่นเกรงว่าสหภาพโซเวียตจะยึดครองยูเรเซีย[ : ความหวั่นวิตกของฝ่ายตะวันตกโดยการนำของสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามเย็น ก็คือ กลัวว่าสหภาพโซเวียตอาจจะเข้าครอบครองยุโรปตะวันตกทั้งหมด โดยการยกกองทัพเข้ารุกรานโดยตรงหรือโดยการแทรกซึมของคอมมิวนิสต์แล้วยึดอำนาจการปกครองของประเทศต่าง ๆ ในยุโรปตะวันตกที่ยังยากจนและอ่อนแอภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นจริง ก็จะทำให้ฐานทางเศรษฐกิจของผืนแผ่นดินใหญ่ยุโรปและเอเชีย หรือที่เรียกว่า "Eurasian Landmass"

... โดยตั้งแต่ยุโรปจนถึงจรดไซบีเรีย ให้้อยู่ภายใต้การครอบครองของประเทศหนึ่งเดียวคือ สหภาพโซเวียต สำหรับ "แผนการมาร์แชลล์" (Marshall Plan) ซึ่งเป็นโครงการให้ความช่วยเหลือเพื่อฟื้นฟูบูรณะเศรษฐกิจของยุโรปจึงได้ถูกนำมาใช้ อันเป็นการสนองตอบต่อความกลัวต่าง ๆ ดังกล่าว และก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ฝ่ายตะวันตกได้จัดตั้งพันธมิตรเครือข่ายของนาโต (NATO) ขึ้นมา อันส่งผลให้ครึ่งหนึ่งของงบประมาณทางการทหารของโลกถูกทุ่มสู่ภูมิภาคยุโรป และมีการทุ่มงบประมาณทางทหารเพื่อการแข่งขันในด้านอาวุธนิวเคลียร์ของแต่ละอภิมหาอำนาจ ทำให้แต่ละมหาอำนาจได้ผลิตอาวุธนิวเคลียร์ฝ่ายละนับพันนับหมื่นลูก

6. [สหรัฐอเมริกาดำเนินนโยบายสกัดกั้นการขยายอิทธิพลของคอมมิวนิสต์] : อเมริกาได้นำนโยบายสกัดการขยายอิทธิพลของคอมมิวนิสต์เรียกว่า "The Policy of Containment" มาใช้ ในช่วงปลายทศวรรษปี 1940 ซึ่งนโยบายนี้ก็เป็นความพยายามที่จะยุติการขยายอิทธิพลของสหภาพโซเวียตทั่วโลกในหลายระดับในเวลาพร้อมๆ กัน ทั้งด้านการทหาร ด้านการเมือง ด้านอุดมการณ์ และด้านเศรษฐกิจ สหรัฐอเมริกามีเครือข่ายฐานทัพทางทหารและเครือข่ายพันธมิตรกระจายอยู่ทั่วโลก นโยบายด้านการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วงหลายทศวรรษต่อมา ซึ่งมีการดำเนินการตั้งแต่การให้ความช่วยเหลือต่างประเทศ การถ่ายทอดทางเทคโนโลยี ไปจนถึงการเข้าแทรกแซงทางการทหารและการทูต ล้วนแล้วแต่ถูกนำมาใช้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของนโยบายสกัดกั้นการขยายอิทธิพลของสหภาพโซเวียตทั้งสิ้น

7. [การปฏิวัติของคอมมิวนิสต์จีนผืนแผ่นดินใหญ่ก็เป็นตัวแปรที่สำคัญ] : การปฏิวัติของคอมมิวนิสต์จีน (The Chinese Communist Revolution) ในปี 1949 ได้นำไปสู่การเป็นพันธมิตรระหว่างจีนผืนแผ่นดินใหญ่กับสหภาพโซเวียต แต่ต่อมาจีนเกิดแตกคอกับโซเวียต ในช่วงทศวรรษปี 1960 เนื่องจากจีนคัดค้านการเคลื่อนไหวของสหภาพโซเวียตที่จะยึดแนวทางการอยู่ร่วมกันโดยสันติ (Peaceful Co-existence) กับสหรัฐอเมริกา โดยช่วงปลายทศวรรษ 1960 พวกเยาวชนหัวรุนแรงของจีน ซึ่งต่อต้านทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ได้เข้ามามีบทบาทในการปกครองจีนผืนแผ่นดินใหญ่ ในยุคปฏิวัติทางวัฒนธรรม ที่ได้สร้างความสับสนวุ่นวายและการทำลายล้างอย่างรุนแรง แต่บรรดาผู้นำจีนมีความรู้สึกหวาดหวั่นสหภาพโซเวียตมาก จึงได้หันไปมีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับสหรัฐอเมริกาในช่วงทศวรรษปี 1970โดยเริ่มต้นด้วยการเดินทางไปเยือนจีนของประธานาธิบดีริชาร์ด เอ็ม. นิกสัน ของสหรัฐอเมริกาในปี 1972

8. [จีนแสดงบทบาทเป็นผู้ถือดุล] : ในระหว่างสงครามเย็น จีนพยายามแสดงบทบาทเป็นผู้ถ่วงดุล (Balancer Role, เหมือนอย่างที่อังกฤษเคยแสดงบทบาทนี้ในยุโรปในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2) เพื่อถ่วงดุลของสองอภิมหาอำนาจมิให้ทำการคุกคามโลกในแต่ละห้วงเวลา ในปี 1950 สงครามเกาหลีได้ระเบิดขึ้นเมื่อคอมมิวนิสต์เกาหลีเหนือได้บุกโจมตีและเข้ายึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นพันธมิตรของสหรัฐอเมริกา อเมริกาและพันธมิตร (ภายใต้อำนาจของสหประชาชาติที่ได้มาในช่วงหลังจากสหภาพโซเวียตเดินออกจากที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงเพื่อประท้วง) ได้ทำการโจมตีตอบโต้และเข้ายึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาหลีเหนือ จีนจึงได้ส่งกองกำลังที่เรียกว่า ?อาสาสมัคร? ไปช่วยเหลือเกาหลีเหนือ และสงครามก็เกิดการยืดเยื้อที่ใกล้เส้นพรมแดนเดิมจนกระทั่งปี 1953 ได้มีการเจรจาพักรบ สงครามเกาหลีนี้มีผลให้อเมริกา มีท่าทีแข็งกร้าวต่อลัทธิคอมมิวนิสต์มากยิ่งขึ้น

9. [สงครามเย็นคลายตึงเครียดก่อนจะเกิดวิกฤติการณ์คิวบา] : สงครามเย็นได้คลายความตึงเครียดลงหลังการถึงแก่อสัญกรรมของนายโยเซฟ สตาลินของสหภาพโซเวียต ในปี ค.ศ. 1953 ได้มีการประชุมสุดยอด (Summit Meeting) ระหว่างผู้นำของสองอภิมหาอำนาจในนครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในปี ค.ศ. 1955 พอสถานการณ์ดีขึ้นมาไม่ทันไร สหภาพโซเวียตก็ส่งรถถังบุกเข้าไปปราบปรามประชาชนที่ลุกฮือต่อต้านรัฐบาลฮังการีในปี ค.ศ. 1956 (และสหภาพโซเวียตได้กระทำเช่นเดียวกันนี้เมื่อเกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยในเชโกสโลวะเกียในปี ค.ศ.1968) และโครงการขีปนาวุธโซเวียต ซึ่งสามารถส่งดาวเทียมสปุตนิก (Sputnik) ขึ้นสู่วงโคจรของโลกในปี ค.ศ.1957 ก็ได้สร้างความตื่นตระหนกแก่สหรัฐอเมริกา ในประเทศคิวบา หลังจากการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ของนายพลฟิเดล คาสโตร ในปี ค.ศ. 1959 สหรัฐอเมริกาพยายามต่อต้านการปฏิวัติครั้งนี้ในปี ค.ศ.1964 โดยส่งกองกำลังชาวคิวบาพลัดถิ่นในสหรัฐอเมริกาที่ผ่านการฝึกโดยซีไอเอจำนวน 1300 คนยกพลขึ้นบกที่เบย์ออฟพิกส์ (Bay of Pigs) แต่ถูกกองกำลังของนายพลคาสโตรสังหารหรือถูกจับได้ทั้งหมด

10. [วิกฤติการณ์ขีปนาวุธคิวบา] : วิกฤติการณ์ขีปนาวุธคิวบา (The Cuban Missile Crisis) ในปี 1962 เกิดขึ้นเมื่อโซเวียตเข้าไปติดตั้งขีปนาวุธนิวเคลียร์พิสัยปานกลางในคิวบา วัตถุประสงค์ของโซเวียตในการนี้ก็เพื่อจะลดความด้อยทางด้านอาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธศาสตร์ของตน ซึ่งจะทำให้สามารถยิงขีปนาวุธเข้าสู่อเมริกาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นการตอบโต้ต่อการที่อเมริกาเข้าไปติดตั้งขีปนาวุธใกล้กับพรมแดนของโซเวียตทางด้านประเทศตุรกี และเพื่อป้องปรามมิให้อเมริการุกรานคิวบาเป็นหนที่ 2 1ด้วย แต่ทว่าผู้นำของอเมริกาเห็นว่า การติดตั้งขีปนาวุธของโซเวียตในคิวบาครั้งนี้ เป็นการคุกคามและเป็นการยั่วยุฝ่ายตน จึงต้องมีการตอบโต้

... จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ถูกเผยภายหลังทำให้ทราบว่า วิกฤติการณ์ครั้งนี้จวนเจียนจะระเบิดเป็นสงครามนิวเคลียร์ระหว่างอเมริกากับโซเวียต โชคดีที่ว่าประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี ได้หันไปใช้วิธีปิดล้อมทางเรือเพื่อบีบบังคับให้โซเวียตปฏิบัติตามความต้องการของอเมริกา ทั้งนี้ ฝ่ายสหรัฐอเมริกาเองก็ได้ให้คำมั่นสัญญา เพื่อเป็นการไว้หน้าสหภาพโซเวียตว่า จะไม่รุกรานคิวบาในอนาคตวิกฤติการณ์ครั้งนี้แน่นอน โลกจึงรอดพ้นจากการเกิดสงครามนิวเคลียร์ระหว่าง 2 อภิมหาอำนาจอย่างหวุดหวิด โดยทั้ง 2 ฝ่ายได้ลงนามในสนธิสัญญา "The Limited Test Ban Treaty" ในปี 1963 และต่อมาทั้งสองฝ่ายก็ยังได้เริ่มให้ความร่วมมือกันแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม สำรวจอวกาศ ฯลฯ

11. [ใช้สงครามตัวแทนช่วงชิงความได้เปรียบระหว่างกันในกลุ่มประเทศโลกที่สาม] : สองอภิอำนาจมักจะช่วงชิงความได้เปรียบของฝ่ายตนในกลุ่มประเทศโลกที่สาม (The Third World) โดยแต่ละฝ่ายจะให้การสนับสนุนในสงครามตัวแทน (Proxy War) ที่ฝ่ายตนให้สนับสนุนและให้คำแนะนำที่เกิดการขัดแย้งกันในสงครามกลางเมือง โดยทั้งสองอภิมหาอำนาจจะเลือก "ถือหาง" ฝ่ายที่ตนเห็นว่าจะเอื้อประโยชน์ให้แก่ตนอย่างเช่น อเมริกาเดิมเคยหนุนหลังรัฐบาลของประเทศเอธิโอเปีย และสหภาพโซเวียตหนุนหลังประเทศโซมาเลีย แต่พอในทศวรรษปี 1970 เมื่อเกิดการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ขึ้นในประเทศเอธิโอเปีย ทำให้รัฐบาลใหม่ต้องไปขอความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกาก็ได้เปลี่ยนใจหันกลับมาให้การสนับสนุนแก่ประเทศโซมาเลีย อย่างนี้เป็นต้น

12. [สหรัฐอเมริกาเพลี่ยงพล้ำในสงครามเวียดนาม] : สำหรับนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามเย็น มีข้อบกพร่องตรงที่มองความขัดแย้งในระดับภูมิภาคโดยนำไปรวมกับความขัดแย้งระหว่างตะวันตกกับตะวันออก จากการมองเช่นนี้ทำให้สหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุนแก่รัฐบาลที่นิยมตะวันตก แต่ไม่เป็นที่นิยมของประชาชนในท้องถิ่นในกลุ่มประเทศยากจนในโลกที่สาม และที่สร้างความอัปยศให้แก่สหรัฐอเมริกาอย่างรุนแรงมากที่สุดได้แก่สงครามเวียดนามในทศวรรษปี 1960 สงครามครั้งนี้สร้างความแตกแยกให้แก่ประชาชนชาวอเมริกันและประสบความล้มเหลว ไม่สามารถป้องกันการเข้ายึดครองของฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้เวียดนามใต้ตกเป็นของคอมมิวนิสต์ในปี 1975 อันเป็นการส่งสัญญาณให้เห็นความอ่อนแอของสหรัฐอเมริกา และส่งผลต่อไปให้สหรัฐอเมริกาประสบความล้มเหลวในตะวันออกกลาง โดยถูกฝ่ายอาหรับคว่ำบาตรน้ำมัน และรัฐบาลของพระเจ้าชาห์แห่งอิหร่านที่นิยมตะวันตกถูกโค่นล้มในปี 1979

13. [สหภาพโซเวียตบุกอัฟกานิสถาน] : ในช่วงที่สหรัฐอเมริกาเกิดความอ่อนแอขึ้นมานี้เอง สหภาพโซเวียตได้ทีก็ได้รุกรานประเทศอัฟกานิสถานในปี ค.ศ.1979 แต่สหภาพโซเวียตก็ต้องเผชิญชะตากรรมเหมือนสหรัฐอเมริกาในเวียดนาม คือไม่สามารถปราบปรามกองทัพของฝ่ายกบฏที่สหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุนได้กองทัพสหภาพโซเวียตต้องถอนออกจากอัฟกานิสถานอย่างทุลักทุเลหลังจากทำสงครามยืดเยื้อมาเป็นเวลา 10 ปี ซึ่งก็เป็นการส่งสัญญาณให้เห็นความอ่อนแอที่เกิดขึ้นกับสหภาพโซเวียตอีกเหมือนกัน

14. [สหรัฐอเมริกาเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางทหาร] : ในขณะเดียวกันนั้นเอง ประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ของสหรัฐอเมริกา ก็ได้เสริมสร้างกองทัพสหรัฐอเมริกาให้เกิดความแข็งแกร่ง และได้ให้การสนับสนุนกองทัพฝ่ายกบฏในประเทศที่เป็นพันธมิตรของสหภาพโซเวียต เช่น ที่ประเทศนิการากัว ประเทศอังโกล่า และประเทศอัฟกานิสถาน ความสัมพันธ์ระหว่างสองอภิมหาอำนาจดีวันดีคืนหลังจากนายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ได้อำนาจรัฐในสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ.1985 แต่สมรภูมิสงครามตัวแทนในประเทศกลุ่มโลกที่สามบางประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในอัฟกานิสถาน และแองโกลา ยังคงมีสงครามกลางเมืองที่โหดร้ายทารุณอยู่ต่อไปจนก้าวเข้าสู่ยุคศตวรรษใหม่

15. [ประชาธิปไตยเบ่งบานและคอมมิวนิสต์เหี่ยวเฉา] : ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1989 ได้เกิเหตุการณ์ที่มีกลุ่มพลังมวลชนที่สนับสนุนประชาธิปไตยได้เดินขบวนที่ย่านจัตุรัสเทียนอันเหมินในกรุงปักกิ่งของจีน ได้ถูกรัฐบาลคอมมิวนิสต์จีนกระทำการปราบปรามอย่างรุนแรง ราวปี 1990 ขณะที่สหภาพโซเวียตยังอยู่ดีมีสุขอยู่นั้น ประเทศทางยุโรปตะวันออกได้เริ่มทยอยเปลี่ยนแปลงรัฐบาลจากคอมมิวนิสต์เป็นประชาธิปไตยภายหลังจากเดินขบวนของกลุ่มพลังมวลชนประเทศแล้วประเทศเล่า และได้เกิดการพังทลายของกำแพงเบอร์ลินในปลายปี 1989 อันเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการยุติของสงครามเย็นและการแบ่งแยกยุโรป

.. ประเทศเยอรมนีได้รวมประเทศเป็นหนึ่งเดียวอย่างเป็นทางการในปี 1990 ซึ่งมิคาอิล กอร์บาชอฟ ผู้นำของสหภาพโซเวียตยินยอมสูญเสียอำนาจในประเทศต่าง ๆ เหล่านี้โดยมุ่งมั่นที่จะระดมความสนใจมาที่การฟื้นฟูบูรณะภายในของสหภาพโซเวียตภายใต้หลักการทางเศรษฐกิจที่เรียกว่า "Perestoika" และหลักการเปิดเผยในการอภิปรายทางการเมืองที่เรียกว่า "Glasnost" และปี 1991 สหภาพโซเวียตก็ล่มสลายแตกเป็น 15, สาธารณรัฐรัฐรัสเซีย และอดีตสาธารณรัฐต่างๆ ของอดีตสหภาพโซเวียต ก็ต่างกระเสือกกระสนดิ้นรนตลอดทศวรรษที่ 1990 เพื่อสู้กับการล่มสลายทางเศรษฐกิจ การคลัง ภาวะเงินเฟ้อ การฉ้อราษฎร์ บังหลวง สงคราม และอื่นๆ อิีกมากมาย

... สาธารณรัฐที่แตกแยกออกมาเหล่านี้ก็ได้หันมามีการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยทางการเมือง ทางด้านประเทศจีนแม้ว่าจะยังคงมีการปกครองตามระบอบคอมมิวนิสต์ ซึ่งมีรัฐบาลที่นิยมใช้อำนาจต่อไป แต่ก็มีระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมและหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางด้านการทหาร และตรงข้ามกับยุคสงครามเย็นจีนยังได้พัฒนาความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับทั้งสหรัฐอเมริกาและรัสเซีย (รัสเซีย ซึ่งเป็นตัวแทนอันชอบธรรมของสหภาพโซเวียตในฐานะสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ(UN)) และได้เข้าร่วมในระบบการค้าแบบเสรีของโลกอีกด้วย

16. [สหภาพโซเวียตล่มสลายเพราะเหตุใด?] : บรรดานักวิชาการมีความเห็นที่ไม่ลงรอยเดียวกันกับคำตอบของคำถามที่ว่า สหภาพโซเวียตล่มสลายเพราะเหตุใด ? นักวิชาการพวกหนึ่งก็ว่า สหภาพโซเวียตล่มสลาย เพราะความเข้มแข็งทางการทหารของสหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ที่ไปบีบบังคับให้สหภาพโซเวียตต้องเกิดการล่มสลายในขณะที่พยายามจะเร่งการแข่งขันทางด้านอาวุธกับสหรัฐอเมริกา ในขณะที่นักวิชาการอีกพวกหนึ่งก็ว่า สหภาพโซเวียตประสบกับความลำบากจากภาวะถดถอยภายในมาหลายทศวรรษมาแล้ว โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ และได้ถึงจุดระเบิดขึ้นเพราะความอ่อนแอในการปกครองภายในของสหภาพโซเวียตเองหาได้มาจากเหตุปัจจัยภายนอกแต่อย่างใดไม่

17. [ผลกระทบของการสิ้นสุดสงครามเย็นต่อประเทศกลุ่มโลกที่สาม] : เมื่อสงครามเย็นยุติลง ก็ไม่มีการช่วงชิงอิทธิพลระหว่างสองอภิมหาอำนาจในกลุ่มประเทศโลกที่สาม ที่เคยถูกใช้ให้เป็นสมรภูมิสงครามตัวแทน (Proxy War) อีกต่อไป โลกจึงสงบจากกลุ่มผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์สายต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอมมิวนิสต์สายสหภาพโซเวียต อีกกว่าหนึ่งทศวรรษ เราเรียกยุคต่อมานี้ว่า "ยุคหลังสงครามเย็น" (Post-Cold War Era).


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99



"Unit 731" ค่ายสยอง!! จับคนมาทำเชื้อโรค

สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ตอนที่ญี่ปุ่นบุกจีนเข้ายึดเมืองนานกิง เกิดขึ้นในค่ายกักกัน Unit 731 โดยการจับเชลยมาทำการทรมาน เพื่อทดลองอาวุธเชื้อโรค

หน่วยปฏิบัติ 731 เป็นชื่อของหน่วยปฏิบัติการทางการแพทย์ของญี่ปุ่น ภายใต้การควบคุมกำกับโดย หมออิชิอิ ชิโร เมื่อหมอ อิชิอิ ต้องการสมองมนุดสดๆ เพื่อการทดลอง นายทหาร ผู้ช่วยจะได้รับคำสั่งให้ตระเวนจับชาวจีนหรือรัสเซียผู้โชคร้ายมายังห้องปฏิบัติการ เหยื่อถูกจับมัดตรึงติดกับเตียงผนัง ศีรษะคว้ำลงทหารนายหนึ่งได้เฉาะกระโหลกด้วยขวาน อวัยวะส่วนที่ต้องถูกส่งไปในห้องปฏิบัติการของหมออิชิอิทันที ซากของเหยื่อเคราะร้ายจะถูกโยนลงไปในเตาเผ่าด้านหลังของหน่วยปฏิบัติการ ขณะที่เหยื่ออื่นๆอีกนับเป็นร้อยรายได้จ้องมองผ่านห้องขังด้วยตวามตกตะลึง

การผ่ามนุษย์แบบสดๆ ถือเป็นเรื่องปกติของหน่วยปฏิบัติการ 731 ซึ่งอยู่ ณ เมืองกวางตุ้งในประเทศจีน หน่วบปฏิบัติการ 731 เป็นหน่วยปฏิบัติการทางทหารของญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งมีหน้าที่ทำการค้นคว้าทดลองเพื่อผลิตอาวุธเคมีและชีวภาพ เพื่อนำไปใช้กับพลเรือนในประเทศคู่สงครามมนุษยธรรม และหน่วย 731 กลายเป็นสิ่งเหี้ยมโหดที่สุดในประวัติศาตร์วงการแพทย์และประวัติศาสตร์มนุษยชาติจนทุกวันนี้

การทดลองที่สำคัญทุกชิ้นจะใช้มนุษย์เป็นหนูตะเภา งานที่ดำเนินไปเปนกิจวัตรประจำวัน เช่น

- การผ่าตัดมนุษย์โดยไม่ใช้ยาสลบ
- การใส่สารพิษที่คิดค้นใหม่ลงในอาหารและน้ำดื่ม เพื่อฆ่าประชาชนทีละมากๆ
- การบังคับให้หญิงสาวร่วมเพศกับชายที่ป่วยเป็นโรคชิฟิลิสนับสิบคนเพื่อศึกษาและพัฒนาเชื้อซิฟิลิสที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาตร์มนุษย์
- การฉีดเลือด! ที่มีเชื้อแอนแทร็กซ์เข้าร่างกายของมนุษย์ที่ถูกจับมาเป็นเหยื่อ เพื่อดูผลการแพร่เชื้อในมนุษย์ในมนุษย์เป็นๆ
- การจับเหยื่อห้อยหัวลงจนกว่าจะตายเพื่อทดสอบความทนในการเอาชิวิตรอด
- การจับเหยื่อเข้าไปทดลองและอัดความดันอากาศหรือดูดอากาศออกจนร่านระเบิดเละ
- การจับมนุษย์เปลือยผ้าร่างแข่ในน้ำที่อุณหภูมิเปนลบ
- การตัดชิ้นส่วนของมนุษย์ออก เช่น ตัดกระเพาะออก นำลำไส้ต่อตรงมาที่หลอดอาหารเพื่อดูว่ามนุษย์ที่ไม่มีกระเพาะอาหารจะมีชีวิตอยู่ได้หรือไม่
- การตัดแขนขา และนำมาต่อใหม่ด้วยการสลับข้าง
เหล่านี้คือภารกิจของหน่วยปฏิบัติการ 731

แหล่งกำเนิดของสงครามเชื้อโรค โครงการอาวุธทางชีวภาพของญี่ปุ่น ได้ริเริ่มขึ้นตั้งแต่ ค.ศ.1930 ลงไปได้เพียงบางส่วน เพราะสาเหตุว่า โครงการวิจัยของทหารญี่ปุ่นนี้ได้ถูกควบคุม และห้ามจากสนธิสัญญาขั้นต้นแห่ง เจนีวา ในปี ค.ศ.1925 แต่ถ้าหากว่า มันน่ากลัวมากขนาดนั้น มันสมควรจะถูกสั่งห้ามไม่ให้วิจัย ภายใต้กฎหมายนานาชาติไปแล้ว

เพราะจุดมุ่งหมายของพวกทหาร ก็คือ ต้องการจะสร้างอาวุธชนิดใหม่ที่ทรงอานุภาพ การทำลายล้างอันยิ่งใหญ่มหาศาล ให้อุบัติขึ้นในโลกนั่นเอง! ช่วงนั้นของโครงการ บรรดากองทหารญี่ปุ่น ได้เข้ามายึดพื้นที่อยู่กันเต็มพรืดไปหมดในจีน โดยพวกทหารเหล่านี้ ได้ขับไล่ชาวบ้านเจ้าของพื้นที่ออกไปจำนวน 8 หมู่บ้าน ในเขตใกล้ๆกับ เมือง Harbin ในแมนจูเรีย เพื่อปูทางไว้เป็นที่ตั้ง ฐานบัญชาการของหน่วย 731

ญี่ปู่นมองเห็นข้อดีหลายจุด ที่มาตั้งฐานบัญชาการในจีน เพราะว่า จะได้ทดลองในหัวข้อเชื้อโรคระบาด ที่มีชื่อว่า มารูท่าส์ หรือ ขอนไม้ และคนแถบนี้นั้น ก็เป็นชาวคอมมิวนิสต์ ที่น่าสงสาร น่าสังเวช หรือ พวกเชลยสงคราม ซึ่งก็อีกนั่นแหละ ส่วนใหญ่ คือ คนจีน นอกจากนั้น ยังมีชาวรัสเซียที่โอนสัญชาติ มาอาศัยในจีน ก็โดนด้วยแน่! ทาเคโอะ วาเน วัย 71 ปี อดีตเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือแพทย์ ในหน่วย 731 ซึ่งในปัจจุบัน ยังมีชีวิต อาศัยอยู่ที่เมือง โมริโอกะ ทางเหนือของญี่ปุ่น เล่าว่า

ครั้งหนึ่ง เขาได้เห็น โอ่งแก้วสูง 6 ฟิต ซึ่งในโอ่งนั้น มีชายชาวตะวันตก 3 คน ถูกแช่ดองในน้ำยาฆ่าเชื้อโรคชนิดหนึ่ง มีฤทธิ์แสบจมูก ศพชายถูกตัดตามแนวตั้ง แบ่งเป็น 2 ท่อน และ วาเน เดาว่า น่าจะเป็นชาวรัสเซีย เพราะว่า มีคนรัสเซียอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้น ค่อนข้างมาก ในฐานบัญชาการของหน่วย 731 มีโอ่งที่เก็บ ตัวอย่างคนดองแบบนั้นเยอะแยะ บางโอ่ง ดองแต่ขา ดองแต่หัวก็มี ดองอวัยวะภายใน และทุกๆโอ่ง จะมีป้ายติดบอกไว้อย่างเรียบร้อยทีเดียว (เหมือนโหลยาดองชูพลัง อะไรทำนองนั้น)

ชายชรา จากหน่วย 731 เล่าให้ฟังว่า "ผมเห็น ตัวอย่างคนดอง ติดป้ายว่า 'อเมริกัน' 'อังกฤษ' 'ฝรั่งเศส' แต่ส่วนมากจะติดว่าเป็นจีน เกาหลี และมองโกเลีย ซะหล่ะมากที่สุด" แพทย์นักวิจัย ก็ยังปล่อยเชื้อโรค เข้าสู่นักโทษที่ได้คัดสรรแล้วว่า เป็นคนที่แข็งแรงมาก เพื่อดูอาการว่าเมื่อป่วยแล้วเชื้อโรคจะแพร่อย่างไร? พวกแพทย์โหด เหล่านี้ ยังจับคนมาเข้าห้องอัดความดัน เพื่อที่จะดูว่า ร่างกายของมนุษย์นั้น จะทนทานต่อแรงดันได้เพียงใด? ใช้เวลา และแรงดันเพียงใด?

ก่อนที่ลูกตาจะหลุดกระเด็นออกมา จากเบ้าตาตามแรงกดอัด บ่อยมากเลย ที่เหยื่อมนุษย์มากมาย จะถูกจับไปยังสถานที่ทดสอบ เรียกกันว่า 'แอนดา' ที่นั่นพวกเขาจะมัดเหยื่อ ให้ติดกับหลักหลายๆอัน ที่เตรียมไว้เพื่อการนี้โดยเฉพาะ จากนั้นก็เริ่มปล่อยระเบิดเชื้อโรคทดลองใส่ไปในร่างกายของเหยื่อมนุษย์เหล่านั้น ต่อไปก็เฝ้ามองดูอาการว่า อาวุธเทคโนโลยีใหม่ของพวกเขานั้น จะทรงประสิทธิภาพ เพียงไหน?

ส่วนฝูงเครื่องบิน ก็จะไปทำการโปรยฉีดเชื้อในโซนที่กำหนดไว้ว่าจะทำการทดลอง หรือทิ้งเป็นลูกระเบิดเชื้อโรคระบาดลงมาเลย (ให้มันสะใจ!) เพื่อที่จะดูผลคนจำนวนมากที่ถูกเชื้อฆ่าตาย และเชื้อจะมีประสิทธิภาพดีที่สุด ในการฆ่าคนจำนวนมากได้ตายสนิท จากระยะห่างเท่าไร? ในการระเบิดของเชื้อจากศูนย์กลางที่ทำการทิ้ง พวกทหารญี่ปุ่น ทำการทดลองสงครามทางชีวภาพภาคสนาม อยู่บ่อยครั้ง

เพื่อจะดูผลว่า ทรงประสิทธิภาพเพียงใดเมื่อปฏิบัติการนอกห้องแล็บ ฝูงเครื่องบินทหารนำแมลงเชื้อโรคนั้นไปปล่อยลงแถวๆ Ningbo ในตะวันออกของจีน และ Changde ในทางเหนือตอนกลางของจีน จากนั้น การแพร่ระบาดของโรคก็เกิดขึ้น และถูกบันทึกผลตามมา ทหารจีนยังปล่อยเชื้อ อหิวาตกโรคและไทฟอยด์ ลงในบ่อน้ำและสระอีกหลายแห่ง แต่ผลการแพร่พันธุ์ของเชื้อยังไม่ดีเท่าที่ควร ในปี ค.ศ. 1942 ผู้เชี่ยวชาญทางสงครามเชื้อโรค ยังปล่อยแพร่เชื้อบิด อหิวาตกโรค และไทฟอยด์ ที่จังหวัด Zhejiang ของจีน

แต่เวรกรรมสนอง ส่งผลให้ทหารญี่ปุ่นเอง กลับติดเชื้อโรคระบาดเหล่านี้! และป่วยตายไป 1,700 คน ตามข้อมูลที่ได้นักวิชาการบอกไว้ เชลดอน แฮริส นักประวัติศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัย แคลิฟอร์เนียสเตท ในนอร์ทริดจ์ ชี้ว่า ประชากรชาวจีน มากกว่า 200,000 คน ต้องตายจากการทดลองสงครามชีวภาพภาคสนามของคนญี่ปุ่น แฮมส์ นักเขียน ที่เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับหน่วย 731 "โรงงานแห่งความตาย" ได้ระบุไว้ด้วยว่า แมลงเชื้อโรคเหล่านั้น ถูกปล่อยให้ทำลายมนุษย์ หลังจากที่สงครามได้ยุติลงแล้วด้วยซ้ำไป

ต่อจากนั้น ถึงได้ส่งผล ทำให้มีการระบาดของโรคร้ายเกิดขึ้น คร่าชีวิตคน (ที่ไม่ใช่คนญี่ปุ่นเอง) ไปอีกตั้ง 30,000 คน ในเขต Harbin ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1946 จนถึง 1948 ผู้นำทางวิชาการของหน่วย 731 เคอิจิ ซึนิชิ เกิดความกังขากับจำนวนตัวเลขตั้งมากมายก่ายกอง เขา คือผู้ที่พยายามเหลือเกิน ที่จะเปิดเผยข้อมูล และเถียงว่า การที่หน่วย 731 เข้าไปยึดพื้นที่ ไล่ชาวบ้าน ปล้นฆ่า เผาบ้านเรือน ที่ Ningbo นั้น มีคนตาย แค่ 100 คนเอง! และที่ลือว่ามีเชื้อโรคแพร่พันธุ์ จากการทดลองภาคสนามอะไรนั่น! ก็ไม่เห็นจะมีหลักฐานอะไรเล้ย! ไหนหล่ะหลักฐาน?

ขอบข่ายในการทดลองโดยใช้มนุษย์ การทดลองโดยใช้มนุษย์เช่นนี้ ไม่ใช่มีทำเพียงในหน่วย 731เท่านั้น ยังมีหน่วยอื่นๆ ที่กระทำปฏิบัติการโหดเยี่ยงนี้อีก! แต่ก็ไม่กระจ่างนัก ว่าองค์จักรพรรดิ ฮิโรฮิโต จะทรงทราบเรื่อง การระรานเผา ปล้น ฆ่า หรือไม่? (คุณว่าทรงทราบไหม?)

แต่พระอนุชา เจ้าชาย มิคาซ่าได้เสด็จไปเยือน ฐานบัญชาการหน่วย 731 ที่ในจีน และทรงจดบันทึกเรื่องราวที่พระองค์ ได้ทรงทอดพระเนตร จากภาพยนตร์ที่ถ่ายไว้ ถึง "การเดินเท้าของนักโทษจีน ไปยังที่ราบแมนจูเรีย เพื่อการทดลองแก็สพิษ" มีข้อมูลเพิ่มเติมจาก นายแพทย์ เคน ยัวซ่า วัย 78 ปี

ซึ่งปัจจุบัน เปิดคลีนิคอยู่ที่โตเกียว แนะเสริมว่า การทดลองโดยใช้มนุษย์นั้น มีกระทำกันเป็นประจำแหละ ไม่แต่เฉพาะในหน่วย 731 นี่หรอก ยัวซ่า เป็นหมอทหารในหน่วยอื่น ช่วงสงครามจีน แต่ไม่ได้อยู่ในหน่วย 731 และก็ไม่เคยได้มีการติดต่อกันเลยด้วยซ้ำ

แต่ถึงกระนั้นก็เถอะ! หมอยัวซ่า เล่าว่า ช่วงที่เขายังเป็นนักศึกษาแพทย์ ในญี่ปุ่น พวกนักศึกษาแพทย์จะทราบว่า แพทย์สามัญคนไหนก็ตาม ถ้าได้เดินทางไปศึกษาเรื่องการแพทย์ที่จีนแล้วละก้อ! จะได้ศึกษาเรื่องการผ่าชำแหละคนไข้ (ในหน่วยอื่น ไม่ต้องเฉพาะ 731) และก็แน่นอนที่สุด เมื่อหมอยัวซ่าเดินทางถึง จังหวัด Shanxi อยู่ภาคเหนือตอนกลางของจีนใน ค.ศ.1942

พักหนึ่งเขาก็ขอเข้าร่วมศึกษาภาควิชาทดลองการผ่าตัดด้วย ชายจีน 2 คนตัวเป็นๆ ถูกนำเข้ามาในห้อง เขาทั้งสองถูกเปลื้องผ้าผ่อนออกหมด และให้ยาสลบตามปกติ จากนั้นหมอยัวซ่าและหมอคนอื่นๆ ก็เริ่มบรรเลงการทดลองผ่าชำแหละ ในหลายๆหัวข้อ : หนึ่ง การผ่าตัดไส้ติ่ง การผ่าแขนและสุดท้าย การผ่าตัดตา หลังจาก 90 นาทีผ่านไป การศึกษาจบลง คนไข้ที่ถูกนำมาใช้ทดลอง ก็จะถูกฆ่า

โดยฉีดยาให้ตายไปซะ ต่อมา เมื่อหมอยัวซ่าได้เป็นแพทย์ผู้อบรม โดยมีคนไข้จริงๆแสดงให้แก่นักศึกษาแพทย์ด้วย จะเป็นระยะๆ ที่เขาไปขอกับตำรวจว่า ต้องการคอมมิวนิสต์คนหนึ่ง สำหรับฝึกสอนการผ่าตัด แล้วพวกเขาก็ส่งมาให้ทีละคนๆ ปกติเหมือนการเบิกเครื่องมืออะไรทำนองนั้น การผ่าชำแหละคนที่นั่น คือ เป็นการฝึกและทดลองผ่าของนักศึกษาแพทย์ มากกว่าที่จะเป็นการทำวิจัยอะไร

และสำหรับที่นั่น มันเป็น เรื่องกิจวัตรประจำวันจะตายไป! ของแพทย์ญี่ปุ่นทีทำงานอยู่ในช่วงสงคราม กับคนจีนในประเทศจีน หมอยัวซ่า ยังรู้สึกขอโทษ และเสียใจอย่างสุดที่จะบรรยาย ต่อสิ่งเลวร้ายที่เขาได้กระทำลงไปในอดีต

นั่นก็คือ เขาได้เพาะเชื้อไทฟอยด์ขึ้นมา ใส่ในหลอดทดลอง และส่งต่อไปให้กองทหารอีกหน่วยหนึ่ง ถึงแม้ว่าเขาจะได้รับคำสั่งให้ทำการนี้ก็เถอะ ! ในเวลาต่อมา มีทหารจากหน่วยนั้น ซึ่งทหารคนนั้น ก็ไม่ได้มีการติดต่อกับหน่วย 731 เล่าให้หมอฟังภายหลังว่า พวกทหาร จะนำเชื้อในหลอดทดลองเหล่านั้น ไปแพร่ในบ่อน้ำ ที่หมู่บ้านในเขตของพวกคอม ภาพที่เห็นคือหน่วย Unit 731 กำลังทดสอบอาวุธชีวภาพอยู่

แผนการที่จะทำสงครามเชื้อโรคกับ U.S.A. ใน ค.ศ.1944 เมื่อญี่ปุ่นใกล้จะจนตรอก ดูท่าว่าต้องพ่ายแพ้ในสงคราม ได้ทำการปล่อยบอลลูนมากมาย ให้เคลื่อนที่ตามกระแสลมแรงเข้าสู่อเมริกา และระเบิดที่อยู่ในบอลลูนเหล่านั้น เป็นเหตุให้ผู้หญิง 1 คนในมอนทาน่า และอีก 6 คนในโอรากอน ถึงแก่ความตาย อีกครึ่งศตวรรษต่อมา ปรากฏหลักฐานที่ยิ่งเลวร้ายลงไปยิ่งกว่า ญี่ปุ่นมีจุดประสงค์คือจะปล่อยสงครามทางชีวภาพ

ซึ่งก็คือ บอลลูนมากมาย ที่มีเชื้อโรคระบาดแอนแทรกซ์ไปยังสหรัฐอเมริกาอีก ยังไม่พอ กองทหารจากหน่วยอื่น ก็ต้องการที่จะส่งเชื้อโรคไวรัสปศุสัตว์ ไปกำจัดสัตว์ ที่เป็นอุตสาหกรรมอาหารของอเมริกา หรือเมล็ดข้าวและธัญพืชให้ปนเปื้อนสารพิษ จะได้กำจัดพืชผลทางอาหาร ของคนทั้งประเทศให้สิ้น เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1944 โน่น คือ ฮิเดกิ โตโจ ผู้ซึ่งสหรัฐอเมริกาแขวนเขาขึ้น ในเรื่องอาชญากรสงคราม

เพราะว่าเขา คือ ผู้ที่คัดค้านหัวชนข้างฝาห้อง ต่อต้านการที่จะทำสงครามชีวภาพกับสหรัฐอเมริกา ก็เพราะ เขาตระหนักดีว่า ฝ่ายญี่ปุ่นดูท่าว่าร่อแร่จะแพ้สงครามเป็นแน่แท้ เขากลัวว่า หากเอาเชื้อโรคสงครามชีวภาพ ไปจู่โจมอเมริกา ก็จะต้องถูกอเมริกาตอบโต้กลับโดยเชื้อโรค หรืออาวุธสารเคมีที่ทางอเมริกาพัฒนาขึ้นบ้าง คราวนี้หล่ะ! ประเทศญี่ปุ่นจะแย่แน่ๆ!

ขณะที่สงครามยุติลงช่วงปี ค.ศ. 1945 หลักสูตรโครงการมัจจุราช จากหน่วย 731 ที่มีชื่อระหัสอันแสนไพเราะว่า เชอร์รี่บานยามราตรี คือ การใช้กลุ่มนักบินคามิกาเซ่ บินพลีชีพเข้าไปปล่อยเชื้อโรค ที่แคลิฟอร์เนีย อนิจจา ได้ถูกสั่งห้ามซะ

นอกจากนี้ยังมี โทชิมิ มิโซบูจิ ครูฝึกทหารใหม่ ในหน่วย 731 อธิบายรายละเอียด แห่งแผนนี้ว่า จะใช้ทหารใหม่ 20 นายจาก 500 นาย ผู้ซึ่งเดินทางมาถึง Harbin ในเดือนกรกฎาคม ปี ค.ศ. 1945 โดยจะให้ทหารเพียง 2-3 นาย เดินทางไปกับเรือดำน้ำ ไปโผล่ยัง ตอนใต้ของแคลิฟอร์เนีย เรือดำน้ำนั้นมีสมรรถนะ บรรทุกเครื่องบินได้ 2-3 ลำ

ต่อมา พวกเขาจะต้องขับเครื่องบิน(1ลำ : นักบิน 2-3 นาย) เพื่อขึ้นฝั่งไปปล่อยแมลงเชื้อโรคที่ ซานดิเอโก เป้าหมายตามแผนปฏิบัติการ คือ วันที่ 22 กันยายน 1945 อิชิโอะ โอบาตะ วัย 73 ปี ในปัจจุบัน อาศัยอยู่ที่ เอฮิเมะ เปิดเผยว่า เขา ก็คือ อดีตหัวหน้าของ แผนระหัส เชอร์รี่บานยามราตรี ที่จะใช้โจมตี ซานดิเอโก แต่ว่าเขาไม่ให้รายละเอียดใดๆมากไปกว่านี้ นอกจากพูดว่า..

"มันเป็นความทรงจำที่ชั่วร้ายมาก ซึ่งผมไม่ต้องการ ที่จะรื้อฟื้นมันขึ้นมาอีก" ทาดาโอะ อิชิมารุ วัย 73 ปี เขา คือหนึ่งในผู้ที่ถูกเลือก ให้ทำสงครามชีวภาพที่ ซานดิเอโก "ผมไม่ต้องการที่จะระลึกถึง หน่วย 731 อีก " เขาพูดสั้นๆใน การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ "ตั้งแต่สงคราม ก็ห้าสิบกว่าปีมาแล้ว ขอให้ผมใช้ชีวิต อย่างสงบเถอะ"

ไม่มีความกระจ่างว่า แผนการเชอร์รี่บานยามราตรีนั้น ได้มีโอกาสทำตามแผนที่วางไว้หรือไม่? แต่ที่แน่ๆ ประเทศญี่ปุ่น มีเรือดำน้ำตามสมรรถนะที่ระบุนั้น ถึง 5 ลำขึ้นไป (แต่ละลำ สามารถบรรทุกเครื่องบินไปด้วย 2-3 ลำได้ ซึ่งปีกของเครื่องบินเหล่านี้ สามารถพับเก็บเข้าข้างลำตัวของเครื่องได้ อย่างกับนก)

แต่ว่าผู้เชี่ยวชาญทางนาวิกโยธินของญี่ปุ่นกล่าวว่า ทหารนาวิกโยธินไม่เคย อนุญาตให้ นำอุปกรณ์ทางเรือที่ดีที่สุด ไปใช้สำหรับของฝ่ายทหารบก (เชอร์รี่บานยามราตรี) เลย เพราะมีส่วนเป็นไปได้ว่า ในช่วงฤดูร้อนในปี ค.ศ. 1945 นั้น พวกทหารเรือ ต้องประจำหน้าที่สำคัญมาก คือ ปกป้องดูแลน่านน้ำเขตแดนของเกาะญี่ปุ่น ในช่วงตึงเครียด ไม่ใช่ การไปปล่อยเชื้อโรคทำสงครามชีวภาพ ยังแผ่นดินอเมริกาโน่น!

หากว่า แผนเชอร์รี่บานยามราตรี ได้เคยมีโอกาสทำขึ้นจริงๆ มันก็ไม่สอดคล้อง กับการที่ญี่ปุ่นเตรียมตัวที่ยอมแพ้ ในช่วงต้นเดือน สิงหาคม 1945 และช่วงวันท้ายๆของสงครามที่ใกล้จะยุติลง เมื่อวันที่ 9 สิงหาคมนั้น หน่วย 731 ก็ได้ใช้ระเบิดไดนาไมท์ ในการทำลายหลักฐานทั้งหมด เกี่ยวกับแผนของโครงการสงครามทางชีวภาพ นักวิชาการกล่าว ภาพที่เห็นคือ โกดังกองศพ

เมื่อหลังจากที่สงครามยุติลง บางคนได้ถูกกักตัวไว้ในโซเวียตก่อน แล้วค่อยถูกส่งให้จีนภายหลัง ในปี ค.ศ. 1956 ศาลทหารจีนได้ฟ้อง และจองจำชาวญี่ปุ่น 45 คน ในข้อหาอาชญากรสงครามของทางการ ส่วนพวกญี่ปุ่นส่วนใหญ่ที่เหลืออีก 1,100 คน ที่มีส่วนในเรื่องนี้ ทางการจีนยอมปล่อยให้เป็นอิสระ

หลังการยอมรับสารภาพผิดแล้ว เวลาล่วงเลยมาถึงค.ศ. 1964 นักโทษที่ถูกจองจำเหล่านั้น ก็ถูกปล่อยกลับสู่ประเทศญี่ปุ่นครบทุกคน โดยไม่มีใครถูกจีนคอมมิวนิสต์ ประหารชีวิตเลยซักคนเดียว! " "บรรดาสมาชิกของกลุ่มนี้ ยอมรับต่อสาธารณชนว่า พวกเขามีส่วนร่วมใน 'สงครามที่โหดร้าย' และพวกเขาเคยถูกกักขังอยู่ในประเทศจีน

เพราะพวกเขา คือ อาชญากรสงครามตัวจริง ที่ได้กระทำความผิดมหันต์ ต่อมนุษยชนลงไปในช่วงสงครามโลก แต่ด้วยอานิสงจากนโยบายที่ใจกว้าง มีคุณธรรมของจีนแผ่นดินใหญ่ ที่มุ่งหวัง จะสร้างสันติภาพขึ้นระหว่างจีนและญี่ปุ่น และความสงบสุขให้เรื่องมันจบๆกันไป กลุ่มนี้จึงได้กลับมาบ้านเกิดทุกคน และอาการครบสามสิบสอง ทำให้พวกเขารวมตัวกันขึ้นเป็นสมาคมจากอานิสงนี้เอง!

ซึ่งมันก็จะแตกต่าง จากคนญี่ปุ่นอีกพวกหนึ่ง ซึ่งเป็นคนส่วนมากที่มีส่วนเกี่ยวข้องในสงครามนั้นเช่นกัน แต่พวกเขากลับเขียนเล่าโวโอ้อวด และวางท่าทางภาคภูมิใจ ในเรื่องกระทำที่โหดร้ายต่อเพื่อนมนุษย์ โดยมิได้รู้สำนึกของความเป็นคนซักนิด ภาพที่เห็นคือ การทดสอบเชื้อโรคในร่างเด็กว่าจะมีภูมิคุ้มกันต้านทานแค่ไหน

เราถามเขาว่า ทำไม? ( หมายถึงผู้ที่ค้นคว้าเรื่องนี้ ) เขาถึงไม่ให้ยาสลบกับนักโทษ ชาวนาคนนั้นให้เหตุผลทางวิชาการ อันลึกซึ้งว่า " การผ่าชำแหละ ควรกระทำภายในสถานภาพร่างกายปกติ(เป็นๆ) หากว่าเราใช้ยาสลบแล้ว มันจะมีผลต่อระบบอวัยวะต่างๆ ตลอดจนระบบการสูบฉีดโลหิต

ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ พวกเราต้องการจะศึกษาอยู่พอดี ดังนั้น เราจึงไม่สามารถที่จะให้ยาสลบได้ ก็เท่านั้น ! " " ยังมีความเป็นไปได้ว่า มันอาจจะเกิดขึ้นอีกก็ได้นะ! " ชายชรากล่าว ด้วยใบหน้าร่าเริง ที่ไม่รับรู้สำนึกทุกข์ร้อนใดๆ " เพราะในสงคราม คุณรู้อย่างเดียวว่า ต้องชนะเท่านั้น ! วัยรุ่นญี่ปุ่น มีความคิดเห็นว่า " ทุกประเทศก็ต้องเคยมีการทำสิ่งที่ถูกมองว่าไม่ค่อยถูก ไม่ค่อยควร

ทั้งนั้น แม้แต่จีนเองก็เถอะ! ไม่ใช่ว่าจะบริสุทธิ์ไปหมดหรอก " "จีน ก็เคยพยายาม ที่จะรุกรานญี่ปุ่นอยู่เนืองๆเหมือนกัน เมื่อ 600 ปีที่แล้ว" "จีน กำลังขยายอำนาจของตนอย่างมาก การกระทำเช่นนี้ เราก็ถือเป็นการข่มขู่ ต่อประเทศอื่นๆ ในแถบเอเชียนี้" "การที่จีน ทดลองอาวุธนิวเคลียร์นั้น ก็เปรียบเสมือน นัยว่า จีนอาจจะคิดไปปล่อย A-bomb ถล่มญี่ปุ่น เมื่อไหร่ก็ได้ ใครจะไปรู้?" " มันก็ถูกที่ ฝ่ายการเมืองของเรา (โดยเฉพาะสมาชิก LDP) บางครั้งสร้างความเห็นทารุณ

ซึ่งก็ถูกที่ความคิดเห็นเพี้ยนๆเช่นนั้น มันคือรากลึก ของคนญี่ปุ่นทั่วๆไป สาเหตุของรากลึก คือ ญี่ปุ่นมีชาตินิยมสูงส่ง ชาวญี่ปุ่นบางคน ดูถูกดูหมิ่นชาวเอเชียชาติอื่นๆแค่ไหนมองหญิงเอเชียชาติอื่นๆ มีค่าเพียงวัตถุทางเพศ แต่ความคิดเช่นนี้ ก็ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว สันนิษฐาน จากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมากมาย ของชาติอื่นๆในแถบเอเชีย" ภาพที่เห็นคือทหารใหน่วย Unit731 กำลังเคลื่อนย้ายศพไปทดลองต่อนั่นเอง


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99



*ชะตากรรมลูกชายสตาลิน - ตายในค่ายเชลยศึก*

โซเวียตมีผู้นำจอมโหดอยู่คนหนึ่ง โลกรู้จักเขาดี เขาคนนั้นก็คือสตาลิน ผู้นำหนวดเฟิ้มจากจอร์เจีย แต่ใครจะว่าอย่างไรก็แล้วแต่ สตาลินคนนี้นี่เองที่เป็นคนที่ทำให้โซเวียตพลิกกลับมาเอาชนะเยอรมันได้ในสงครามโลกครั้งที่ 2

ในสงครามครั้งนั้น โซเวียตเสียทหารและพลเรือนไปมากกว่า 20 ล้านคน และหนึ่งในจำนวนนั้นก็คือลูกชายแท้ๆของท่านผู้นำเอง

ลูกชายท่านผู้นำคนนี้มีชื่อว่า ยาคอฟ โยซิโฟวิช จูกัชวิลลี่ เกิดเมื่อ 18 มีนาคม 1907 หรือก่อนการปฏิวัติของเลนิน 10 ปี

ท่านผู้นำยังมีลูกอีก 2 คน ชื่อสเวียตลาน่า ซึ่งผมเคยเขียนถึงเรื่องราวของเธอมาแล้วครั้งหนึ่ง ส่วนอีกคนก็คือ วาสิลี่

ยาคอฟ ถือได้ว่าเป็นพี่ชายคนโต เขาเป็นลูกที่เกิดกับภรรยาคนแรกของสตาลิน ชื่อเยคาเตริน่า ที่ป่วยตายในปลายปี 1907 หรือหลังจากที่คลอดยาคอฟไม่กี่เดือน สตาลิน เคยบอกเอาไว้ว่า นอกจากแม่ของเขาแล้ว ผู้หญิงคนนี้คือผู้หญิงที่เขารักจริง

แต่ชะตากรรมการตายของยาคอฟนั้นเป็นอะไรที่ผมรู้สึกกลืนไม่เข้า คายไม่ออก หลังจากที่ได้รู้เรื่องราว และรู้สึกเห็นใจสตาลินอยู่ไม่น้อย เพราะถ้าอยู่ในสถานะเดียวกับสตาลิน ก็คงต้องทำเช่น เดียวกับเขา

ยาคอฟเกิดที่จอร์เจีย ซึ่งสมัยนั้นเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย และเขาก็อยู่ที่จอร์เจียจนอายุ 14 ก่อนจะถูกส่งมาเรียนต่อที่มอสโกเพื่อเรียนต่อ และที่นี่ เขาก็ต้องมาเริ่มต้นด้วยการเรียนภาษารัสเซียเพราะพูดภาษาหลักของประเทศไม่ได้เลย

ยาคอฟกับสตาลิน เข้ากันไม่ได้สักเท่าไหร่ อาจจะเป็นเพราะว่า สตาลินมัวแต่ง่วนอยู่กับการปฏิวัติ มีอยู่ครั้งหนึ่งยาคอฟพยายามยิงตัวตาย แต่ไม่ตาย เพียงแต่ได้รับบาดเจ็บ ปรากฏว่าผู้เป็นพ่อ ไม่สนใจที่จะดูแลอาการบาดเจ็บของลูก แต่กลับบ่นกับภรรยาใหม่ของเขา ซึ่งก็คือแม่เลี้ยงของยาคอฟว่า “ แค่ยิงให้ถูก มันยังทำไม่ได้ “

โดยอาชีพแล้ว ยาคอฟเป็นทหาร เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 มาถึงสหภาพโซเวียต ยาคอฟ ซึ่งเป็นทหารปืนใหญ่ และมีครอบครัวแล้ว โดยมีลูก 2 คน ได้นำทหารออกสู้รบเช่นเดียวกับทหารของโซเวียตทั้งหลาย แม้จะเป็นถึงลูกของท่านผู้นำก็ตามที แต่ยาคอฟโชคร้าย เขาถูกข้าศึกจับเป็นเชลย

ยาคอฟ ถูกจับเป็นเชลยเมื่อ 16 กรกฎาคม 1941 ในการสู้รบที่เมืองสมาเลนส์ค ซึ่งเป็นในช่วงต้นๆของสงคราม ระหว่างการบัญชาการรบของหน่วยรถถังหน่วยหนึ่ง ว่ากันว่าเขารบได้แค่อาทิตย์เดียวเท่านั้นก็ถูกจับเสียแล้ว

หลังจากนั้น เยอรมันก็ออกโฆษณาชวนเชื่อ ให้ทหารกองทัพแดงยอมแพ้แต่โดยดี เพราะแม้ลูกชายสตาลินก็ยังยอมแพ้ และได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี

แต่จริงๆแล้วมีรายงานว่ายาคอฟ ก็ไม่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีประการใด สภาพของเขาก็โทรมตามสไตล์ของเชลยศึกทั่วไปแหละครับ และที่สำคัญ เขาไม่ได้ให้ความร่วมมือกับฝ่ายศัตรูแต่อย่างใด ก็จึงไม่มีการออกมาพูดทางวิทยุ เรียกร้องให้ทหารกองทัพแดงยอมจำนนแต่อย่างใด

ยาคอฟ ถูกเยอรมันย่ายไปโน่นมานี่อยู่เป็นระยะ เพื่อป้องกันการชิงตัว โดยระหว่างเดือนเมษา ยน – มิถุนายน 1942 เขาถูกส่งไปกักตัวอยู่ที่ค่ายกักกันในเมือง Hommelsburg และพอเดือนมีนาคม 1943 ก็ถูกส่งตัวมาที่ค่าย Sachsenhausen.

และในช่วงต้นปี 1943 จอมพลฟริดริค เปาลุส ของเยอรมัน ก็สร้างประวัติศาสตร์ กลายเป็นนายทหารยศจอมพลคนแรกของเยอรมัน ที่ยอมจำนนต่อฝ่ายศัตรู ในการสู้รบที่เมืองสตาลิน กราด ทางเยอรมันก็จึงเสนอแลกตัวยาคอฟกับเปาลุส แต่สตาลินปฏิเสธ โดยบอกว่า “ ฉันจะไม่แลกร้อยโทกับจอมพล “

นอกจากนั้นก็ยังมีข้อมูลว่าฮิตเลอร์เสนอแลกตัวยาคอฟ กับ ลีโอ เราบัล หลานของ ฮิตเลอร์ ที่ถูกโซเวียตจับได้ในการรบที่สตาลินกราด แต่เรื่องนี้ก็ไม่มีการตกลงกันเช่นกัน โดยสตาลินบอกว่า “ สงครามต้องเป็นสงคราม “

บางคนบอกว่าที่ท่าทีของสตาลินเป็นเช่นนี้ ก็เป็นเพราะยาคอฟไม่ใช่ลูกคนโปรดของเขา แต่ในฐานะผู้นำประเทศ เรื่องแบบนี้ ผมก็ว่าตัดสินใจได้ยากมากอยู่เหมือนกัน

ทหารโซเวียตที่ตกเป็นเชลยศึกมากมายก็ตกอยู่ในชะตากรรมเหมือนตายทั้งเป็นหลังจากที่ได้รับอิสรภาพกลับมา เพราะสตาลินมองว่าพวกเขาเป็นคนทรยศต่อชาติ แล้วเขาจะทำอย่างไรกับยาคอฟ อดีตเชลยศึก หากว่าได้ตัวกลับมา

หลังสงคราม ทั้งเปาลุสและเราบัล ต่างก็ได้รับการปล่อยตัวกลับบ้าน แตกต่างจากยาคอฟ ที่ไม่มีข่าวคราวยืนยันใดๆเกี่ยวกับเขาออกมาอีกเลย แต่มีการสรุปตรงกันว่า เขาตายแล้วในค่ายกักกันเยอรมัน และก็มีการนำภาพศพของเขาออกเผยแพร่ด้วย แต่ก็ไม่มีการระบุว่าเขาตายเมื่อใด และอย่างไร

บ้างก็ว่าเขาเดินไปเหยียบรั้วไฟฟ้าของค่ายกักกัน Sachsenhausen บ้างก็ว่าเขาฆ่าตัวตาย บ้างก็ว่าเขาถูกฆ่า บ้างก็ว่าเขาตายระหว่างการรบช่วงปลายสงคราม โดยผู้ที่เชื่อในทฤษฎีสุดท้ายนี้บอกว่า ที่ผิดสังเกตก็คือ ภาพของเขาที่เยอรมันนำออกเผยแพร่นั้นมีน้อยมาก ซึ่งผิดธรรมดาของคนที่จับลูกชายของฝ่ายศัตรูได้ ที่จะต้องโหมการโฆษณาชวนเชื่ออย่างหนัก

แต่ล่าสุดเมื่อเร็วนี้ รัสเซียก็เปิดเผยเอกสารชั้นความลับ ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับยาคอฟ หลังจากที่ถูกจับตัวไป

เอกสารบอกว่า ยาคอฟถูกยามยิงตายเมื่อปลายปี 1943 ที่ค่ายกักกัน Sachsenhausen หลังไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่ง

นักประวัติศาสตร์ระบุว่า แม้จะถูกจับ แต่ยาคอฟ ก็เป็นคนที่ไม่เกรงใจใคร เขาทำตัวเป็นอิสระ และดูถูกฝ่ายผู้บริหารค่ายกักกันอย่างเปิดเผย

ในวันเกิดเหตุ ยาคอฟเดินไปรอบๆค่าย และยามสั่งให้เขากลับเข้าที่พัก แต่ยิ่งว่าเหมือนยิ่งยุ เขายิ่งเดินเข้าไปใกล้รั้วมากขึ้นไปอีก รวมทั้งตะโกนให้ยามยิงเขาด้วย และยามก็ทำจริงๆ โดยยิงไปที่หัว

บางคนบอกว่าที่เขาออกอาการเพี้ยนก็เพราะเครียดกับคำพูดของสตาลิน “ ฉันจะไม่แลกร้อยโทกับจอมพล “

เท่ากับปิดตำนานลูกชายคนโตของผู้นำประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99



"โครงการเอ็มเคอัลทรา" หรืออีกชื่อหนึ่งว่า "CIA mind-control research program" เป็นการทดลองลับๆ ที่หน่วยข่าวกรองกลางและสืบราชการลับของสหรัฐ หรือที่เรารู้จักกันดีในนามของ"ซีไอเอ" พยายามปิดบังซ่อนเร้นไม่ให้ประชาชนรู้

โครงการเอ็มเคอัลทราเป็นการศึกษาและทดลอง "การควบคุมพฤติกรรมมนุษย์" โดยใช้สารเคมีและสารชีวภาพ เพื่อนำมาดัดแปลงใช้ทำอาวุธสงครามแรกเริ่มเดิมทีนั้น ซีไอเอไม่ได้คิดจะสร้างอาวุธชนิดนี้ พวกเขาเพียงแต่กลัวว่าประเทศที่เป็นปฏิปักษ์ต่อสหรัฐจะใช้อาวุธเคมีและ ชีวภาพในการทำสงคราม พวกเขาจึงต้องทำการศึกษาเตรียมไว้ก่อนเพื่อจะได้ป้องกันและแก้ไขแก่ สถานการณ์ภายภาคหน้าเอาไว้ การทดลองนี้เกิดขึ้นในช่วงต้นทศวรรษที่ 1950 และต่อเนื่องจนถึงปี 1960

มีข่าวลื่อต่างๆนาๆเกี่ยวกับการทดลองนี้ว่าโครงการนี้ใช้ยาหลายประเภทรวม ทั้งวิธีการต่างๆ มาทดลองกับคนทดลองเพื่อเปลี่ยนแปลงจิตใจและสมองโดยไม่สนจะเต็มใจหรือไม่ สำหรับวิธีการทดลองพวกนักวิทยาศาสตร์ผู้เข้าร่วมโครงการนี้ การทดลองในช่วงแรกนั้นทำขึ้นที่ศูนย์บำบัดผู้ติดยาเสพติด เล็กซิงตัน (Lexington Rehabillitation Center) ซึ่งปัจจุบันก็คือสถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติ (National Institute of Mental Health) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักโทษอาสาสมัครคดียาเสพติดนักโทษเหล่านี้จะต้อง เซ็นชื่อยินยอม อนุญาตให้นำสารเสพติดเข้าสู่ร่างกายของพวกเขาได้ จากนั้นพวกเขาก็ได้รับสารเสพติดชนิดเดียวกับที่พวกเขาแต่ละคนติด

ต่อมาก็มีทดลองโดยฉีดยาหลอนประสาท LSD (Lysergic acid diethylamide) ให้กับลูกจ้าง CIA, ทหาร, แพทย์, ข้าราชการ, โสเภณี, ผู้ป่วยจิตเวช และบุคคลทั่วไปจำนวนหนึ่งซึ่งมีหลายระดับชนชั้นตั้งแต่อาชญากรชั้นต่ำไปจน ถึงระดับไฮโซ มีทั้งคนอเมริกันและคนต่างชาติ เพื่อศึกษาฤทธิ์ของยา LSD ซึ่งคนที่ทดลองบางคนก็ยินยอม บางคนไม่ได้รับเนื้อหาการทดลอง และบางคนไม่ยอมให้ตนเองมาทดลองกับโครงการนี้ แต่กระนั้นบรรดาเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลและวุฒิสมาชิกต่างก็พากัน ปฏิเสธกันให้พัลวันว่าไม่มีการทดลองที่ผิดศีลธรรมและจรรยาดังกล่าว ในปี 1973 CIA ถูกสั่ง ให้ทำลายไฟล์ทั้งหมด ทำให้เอกสารเกี่ยวกับโครงการนี้ถูกทำลายเผาไหม้ไปด้วย ทำให้ไม่มีหลักฐานว่ามีการทดลองนี้เกิดขึ้นจริงใน CIA


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99



***เบรสต์ : ป้อมวีรบุรุษ***

วีรกรรมของทหารโซเวียตสมัย สงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะเมืองเบรสต์ เป็นเมืองพรมแดน มีป้อมปราการสำคัญแห่งหนึ่งที่จะเป็นด้านหน้าในการรับมือกับข้าศึกที่รุกล้ำ ผ่านพรมแดนเข้ามา และเมื่อเช้ามืดวันที่ 22 มิถุนายน 1941 หรือ 70 กว่าปีที่ผ่านมา ที่ฮิตเลอร์สั่งให้ทหารของเขาบุกโจมตีสหภาพโซเวียตแบบไม่มีการประกาศล่วงหน้า และนับเป็นการเปิดฉากสงครามที่รัสเซียตั้งชื่อว่า "Great Patriotic War"

ภายใต้ปฏิบัติการณ์มีชื่อว่า "Operation Barbarossa" นาซีเยอรมันบุกโซเวียตเข้ามาแบบเป็นแผง คือบุกพร้อมกันตั้งแต่ทางเหนือ ตอนกลาง และทางใต้ของพรมแดนฝั่งตะวันตกของโซเวียต และก็แน่นอนว่า เบรสต์ ก็เป็นหนึ่งในเป้าหมายการโจมตีลำดับแรกๆ เพราะเบรสต์ มีบทบาทสำคัญในการควบคุมการสัญจรข้ามแม่น้ำ Bug ที่เป็นพรมแดนทางธรรมชาติระหว่างโซเวียตกับโปแลนด์ นอกจากนั้น มันก็ยังคุมเส้นทางการขนส่งทางรถไฟที่ติดต่อระหว่างโซเวียตกับกรุงวอร์ซอของ โปแลนด์ด้วย

เบรสต์ อยู่ในความรับผิดชอบในการโจมตีของกลุ่มกองทัพกลางจากเยอรมัน และด้วยกำลังที่โหมเข้ามา บวกกับการบุกแบบไม่ให้รู้เนื้อรู้ตัว และการประเมินว่าฝ่ายโซเวียตนั้น ไม่ได้มีการเตรียมพร้อมและรับมือการบุก ทำให้ฮิตเลอร์คาดว่า พวกเขาจะสามารถเข้ายึดป้อมปราการที่เบรสต์ ที่สร้างมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ได้ในเวลาแค่ 15 นาทีเท่านั้น ซึ่งเมื่อทหารเยอรมันบุกเข้ามา แต่ตามแผนบอกว่าพวกเขาควรยึดมันได้ในเวลาไม่ควรจะเกิน 12 ชั่วโมง ซึ่งเป็นการเผื่อเวลาไว้

โดยในป้อมปราการแห่งนี้มีทหารแท้ๆ ที่พร้อมรบแค่ 3,500 นาย ซึ่งยังมีทหารหน่วยอื่นๆ บางส่วนที่ไม่ได้ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสู้รบรวม 2 ส่วนนี้ก็ประมาณ 7-8 พันนาย นอกจากนั้นก็ยังมีครอบครัวทหารอีกราว 300 ครอบครัว แต่สำหรับกำลังในส่วนของนาซีเยอรมันของฮิตเลอร์นั้นมีกำลังมากถึง 20,000 นาย

การสู้รบที่เบรสต์ ถือเป็นการสู้รบของแท้ครั้งแรกๆ ระหว่างเยอรมันกับโซเวียตในศึกสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเยอรมันเปิดฉากการโจมตีป้อมด้วยการยิงปืนใหญ่ และทิ้งระเบิดเข้าใส่ และจากนั้นครึ่งชั่วโมงทหารราบก็บุกเข้ามา แต่ที่ฮิตเลอร์ลืมนึกถึงก็คือ ความกล้าหาญของคนโซเวียตในการปกป้องบ้านเกิดเมืองนอนของตัวเอง ทั้งทหารและประชาชน รวมถึงเด็กและผู้ใหญ่ที่อาศัยอยู่ที่นี่ต่างก็ช่วยกันทำทุกอย่างที่พอจะทำได้เพื่อต่อสู้กับเยอรมัน

ทำให้ท้ายที่สุดแล้ว นาซีเยอรมันต้องใช้เวลาถึง 9 วัน กว่าจะยึดส่วนใหญ่ของป้อมปราการ ที่พรมแดนแห่งนี้ได้ในวันที่ 30 มิถุนายน และแม้จะยึดได้ แต่ปรากฏว่า การต่อต้านของทหารประจำค่าย ก็ยังมีอยู่ประปรายนานนับเดือน แม้ในเวลานั้น เยอรมันจะรุกเข้าไปในโซเวียตเป็นระยะทางไกลกว่า 500 กิโลเมตร แล้วก็ตาม

แต่ทว่า ความดุเดือดของการสู้รบที่นี่ ซึ่งดูได้จากยอดการสูญเสียตลอดแนวรบของเยอรมัน โดยคิดตั้งแต่ตอนเริ่มสงครามจนถึงวันที่ยึดป้อมได้มีจำนวนทหารเสียชีวิตไปทั้งสิ้น 8,886 นาย และในจำนวนนั้นราวกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ เป็นการสูญเสียในการรบที่ป้อมแห่งนี้เพียงแห่งเดียว

ทั้งนี้ ต้องเข้าใจด้วยว่าในช่วงเวลาการสู้รบดังกล่าวทหารโซเวียตในป้อม แทบไม่ได้รับการสนับสนุนใดๆ จากภายนอกเลย เพราะเป็นช่วงที่กำลังวุ่นวาย อีกอย่างทหารเยอรมันได้สามารถยึดเอาพื้นที่โดยรอบป้อมได้ทั้งหมดในเวลาอันรวดเร็ว ส่งผลให้ทหารในป้อมขาดการสนับสนุนทั้งน้ำ อาหาร และกระสุน ซึ่งสุดท้ายแล้ว น้ำน้อยก็ย่อมแพ้ไฟ โดยทหารในป้อมเสียชีวิตไปเกือบทั้งหมดจากการสู้รบเพื่อรักษาป้อม

ทั้งนี้ ในวันท้ายๆ ก่อนตายและก่อนที่ฝ่ายเยอรมันจะเข้ายึดป้อมได้สำเร็จ ทหารผู้รักษาป้อมนายหนึ่งได้เขียนสลักเอาไว้ที่ที่ผนังของป้อมที่แปลว่า..

"ถึงจะตายแต่ก็จะไม่ทิ้งป้อม ถึงจะตายแต่ก็ไม่ยอมจำนน ลาก่อน มาตุภูมิ 20.VII.41"

ปัจจุบัน ข้อความส่วนนี้ถูกสกัดออกมา และนำมาเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ทหารในกรุงมอสโก และมีรายงานว่าทหารรักษาป้อมบางนาย เพิ่งจะถูกทหารเยอรมันจับได้ในเดือนสิงหาคม เพราะช่วงนั้นฮิตเลอร์จะเดินทางมาดูป้อม จึงทำให้ต้องมีการจัดรักษาความปลอดภัยให้ฮิตเลอร์มากเป็นพิเศษ และเพื่อเป็นการกวาดล้างทหารโซเวียตชุดสุดท้ายที่อาจจะยังซุกซ่อนตัวภายในป้อม จึงมีการผันน้ำจากแม่น้ำเข้าให้ท่วมป้อม

สำหรับวีรกรรมของทหารโซเวียตที่นี่ ได้ถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์การต่อต้านนาซีเยอรมันของฝ่ายโซเวียต และต่อมาในปี 1965 ป้อมแห่งนี้ ได้รับสถานะเป็น Hero Fortress จากวีรกรรมการรบเมื่อปี 1941 อีกด้วย


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99


***การจัดตั้งฐานทัพของอเมริกาในไทย เพื่อทำสงครามเวียดนาม***

ช่วงสงครามเวียดนามเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2498 (ค.ศ.1955) กระทั่งกรุงไซ่ง่อนแตกเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2518 (ค.ศ.1975)

ส่วนการตั้งฐานทัพในไทยนั้น เริ่มประมาณปี พ.ศ.2507 ในจังหวัดต่างๆ ของไทยที่ความสำคัญทางภูมิศาสตร์การรบ เช่น โคราช, อุดรธานี, นครพนม, อุบลราชธานี, อ.ตาคลี นครสวรรค์, อู่ตะเภา ระยอง, อ.สัตหีบ ชลบุรี ฯลฯ โดยหนังสือพิมพ์ Star & Stripe ของทหารสหรัฐได้รายงานในปี 2510 ว่ามีทหารสหรัฐทั้งหมดที่ประจำการอยู่ในประเทศไทยประมาณ 45,000 นาย โดยมีทั้งทหารบกและทหารอากาศ

ส่วนคำว่า จี.ไอ. G.I. มาจาก Government Issue ซึ่งหมายเรียกเกณฑ์ทหาร (อเมริกัน) และได้ถูกนำมาเรียกทหารสหรัฐฯ ที่ถูกส่งไปรบในดินแดนต่างๆ และคำว่า G.I. นั้นได้โด่งดังมาจากเพลงของนักร้องชื่อดังชาวอเมริกัน เอลวิส เพรสลี่ย์ ชื่อเพลง จีไอ.บลูส์- “G.I. Blues” ปี ค.ศ.1960 เมื่อ 52 ปี ราวปี พ.ศ.2503

ชาวอเมริกันถูกเกณฑ์ให้เข้าไปรบในสงครามเวียดนาม โดยเริ่มเข้าประจำการในไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2507 และเริ่มปฏิบัติการอย่างหนักในช่วง พ.ศ.2510 ทหารจีไอส่วนใหญ่ได้แก่หนุ่มฉกรรจ์ที่ถูกหมายเลือกเข้ารับการเกณฑ์ทหาร ซึ่งคล้ายกันกับทหารเกณฑ์ของไทยตรงที่ คนเหล่านี้เป็นหนุ่มบ้านนอก การศึกษาค่อนข้างต่ำ ดังจะเห็นได้จาก การที่สหรัฐฯ ถอนตัวออกจากไทย เนื่องจากพ่ายแพ้ในสงครามเวียดนาม กลุ่มทหารเหล่านี้ต่างถูกทอดทิ้ง บางรายกลายเป็นปัญหาของสังคมอเมริกัน และกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีปฏิสัมพันธ์ หรือเข้ากันกับชาวพื้นเมืองมากที่สุด

เรื่องราวของ WAR OVER VEITNAM จะไม่สมบูรณ์แบบไปได้หากไม่กล่าวถึงเรื่องของเครื่องบิน และเพื่อให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น ในตอนนี้ ผมขอนำเสนอในส่วนของฐานทัพอากาศของสหรัฐฯ ในประเทศไทย ที่ต้องเข้าไปพัวพันเกี่ยวข้องกับสงครามเวหาเหนือเวียดนามในครั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในบทต่อๆไปง่ายยิ่งขึ้น โดยตลอดการรบที่สำคัญนั้น เครื่องบินรบส่วนใหญ่ขึ้นบินจากบานทัพอากาศในประเทศไทย

ภายใต้สนธิสัญญาป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ ซีโต้ (SEATO) ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๘ กันยายน ๒๔๙๗ เพื่อให้มีการปฏิบัติการคุ้มครองดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ ประกอบกับข้อตกลงทางทหารที่รัฐบาลไทยมีต่อรัฐบาลสหรัฐฯ ในการแลกเปลี่ยนความช่วยเหลือทางทหารที่มีต่อกันนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ เป็นต้นมา

โดยเฉพาะข้อตกลงใน ๘ เรื่องที่ทำขึ้นระหว่างปี ๒๔๙๓ - ๒๕๑๐ มีผลทำให้รัฐบาลไทยมีข้อผูกพันกับรัฐบาลสหรัฐฯ ต้องยินยอมให้สหรัฐฯ สามารถตั้งฐานทัพของตนในประเทศไทยได้ และมีอภิสิทธิ์ในประเทศไทย พร้อมทั้งสามารถส่งทหารไทยเข้าร่วมรบในเวียดนาม ลาว และให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่กัมพูชา ได้

ปี ๒๕๐๔ นับเป็นปีแรกที่รัฐบาลสหรัฐฯ ส่งกำลังทหารนาวิกโยธินจำนวน ๑๐,๐๐๐ คน เข้ามาประจำการในประเทศไทย โดยประจำอยู่ในฐานทัพของตนในจังหวัดอุดรธานี โดยในปีถัดมา มีการส่งกำลังทหารมาเพิ่มอีก ๕,๐๐๐ คน จากนั้นกำลังทหารของสหรัฐฯ ก็หมุนเวียนเข้ามาประจำในประเทศไทย โดยตลอดจนถึงปี ๒๕๑๗ มีทหารอเมริกันในประเทศไทยรวม ๔๙,๐๐๐ คน ในขณะที่ทั้งภูมิภาคนี้มีทหารอเมริกันรวม ๒๓๐,๐๐๐ คน

นอกจากกำลังทหารภาคพื้นแล้ว สหรัฐเอมริกา ยังได้ส่งกำลังทางอากาศเข้ามาปฏิบัติการในภูมิภาคนี้ (หน่วยบินแรกที่เข้ามาปฏิบัติการที่เวียดนามใต้ เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๐๓ และหน่วยสุดท้ายออกจากประเทศไทยเมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๑๖ ) โดยฐานทัพของสหรัฐฯที่สำคัญในประเทศไทย {ประกอบด้วย}.

- [ฐานบินโคราช] : ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ กองบิน ๑ ของกองทัพอากาศไทย) ฐานทัพอากาศแห่งนี้เป็นที่ตั้งของฝูงบินขับไล่และโจมตี กำหนดชื่อเป็น “กองบินขับไล่ยุทธวิธีที่ ๓๘๘” ประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่ เครื่องบินโจมตี และเครื่องบินสงครามอิเล็กทรอนิกส์ต่อต้านอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยาน (บ้านของไวล์วีเซล) แบบต่างๆ อาทิ เครื่องบินขับไล่แบบ F-4 C/D/E, A-7 D, EF/F-105, EB-66 นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของกองบัญชาการกองทัพอากาศสหรัฐฯ ภาคแปซิฟิก และเป็นที่ตั้งของกองบัญชาการสนับสนุนกองทัพบกสหรัฐฯ ด้วย

- [ฐานบินอุดร] : ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดอุดรธานี (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ กองบิน ๒๓ ของกองทัพอากาศไทย) ฐานทัพอากาศแห่งนี้เป็นที่ตั้งของฝูงบินขับไล่และลาดตระเวน กำหนดชื่อเป็น “กองบินขับไล่ลาดตระเวนทางยุทธวิธีที่ ๔๓๒” ประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่ และเครื่องบินลาดตระเวนแบบต่างๆ อาทิ F-4 C/D/E, RF-4 C, RF-101, F-104 โดยฐานบินแห่งนี้นอกจากจะเป็นที่ตั้งของกองทัพอากาศสหรัฐฯแล้ว ยังเป็นที่ตั้งของหน่วยบินต่างและโรงเรียนการบินของกองทัพอากาศลาว รวมไปถึงหน่วยปฏิบัติการบินของ CIA ภายใต้ชื่อ แอร์อเมริกา

- [ฐานบินนครพนม] : ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดนครพนม (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของฝูงบิน ๒๓๘ ของกองทัพอากาศไทย) ฐานทัพอากาศแห่งนี้เป็นที่ตั้งของฝูงบินปฏิบัติการพิเศษ กำหนดชื่อเป็น “กองบินปฏิบัติการพิเศษที่ ๕๖” ประจำการด้วยเครื่องบินโจมตี เครื่องบินลาดตระเวน และเฮลิคอปเตอร์แบบต่างๆ อาทิ A-1, OV-10A, O-2, CH-53, H-34

- [ฐานบินอุบล] : ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ กองบิน ๒๑ ของกองทัพอากาศไทย) ฐานทัพอากาศแห่งนี้เป็นที่ตั้งของฝูงบินขับไล่ที่มีชื่อเสียงของสหรัฐฯ อีกแห่งหนึ่ง กำหนดชื่อเป็น “กองบินขับไล่ยุทธวิธีที่ ๘” ประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่ แบบ F-4 C/D และเครื่องบินสงครามอิเล็กทรอนิกส์แบบต่างๆ รวมไปถึงฝูงบินกันชิพ AC-130 ด้วย

- [ฐานบินตาคลี] : ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดนครสวรรค์ (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ กองบิน ๔ ของกองทัพอากาศไทย) ฐานทัพอากาศแห่งนี้เป็นที่ตั้งของฝูงบินขับไล่และทิ้งระเบิด กำหนดชื่อเป็น “กองบินขับไล่ยุทธวิธีที่ ๓๕๕” ประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่ และเครื่องบินโจมตีทิ้งระเบิดแบบต่างๆ อาทิ F-4 C/D, EF/F-105, F-111, EB/RB-66, RB-57

- [ฐานบินอู่ตะเภา] : ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดระยอง (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ กองการบินทหารเรือ ของราชนาวีไทย) ฐานทัพอากาศแห่งนี้เป็นที่ตั้งของฝูงบินทิ้งระเบิด กำหนดชื่อเป็น “กองบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ที่ ๓๐๗” ประจำการด้วยเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ B-52 และเครื่องบินจารกรรมแบบ U-2 ,SR-71

- [ฐานบินน้ำพอง] : ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดขอนแก่น (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งฝูงบิน ๒๓๖ ของกองทัพอากาศไทย) ฐานทัพอากาศแห่งนี้เป็นที่ตั้งของฝูงบินขับไล่และเครื่องบินโจมตีแบบต่างๆของหน่วยนาวิกโยินสหรัฐฯ กำหนดชื่อเป็น “โรสกาเด็น” ประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่ และเครื่องบินโจมตีแบบต่างๆ อาทิ F-4 B/J, A-4, A-6

นอกจากฐานทัพอากาศต่างๆ ที่กองทัพสหรัฐฯ ได้จัดกำลังทางอากาศ มาประจำอย่างเป็นทางการแล้ว ยังมีการส่งกำลังทหารเข้ามาประจำ ณ ที่ตั้งต่างๆอีกมากมาย อาทิ ฐานทัพอากาศดอนเมือง (ปัจจุบันคือกองบิน ๖ ของกองทัพอากาศไทย) ฐานบินส่งกำลังบำรุงสัตหีบ (เดิมคือกองบิน ๗ (๗๑) ของกองทัพอากาศไทยต่อมาได้โอนคืนให้กับราชนาวี และยกเลิกการเป็นสนามบิน), ฐานบินกองกำลังพิเศษเขื่อนน้ำพุง จังหวัดขอนแก่น และฐานปฏิบัติการพิเศษของ CIA ที่จังหวัดกาญจนบุรี สกลนคร และพิษณุโลก

และนอกจากฐานทัพอากาศที่สำคัญในประเทศไทย รวมทั้งการวางกำลังทางอากาศบนเรือบรรทุกเครื่องบินในทะเลอ่าวตังเกี๋ยของเวียดนามแล้ว สหรัฐอเมริกายังได้วางกำลังทางอากาศไว้ในประเทศเวียดนามใต้ เพื่อสนับสนุนการรบที่สำคัญอีกด้วย อาทิ ฐานบินดานัง ฐานบินตันซอนนุท ฐานบินแบร์แคท ฐานบินเบียนหัว ฐานบินซูไลด์ เป็นต้น ..

- ในภาพ : เป็น ฐานบินและค่ายทหารของสหรัฐฯ ที่โคราชครับ.


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99



"Doris "Dorie" Miller" : ทำการรบอย่างกล้าหาญในการยิงต่อต้านเครื่องบินญี่ปุ่นที่บินเข้ามาโจมตีฐานทัพเรือ Pearl Harbor ในวันที่ 7 ธันวาคม ปี 1941 และเป็นแอฟริกันอเมริกันคนแรกที่ได้รับเหรียญกล้าหาญ "Navy Cross" แห่งกองทัพเรือสหรัฐฯ

ในเรื่อง เพิร์ล ฮาเบอร์ ที่ คิวบา กู๊ดดิ้ง จูเนียร์เล่นเป็นเค้าแหละครับ


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99


คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส และเจิ้งเหอ

คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส 1451-1506
(อังกฤษ: Christopher Columbus) เกิด ค.ศ. 1451 เสียชีวิตวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1506) เป็นนักทำแผนที่ นักสำรวจ นักเดินเรือ และพ่อค้า เชื่อกันว่าน่าจะเป็นชาวสาธารณรัฐเจนัวภายใต้การสนับสนุนของราชสำนักสเปน เขาได้เดินเรือข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกและทำให้ชาวยุโรปรู้จักทวีปอเมริกาในซีกโลกตะวันตกเป็นผลสำเร็จ การเดินทางทั้งสี่ครั้งและความพยายามที่จะตั้งถิ่นฐานบนเกาะฮิสปันโยลาของโคลัมบัสยังเป็นจุดเริ่มต้นของการล่าอาณานิคมของสเปนและชาติมหาอำนาจอื่น ๆ ในทวีปยุโรปบน "โลกใหม่" อีกด้วย

ในช่วงที่ลัทธิจักรวรรดินิยมและการแข่งขันทางเศรษฐกิจระหว่างอาณาจักรต่าง ๆ ในยุโรป (ผ่านทางการควบคุมเส้นทางการค้าและการล่าอาณานิคม) กำลังเริ่มขึ้นนั้น โคลัมบัสได้วางแผนการเดินทางไปยังอินเดียตะวันออกโดยเดินเรือมุ่งไปทางตะวันตก ด้วยเขามีความเชื่อว่าโลกมีรูปร่างเป็นทรงกลม ความเชื่อนี้ขัดแย้งกับแนวความเชื่อในยุคนั้นว่าโลกนั้นมีรูปทรงแบน แต่ปัญหาสำคัญที่มีการอภิปรายอย่างกว้างขวาง คือ ความเป็นไปได้ของการเดินทางรอบโลก เนื่องมาจากอุปสรรคเรื่องของอาหารและข้อจำกัดทางเทคโนโลยีการเดินเรือในสมัยนั้น เช่น การเดินเรือไปติดในบริเวณที่ไม่มีลมพัด เป็นต้น

โคลัมบัสนำโครงการเดินเรือดังกล่าวไปเสนอต่อราชสำนักโปรตุเกสเพื่อขอทุนทรัพย์ในการแต่งกองเรือออกไปค้นหาความมั่งคั่งยังดินแดนไกลโพ้น แต่ถูกปฏิเสธ เขาจึงไปขอรับการอุปถัมภ์จากพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 5 และสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลลาที่ 1 แห่งอาณาจักรคาสตีล และได้รับการอนุมัติให้ออกเดินทางเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1492 แต่แทนที่โคลัมบัสจะไปถึงหมู่เกาะญี่ปุ่นอย่างที่ได้ตั้งใจไว้ เขากลับไปพบหมู่เกาะบาฮามาสและขึ้นฝั่งบนเกาะแห่งหนึ่งที่เขาตั้งชื่อว่า "ซานซัลบาดอร์" เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ปีเดียวกัน ในการเดินทางอีกสามครั้งถัดมา เขาได้ค้นพบหมู่เกาะเกรตเตอร์แอนทิลลิส เลสเซอร์แอนทิลลิส รวมทั้งชายฝั่งทะเลแคริบเบียนของเวเนซุเอลาและอเมริกากลาง และประกาศให้ดินแดนเหล่านั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของจักรวรรดิสเปน

แม้ว่าโคลัมบัสนั้นไม่ได้เป็นบุคคลแรกที่เดินทางมาถึงทวีปอเมริกา (เนื่องจากเลฟ เอริกสัน และกองเรือชาวนอร์สได้มาถึงทวีปนี้ก่อนแล้ว)แต่การเดินทางของโคลัมบัสก็ทำให้เกิดการติดต่ออย่างถาวรและต่อเนื่องระหว่างโลกใหม่ (ฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก) กับโลกเก่า (ฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรแอตแลนติก) นำไปสู่ช่วงเวลาของการสำรวจและการล่าอาณานิคมในดินแดนภายนอกทวีปยุโรปที่ดำเนินผ่านเวลาหลายศตวรรษและส่งผลอย่างใหญ่หลวงต่อพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของโลกตะวันตกสมัยใหม่

โคลัมบัสเรียกชนพื้นเมืองบนดินแดนที่เขาไปเยือนว่า "อินดีโอส" (เป็นคำภาษาสเปนหมายถึงชาวอินเดีย)โดยไม่ทราบว่าเขาได้ค้นพบทวีปที่ชาวยุโรปไม่เคยรู้จักมาก่อนแล้วโดยบังเอิญ ไม่กี่ปีต่อมา ความขัดแย้งระหว่างโคลัมบัสกับราชบัลลังก์สเปนและผู้ปกครองอาณานิคมคนอื่น ๆ ทำให้เขาถูกปลดออกจากตำแหน่งผู้บริหารอาณานิคมบนเกาะฮิสปันโยลาในปี ค.ศ. 1500 และถูกส่งตัวกลับมายังสเปน ทายาทของเขาใช้เวลาฟ้องร้องราชบัลลังก์สเปนอยู่เป็นเวลาหลายสิบปีหลังจากเขาเสียชีวิต กว่าจะได้รับส่วนแบ่งจากผลประโยชน์ในดินแดนต่าง ๆ ที่เขาเคยไปสำรวจมา

เจิ้งเหอ

เดิมทีนั้นเจิ้งเหอมีชื่อว่า "ซานเป่า" แซ่หม่า เกิดที่มณฑลยูนนาน ซึ่งเป็นเขตแดนของมองโกลทางตอนใต้ของประเทศจีน
แต่ก่อนแซ่หม่าเรียกว่าหม่าเหอ เจิ้งเหอมีพี่น้อง 5 คนเป็นชาย 1 คน หญิง 4 คน เมื่อหม่าเหออายุได้ 12 ปี ตรงกับช่วงที่กองทัพของจักรพรรดิหงหวู่หรือจูหยวนจาง ปฐมราชวงศ์หมิงนำกำลังทัพเข้ามาขับไล่พวกมองโกลที่มาตั้งราชวงศ์หยวนออกจากประเทศจีน ทำการยึดครองยูนานเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรหมิงได้สำเร็จ ในเวลานั้นหม่าเหอได้ถูกจับตอนเป็นขันทีมีหน้าที่รับใช้เจ้าชายจูตี้ จนได้รับความไว้วางใจอย่างสูง ช่วงสงครามแย่งชิงบัลลังก์ระหว่างเอี้ยนหวังจูตี้กับหมิงฮุ่ยตี้ กษัตริย์ที่สืบราชบัลลังก์ต่อจากหมิงไท่จู่ เจิ้งเหอมีส่วนสำคัญช่วยให้จูตี้ได้รับชัยชนะขึ้นสู่บัลลังก์เป็นจักรพรรดิหมิงเฉิงจู่ มีชื่อรัชกาลว่า "หย่งเล่อ" และได้รับการสนับสนุนเป็นหัวหน้าขันที ต่อมาได้รับพระราชทานแซ่เจิ้ง จึงเรียกขานว่า "เจิ้งเหอ" แต่ชื่อที่รู้จักกันดีก็คือ "ซันเป่ากง" หรือ "ซำปอกง"

เจิ้งเหอเดินเรือสำรวจทางทะเลในระยะเวลา 28 ปี กองเรือของเจิ้งเหอออกสำรวจทางทะเลรวม 7 ครั้ง เดินทางมากกว่า 50,000 กิโลเมตร ท่องต่างแดนมากกว่า 37 ประเทศ เริ่มต้นเป็นครั้งแรกในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1405 (พ.ศ. 1948) ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระรามราชาธิราชแห่งราชวงศ์อู่ทองปกครองกรุงศรีอยุธยา เจิ้งเหอทำหน้าที่ผู้บังคับกองเรือสำเภาขนาดใหญ่ เรียกว่า "เป่าฉวน" แปลว่า "เรือมหาสมบัติ" ต่อขึ้นที่เมืองนานกิง อดีตเมืองหลวงอันเก่าแก่ของจีนเป็นอีกสถานที่หนึ่งซึ่งเป็นที่ตั้งของ "อู่ต่อเรือ" ใช้ในการเดินเรือของเจิ้งเหอ เรือมหาสมบัติของเจิ้งเหอยาว 400 ฟุต ขนาดใหญ่กว่าเรือ ซานตา มาเรีย ของโคลัมบัสที่ยาวเพียง 85 ฟุต ถึง 5 เท่า

การเดินทะเลในครั้งแรกมีเรือขนาดใหญ่ตามไปด้วย 60 ลำ ขนาดเล็ก 255 ลำ มีลูกเรือทั้งหมด 27,870 คน แล่นเลียบชายฝั่งฟุเกี้ยน ผ่านไปยังอาณาจักรจามปา ชวา มะละกา สมุทรา (เซมูเดรา) และแลมบรีทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา จากนั้นเดินทางต่อไปยังเกาะลังกา กาลิกัต ขากลับได้นำคณะทูตจากเมืองเหล่านี้มาเข้าเฝ้าฯ จักรพรรดิหย่งเล่อ

ในการเดินเรือแต่ละครั้ง ขากลับจะนำเครื่องบรรณาการจากเมืองต่าง ๆ มาถวายจักรพรรดิหย่งเล่อ โดยเฉพาะสัตว์จากหลาย ๆ เมืองที่ผ่าน อย่างเช่นขากลับจากการเดินเรือทางทะเลในครั้งที่ 5 เจิ้งเหอได้นำสิงโต เสือดาว นกกระจอกเทศ ม้าลาย และยีราฟ (โดยบอกว่าเป็น กิเลน) กลับไปถวายแด่จักรพรรดิหย่งเล่อ ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบมาก และกลายเป็นของแปลกและน่าตื่นเต้นสำหรับชาวจีนที่พบเห็นเป็นครั้งแรก

ต้นปีถัดมาเจิ้งเหอก็เริ่มออกเดินทางในครั้งที่ 2 เวลานั้นอายุ 36 ปี ครั้งที่ 3 อายุ 38 ปี ครั้งที่ 4 อายุ 42 ปี ครั้งที่ 5 อายุ 46 ปี ครั้งที่ 6 อายุ 50 ปี ครั้งที่ 7 อายุ 60 ปี โดยครั้งสุดท้ายมีจำนวนลูกเรือ 27,550 คน ไปไกลถึงทวีปแอฟริกา

ในประเทศไทย เจิ้งเหอเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "เจ้าพ่อซำปอกง" (ซานเป่ากง). วัดซำปอกง หรือชื่อทางการ วัดพนัญเชิงวรวิหาร ตั้งอยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สาเหตุที่ชาวจีนมาเซ่นไหว้วิญญาณซำปอกงที่วัดกัลยาณมิตรเป็นเพราะความเข้าใจผิด กล่าวคือ ชาวจีนผู้นับถือพุทธศาสนากลุ่มหนึ่งได้นมัสการหลวงพ่อโตที่วัดกัลยาณมิตร แล้วเกิดความเลื่อมใส จึงได้เขียนหนังสือจีนไว้ที่หน้าวิหารว่า 'ซำปอฮุดกง' ซึ่งแปลว่าพระเจ้า 3 พระองค์ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แต่ชาวจีนกลุ่มที่นับถือซำปอกง อ่านเห็นเป็น 'ซำปอกง' จึงคิดว่าเป็นสถานที่เซ่นไหว้วิญญาณของซำปอกง และได้มาเซ่นไหว้ซำปอกงเรื่อยมา ด้วยเหตุนี้มีนักประวัติศาสตร์บางท่านสันนิษฐานว่า เจิ้งเหอได้เปลี่ยนศาสนามาถือพุทธ
ทว่าการที่เจิ้งเหอทำฮัจญ์และมีสุสานแบบมุสลิมแสดงว่าเจิ้งเหอเป็นมุสลิมจนถึงแก่กรรม แม้ว่าเจิ้งเหอจะไม่มีลูก เพราะถูกตอนเป็นขันทีตั้งแต่เด็ก หากแต่หม่าเหวินหมิงพี่ชายได้ยกลูกชายหญิงให้กับเจิ้งเหอ ทายาทของเจิ้งเหอบางส่วนอาศัยอยู่ในประเทศไทย ใช้นามสกุล วงศ์ลือเกียรติ อันเป็นนามสกุลที่เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าเชียงใหม่ ได้ประทานให้ เจิ้งชงหลิ่ง ผู้ซึ่งได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ "ขุนชวงเลียงฦๅเกียรติ" จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เจิ้งชงหลิ่งอพยพเข้าเมืองไทยในปี 2448 คนในตระกูลวงศ์ลือเกียรติเป็นมุสลิม เมื่อนักประพันธ์ชื่อดัง เควิน เมนซีส์ ได้แต่งหนังสือชื่อ 1421 : The Year China Discovered the World ขึ้น โดยมีการอ้างอิงทฤษฎีว่า นายพลเรือผู้กล้าหาญชาวจีนผู้หนึ่งได้ล่องเรือสำเภาไม้ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในโลก เดินทางมาถึงอเมริกาก่อนหน้าคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส จะค้นพบถึง 71 ปี

เควิน เมนซีส์ ไม่ได้ตั้งใจที่จะมานั่งลบล้างประวัติศาสตร์ที่สืบทอดกันมายาวนาน แต่เขาเกิดไปเจอข้อมูลบางอย่างเข้าโดยบังเอิญขณะเดินทางไปฉลองครบรอบแต่งงาน 25 ปีที่ประเทศจีน เมนซีส์ได้รับการบอกเล่าเรื่องราวของกองเรือขนาดใหญ่ ที่นำพาเจ้าผู้ครองนครจากดินแดนต่างๆ ทั่วโลกมาร่วมในงานเฉลิมฉลองการสถาปนาพระราชวังต้องห้าม ในวันปีใหม่เมื่อปี ค.ศ.1421 และนั่นทำให้เขาฉุกคิดขึ้นมาได้ว่าเหตุใดจึงมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นหากว่าไม่ได้มีการติดต่อสื่อสารกับนานาประเทศมาก่อน
ก่อนที่หนังสือจะตีพิมพ์เมนซีส์ได้มีโอกาสเห็นแผนที่ซึ่งจำลองพื้นที่ในแถบทะเลแคริบเบียนและหมู่เกาะต่างๆ นอกชายฝั่งอเมริกา ซึ่งถูกตีพิมพ์ก่อนหน้าที่โคลัมบัสจะออกเดินทางสำรวจโลก 70 ปี การที่ได้เห็นเปอร์โตริโกและกัวลาลูปนั้นทำให้เมนซีส์เชื่อว่าผู้ที่มาถึงก่อนโคลัมบัสก็คือพวกโปรตุเกส ซึ่งมีการส่งเรือออกไปค้นหาเกาะซึ่งปรากฏอยู่ในแผนภูมิแม่บทของโลกในเวลาต่อมา

ไม่เพียงโปรตุเกสที่ยืนยันว่าแผนภูมิแม่บทฉบับนี้มีหลักฐานเชื่อมโยงไปถึงชาวจีนเท่านั้น แต่ชาวยุโรปพวกแรกที่ไปอเมริกาก็พบว่ามีชาวจีนอยู่ที่นั่นแล้วถึง 38 คณะไม่ว่าจะเป็นคณะของวาสเควซ, โคโรนาโด เฟเรลโล, เมเจอร์ เพาเวอร์ส, เปโดร เมเนนเดซ หรืออวิลเลส เวอร์ราซาโน
หลังจากหนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์ออกมา เรื่องราวการเดินทางของโคลัมบัส นักเดินทางผู้ยิ่งใหญ่ผู้นี้ก็มีอันต้องแปดเปื้อน และกลายเป็นที่ถกเถียงถึงประวัติศาสตร์ที่อาจผิดเพี้ยนไป เพราะเมนซีส์ไม่เพียงชี้ชัดลงไปว่า นายพลเจิ้งเหอและกองเรือของเขาซึ่งบรรทุกสิ่งของมีค่าตามพระราชโองการของจักรพรรดิจูตี้ แห่งราชวงศ์หมิง เมื่อราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นผู้ค้นพบทวีปนี้ก่อนเท่านั้น แต่ยังเป็นผู้รวบรวมอเมริกาให้เป็นเมืองขึ้นของจีนก่อนที่โคลัมบัสจะมาถึงด้วย
“ข้อโต้แย้งที่ผมต้องการจะบอกก็คือ กองเรือของจีนได้เดินทางรอบโลกและได้ทำแผนภูมิการเดินเรือขึ้นก่อนชาวยุโรป และชาวยุโรปได้ค้นพบโลกใหม่โดยใช้แผนภูมิที่คนจีนทำขึ้น นักสำรวจผู้ยิ่งใหญ่ของยุโรปทุกคนล้วนออกเดินทางโดยใช้แผนภูมิในการบอกทางที่พวกเขาจะไปทั้งสิ้น” เจ้าของผลงานพลิกประวัติศาสตร์โลกย้ำ
เพราะขณะที่กัปตันคุกมีแผนที่ของออสเตรเลีย โคลัมบัสมีแผนที่ของแคริบเบียน และแม็คเจลแลนมีแผนที่ของแปซิฟิกนั้น แผนที่ทั้งหมดล้วนมาจากแผนภูมิแม่บทของโลก (Master Chart) ที่ชาวจีนเป็นผู้ทำขึ้น เควิน เมนซีส์ ผู้เขียนซึ่งเป็นอดีตผู้บัญชาการเรือดำน้ำชาวอังกฤษ ทุ่มเทเวลากว่า 9 ปี ในการพิสูจน์ทฤษฎีนี้ จนได้หลักฐานและข้อมูลใหม่ๆ จนทำให้เชื่อได้ว่าทฤษฎีที่เขาค้นพบนี้เป็นความจริง
ชาวโปรตุเกสอ้างว่าพวกเขามีแผนภูมิแม่บท ของโลกในราวปี ค.ศ.1420 ซึ่งเป็นแผนภูมิแม่บทของโลกที่เมนซีส์ค้นพบในเวลาต่อมาเป็นสิ่งที่ช่วยยืนยัน เช่นเดียวกับเหตุผลที่ว่าทำไมมีคนจีนไปอาศัยอยู่บนแผ่นดินเหล่านั้นก่อนที่ชาวยุโรปจะไปถึง จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่มีการพบดีเอ็นเอของชาวจีนอยู่ในสายเลือดของชาวยุโรป
ที่น่าตกใจไปมากกว่านั้นก็คือ ไม่นานมานี้ได้มีการค้นพบภาพใบหน้าของเจิ้งเหอในอเมริกาเหนือโดยสถาปนิกผู้มีชื่อเสียงท่านหนึ่ง และนี่จะเป็นข้อพิสูจน์สำคัญที่ว่า กองเรือของนายพลเจิ้งเหอได้เดินทางมายังชายฝั่งทั้งด้านแอตแลนติกและแปซิฟิกของทวีปอเมริกาเหนือและใต้จริง โดยมีหลักฐานยืนยัน


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99


คุณคิดว่าอ้อมกอดของคนที่รักกันจริงๆ มันยาวนานใด้สักแค่ไหน

1นาที 2นาที 10นาที หรือ ตลอดจนวันสุดท้ายที่ลมหายใจหมดไป

มันจะมีสักกี่เหตุผล ที่ทำให้คุณเอามือที่เคยสวมกอดออกจากคนรักไป
หรือมีแค่เหตุผลเดียว คือหมดใจ

โครงกระดูกนี้ ไม่เคยหมดใจต่อกัน เกือบจะ6พันปี ที่คู่รักนี้กอดกันมายางเนินนาน และจะกอดกันแบบนี้ไปจบกว่า โลกจะสลาย ฟ้าจะทลาย

และไม่ต้องห่วง นักโบราณคดี จะไม่พรากอ้อมกอดนี้ไปจากกัน เค้าจะทำตรวจสอบโดยการตักดินที่อยู่ข้างๆมาตรวจสอบแทน

นั่นทำให้เรามั่นใจใด้เลยว่า อ้อมกอดนี้ คืออ้อมกอดที่เป็นนิรันดร์ตราบนานเท่านาน



ฝันดีครับ คืนนี้


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99


ภาพ(บน): เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ นางเหวียนถิบี่ง (Nguyen Thi Binh) : ซึ่งเป็นรัฐมนตรีการต่างประเทศของรัฐบาลเฉพาะกาลเวียดนามใต้ โดยมีการลงนามในสัญญาสันติภาพกรุงปารีสวันที่ 27 ม.ค. ปี 2516 หลังการเจรจายืดเยื้อมา 5 ปี ซึ่งสหรัฐฯ กำลังถูกกกดันจากรอบทิศ และเพียง 1 เดือนก่อนหน้านั้น ยังสูญเครื่องบินทิ้งระเบิดยุทธศาสตร์ บี-52 ถึง 34 ลำ ในยุทธการระดมทิ้งระเบิดกรุงฮานอย 12 วัน 12 คืน โดยสัญญาสันติภาพนี้นำไปสู่การถอนทหารสหรัฐฯ ออกจากเวียดนามทั้งหมด เวียดนามเหนือตกลงจะส่งมอบเชลยศึก แต่สงครามยังดำเนินต่อมาอีก 2 ปี ก่อนฝ่ายเหนือจะยึดเวียดนามใต้ได้เบ็ดเสร็จ และนำไปสู่การรวมประเทศในที่สุด.

ภาพ(ล่าง) : วันที่ 27 มกราคมใน40 ปีที่แล้ว เวียดนามเหนือกับสหรัฐฯ ได้ตกลงเซ็นสัญญาสันติภาพในกรุงปารีส ภายหลังการเจรจาที่ยืดเยื้อมาถึง 5 ปี เพื่อหาทางยุติสงครามเวียดนาม ทุกฝ่ายรอมรับกันว่า เป็นเหตุการณ์ทางการทูตที่ถือว่าสำคัญมากที่สุดอีกเหตุการณ์หนึ่งในศตวรรษที่ 20 ที่นำไปสู่การถอนตัวจากสงครามเวียดนามของสหรัฐฯ ส่งผลให้กองทัพฝ่ายคอมมิวนิสต์สามารถยึดเวียดนามใต้ได้เร็วขึ้น นำไปสู่การรวมชาติเวียดนามเข้าด้วยกัน
______________________________________________

***โดยการเซ็นสัญญาสันติภาพเมื่อปี 2516 นั้น ยังทำให้ นายเฮ็นรี คิสจิงเจอร์ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ กับ นายเลดึ๊กเถาะ (Le Duc Tho) กรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม ซึ่งทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของฝ่ายเวียดนามเหนือในการเจรจา ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปีนั้น แต่ฝ่ายหลังไม่ยอมเดินทางไปรับ โดยให้เหตุผลว่า ประเทศเวียดนามของเขายังไม่มีสันติภาพ

การเจรจาเริ่มขึ้นในเดือน พ.ค.2511 ทั้งสองฝ่ายต่างคาดหวังว่าจะสามารถลงเอยกันได้โดยเร็ว แต่ความไม่ลงรอยในหลายเรื่องทำให้การเจรจาหยุดชะงักเป็นพักๆ ยืดเยื้อต่อมาอีก 5 ปี และสองฝ่ายต่างก็ยอมรับในกลยุทธ์ “เจรจา รบ และเจรจา” โดยใช้ความได้เปรียบในสนามรบเป็นเครื่องต่อรอง

เหตุการณ์สำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้สองฝ่ายสามารถลงนามในสัญญาสันติภาพกันได้ในวันที่ 27 ม.ค. ก็คือ การโจมตีทิ้งระเบิดกรุงฮานอย กับเมืองท่าหายฝ่องในเดือน ธ.ค.2515 ของสหรัฐฯ ไม่อาจหยุดยั้งการรุกลงใต้ของฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้ สหรัฐฯ ยังสูญเสียเครื่องบินทิ้งระเบิดยุทธศาสตร์บี-52 ไปถึง 34 ลำ ในชั่วเวลาเพียง 12 วัน 12 คืนของยุทธการดังกล่าว

ก่อนหน้านั้น ในตอนต้นปีสหรัฐฯ ไม่ประสบความสำเร็จในการสู้รบตัดเส้นทางลำเลียงขนส่งของฝ่ายคอมมิวนิสต์ตาม ตาม “เส้นทางโฮจิมินห์” ที่ตัดผ่านเข้าดินแดนลาว ลงสู่ดินแดนกัมพูชา ก่อนวกเข้าสู่ภาคใต้เวียดนาม และทุกฝ่ายรวมทั้งฝ่ายเวียดนามเหนือต่างสูญเสียอย่างหนักในสงครามชิงทางหลวงเลข 9 กับสงครามในดินแดนลาว

ในช่วงปีดังกล่าว รัฐบาลประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ของสหรัฐฯ ก็กำลังเผชิญแรงกดดันอย่างหนักภายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ การเดินขบวนต่อต้านสงครามเวียดนามที่แผ่ลามออกไปทั่วประเทศ และทั่วโลก ทำให้สหรัฐฯ ต้องถอนทหารออกจากเวียดนามครั้งแล้วครั้งเล่า ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเจรจาทางการทูตด้วย

สำหรับเวียดนาม การเจรจาสันติภาพกรุงปารีสถือเป็นชัยชนะครั้งสำคัญ และยังเป็นการสร้างนักการทูตเข้าสู่ยุคใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ การเปิดตัวนางเหวียนถิบี่ง (Nguyen Thi Binh) ในฐานะรัฐมนตรีต่างประเทศของรัฐบาลปฏิวัติเฉพาะกาลที่ฝ่ายเวียดนามเหนือจัดตั้งขึ้น นำการต่อสู้กับสหรัฐฯ และฝ่ายใต้ ได้กลายเป็นนักการทูตสตรีชาวเวียดนามคนแรกที่รู้จักกันไปทั่วโลก

เวียดนามจัดการเฉลิมฉลองและรำลึกครบรอบปีสำคัญนี้ในขอบเขตทั่วประเทศ ตลอดช่วงเดือนที่ผ่านมานี้ สื่อของทางการได้รายงานเปิดเผยเบื้องหน้าเบื้องหลังเหตุการณ์ มีการจัดแสดงปาฐกถา และจัดแสดงนิทรรศการภาพถ่าย ฯลฯ

พิธีฉลองอย่างเป็นทางการจัดขึ้นในกรุงฮานอยในวันศุกร์ 25 ม.ค. 2556 ที่ผ่านมา มีผู้นำระดับสูงของพรรค และรัฐบาลเข้าร่วมจำนวนมาก กับประชาชนทั่วไปอีกหลายพันคน และมีผู้ที่ร่วมอยู่ในคณะเจรจาที่ยังมีชีวิตอยู่เข้าร่วมพิธีด้วยหลายคน

ประธานาธิบดีเจืองเติ๋นชาง (Truong Tan Sang) กล่าวว่า การเจรจาสันติภาพกับสหรัฐฯ นั้นเป็น “การต่อสู้ทางการทูตที่ยาวนานที่สุด และยากลำบากที่สุดสำหรับเวียดนาม” ทั้งนี้ นางเหวียนถิบี่ง ซึ่งเป็นอดีตรองประธานาธิบดีได้ยกย่องการลงเจรจา และการเซ็นสัญญาสันติภาพที่กรุงปารีสครั้งนั้น เป็น “ชัยชนะทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่นำไปสู่ชัยชนะในปี 2518 การปลดปล่อยภาคใต้ และการรวมประเทศ” ภายใต้สัญญาดังกล่าว ซึ่งทุกฝ่ายตกลงที่จะหยุดยิง สหรัฐฯ จะถอนทหารออกจากดินแดนเวียดนามทั้งหมดภายใน 60 วัน และเวียดนามเหนือยอมส่งคืนเชลยศึกที่ถูกคุมขังทั้งหมด และเวียดนามเหนือกับใต้ตกลงจะหาทางรวมประเทศอย่างสันติ

อย่างไรก็ตาม สองฝ่ายเหนือใต้ไม่อาจตกลงกันได้ในทางการเมือง และเวียดนามเหนือเป็นฝ่ายละเมิดข้อตกลงสันติภาพ ส่งกองทัพลงทำสงครามในภาคใต้โดยตรงเป็นครั้งแรก และแล้วในที่สุด ฝ่ายคอมมิวนิสต์เข้ายึดกรุงไซ่ง่อน เมืองหลวงของฝ่ายใต้ได้ในวันที่ 30 เม.ย.2518 เป็นการสิ้นสุดสงครามที่มีทหารอเมริกันเสียชีวิตกว่า 58,000 คน อีกทั้งมีชาวเวียดนามทั้งเหนือและใต้เสียชีวิตรวมกันจำนวนประมาณกว่า 3 ล้านคน


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99



"ยุทธการฮาเตียน"..แผนลับชนาวีไทยเอาคืนกองเรือฝรั่งเศส

.." คนไทยไม่ควรลืม " แผนยุทธการฮาเตียน " และรับรู้ว่าแผนนี้มีจริงซึ่งปกปิดกันมานานกว่า ๖๐ ปีแล้ว "..

. . . : น้อยท่านนักที่จะรู้จักชื่อนี้ เรามักจะได้ยินได้ดูภาพยนต์แผนยุทธการชื่อแปลกๆ เป็นเหตุการณ์วีรกรรมหรือพวกนักสืบ เกี่ยวกับความเป็นความตายของประเทศชาติบ้านเมือง ยกตัวอย่างให้ท่านดูก็ได้ เช่น ยุทธการกางเขนเหล็ก ยุทธการวันเผด็จศึกป้อมปืนนานวาโลน แผนโทราโทร่าถล่มอ่าวเพิร์ล หรือแม้แต่ยุทธการเอ็นเทบเบ้ชิงตัวประกัน และอีกหลายๆ เรื่อง..

. . . จากเหตุการณ์ครั้งก่อน เมื่อ ๑๗ มกราคม ๒๔๘๔ คนไทยคงจะจำกันได้ว่า ครั้งหนึ่งทหารเรือไทยเคยสร้างวีรกรรมไว้จนยากจะลืมเลือน คือ "ยุทธนาวีที่เกาะช้าง" จังหวัดตราด เราต้องสูญเสียเรือรบไปกว่า ๓ ลำ คือ เรือหลวงธนบุรี เรือหลวงสงขลา และเรือหลวงชลบุรี แม้เป็นฝ่ายสูญเสีย แต่เรือก็รบจนสุดใจขาดดิ้น สู้อย่างยิบตาไม่เกรงกลัว และสร้างรอยแผลเล็กๆ ไว้ให้ข้าศึกผู้รุกรานเหมือนกัน เช่น เรือลามอตต์ปิเกต์ ซึ่งไปจอดเลียแผลอยู่ที่เมือง ไซ่ง่อน หลังจากการสู้รบไม่นานนัก..

. . . รอยจารึกครั้งนั้น ลูกนาวีไทยเก็บไว้นานวันนับ ๑๐ ปีนั้น เราจะต้องทำอะไรฝั่งใจข้าศึก ตาน้ำข้าวให้ได้ และชาวโลกจะได้รับรู้ และแล้ว "แผนยุทธการฮาเตียน" ก็เกิดขึ้น ซึ่ง "ฮาเตียน" เป็นชื่อของเมืองท่าในกัมพูชา ที่ในเวลานั้นตกเป็นของฝรั่งเศส และมีเรือรบของฝรั่งเศสจอดอยู่หลายลำ ซึ่งคาดว่าจะเตรียมเข้าโจมตีไทยอีกระลอกแน่นอน เพระาคราวที่แล้ว ๑๗ มกราคม ๒๔๘๔ ไทยเราไม่ได้เตรียมตัวและไม่ทันตั้งตัว.. ยุทธการฮาเตียนนี้จะถือว่าเป็นการแก้แค้นแก้เผ็ดและสั่งสอนก็ย่อมได้ เพราะยุทธการครั้งนี้มีการวางแผนเพื่อให้ได้ซึ่งชัยชนะเท่านั้น..

. . . เราเคยเก็บกดจากเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ หรือ ๑๓ กรกฎาคม ๒๔๓๖ ครั้งนั้นยุทธนาวีที่ปากน้ำเจ้าพระยา เราต้องเสียเปรียบคู่ต่อสู้มาครั้งหนึ่งแล้ว เป็นข้าศึกศัตรูเจ้าเก่าซะด้วย คราวนี้ลูกทหารเรือไทยตัวเล็กๆ แต่ร้ายกาจ กล้าหาญยิ่ง จะลุกขึ้นมาแก้เผ็ด สั่งสอนซะบ้างแล้ว เรียกว่า " ลูกประดู่สู้ตายก็ย่อมได้ "

. . หลังจากราชนาวีไทยได้ลาดตระเวนดูลาดราวอย่างเงียบๆ ไม่ถึง ๑ อาทิตย์ แผนนี้ก็ได้เริ่มขึ้นทันที.. โดยที่ไม่มีใครล่วงรู้ เห็นมีแต่พวกนายทหารระดับผู้บังคับการ หรือ เสนาธิการเท่านั้น

. . . ราชนาวียังคงเงียบกริบ ไม่ตระโตกกระตากอะไรทั้งสิ้น มันเป็นความลับและแผนลึกๆ ในใจของทหารเรือไทยชั้นสูงเสมอ ภายในกองบัญชาชั่วคราว(เฉพาะกิจ) ณ อ่าวเตยงาม ฐานทัพเรือสัตหีบ..ยามนั้นเป็นเวลาดึก ท่านผู้บัญชาการทหารเรือ "พลเรือตรีหลวงสินธุสงครามชัย" (ยศในขณะนั้น)..ยกบุหรี่ขึ้นมาสูบอย่างช้าๆ มีนายทหารเรือชั้นผู้ใหญ่อีก ๒-๓ ท่าน เบื้องหน้าเป็นโต๊ะยุทธการ บนนั้นเป็นแผนที่ สมุดบันทึก สไลด์รูลและอะไรอื่นอีก ๒-๓ อย่าง..ทั้งนี้เพื่อหาระยะทางและเวลาที่แท้จริง ซึ่งเทียบแล้วเวลาลงมือดูๆไปไม่มีอะไรผิดกับ "นายพลเรือ ยามาโมโต้" ที่วางแผนถล่มอ่าวเพิร์ลฮาเบอร์ ที่มลรัฐฮาวาย..

. . . และแล้วเวลาอันควรจะเป็นก็มาถึง วันที่ ๒๖ มกราคม ๒๔๘๔ เรือรบทุกลำในอ่าวสัตหีบ ก็ได้รับคำลังให้เตรียมพร้อม โดยเฉพาะเรือตอปิโดใหญ่ ๖ ลำ อาทิเช่น เรือหลวงภูเก็ต เรือหลวงปัตตานี เรือหลวงระยอง เรือหลวงชุมพร ได้รับคำสั่งให้ติดไฟหม้อน้ำ เตรียมพร้อมที่จะออกเรือได้ ลูกเรือลำละ ๙๐ คน อาวุธเต็มอัตราศึก ที่สำคัญทั้ง ๖ ลำ ได้รับการติดอาวุธที่คาดไม่ถึง คือ ทุ่นระเบิดชนิดเบาแบบกระทบแตก มันถูกส่งขึ้นมาวางตรงท้ายเรือ ทั้ง ๒ กราบ ลำละ ๒๕ ลูก รวมแล้วเรือรบ ๖ ลำ ขนของขวัญพิเศษ รวม ๑๔๔ ลูก และสำหรับเรือ ๓ ลำ ที่นำทุ่นระเบิดนี้ไปฝาก นายเศส นั้น ครั้งนี้ต้องขอจารึกไว้เพื่อเป็นเกียรติประวัติ คือ เรือหลวงบางระจัน เรือหลวงหนองสาหร่าย และเรือหลวงคราม (ลำเก่า)..

. . . เรือรบ ๖ ลำ ในยุทธการนี้ถือว่าทันสมัยมากยุคนั้น ฉายาที่ได้รับคือ "ฉลามทะเล" หรือ ฉลามหนุมผู้คะนองศึก ซึ่งลูกเรือล้วนแล้วเป็นคนวัยหนุ่ม อยู่ในวัยฉกรรจ์ทั้งนั้น และเรือพวกนี้เพิ่งถูกสร้างและรับมาจากอิตาลี เรียกได้่ว่าไฟแรงทั้งคนและของจริงๆ..

. . . ในที่สุด วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๔๘๔ "เจ้าฉลามทะเล" ทั้ง ๖ ลำ ที่บรรทุกหนักจนหัวเรือเชิดไปตามๆ กัน พากันค่อยๆ ถอนสมอเคลื่อนตัวไปช้าๆ ออกสู่ทะเล เมื่อได้ออกมาไม่ไกลนัก ก็มีเรือรบไทยเขามาสมทบอีก ๒ ลำ คือ เรือหลวงท่าจีน และเรือหลวงแม่กลอง จึงได้จัดกองเรือเป็น ๒ ขบวน โดยให้เรือรบที่มาสมทบใหม่เป็นผู้นำขบวนอย่างละลำ..พอเวลารุ่งสาง เหล่าลูกเรือนั้นก็พอรู้ว่าขบวนเรือ ๒ ขบวนนี้มุ่งไปยังทิศใหน แต่ว่าจะพากันไปไหน ทำอะไรอย่างไรนั้น ไม่รู้มากนัก..

. . . ลูกราชนาวีไทยทุกนายต่างก็ไม่ถามอะไรกันมากนัก ว่าจะทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ก็ได้แต่พากันฮัมเพลงและร้องเพลงปลุกใจของเหล่าลูกประดู่ในลำคอไปพลางๆ ซึ่ง"เสด็จเตี่ย" หรือ "พลเรือเอก สมเด็จฯ กรมหลวงชุมพลเขตอุดมศักดิ์" ผู้ซึ่งเป็นบิดาแห่งกองทัพเรือไทย ได้ทรงนิพนธ์ไว้..

. . ."อนาคตเราไม่รู้ ถึงไม่รู้ก็ต้องเดินไป จะกลัวไปใย มันก็ล่วงไปตามเวลา ไม่ตายวันนี้ก็คงไมซี้เอาวันข้างหน้า" บ้างก็ทำใจให้ฮึกเหิมตามวิสัยลูกประดู่ "หนึ่งพัน ห้าร้อยไมล์ทะเลไทยมี นาวีนี้เฝ้า" "ราชนาวีไทย คืบก็ทะเล ศอกก็ทะเล" ฯลฯ

. . . เวลาต่อมาทุกสายตาต่างจับจ้องไปที่ดาดฟ้าของเรือลำหนึ่งใน ๘ ลำ ตอนนั้นเป็นตอนค่ำ หลังจากเวลาที่ทุกคนรับประทานข้าวปลาอาหารเรียบร้อยแล้ว เวลาประมาณ ๒ ทุ่ม นายทหารเรือยุทธการท่านหนึ่งก็ได้เดินออกมาที่หัวเรือ พร้อมเป่านกหวีดเรียกพล และเมื่อทุกคนเข้าแถวตามหัวเรือกันเรียบร้อยแล้ว ก็ได้ประกาศด้วยเสียงอันดังฉาน และเด็ดเดี่ยวขึ้นว่า..-->.

. . . "พี่น้องทหารที่รักทั้งหลาย อันเป็นเพื่อนร่วมชีวิต ร่วมเป็น ร่วมตาย ทุกคน เรารับคำสั่งให้ไปปฏิบัติการ เดินหน้าวางทุนระเบิด ปิดล้อมบริเวณหน้าอ่าวฐานทัพเรือฝรั่งเศส ที่ฮาเตียน โดยมีกำหนดออกเดินทางในคืนนี้ โดยจะต้องถึงบริเวณและเริ่มปฏิบัติการทางยุทธวิธี ในเวลา ๒๔.๐๐ ของวันที่ ๒๘ มกราคม หลังจากวางทุ่นระเบิดเสร็จสิ้น ขบวนเรือตอปิโดทั้ง ๖ ลำ จะแล่นตีวงโอบอยู่ภายนอก ต่อไปจะเป็นหน้าที่ของเรือหลวงท่าจีน และเรือหลวงแม่กลอง จะระดมยิงชายฝั่ง โดยมีเรือหลวงศรีอยุธยาที่เลียบฝั่ง เพื่อบีบให้เรือรบฝรั่งเศสในฐานกำลังที่เมืองฮาเตียนออกมาจากอ่าว เข้าสู้สนามทุ่นระเบิดที่เราวางไว้ และเรือตอร์ปิโดใหญ่จะระดมยิงเข้าซ้ำที่เดิม พอใกล้รุ่งสาง กองกำลังนาวิกโยธินซึ่งมากับเรือหลวงศรีอยุธยา จะยกพลขึ้นบก ยึดฐานทัพเรือฮาเตียนของข้าศึก การปฏิบัติภารกิจเสี่ยงอันยากนี้ ขอให้พวกเราทุกคน จงยึดมั่นปฏิบัติหน้าที่จนสุดความสามารถ หากตายจะขอตายด้วยกันทุกลำ เหมือนกับดอกประดู่ ที่พากันโรยไปทั้งต้น ขออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีอยู่ ที่นี้ ในเรือลำนี้ พร้อมด้วยคุณพระศรีรัตนตรัย จงปกป้องคุ้มครองเราทุกคน". . .

. . .พอสิ้นเสียงประกาศ ก็มีเสียง"ไชโย"กระหึ่มไปทั่วทั้งกองเรือ และบัดนี้ก็ได้ทราบกันทั่วแล้วว่าภารกิจอันสำคัญนี้คือภารกิจอะไร...และมีเสียงของทหารคนหนึ่ง พูดดังขึ้นว่า " ถึงเวลาแก้มือแล้ว " ...

. . . เช้าวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๔๘๔ จะเป็นวันที่เหมือนวัน D-DAY ก็ว่าได้ โดยขณะนี้ลูกเรือทุกคนรับทราบกันแล้ว ว่าจะต้องทำอะไร ต่างก็มีใจฮึกเหิม ไม่เป็นอันกินอันนอนกันเลยทีเดียว เพราะอยากให้ถึงเวลานั้นเร็วๆ ดูแล้วยิ่งกว่าเจ้าบ่าวเจ้าสาวจะพาเข้าหอเสียอีก ซึ่งทหารทุกนายเตรียมพร้อมสู้อย่างเต็มที่ ต่างมีพระห้อยคอกันแทบทุกนาย เป็นเวลาที่เรียกว่า "เครื่องรางของขลังถูกปลุก สิ่งศักดิ์สิทธิถูกอาราธนา " กันเลย และขณะเดียวกันก็ได้พากันตรวจเช็คความพร้อมของอาวุธปืนประจำของตนจนเสร็จก่อนเที่ยง..

. . . และหลังจากเที่ยงวันนั้น ลูกเรือที่เป็นเจ้าหน้าที่สรรพวุธ ก็ได้พากันมาเตรียมทุ่นระเบิด ปืนทุกระบอก ตอปิโด และทุกอย่างพร้อมที่จะปฏิบัติการได้ทันที..

** - . . แล้วเหตุการณ์อันน่าสงสัยก็บังเกิดขึ้นจากการแล่นของเรือนำขบวน คือ เรือหลวงแม่กลอง และเรือหลวงท่าจีน ได้ลดความเร็วลง ปรับหัวเรือเลียวซ้าย และขวาออกจากันตามลำดับ ตามลำดับ แล้วเรือนำขบวนทั้ง 2 ลำ ก็ส่งสัญญาณสั่งให้เรือลูกหมู่ทุกลำ ปฏิบัติตามในรูปขบวนตามเดิม..

(. .ไม่มีใครเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เพราะอีก ๑๒ ชั่วโมงก็จะได้ลงไม้ลงมือกันแล้ว แต่ทว่าคำสั่งก็ต้องเป็นคำสั่ง . .)

. . . ต่อมาสักพักหนึ่ง นายทหารยุทธการคนหนึ่ง ก็เดินออกมา แจ้งให้ทุกคนได้ทราบ ว่าได้รับคำสั่งด่วนที่สุดทางสัญญาณวิทยุจากกองบัญชาการกองทัพเรือ ว่ากองทัพเรือให้ระงับแผนยุทธการ ที่กำลังจะลงมือไว้ก่อน เนื่องจากเมื่อเวลา ๑๐.๐๐ วันนี้ ..รัฐบาลไทยได้รับเงื่อนไขของรัฐบาลของสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งจักรรรดิ์ญี่ปุ่น ได้เสนอและยื่นมือเข้ามาเป็นผู้เจรจาไกล่เกลี่ยในการ "ระงับกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส" โดยให้กองเรือไปรวมพลที่เกาะพะงัน ซึ่งผลของการไกล่เกลี่ยของญี่ปุ่นคราวนี้..ทำให้เราได้ดินแดนกลับคืนมา คือ เสียมราฐ พระตะบอง ศรีโสเภณ และ จำปาศักดิ์ แต่ก็ต้องหลุดมือเสียไปอีกภายหลัง เพราะผลของสงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่ญี่ปุ่นแพ้สงคราม..

. . . อย่างไรก็ตามที่มีผู้คนบางคนคางส่วนไม่รู้ กล่าวหาว่ากองทัพเรือไทยถูกข้าศึกจู่โจมจนไร้บทบาทนั้น ไม่เป็นความจริง เพราะยุทธการฮาเตียนยังไม่บรรลุผลเหตุเพราะยกเลิกปฏิบัติการณืเสียก่อน ราชราวีไทยเป็นเสมือนผู้ปิดทองหลังพระก็ว่าได้ ด้วยเหตุผลที่เล่ามานี้ ซึ่งในขณะนั้นกองทัพเรือไม่ได้เปิดเผยข้อมูลใดๆ ให้ใครรู้อย่างเป็นทางการ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะไม่มีความจำเป็น หรือ อาจจะเป็นการปฏิบัติการลับก็ไม่มีใครล่วงรู้..

. . . สรุปแล้ว "ราชนาวีไทย" เปรียบเสมือนดาบเล่มหนึ่ง ซึ่งดาบเล่มนี้มีคุณค่าเสมอ พร้อมที่จะลงดาบกับข้าศึกที่เข้ามารุกรานประเทศชาติตลอดเวลา และจะพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วยความจงรักภักดี รวมทั้งการดูแลพี่น้องประชาชนด้วย..

=================================
"ขอสดุดีวีรกรรมอันกล้าหาญและเสียสละของนักรบไทยทุกท่าน"


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99



***ประตูชุมพล***

"ประตูชุมพล" : เป็นส่วนหนึ่งของประตูเมืองนครราชสีมา หมายรวมทั้งกำแพงเมืองและคูเมืองด้วย เป็นสิ่งก่อสร้างในสมัยอยุธยา ซึ่งถึงเวลาปัจจุบันมีเพียงประตูชุมพลที่ยังคงรูปลักษณ์เดิมอยู่ได้

ย้อนอดีตครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199-2231) มีพระราชดำริว่า ดินแดนภาคอีสานเป็นฉนวนป้องกันการรุกรานของแขมร์ (เขมร) ลาว ญวน และเป็นหัวเมืองใหญ่ควบคุมเขมรป่าดงที่ขึ้นแก่ไทย

ขณะนั้นมีเมืองเสมา เมืองโคราช และเมืองพิมาย เป็นชุมชนใหญ่ ควรจะตั้งเป็นหน้าด่านได้ จึงโปรดให้ สร้างเมืองที่มีป้อมปราการแบบฝรั่ง ในฐานะเมืองสำคัญชายพระราชอาณาเขต

โดยได้ช่างจากกรุงศรีอยุธยา และแรงงานจากผู้คนเมืองโคราชกับเมืองเสมา ช่วยกันสร้างเมืองใหม่ ห่างจากเมืองโคราชเก่าในท้องที่อำเภอสูงเนิน ไปทางทิศตะวันออก 800 เส้น (32 กิโลเมตร) ซึ่งก็คือพื้นที่ตัวเมืองเก่า บริเวณเขตกำแพงเมืองและคูเมืองในปัจจุบัน

นายช่างชาวฝรั่งเศส เป็นผู้วางผังเมืองเป็นสี่เหลี่ยมรูปกลองชัยเภรี กว้างประมาณ 1,000 เมตร ยาวประมาณ 1,700 เมตร มีพื้นที่ภายในประมาณ 1,000 ไร่ ขุดคูกว้าง 20 เมตร ลึก 6 เมตร ยาวล้อมรอบเมือง

มีโครงข่ายถนนภายในตัดกันมีรูปแบบเป็นตารางหมากรุก ก่อสร้างกำแพงเมืองโดยก่ออิฐขึ้นจากหินศิลาแลง สูง 6 เมตร ยาวโดยรอบ 5,220 เมตร บนกำแพงมีใบเสมาโดยรอบจำนวน 4,302 ใบ มีป้อมประจำกำแพง และป้อมตามมุมกำแพงรวม 15 ป้อม

มีประตูเมืองกว้าง 3 เมตร (1 วา 2 ศอก) จำนวน 4 ประตู เป็นทางเข้า-ออกเมืองทั้งสี่ทิศ บริเวณซุ้มประตูเมืองมีหอยามรักษาการณ์ เชิงเทิน หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา มีช่อฟ้าใบระกาเหมือนกันหมดทุกแห่ง ประตูเมืองทั้ง 4 มีชื่อว่า ประตูชุมพล ประตูพลแสน ประตูพลล้าน ประตูไชยณรงค์

สำหรับประตูชุมพล เป็นประตูเมืองทางทิศตะวันตกของเขตเมืองเก่า ชื่อประตู ชุมพล หมายความถึงที่ชุมนุมพลส่วนใหญ่ เป็นประตูสำหรับเตรียมไพร่พลและออกศึก เนื่องจากมีภูมิประเทศเปิดกว้าง ไม่มีป้อมปราการตามธรรมชาติเหมือนประตูอื่นๆ

ทั้งนี้ มีความเชื่อว่า เมื่อลอดผ่านประตูชุมพลไปทำศึกจะแคล้วคลาดได้กลับบ้านเมือง

ส่วนประตูอื่นๆ มีเกร็ดดังนี้ ประตูพลแสน ประตูเมืองทางทิศเหนือ หรือเรียก ประตูน้ำ เพราะหันหน้าสู่ลำตะคองซึ่งเป็นคลองกั้นคูเมืองอีกชั้นหนึ่ง เป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำมูล ในอดีตใช้ลำตะคองในการชลประทานและเป็นเส้นทางคมนาคม

สำหรับชื่อประตู พลแสน หมายถึง ต้องมีกำลังพลถึงแสนหนึ่งจึงจะสามารถบุกเข้ามายังประตูนี้ได้

ประตูไชยณรงค์ ประตูเมืองทางทิศใต้ หรือเรียก ประตูผี จากความเชื่อว่า เมื่อมีคนตายในเมือง ห้ามเผาหรือฝังในเมือง ให้นำออกไปจัดการกันที่นอกเมืองโดยผ่านออกทางประตูนี้

สำหรับชื่อประตู ไชยณรงค์ มาจากเมื่อยามเกิดศึกสงคราม ประตูนี้เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ยากต่อการโจมตีของข้าศึก เพราะภูมิประเทศในอดีตเต็มไปด้วยหนองน้ำ

ประตูพลล้าน ประตูเมืองทางทิศตะวันออก หรือประตูทุ่งสว่าง แต่เดิมทิศนี้มีบึงใหญ่เรียกว่า บึงทะเลหญ้าขวาง พื้นที่กว้างไม่น้อยกว่า 10 ตารางกิโลเมตร ส่วนกลางเป็นบึงใหญ่และมีพื้นที่สำหรับเลี้ยงสัตว์พาหนะ ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดทุ่งสว่าง

สำหรับชื่อประตู พลล้าน นัยว่าเพื่อข่มขวัญข้าศึกที่ถึงจะยกทัพมาสักล้านก็ยังต่อสู้ได้

ปัจจุบัน ประตูพลแสน ประตูพลล้าน และประตูไชยณรงค์ ได้รับการบูรณะและก่อสร้างใหม่ โดยยึดเค้าโครงเดิมของประตูเมืองและกำแพงเมือง


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99



ในภาพ :จาก (ซ้าย) ภาพวาด "หมาป่าฝรั่งเศสกับลูกแกะสยาม" ปรากฏครั้งแรกในวารสาร PUNCH (ฉบับวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 1893/พ.ศ. 2436) ของอังกฤษ ภาพดังกล่าวกลายเป็นแม่แบบของการอธิบายเหตุการณ์ ร.ศ. 112 ในมุมมองของสยาม (ภาพจาก ศิลปวัฒนธรรม, มิถุนายน 2550) (ขวา) การเดินขบวนประท้วงกัมพูชาและคำพิพากษาศาลโลกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1893) ได้ผลิตซ้ำ "ภูมิกายา" ของสยามตามมุมมองของ "จัดรวรรดินิยม" สยาม ดังแผนที่ที่ปรากฏในภาพนี้ (ภาพจาก : ความเมืองเรื่องเขาพระวิหาร)


[ บาดแผลของวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 กับอดีตที่ไม่ต่อเนื่อง ]

…"เรื่องโบราณสถานนั้น เป็นเกียรติของชาติ อิฐเก่าๆ แผ่นเดียวก็มีค่า ควรที่เราจะช่วยกันรักษาไว้ ถ้าเราขาดสุโขทัย อยุธยา และกรุงเทพฯ แล้ว ประเทศไทยก็ไม่มีความหมาย"…พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พ.ศ. 2500

ประวัติศาสตร์มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อชีวิตของความเป็นชาติ พระราชดำรัสข้างต้นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ไม่เพียงสะท้อน แต่ยังผลิตซ้ำ และส่งผ่านข้อเท็จจริงดังกล่าวอย่างโน้มน้าวใจยิ่ง แต่ทำไมประเทศไทย จึงต้องไร้ความหมายหากปราศจากอาณาจักรสยามในอดีต? ทำไมประชาชนไทยทุกวันนี้จึงรู้สึกว่า คำว่าประเทศไทยมีความหมายชัดเจนไม่คลุมเครือ? ความหมายของพระราชดำรัสของในหลวงชัดเจนได้อย่างไร? วาทกรรมเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชาติ เกิดขึ้นได้อย่างไร?

เมื่อพูดถึงอดีต เราอาจนึกถึงสิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้ว แต่ความจริงก็คือ มีแต่สิ่งที่เรานึกออกเท่านั้นที่ประกอบกันเข้า เป็นความรู้เกี่ยวกับอดีตที่มีความหมายสำหรับเรา ในภาษาอังกฤษ อดีต (the past) คือเหตุการณ์ที่เราหวนระลึกถึงได้ (re-collected เก็บรวบรวมขึ้นมาใหม่) อดีตดำรงอยู่โดยสัมพันธ์กับองค์ความรู้ที่เรารวบรวมประกอบขึ้น

ฉะนั้น อดีตที่เรารู้จักจึงเป็นตัวแทนของอดีตที่สร้างขึ้นจากมโนภาพของเราเอง แต่เชื่อว่าเป็นอดีตที่แท้จริง ประวัติศาสตร์ในฐานะวิชาความรู้แขนงหนึ่ง จึงเป็นวาทกรรมเกี่ยวกับอดีต เป็นภาษาที่ทำให้เรื่องราวที่เราระลึกถึงมีความหมายและชัดเจนเข้าใจได้ ประวัติศาสตร์มิได้เป็นเรื่องของการค้นพบข้อเท็จจริงที่ขาดๆ หายๆ มากไปกว่าเป็นเรื่องของเราการจดจำ (re-member จัดเรียง ประกอบ) มันอย่างไร

ช่นเดียวกับกรณีของภูมิศาสตร์ มโนภาพก่อนสมัยใหม่ของคนพื้นเมืองต่ออดีตแตกต่างสิ้นเชิงจากความคิดแบบตะวันออกในเรื่องประวัติศาสตร์ และในที่สุดก็ถูกแทนที่ด้วยมโนภาพสมัยใหม่

อย่างไรก็ตาม นี่เป็นประเด็นที่ต้องศึกษาแยกออกไปต่างหาก คำถามของเราในที่นี้ยังคงอยู่ที่ว่า กำเนิดของภูมิกายา มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไรต่อการสร้างอดีตของสยาม มันได้ผลิตหรือส่งผลกระทบต่อความรู้หรือวาทกรรมชนิดอื่นอย่างไร เพื่อทำให้ความรู้หรือวาทกรรมชนิดอื่นสอดคล้องคล้อยตามอำนาจและความต้องการของภูมิกายา?

พิจารณาประเด็นนี้จะทำให้เราเห็นถึงตัวอย่างอันซับซ้อนแต่ชัดเจน ถึงการที่วาทกรรมอันทรงพลังสองชนิดนี้เชื่อมผนึกเข้ากันได้อย่างไร และผลคืออะไร ในความเป็นจริง ความต้องการประวัติศาสตร์ใหม่ถอดด้ามเกิดขึ้นพร้อมกับภูมิกายา เพราะการมาของภูมิกายาก่อให้เกิดความพลิกผันต่อชีวิตของสยาม การเขียนอดีตชนิดใหม่เป็นสิ่งจำเป็นต่อการสมานรอยแตกร้าวของประวัติศาสตร์ที่ต่อเนื่องยาวนาน

สำหรับเรื่องของบาดแผลของวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112กับอดีตที่ไม่ต่อเนื่องนั้น จากกรณีฝรั่งเศสนำเรือปืนเข้าปิดปากแม่น้ำเจ้าพระยา และจ่อปืนไปยังพระบรมมหาราชวังอยู่หลายวัน [ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อกลางเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893)

โดยเรียกกันในสมัยหลังว่า “วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112” –ฟ้าเดียวกัน] เป็นเหตุการณ์ที่สร้างความตระหนกตกใจให้แก่ชนชั้นนำสยามอย่างยิ่ง พวกเขาไม่อยากเชื่อว่าสยามจะพ่ายแพ้ได้อย่างง่ายดายเช่นนี้ อีกทั้งชนชั้นนำสยามหลงเชื่อใจว่าอังกฤษจะให้ความช่วยเหลือหากสยามพิพาทกับฝรั่งเศส

เหตุการณ์ดังกล่าวได้ทำลายความเชื่อมั่นในตนเองและอังกฤษก็กลายเป็นพันธมิตรที่พึ่งพิงไม่ได้ อังกฤษไม่ต้องการมีความขัดแย้งขั้นรุนแรงกับฝรั่งเศสในฐานะตัวแทนของสยาม และได้ชี้แจงกับสยามมากกว่าหนึ่งครั้งว่าตนจะไม่เข้าไป “ผสมโรง” กับเหตุการณ์ดังกล่าว

ในคำตอบต่อคำร้องขอความช่วยเหลือจากสยามในวันที่ฝรั่งเศสเข้าปิดปากแม่น้ำเจ้าพระยา อังกฤษได้แจ้งกับราชสำนักว่าให้ “ขจัดความคิดที่ว่าเรากำลังใคร่ครวญปฏิบัติการร่วมเพื่อปกป้องกรุงเทพฯ” ที่เลวร้ายยิ่งกว่านั้น อังกฤษบอกให้สยามทำตามความต้องการของฝรั่งเศสเรื่องดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และเมื่อสยามลังเล อังกฤษกล่าวหาสยามว่าไม่ให้ความร่วมมือ

ในที่สุดสยามต้องยอมแพ้ ความเชื่อมั่นในฝีมือทางการทูต การทหาร และสิทธิตามธรรมชาติของตนที่มีเหนือดินแดนที่เป็นข้อพิพาทถูกสั่นคลอน และตกต่ำลงอย่างมาก โนเอล แบ็ตตี กล่าวว่า วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 ทำให้ชนชั้นปกครองสยามถึงกับเกิดอาการ “วิกฤตขวัญกำลังใจ”

ความรู้สึกไม่มั่นคง [ของสยาม] มีมากขึ้น ความนับถือตนเองแตกเป็นเสี่ยงๆ พระมหากษัตริย์ซึ่งทรงพระประชวรตลอดช่วงวิกฤตการณ์ ทรงทุกข์ทรมานทั้งทางกายและใจ น้ำหนักพระวรกายของพระองค์ลดลงถึง 42 ปอนด์ในช่วงระหว่างเดือนสิงหาคมถึงพฤศจิกายน และตรัสอย่างไม่ปิดบังว่าไม่ปรารถนาจะมีพระชนม์ชีพอยู่อีกต่อไป

ในขณะนั้นมีคนไม่มากนักที่เชื่อว่ารัชกาลที่ 5 จะรอดพระชนม์ชีพมาได้ เริ่มมีการวิ่งเต้นเพื่อตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เพื่อบริหารราชบัลลังก์แทนองค์รัชทายาทที่ยังทรงพระเยาว์ แต่พระองค์ก็ทรงรอดมาได้ในที่สุด ทั้งนี้ความดีความชอบยกให้บทกลอนที่มีเนื้อหาตำหนิ พร้อมกับให้กำลังใจของพระอนุชาของพระองค์ คือ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระองค์ไม่เพียงรอดพระชนม์ชีพมาได้

แต่ยังสามารถฟื้นพระองค์ได้อย่างน่าทึ่งเพื่อเป็นกัปตันนำนาวาสยามต่อไป ดังที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ กราบทูลพระองค์ทรงผนึกจิตใจของบรรดาชนชั้นนำให้เข้มแข็ง เพื่อรับมือกับภารกิจภายภาคหน้า

อย่างไรก็ตาม ใครจะสามารถปฏิเสธคำกล่าวที่ว่า “วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 ได้ฝากแผลเป็น” ไว้กับรัชกาลที่ 5 และผู้นำคนอื่นๆ พวกเขารู้สึกว่าเอกราชของสยามเผชิญกับภัยคุกคามคืบใกล้เข้ามาทุกทีในแต่ละปี การ “สูญเสีย” ดินแดนตามที่พวกเขาเข้าใจ, อาการช็อกในกลางเดือนกรกฎาคม ปี พ.ศ. 2436 (ร.ศ. 112), ความล้มเหลวของราชอาณาจักรที่ถูกเปิดเผยและพิสูจน์ฉับพลัน, ความรู้สึกท้อแท้สิ้นหวังต่อความเชื่อมั่นในตนเองที่เกินจริง และต่อความเชื่อมั่นในวิถีทางการทูตแบบอารยะ

ตลอดจนวิกฤตการณ์ขวัญกำลังใจที่ตามมาหลังเกิดเหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้นี่เอง ที่ทำให้ผู้คนเห็นว่าวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 เป็นช่วงขณะที่เจ็บปวดรวดร้าวอย่างยิ่งของประวัติศาสตร์สยาม แน่นอนว่ามันคือความเจ็บปวดรวดร้าวของชนชั้นปกครองสยาม

ในแง่นี้ วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 เป็นช่วงขณะแห่งความขัดแย้งในตัวเองอย่างสำคัญ กล่าวคือ มันเป็นเวลาที่สยามสูญเสียประเทศราชของตนให้แก่ฝรั่งเศส ขณะเดียวกันมันก็คือ เวลาที่ภูมิกายาหรือตัวตนทางกายภาพของสยามอุบัติขึ้น เป็นช่วงขณะที่เกิดการปะทะแตกหักของมโนภาพและแบบแผนการปฏิบัติทางภูมิศาสตร์คนละชนิด จนความเข้าใจต่อความเป็นชาติแบบเก่าได้ถูกสับเปลี่ยนแทนที่

ดูเผินๆ สยามกำลังอยู่ในกระบวนการทำให้ทันสมัย แล้ววิกฤตการณ์มารบกวนกระบวนการนี้ [หมายความว่า วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 ไม่ได้มีความสำคัญนัก – ฟ้าเดียวกัน] แต่ที่จริงคงไม่มีใครสามารถปฏิเสธได้ว่า สยามหลัง ร.ศ. 112 มิได้เหมือนกับสยามก่อนหน้านั้นอีกต่อไป แม้กระทั่งในความคิดของผู้ปกครองสยามเอง พวกเขาดำเนินภารกิจของตนต่อ แต่เป็นไปในสถานการณ์ที่แตกต่างจากเดิม ในสยามที่แตกต่างไป ทั้งในแง่ของกายภาพบนพื้นผิวโลก และในความนึกคิดของพวกเขาเอง

วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 เป็นจุดพลิกผันหักเหอย่างแรงในชีวิตของสยาม รอยแตกหักในชีวิตของชาตินี้จำเป็นต้องได้รับการสมาน และจำต้องมีคำอธิบายถึงความปั่นป่วนที่น่ารับฟังพอที่จะช่วยสมานแผลเยียวยา เพื่อทำให้ทุกคนเกิดความรู้สึกมั่นใจว่าชีวิตของประเทศชาติยังคงดำเนินมาตามสายธารเวลาที่ต่อเนื่องปกติ

ความต้องการเรื่องราวแบบใหม่ ณ เวลาที่เกิดความตึงเครียดระหว่างความต่อเนื่องกับความพลิกผันหักเห มิใช่ปรากฏการณ์ใหม่แต่อย่างใด ทั้งมิใช่เรื่องใหม่สำหรับสยามด้วย งานศึกษาหลายชิ้นได้ย้ำให้เห็นถึงบทบาทของงานเขียนทางประวัติศาสตร์ ในฐานะเครื่องมือทางการเมืองเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับระบอบใหม่เหนือคู่ต่อสู้ของตน ราวกับโฆษณาชวนเชื่อหรือการล้างสมอง

อย่างไรก็ตาม มีงานน้อยชิ้นที่วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความพลิกผันหักเหในประวัติศาสตร์ กับสร้างความรู้อดีตที่เน้นความต่อเนื่องยาวนาน หรือการฟื้นฟูยุคทองในอดีต เพื่อสร้างความมั่นใจและความคุ้นเคยให้กับผู้คน เป็นต้นว่า ตอนเริ่มต้นรัตนโกสินทร์ในต้นพุทธศตวรรษที่ 24 ราชวงศ์ใหม่ในพระราชวังใหม่ ณ ราชธานีใหม่ หรืออาจกล่าวได้ว่า เป็นจุลจักรภพแห่งใหม่ ได้พยายามฟื้นฟูระบบระเบียบของบ้านเมืองขึ้นมาหลังการล่มสลายของศูนย์กลางอำนาจเก่า

ความตึงเครียดระหว่างความต่อเนื่องกับการแตกหักของสายธารประวัติศาสตร์ได้รับการการบรรเทาให้เบาบางลง ด้วยการตอกย้ำเรื่องราวทางศาสนาว่าด้วยโลกที่ได้รับการจัดระเบียบขึ้นมาใหม่ ให้เป็นผู้สืบทอดสานต่อระเบียบโลกเก่า เมื่อพิจารณาการบิดเบือนและเรื่องราวที่ผิดฝาผิดตัว

งานเขียนดังกล่าวอาจไม่ได้เป็นเครื่องมือทางการเมือง เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับระบอบใหม่มากเท่ากับที่เป็นเครื่องมือทางอุดมการณ์ที่ช่วยให้พวกเขาเองเข้าใจ และทำใจได้กับอดีตที่เพิ่งผ่านพ้นไป

การแตกหักอีกครั้งหนึ่งก็คือการปฏิวัติ 2475 ซึ่งเป็นจุดจบของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และจุดเริ่มต้นของระบอบทหารในสยาม

คราวนี้รอยแตกแยกถูกเย็บสมานเข้าด้วยกันโดยปิดบังอำพราง หรือมองข้ามลักษณะหักรากถอนโคนของการปฏิวัติ ปี พ.ศ. 2475 สิ่งที่เข้ามาแทนที่คือ การอธิบายอดีตของไทยในกรอบการต่อสู้ครั้งแล้วครั้งเล่า เพื่อปลดปล่อยประเทศจากการปกครองของต่างชาติ หรือเพื่อปกป้องเอกราชของชาติ นี่คือเรื่องของการต่อต้านลัทธิอาณานิคมที่คุ้นเคยกันดี

ซ้ำร้ายไปกว่านั้น สยามหลังการปฏิวัติ 2475 ถูกสร้างให้กลายเป็นการฟื้นฟูยุคทองของสุโขทัย ซึ่งถือกันว่าคือ อาณาจักรแห่งแรกของสยาม ตามกรอบการเล่าเรื่องเช่นนี้ แม้ว่าชีวติของชาติจะขึ้นๆ ลงๆ แต่ปัจจุบันคือความต่อเนื่องของวันเวลาอันรุ่งเรืองในอดีต ความเปลี่ยนแปลงมิได้ทำให้สูญเสียอะไร และอนาคตของชาติก็ไม่มีอะไรที่ประหลาดน่ากลัว แม้ว่าจะไม่มีระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์แล้วก็ตาม

อันที่จริงช่วงเวลาแห่งความสับสนวุ่นวายไม่เคยถูกเก็บงำ หรือลบล้างออกจากความทรงจำ ตรงกันข้าม มันเป็นที่รับรู้โดยทั่วไป เพียงแต่ว่ามันถูกตบแต่งดัดแปลงและอธิบายในแนวที่ทำให้ความแตกหักสามารถเข้ากันได้กับอดีตอันยืนยาว

ถ้าเช่นนั้น รอยแตกร้าวของวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 ได้ก่อผลกระทบกับเรื่องเล่าสมัยใหม่เกี่ยวกับอดีตของสยามมากเพียงใด? เป็นไปได้หรือไม่ว่ากำเนิดของภูมิกายาและบทบาทของแผนที่จะต้องถูกกลบเกลื่อนเพื่อลบล้างความไม่ต่อเนื่อง

สยามหลังวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรากฏตัวของภูมิกายา มีความสัมพันธ์กับการเกิดขึ้นของการเขียนประวัติศาสตร์แบบใหม่ในสยาม หรือไม่อย่างไร?

เราลองมาดูว่าเรื่องราวของจุดพลิกผันของวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 ได้ถูกอธิบายไว้อย่างไร ยุทธศาสตร์ที่ประวัติศาสตร์นิพนธ์ดังกล่าวใช้อาจชี้ให้เห็นว่าอดีตของสยามทั้งหมดถูกประกอบสร้างขึ้นมาอย่างไร

ผลผลิตแรกของการเชื่อมต่อระหว่างภูมิกายากับประวัติศาสตร์ที่เราจะพิจารณากันคือ ประวัติศาสตร์นิพนธ์ของช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อดังกล่าวนั่นเอง


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛


_BoAt

  • Newbie
  • *
    • กระทู้: 99



: เปิดโลกลำปางผ่านมิติประวัติศาสตร์ : สำหรับลำปาง เป็นจังหวัดที่มีอายุเก่าแก่ไม่น้อยกว่า 1,300 ปี มีชื่อเรียกขานกันหลายชื่อ ซึ่งปรากฏหลักฐานตามตำนานต่าง ๆ รวม 11 ชื่อ ได้แก่ กุกกุฏนคร ลัมภกับปะนคร ศรีนครชัย นครเวียงคอกวัว เวียงดิน เขลางค์นคร นครลำปางคำเขลางค์ อาลัมภางค์ เมืองลคร และเมืองนครลำปาง จากการที่เรียกขานกันว่า “ กุกกุฏนคร ” แปลว่า เมืองไก่ ดังนั้น ตราประจำจังหวัดก็คือ “ ไก่ขาว ” นั่นเอง".]
---------------------------------------------------------------------------

1. ภาพ(บนซ้าย) : "หออะม็อก" ตั้งอยู่บริเวณประตูศรีเกิด ต.หัวเวียง อ.เมือง จ.ลำปาง ซึ่งคำว่า "อะม็อก" นั้นเป็นภาษาพม่า แปลว่า ปืน โดยถือเป็นป้อมปืนแห่งเดียว ที่มีสภาพสมบูรณ์ ที่เหลืออยู่ใน จ.ลำปาง ซึ่งคาดว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยเจ้าหอคำดวงทิพย์ อีกอย่าง ในสมัยของเจ้าหอคำดวงทิพย์ เป็นพระยานคร ประมาณปี พ.ศ.2337 ได้มีการสร้างกำแพงและขุดคูเมือง พร้อมทั้งมีการสร้างหอคำขึ้นราว พ.ศ.2351 โดยหอคำนครลำปาง เดิมตั้งอยู่บริเวณอาคารศาลากลางจังหวัดหลังเดิม แต่ปัจจุบันถูกรื้อถอนไปแล้ว ซึ่งพิพิธภัณฑ์เมืองโบราณ ได้มีการนำภาพถ่ายหอคำนครลำปางหลังเก่านี้ ไปเป็นแบบก่อสร้างขึ้นใหม่ ซึ่งก็สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยเจ้าหอคำดวงทิพย์เช่นกัน ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นเจ้าผู้ครองนครลำปางช่วงราวปี 2337-2368.
---------------------------------------------------------------------------

2. ภาพ(บนขวา) : ขบวนรถไฟสายเหนือมาถึงลำปางครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2459 : โดยในสมัยการกำเนิดเส้นทางรถไฟเหนือราว พ.ศ.2459-2500 เป็นยุคร่วมสมัยกับรัชกาลที่ 6-9 แห่งสยามประเทศ สำหรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในเงื่อนไขของการคมนาคมยุคนั้น เป็นไปในแบบเดียวกับกับการรูปแบบการปฏิวัติอุตสาหกรรมในประเทศตะวันตก ที่เมื่อเส้นทางรถไฟตัดผ่านเมืองใด เมืองนั้นก็จะเกิดความเปลี่ยนแปลงและเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งในกรณีลำปาง จากเส้นทางน้ำสู่การค้าทางบกอย่างรถไฟที่มีความรวดเร็ว ปลอดภัย คุ้มค่า นั่นเอง แต่ในอีกด้านหนึ่ง ก็เป็นการดึงคนเข้าเมือง โดยเฉพาะชาวจีนที่เข้ามาเป็นจำนวนมาก พร้อมกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทั้งในแง่ของความรู้ วิทยาการ การจัดการตลอดไปจนเครื่องจักรแบบต่างๆ ล้วนเจริญขึ้นในช่วงนี้เอง แต่ทั้งนี้อย่างไรก็ตามในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (ราว 2485-2488) ญี่ปุ่นได้เข้ามา เพื่อเคลื่อนพลผ่านไทย และได้ตั้งกองบัญชาการที่ลำปางด้วย รวมถึงการเข้ายึดเอาอาคารสถานที่ในกิจการของชาวตะวันตก ทั้งอังกฤษ อเมริกัน และชนชาติอื่นๆ ต่างก็จำต้องทำการลี้ภัยออกไป เพื่อความปลอดภัย ขณะที่ประเทศไทยสมัยนั้น เป็นคู่สงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรด้วย จึงได้ถูกฝ่ายสัมพันธมิตรโจมตีเมือง ด้วยการทิ้งระเบิดในพื้นที่ต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง หลายครอบครัวในตัวเมือง ก็ต่างย้ายไปอยู่นอกเมืองชั่วคราว เพื่อหลบภัยสงคราม บางร้านในเมืองก็พรางอาคารด้วยยอดมะพร้าว แม้กระทั่งการเอาสีดำมาทาตัวตึกด้วย ทั้งนี้ทหารญี่ปุ่นได้ยึดเอาอาคารสำคัญในเมืองโดยเฉพาะอาคารร้านค้าบริเวณกาดกองต้า ตลอดไปจนถึงการยึดเอาข่วงโปโล บริเวณสวนสาธารณะเขลางค์นครลำปางในปัจจุบัน รวมทั้งตรงบริเวณโรงแรมทิพย์ช้าง เพื่อตั้งเป็นตึกกองบัญชาการของกองพล 1 แห่งญี่ปุ่น ขณะที่อาคารสถานที่อันเป็นของกลุ่มชนที่เป็นชาติคู่สงครามอย่างอังกฤษและอเมริกันอย่างเช่น รพ.แวนแซนวูร์ด กับ โรงเรียนเคนเน็ตแมคเคนซี ต่างก็ถูกยึดไปเป็นที่ตั้งกองกำลังทหารญี่ปุ่น แม้แต่วัดน้ำล้อม ก็มีการเล่ากันว่า มีทหารรถถังของญี่ปุ่นมาขอพักที่วัดด้วย.
---------------------------------------------------------------------------

3. ภาพ(กลางซ้าย) : ภาพสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ คราวเสด็จนครลำปาง พร้อมด้วยเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต ตลอดจนเจ้านายและผู้ตามเสด็จอื่นๆ ณ วัดพระธาตุลำปางหลวง คราวเสด็จมณฑลพายัพ พ.ศ.2464" : ในยุคสมัยนี้ เริ่มต้นด้วยการนับตั้งแต่การลงนาม สนธิสัญญาเชียงใหม่ อันเนื่องมาจากความขัดแย้งจากกิจการป่าไม้ และความวุ่นวายในหัวเมืองชายแดน ซึ่งเป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลสยาม และรัฐบาลอังกฤษที่อินเดีย ขณะที่อังกฤษก็สามารถตั้ง สถานกงสุลประจำนครเชียงใหม่ และนครลำปาง เพื่อดูแลผลประโยชน์ของตนและกลุ่มชนในบังคับอังกฤษ ปัญหาจากการคุกคามจากอาณานิคมตะวันตก ทำให้รัฐบาลสยาม มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะควบคุมหัวเมืองต่างๆทั่วราชอาณาจักร เพื่อจะรวบอำนาจเข้าสูศูนย์กลางให้มากที่สุด ดังปรากฏมีการส่งเหล่าข้าหลวงจากกรุงเทพฯ มาควบคุมการบริหารราชการภายใน จึงอาจกล่าวได้ว่ายุคนี้ หัวเมืองทางเหนือได้รับการกดดันอย่างหนักหน่วง แน่นอนว่า กระแสอันเชี่ยวกรากของระบบทุนนิยมที่กำลังเริ่มต้นขึ้น ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ระบบเจ้านายทางเหนือพังทลายลง โดยเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เป็นเจ้าผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย โดยเป็นเจ้าผู้ครองนครลำปางองค์ที่ 10 พบการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงว่า เป็นผู้บริจาค ผู้สร้างสิ่งสาธารณประโยชน์จำนวนมาก ซึ่งเป็นการดำเนินนโยบายที่สนับสนุนรัฐบาลสยามอย่างยิ่ง เช่น โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย, โรงทหาร โรงพยาบาลทหาร ที่ทำการไปรษณีย์ และอุทิศที่ดินเพื่อสร้างที่ทำการศาล และเรือนจำกลางลำปาง.
---------------------------------------------------------------------------

4. ภาพ(กลางขวา) : สถานกงสุลอังกฤษประจำนครลำปาง ถ่ายไว้ราวปี 2460 ปัจจุบันเป็นที่ตั้งกองบังคับการตำรวจภูธร จ.ลำปาง แสดงให้เห็นการจัดการผลประโยชน์ของอังกฤษผ่านชาวไทใหญ่-พม่า ในธุรกิจค้าไม้ : อีกอย่างยุคนี้ก็เป็นการเปิดหน้าประวัติศาสตร์ของระบบทุนนิยมเข้าสู่นครลำปาง กลุ่มแรกๆที่มีโอกาสสะสมทุน ได้แก่ กลุ่มทำไม้ชาวไทใหญ่-พม่า ที่ร่วมกับชาวยุโรป โดยเฉพาะอังกฤษ ดังปรากฏการสร้างบ้านใหญ่โตบริเวณท่ามะโอหรือการสร้างวัดแบบไทใหญ่-พม่า บริเวณย่านป่าขาม ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งคือ ชาวจีน ที่เดินทางมาจากส่วนกลางของสยามประเทศและศูนย์กลางการค้าทางน้ำ อย่างเช่น ที่สวรรคโลก นครสวรรค์ โดยมาประกอบอาชีพค้าขายทางน้ำ ที่ใช้เรือหางแมงป่อง ขึ้น-ล่อง ส่งสินค้าระหว่างนครลำปางกับปากน้ำโพ และอาจไปจนถึงกรุงเทพฯ หรือบางคนสามารถสะสมทุนและได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายอากรเก็บภาษีในท้องถิ่นอีกด้วย ทั้งนี้ เมืองในยุคนี้ ก็มีความหลากหลาย และซับซ้อนมากขึ้น ก็เนื่องจากกลุ่มชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มก็มีความเชื่อและโลกทัศน์ที่ต่างกันในการดำรงชีวิตอย่างเช่น ฝรั่งอังกฤษที่เข้ามาทำไม้, ชาวไทใหญ่-พม่า มาตั้งถิ่นฐานบริเวณท่ามะโอ ที่ใกล้แม่น้ำวัง จนใช้บางแห่งเป็นที่ชักลากซุงขึ้นมา เช่น พื้นที่บริเวณด้านหน้าของวัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม (ด้านสระน้ำ) ขณะที่ชาวจีน ชาวไทใหญ่-พม่า ก็เลือกทำเลบริเวณตลาดจีน (กาดกองต้า) ใช้พื้นที่ต่ำใกล้น้ำให้เป็นประโยชน์ในการเป็นท่าเทียบเรือสินค้า โกดัง ที่อยู่อาศัย และห้างไปในตัว ส่วนย่านวัดไทใหญ่-พม่า บริเวณป่าขามและใกล้เคียงนั้น จะเป็นบริเวณที่แยกออกมาจากตัวเมือง และขณะเดียวกันก็มีบริเวณม่อน ที่มีความสูงสอดคล้องกับคติการสร้างวัดอีกด้วย.
---------------------------------------------------------------------------

5. ภาพ(ล่างซ้าย) : เครื่องเคลือบดินเผาสีน้ำตาล แหล่งทุ่งเตาไห ภาชนะบรรจุอัฐิ ขุดพบบริเวณวัดปันเจิงร้าง : ทั้งนี้ที่บริเวณวัดกู่คำ วัดกู่ขาว วัดปันเจิง ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของพื้นที่แรกไม่ไกลนัก ก็มีทางเดินเชื่อมจากประตูตาล อีกทั้งยังปรากฏร่องรอยมาจนปัจจุบัน บริเวณดังกล่าวมีการขุดค้นหลักฐานทางโบราณคดีคือ พระพิมพ์ดินเผา และเครื่องปั้นดินเผาทั้งนี้ยังเชื่อมโยงกับแหล่งผลิต คือ "แหล่งทุ่งเตาไห" ที่บ้านทราย ต.ต้นธงชัย อ.เมือง อยู่บริเวณทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของวัดพระเจดีย์ซาวหลังที่ห่างออกไปประมาณ 2 กม. และนอกจากนี้ บริเวณ อ.เกาะคา อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพื้นที่วัดพระแก้วไปกว่า 10 กม. โดยล่องไปตามแม่น้ำวัง ก็ปรากฏหลักฐานคือ เครื่องปั้นดินเผา (ก็คือ พื้นที่บริเวณวัดพระธาตุลำปางหลวง) นั่นเอง สำหรับเรื่องขิงชื่อบ้านนามเมือง "เขลางค์นคร", "เมืองลำปาง", "อาลัมพางค์นคร" ศ.แสง มณวิทูร ใอธิบายว่า "เขลางค์นคร" มาจากภาษามอญว่า "ฮฺลาง" หรือ "ขฺลาง" แปลว่า "ขัน" หรือ "โอ" และตีความว่า "พรานเขลางค์" คือพรานที่อาศัยอยู่ที่ดอยเขลางค์ ก็คือ "ดอยโอคว่ำ"นั่นเอง และอีกท่านคือ ศ.สุรพล ดำริห์กุล ให้คำอธิบายว่า เมืองลำปางก็คือบริเวณวัดพระธาตุลำปางหลวงนั่นเอง ซึ่งชื่อของพระธาตุลำปางหลวง ปรากฏในตำนานเรียก "พระมหาธาตุเจ้าลำปาง" หรือ "พระธาตุหลวงลำปาง" เมืองลำปางจึงน่าจะเป็น "เมืองลำพาง" หรือไม่ก็ "อาลัมพางนคร" ที่พระเจ้าอนันตยศ โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับของพระนางจามเทวี พระราชมารดา และท้ายนี้ยังมีอีกข้อสันนิษฐานจาก อ.สักเสริญ (ศักดิ์) รัตนชัย ที่ว่า "เวียงอาลัมพาง" น่าจะอยู่บริเวณ กลุ่มวัดกู่คำ วัดกู่ขาว อีกด้วย.
---------------------------------------------------------------------------

6. ภาพ(ล่างขวา) : ผังเมืองรูปหอยสังข์ที่ อ.ศักดิ์ รัตนชัย ค้นพบและเผยแพร่เป็นคนแรกๆ : โดยย้อนไปช่วงกำเนิดรัฐบริเวณลุ่มน้ำปิงในนามหริภุญไชย ซึ่งจำเป็นต้องสร้างเครือข่าย อันได้แก่ เวียงเถาะ เวียงมะโน ฯลฯ เมืองที่ถือกำเนิดในลุ่มน้ำวัง ก็ถือเป็นหนึ่งในเครือข่ายนั้นเช่นกัน แต่มิใช่ว่าเกิดขึ้นโดยกลุ่มคนจากหริภุญไชยเท่านั้น ซึ่งในตำนานที่มีการเล่าถึง "พรานเขลางค์" และ "สุพรหมฤาษี" ที่อาศัยอยู่บริเวณ "ดอยเขางาม" ที่ได้นับเป็นตัวแทนกลุ่มชนดั้งเดิมในเวลานั้น อันมีทั้งชาวลัวะ และกะเหรี่ยง แต่ที่น่าสนใจก็คือ การที่ในโบราณสถานหลายแห่ง มีการกล่าวอ้างถึง "พระนางจามเทวี" ก็เช่น วิหารจามเทวี, วัดปงยางคง, ตำหนักเย็น, วัดพระธาตุจอมปิง ฯลฯ ซึ่งก็ถือเป็นสำนึกการเชื่อมโยงความยาวนาน แต่ไม่ได้การยืนยันทางวิชาการหนักแน่นพอ ส่วนเรื่องการตั้งถิ่นฐาน โดยจะกล่าวถึง 3 พื้นที่ ได้แก่ เมืองที่มีศูนย์กลาง ณ วัดพระแก้วชมพู (ปัจจุบันคือ วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม) ที่ซึ่งครอบคลุมบริเวณเมือง โดยลักษณะคล้าย "หอยสังข์" กล่าวกันในตำนานว่า เป็นเมืองที่สุพรหมฤาษี และพรานเขลางค์ สร้างให้เจ้าอนันตยศ โอรสของพระนางจามเทวี ปกครองดูแลต่อไป เมืองตั้งอยู่บนที่ดอน ริมแม่น้ำวัง มีองค์ประกอบของเมือง ค่อนข้างสมบูรณ์ เมื่อเทียบกับบริเวณอื่น.
---------------------------------------------------------------------------

** สำหรับความเป็นมาของจังหวัดลำปางนั้น สร้างเมื่อ พ.ศ.1223 จากหนังสือพงศาวดารโยนกกล่าวว่า “สุพรหมฤาษี” สร้างเมืองเพื่อให้ เจ้าอนันตยศ โอรสพระนางจามเทวี ครองคู่กับเมืองหริภุญชัย (ลำพูน) ให้ชื่อเมืองว่า “นครเขลางค์” ต่อมาเปลี่ยนเป็น “นครอัมภางค์” และเปลี่ยนชื่อเป็น “นครลำปาง” ในภายหลัง ในสมัยโยนกเชียงแสน ซึ่งนครลำปางเคยตกอยู่ภายใต้อำนาจขอม และเคยเป็นเมืองประเทศราชของพม่าและเมืองเชียงใหม่ ในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี “เจ้าทิพย์ช้าง” สามารถขับไล่พวกพม่าออกจากเมืองลำปางได้สำเร็จ จึงได้รับการสถาปนาเป็น “พระยาสุวลือไชยสงคราม” โดยขึ้นครองนครลำปางในปี พ.ศ.2279 และต่อมาในปี พ.ศ.2307 “เจ้าแก้วฟ้า” พระโอรสของเจ้าทิพย์ช้าง ก็ได้ขึ้นครองนครลำปางต่อ และเป็นต้นตระกูล ณ ลำปาง, ณ ลำพูน รวมทั้ง ณ เชียงใหม่ ซึ่งในเวลาต่อมาได้มี “เจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต” ผู้ซึ่งเป็นผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย โดยจังหวัดลำปางได้ประกาศจัดตั้งเป็นจังหวัดในปี พ.ศ.2435 (รัชกาลที่ 5) ขึ้นกับมณฑลพายับสมัย 1 (พ.ศ.2443) ต่อมาได้แยกออกมาเป็นมณฑลมหาราษฎร์เมื่อปี พ.ศ.2458 และเวลาต่อมาก็ได้มีการประกาศยกเลิกมณฑลทั่วราชอาณาจักร ทำให้ "ลำปาง" มีฐานะเป็น “จังหวัดลำปาง” ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการอาณาจักรสยาม พ.ศ.2476

ส่วนลำปางในยุคก่อนประวัติศาสตร์ หากย้อนไปถึง 500,000 ปีที่แล้ว มีคนกล่าวไว้ว่าการรู้จักตัวเองนั้นยิ่งสืบค้นไปได้ไกลเท่าใด ก็ยิ่งจะรู้ถึงความลึกซึ้งของบ้านเมืองได้เท่านั้น เสมือนกับการยิงธนูที่จำเป็นต้องง้างไปให้ไกล ฉันใดก็ฉันนั้น ขณะที่หลักฐานทางธรณีวิทยา ประวัติศาสตร์ โบราณคดีในจังหวัดลำปางนั้น กระจายตัวอยู่เป็นจำนวนมาก แทบจะทุกอำเภอ ในที่นี้จึงขอรวบรัดอธิบายภาพรวมพัฒนาการยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่มีความโดดเด่น และที่มีความสำคัญในระดับชาติ วึ่งแม้ว่าจะเป็นพื้นที่นอกเขตศึกษาก็ตาม แต่ความพยายามนี้เป็นการปูพื้นฐานให้เห็นความเปลี่ยนแปลง และพัฒนาการประวัติศาสตร์ อันจะส่งต่อความเป็นเมืองศูนย์กลางการบริหารการปกครองที่มีตำแหน่งอยู่ที่อำเภอเมืองลำปางแห่งนี้ และนอกจากนี้ยังมีการพบร่องรอยของ "มนุษย์เกาะคา" ที่เป็นหลักฐานของมนุษย์ในยุคช่วงก่อนประวัติศาสตร์ ได้แก่ "มนุษย์โฮโมอีเรคตัส" หรือ "มนุษย์เกาะคา" อายุมากกว่า 500,000 ปี ซึ่งร่วมสมัยกับ "มนุษย์ปักกิ่ง" และ "มนุษย์ชวา" และมีการค้นพบ "ชิ้นส่วนกะโหลกด้านขวา, ฟันหน้าข้าง, ฟันด้านขวา และส่วนอื่นๆ" ณ บริเวณหาดปู่ด้าย ต.นาแส่ง อ.เกาะคา ทางทิศใต้ของตัวเมืองลำปางด้วย ซึ่งถือว่าเป็นการสำรวจและการค้นพบทางโบราณคดีที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย เมื่อปี 2541

พัฒนาการต่อมาได้มีหลักฐานเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์อายุกว่า 3,000 ปี ที่ประตูผาบริเวณรอยต่อ อ.แม่เมาะ-อ.งาว ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของตัวเมืองปัจจุบัน ได้ค้นพบ "โครงกระดูกมนุษย์ เครื่องประกอบพิธีศพ พร้อมกับภาพเขียนสีจำนวนมากถึง 1,872 ภาพ" โดยเป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงสภาพชีวิตและความเป็นอยู่ รวมทั้งพิธีกรรมไว้ โดยแบ่งภาพเขียนเป็น 7 กลุ่ม ได้แก่ "กลุ่มที่ 1 : ผาเลียงผา", "กลุ่มที่ 2 : ผานกยูง", "กลุ่มที่ 3 : ผาวัว", "กลุ่มที่ 4 : ผาเต้นระบำ", "กลุ่มที่ 5 : ผาหินตั้ง", "กลุ่มที่ 6 : ผานางกางแขน", "กลุ่มที่ 7 ผาล่าสัตว์และผากระจง" แต่อย่างไรก็ตามในบริเวณใกล้เคียงกัน ก็ยังปรากฏภาพเขียนสีในถ้ำต่างๆ ด้วย เชื่อวันว่าพื้นที่ดังกล่าวมีความสำคัญคือ ใช้เป็นพื้นที่ประกอบพิธีกรรมความเชื่อ ในฐานะสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของมนุษย์ยุคก่อน ประการสำคัญต่อมาก็คือ เป็นที่บันทึกทางประวัติศาสตร์ที่ถูกแต่งแต้มเป็นภาพเขียนสีที่มีจำนวนมหาศาลซึ่งจากหลักฐานดังกล่าวจะเห็นถึงสภาพการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ในยุคแรกๆ ที่อยู่รายรอบ "นครลำปาง" ที่ในปัจจุบัน นับว่าเป็นห้วงเวลาที่สั่งสม ความหลากหลาย ก่อนที่จะมีพัฒนาการทางสังคมและเทคโนโลยีเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ จนถึงปัจจุบัน


Chill-Chill ๛` บ า ง ที ก็ เ ล ว `๛